ASTVผู้จัดการรายวัน - ศาลปกครองสูงสุด สั่งรื้อคดีให้พล.ต.ต.มานิต วงศ์สมบูรณ์ กลับเข้ารับราชการใหม่ โดยสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำขอพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ของป.ป.ช. พร้อมสั่งให้เปลี่ยนองค์คณะ ชี้เหตุป.ป.ช.ถือเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการวินิจฉัยคดีแต่แรกสมควรที่ศาลฯต้องรับฟังข้อมูลป.ป.ช.ก่อนพิพากษา
วานนี้ ( 14 มี.ค.) ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น โดยสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำขอพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีที่ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่ให้มีการเพิกถอนคำสั่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) กรณีลงโทษปลด พล.ต.ต.มานิต วงศ์สมบูรณ์ อดีตรองผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 ออกจากราชการ เนื่องจากถูกป.ป.ช.ชี้มูลว่า กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการผิดวินัยอย่างร้ายแรง จากการที่ใช้ตำแหน่งช่วยเหลือให้ผู้ที่กระทำผิดในกรณีเข้าควบคุมจับกุมนายวิชัย เอื้อสิยาพันธุ์ ซึ่งเป็นประชาชนที่ตะโกนต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 49 ที่บริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า จนเป็นเหตุให้มีการทำร้ายร่างกายนายวิชัย
ทั้งนี้ การมีคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากหลังศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ก.ย.52 ระบุว่า การไต่สวนของป.ป.ช.ที่นำมาสู่การมีมติว่าพล.ต.ต.มานิต กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีคำสั่งเพิกถอน คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ลงโทษปลดพล.ต.ต.มานิตออกจากราชการ ตามมติที่ป.ป.ช.เสนอ รวมทั้งสั่งให้ผบ.ตร.รับพล.ต.ต.มานิตกลับเข้ารับราชการ และคืนสิทธิที่พึงได้ตามกฎหมายให้พล.ต.ต.มานิต ภายใน 45 วันนับแต่คดีถึงที่สุด ปรากฎว่าคู่กรณีคือพล.ต.ต.มานิต และสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อครบกำหนดเวลา จึงทำให้คดีถึงที่สุด แต่ป.ป.ช.เห็นว่าตนเองเสียหายจึงได้ยื่นคำขอเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.52 โดยศาลปกครองชั้นต้นยกคำขออุทธรณ์ อ้างว่าป.ป.ช.เป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียหรืออาจถูกกระทบต่อผลแห่งคดีนี้ ป.ป.ช.จึงได้ยื่นอุทธรณ์อีกครั้งต่อศาลปกครองสูงสุด
ส่วนที่ศาลปกครองสูงสุด สั่งให้ศาลชั้นต้นรับพิจารณาคดีใหม่ โดยระบุว่า คดีนี้เป็นกรณีทีมีผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 จึงมีการส่งเรื่องให้ป.ป.ช.พิจารณาดำเนินการ ต่อมาป.ป.ช.ได้มีหนังสือถึงผบ.ตร. ส่งรายงานการไต่สวนของคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาโทษทางวินัย กับพล.ต.ต.มานิต เนื่องจากป.ป.ช.มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า การกระทำของพล.ต.ต.มานิตเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีคำสั่งลงโทษปลดพล.ต.ต.มานิตออกจากราชการ ซึ่งพล.ต.ต.มานิตได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษต่อ ก.ตร. ที่ก็มีมติให้ยกอุทธรณ์
จึงจะเห็นได้ว่าป.ป.ช.เป็นผู้ตรวจสอบและแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนเพื่อดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง และได้มีการดำเนินการไต่สวนผู้กล่าวหา พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ จึงถือว่าป.ป.ช.เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการชี้มูลของ พล.ต.ต.มานิตมาตั้งแต่ต้น
การที่ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณา ว่า กระบวนการไต่สวนของคณะอนุกรรมการไต่สวน ป.ป.ช.นั้นไม่เป็นไปตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 และระเบียบป.ป.ช.ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการไต่สวน 2547 หลายประการ กระบวนการก่อนออกคำสั่งลงโทษทางวินัยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่เป็นการยุติธรรมต่อพล.ต.ต.มานิตนั้น เห็นว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลปกครองชั้นต้นย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพการดำเนินคดีของ ป.ป.ช.ตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจไว้ ซึ่งที่ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยว่า การดำเนินการของป.ป.ช.ดังกล่าว เป็นเพียงการเตรียมการ และการดำเนินการเพื่อจัดให้มีคำสั่งลงโทษทางวินัยพล.ต.ต.มานิต เป็นเพียงการพิจารณาทางปกครองตามมาตรา 5 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 ไม่มีผลบังคับให้ผบ.ตร.และก.ตร.ต้องพิจารณาโทษตามฐานความผิดที่ป.ป.ช.ได้มีมติจึงไม่ถูกต้อง ป.ป.ช.จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องในการวินิจฉัยดังกล่าว สมควรที่จะต้องเข้ามาอยู่ในคดีตั้งแต่ต้น อุทธรณ์ข้อนี้ของป.ป.ช.จึงฟังขึ้น
ส่วนที่ป.ป.ช.อุทธรณ์ว่า ศาลปกครองชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดนั้นเห็นว่า เมื่อศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วว่ากระบวนการไต่สวนของคณะอนุกรรมการไต่สวนป.ป.ช.ไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ก็ควรที่จะได้ตรวจสอบพยานเอกสารดังกล่าวจากป.ป.ช. ที่ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาโดยสุรปว่าข้อเท็จจริงจากเอกสารหลักฐาน คำให้การของพยานบุคคล พยานวัตถุ แผ่นวีดีทัศน์ ซึ่งมีภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและภาพถ่าย ที่อยู่ในสำนวนคดี ที่คู่กรณีได้ส่งมาส่วนใหญ่ปรากฎอยู่ในสำนวนของป.ป.ช. โดยมีข้อเท็จจริงที่ถูกกล่าวหาตรงกับเอกสารรายงานไต่สวนข้อเท็จจริง หรือจากการนำส่งของพล.ต.ต.มานิต ผบ.ตร.และก.ตร. โดยยังมิได้รับฟังหลักฐานโดยตรงจากป.ป.ช.ซึ่งอาจมีