ผมได้ติดตามประเด็นข่าวทางการเมืองและทางการทหารที่ปรากฏขณะนี้ มีเรื่องให้น่าสนใจ แปลกประหลาด และสะเทือนใจ และสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่า เหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับกองทัพบก ผู้บัญชาการกองทัพบกในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงนายทหาร ผู้บังคับบัญชาในระดับคุมกำลังกับครอบครัวของทหารผู้เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามการจลาจลของคนเสื้อแดง มันเกิดอะไรขึ้น จึงมีความวิปริตผิดปกติ สะท้อนให้เห็นถึงความตกต่ำของเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีแห่งกองทัพบกไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน 3 เรื่อง 3 ประเด็นใหญ่ๆ ที่ทำให้ประชาชน พลเรือนธรรมดาๆ อย่างผมมีความรู้สึกเช่นนั้น คือ
1. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบก และเป็นอดีตหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หันมาเล่นการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ชูป้ายร้องตะโกนเรียกร้องให้คนในชาติหันมาปรองดอง จูบปากกับรัฐบาลทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ที่ตนเองเคยปฏิวัติ ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลทักษิณมาก่อน
ด้วยเหตุผลตามแถลงการณ์ของคณะปฏิรูปฯ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ว่ารัฐบาลทักษิณบริหารบ้านเมืองโดยก่อให้เกิดปัญหาการขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้รัก สามัคคีของชนในชาติ มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง ครอบงำหน่วยงานและองค์กรอิสระ และทำลายกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทั้งมีพฤติกรรมหมิ่นต่อพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ (รายละเอียดปรากฏตามแถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน 2549 เวลา 23.50 น. ลงนามโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน)
นอกจากยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลทักษิณ หัวหน้าคณะปฏิรูปฯ ผู้นี้ยังเป็นผู้ออกประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่มีนายนาม ยิ้มแย้ม และคณะรวม 12 ท่าน เป็นคณะกรรมการ ตรวจสอบการกระทำอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐของบรรดาข้าราชการ และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งหลาย จนนำมาสู่ขบวนการดำเนินคดีฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมและศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งที่มีคำพิพากษาไปแล้วและยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลอีกหลายคดี
ไม่เพียงเท่านี้ยังมีประกาศ คำสั่งอีกหลายร้อยฉบับ รวมถึงดำเนินการให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งก็คือฉบับปี พ.ศ. 2550 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผลของการดำเนินการทั้งหลายภายหลังการยึดอำนาจ ได้ดำเนินการไปและเป็นไปตามเหตุผลของคณะปฏิรูปฯ โดยสำเร็จปรากฏผลบางส่วน เช่น คดียึดทรัพย์นักการเมือง 4.6 หมื่นล้านบาท บางส่วนอยู่ระหว่างดำเนินการ แต่วันนี้คนที่เคยออกคำสั่งและประกาศในฐานะอดีตผู้บัญชาการทหารบก, หัวหน้าคณะปฏิรูปฯ ขณะสวมเครื่องแบบเต็มยศของชายชาติทหารแห่งกองทัพไทย กลับกลายเป็นผู้ที่ยอมก้มหัวรับใช้นักการเมือง ทรยศต่อหลักการประกาศและคำสั่ง ทำลายเกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งกองทัพบกลงหมดสิ้นเป็นที่น่าละอายยิ่งนัก
การทำตัวออกหน้าเรียกร้องและป่าวประกาศให้ผู้คนทั้งหลายยกเลิกความผิดทั้งหมดให้กับนักการเมืองที่ทุจริต คดโกง ทรยศต่อชาติบ้านเมือง ต่อต้านและทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ บงการและชักใยให้คนเสื้อแดงก่อจลาจล เผาประเทศชาติของตัวเอง กระทั่งเข่นฆ่าทหารอย่าง พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และทหารหาญอื่นๆ อีกจำนวนไม่น้อย ทำลายชีวิตทรัพย์สินของชาติและประชาชนกลางบ้านกลางเมือง เขายังทำเพิกเฉย ปิดตามองไม่เห็น ไม่พอยังบังอาจเรียกร้องให้ทุกคนยุติปัญหานี้อย่างไร้เกียรติและศักดิ์ศรี ไม่ยึดถือกฎหมายหรือขื่อแปของบ้านเมือง ทำลายสิ้นซึ่งหลักนิติรัฐและขบวนการยุติธรรมทั้งหลายของชาติ เสนอสิ่งที่เป็นการเหยียบย่ำเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีแห่งกองทัพบกด้วยน้ำมือของคนที่เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกเสียเอง
2. กรณีการไต่สวนชันสูตรพลิกศพ 16 ศพ ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ซึ่งพนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนเสนอต่ออัยการและนำคดีขึ้นร้องต่อศาลแล้ว และคดีกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาไต่สวน ซึ่งสำนวนคดีทั้งหมดล้วนแต่บ่งชี้ว่าเป็นการตายอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามจลาจลหรือสลายการชุมนุมของทหารจากกองทัพบกทั้งสิ้น ทั้งที่ความจริงเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ทหารหาญเหล่านั้นออกมาปฏิบัติหน้าที่สลายการชุมนุมอันเป็นการจลาจลโดยมีกำลังอาวุธของกลุ่มผู้ชุมนุม มีการวางเพลิงเผาทรัพย์ สถานที่ราชการ และทรัพย์สินของเอกชน มีการคุกคามต่อสิทธิเสรีภาพชีวิตและทรัพย์สินของสุจริตชน เหิมเกริมกระทั่งบุกยึดโรงพยาบาลจุฬาฯ อันเป็นที่ประทับรักษาพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราช ในขณะนั้น
การปฏิบัติหน้าที่ของทหารเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล และผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายระเบียบการบริหารราชการของกระทรวงกลาโหม อยู่ภายใต้การคุ้มครองของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อันมีเหตุสมควรอย่างยิ่ง เมื่อมีเหตุการณ์บาดเจ็บล้มตายขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวใครควรเป็นจำเลยของเหตุการณ์ วิญญูชนทั้งหลายย่อมทราบดี แต่วันนี้คนที่เผาบ้านเผาเมืองก่อการจลาจล ได้รับการปูนบำเหน็จความดีความชอบจากรัฐบาลทักษิณ พรรคเพื่อไทย มวลชนคนเสื้อแดงที่ร่วมก่อเหตุได้รับการชดเชยจากเงินภาษีของประชาชนเจ้าของประเทศ รายละ 7.5 ล้านบาท ส่วนทหารหาญที่ทำหน้าที่รักษากฎหมายปกป้องประเทศชาติประชาชนกำลังจะถูกส่งเข้าคุก กลายเป็นจำเลยเสียเอง
คำถามคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ปล่อยให้เป็นเช่นนี้ได้อย่างไร เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของกองทัพอยู่ที่ไหน ความถูกผิดคืออย่างไร ไฉนจึงปล่อยให้ทหารใต้บังคับบัญชาของตนกลายเป็นจำเลยของคนเสื้อแดงไปได้ และยอมให้คนเสื้อแดงกับทักษิณฟอกความผิดตัวเองกลับขาวให้เป็นดำ จากหน้ามือเป็นหลังเท้าเช่นนี้ได้
3. กรณีการเสียชีวิตของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.21 รอ.) จากเหตุการณ์ปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมพวกเสื้อแดง (นปช.) ที่สี่แยกคอกวัวเมื่อคืนวันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 โดยมีแผลฉกรรจ์ที่บริเวณศีรษะและลำตัว ถูกยิงหลายนัด ปรากฏภาพและคลิปวิดีโอชัดเจนว่ามีกองกำลังอาวุธที่ติดอาวุธร้ายแรงอยู่ร่วมกับผู้ชุมนุมขณะเข้าปะทะกับทหารที่ออกปฏิบัติหน้าที่ขณะนั้น
เหตุการณ์จากวันนั้นจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาร่วม 2 ปี นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยาของ พล.อ.ร่มเกล้า พร้อมครอบครัวนายทหารที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น ยังต้องต่อสู้และเรียกร้องหาความเป็นธรรมให้กับสามีและคนในครอบครัวของตนเพื่อให้สอบสวนหาผู้กระทำความผิดและดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยยื่นเรื่องต่อผู้บัญชาการกองทัพบกครั้งแล้วครั้งเล่า จนบัดนี้ก็ยังไม่สามารถหาผู้กระทำความผิดได้
ทั้งๆ ที่เหตุการณ์เกิดขึ้นกลางบ้านกลางเมืองต่อหน้าประจักษ์พยานมากมาย ขณะที่คดีคนเสื้อแดงผู้ก่อการจลาจลตายกลับมีความคืบหน้าจนนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อดำเนินคดีและเอาผิดกับทหารให้ได้ แม้ทหารจะไม่ได้ทำความผิดแต่อย่างใดก็ตาม นับว่าเป็นเรื่องเศร้าและสะเทือนใจต่อประชาชนผู้รักชาติ รักความถูกต้องเป็นธรรมอย่างยิ่ง คำถามจึงพุ่งเป้ามาที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการกองทัพบกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไม่แปลกเลยที่ประชาชนทั้งหลายในประเทศนี้ จะมีคำถามดังๆ ไปถึงกองทัพบก ผู้บัญชาการทหารบก และบรรดาผู้บังคับบัญชาในกองทัพบกทั้งหลาย ทั้งในอดีตและปัจจุบันว่า เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของกองทัพบกอยู่ที่ไหน หรือจะให้ประชาชนร้องเพลง “หลับเถิดทหารกล้า ปวงประชาจะคุ้มภัย ประชาชนพลเรือนไทย จะปกป้องแผ่นดินเอง”
1. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบก และเป็นอดีตหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หันมาเล่นการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ชูป้ายร้องตะโกนเรียกร้องให้คนในชาติหันมาปรองดอง จูบปากกับรัฐบาลทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ที่ตนเองเคยปฏิวัติ ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลทักษิณมาก่อน
ด้วยเหตุผลตามแถลงการณ์ของคณะปฏิรูปฯ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ว่ารัฐบาลทักษิณบริหารบ้านเมืองโดยก่อให้เกิดปัญหาการขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้รัก สามัคคีของชนในชาติ มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง ครอบงำหน่วยงานและองค์กรอิสระ และทำลายกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทั้งมีพฤติกรรมหมิ่นต่อพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ (รายละเอียดปรากฏตามแถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน 2549 เวลา 23.50 น. ลงนามโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน)
นอกจากยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลทักษิณ หัวหน้าคณะปฏิรูปฯ ผู้นี้ยังเป็นผู้ออกประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่มีนายนาม ยิ้มแย้ม และคณะรวม 12 ท่าน เป็นคณะกรรมการ ตรวจสอบการกระทำอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐของบรรดาข้าราชการ และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งหลาย จนนำมาสู่ขบวนการดำเนินคดีฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมและศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งที่มีคำพิพากษาไปแล้วและยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลอีกหลายคดี
ไม่เพียงเท่านี้ยังมีประกาศ คำสั่งอีกหลายร้อยฉบับ รวมถึงดำเนินการให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งก็คือฉบับปี พ.ศ. 2550 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผลของการดำเนินการทั้งหลายภายหลังการยึดอำนาจ ได้ดำเนินการไปและเป็นไปตามเหตุผลของคณะปฏิรูปฯ โดยสำเร็จปรากฏผลบางส่วน เช่น คดียึดทรัพย์นักการเมือง 4.6 หมื่นล้านบาท บางส่วนอยู่ระหว่างดำเนินการ แต่วันนี้คนที่เคยออกคำสั่งและประกาศในฐานะอดีตผู้บัญชาการทหารบก, หัวหน้าคณะปฏิรูปฯ ขณะสวมเครื่องแบบเต็มยศของชายชาติทหารแห่งกองทัพไทย กลับกลายเป็นผู้ที่ยอมก้มหัวรับใช้นักการเมือง ทรยศต่อหลักการประกาศและคำสั่ง ทำลายเกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งกองทัพบกลงหมดสิ้นเป็นที่น่าละอายยิ่งนัก
การทำตัวออกหน้าเรียกร้องและป่าวประกาศให้ผู้คนทั้งหลายยกเลิกความผิดทั้งหมดให้กับนักการเมืองที่ทุจริต คดโกง ทรยศต่อชาติบ้านเมือง ต่อต้านและทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ บงการและชักใยให้คนเสื้อแดงก่อจลาจล เผาประเทศชาติของตัวเอง กระทั่งเข่นฆ่าทหารอย่าง พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และทหารหาญอื่นๆ อีกจำนวนไม่น้อย ทำลายชีวิตทรัพย์สินของชาติและประชาชนกลางบ้านกลางเมือง เขายังทำเพิกเฉย ปิดตามองไม่เห็น ไม่พอยังบังอาจเรียกร้องให้ทุกคนยุติปัญหานี้อย่างไร้เกียรติและศักดิ์ศรี ไม่ยึดถือกฎหมายหรือขื่อแปของบ้านเมือง ทำลายสิ้นซึ่งหลักนิติรัฐและขบวนการยุติธรรมทั้งหลายของชาติ เสนอสิ่งที่เป็นการเหยียบย่ำเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีแห่งกองทัพบกด้วยน้ำมือของคนที่เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกเสียเอง
2. กรณีการไต่สวนชันสูตรพลิกศพ 16 ศพ ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ซึ่งพนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนเสนอต่ออัยการและนำคดีขึ้นร้องต่อศาลแล้ว และคดีกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาไต่สวน ซึ่งสำนวนคดีทั้งหมดล้วนแต่บ่งชี้ว่าเป็นการตายอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามจลาจลหรือสลายการชุมนุมของทหารจากกองทัพบกทั้งสิ้น ทั้งที่ความจริงเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ทหารหาญเหล่านั้นออกมาปฏิบัติหน้าที่สลายการชุมนุมอันเป็นการจลาจลโดยมีกำลังอาวุธของกลุ่มผู้ชุมนุม มีการวางเพลิงเผาทรัพย์ สถานที่ราชการ และทรัพย์สินของเอกชน มีการคุกคามต่อสิทธิเสรีภาพชีวิตและทรัพย์สินของสุจริตชน เหิมเกริมกระทั่งบุกยึดโรงพยาบาลจุฬาฯ อันเป็นที่ประทับรักษาพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราช ในขณะนั้น
การปฏิบัติหน้าที่ของทหารเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล และผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายระเบียบการบริหารราชการของกระทรวงกลาโหม อยู่ภายใต้การคุ้มครองของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อันมีเหตุสมควรอย่างยิ่ง เมื่อมีเหตุการณ์บาดเจ็บล้มตายขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวใครควรเป็นจำเลยของเหตุการณ์ วิญญูชนทั้งหลายย่อมทราบดี แต่วันนี้คนที่เผาบ้านเผาเมืองก่อการจลาจล ได้รับการปูนบำเหน็จความดีความชอบจากรัฐบาลทักษิณ พรรคเพื่อไทย มวลชนคนเสื้อแดงที่ร่วมก่อเหตุได้รับการชดเชยจากเงินภาษีของประชาชนเจ้าของประเทศ รายละ 7.5 ล้านบาท ส่วนทหารหาญที่ทำหน้าที่รักษากฎหมายปกป้องประเทศชาติประชาชนกำลังจะถูกส่งเข้าคุก กลายเป็นจำเลยเสียเอง
คำถามคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ปล่อยให้เป็นเช่นนี้ได้อย่างไร เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของกองทัพอยู่ที่ไหน ความถูกผิดคืออย่างไร ไฉนจึงปล่อยให้ทหารใต้บังคับบัญชาของตนกลายเป็นจำเลยของคนเสื้อแดงไปได้ และยอมให้คนเสื้อแดงกับทักษิณฟอกความผิดตัวเองกลับขาวให้เป็นดำ จากหน้ามือเป็นหลังเท้าเช่นนี้ได้
3. กรณีการเสียชีวิตของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.21 รอ.) จากเหตุการณ์ปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมพวกเสื้อแดง (นปช.) ที่สี่แยกคอกวัวเมื่อคืนวันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 โดยมีแผลฉกรรจ์ที่บริเวณศีรษะและลำตัว ถูกยิงหลายนัด ปรากฏภาพและคลิปวิดีโอชัดเจนว่ามีกองกำลังอาวุธที่ติดอาวุธร้ายแรงอยู่ร่วมกับผู้ชุมนุมขณะเข้าปะทะกับทหารที่ออกปฏิบัติหน้าที่ขณะนั้น
เหตุการณ์จากวันนั้นจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาร่วม 2 ปี นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยาของ พล.อ.ร่มเกล้า พร้อมครอบครัวนายทหารที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น ยังต้องต่อสู้และเรียกร้องหาความเป็นธรรมให้กับสามีและคนในครอบครัวของตนเพื่อให้สอบสวนหาผู้กระทำความผิดและดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยยื่นเรื่องต่อผู้บัญชาการกองทัพบกครั้งแล้วครั้งเล่า จนบัดนี้ก็ยังไม่สามารถหาผู้กระทำความผิดได้
ทั้งๆ ที่เหตุการณ์เกิดขึ้นกลางบ้านกลางเมืองต่อหน้าประจักษ์พยานมากมาย ขณะที่คดีคนเสื้อแดงผู้ก่อการจลาจลตายกลับมีความคืบหน้าจนนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อดำเนินคดีและเอาผิดกับทหารให้ได้ แม้ทหารจะไม่ได้ทำความผิดแต่อย่างใดก็ตาม นับว่าเป็นเรื่องเศร้าและสะเทือนใจต่อประชาชนผู้รักชาติ รักความถูกต้องเป็นธรรมอย่างยิ่ง คำถามจึงพุ่งเป้ามาที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการกองทัพบกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไม่แปลกเลยที่ประชาชนทั้งหลายในประเทศนี้ จะมีคำถามดังๆ ไปถึงกองทัพบก ผู้บัญชาการทหารบก และบรรดาผู้บังคับบัญชาในกองทัพบกทั้งหลาย ทั้งในอดีตและปัจจุบันว่า เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของกองทัพบกอยู่ที่ไหน หรือจะให้ประชาชนร้องเพลง “หลับเถิดทหารกล้า ปวงประชาจะคุ้มภัย ประชาชนพลเรือนไทย จะปกป้องแผ่นดินเอง”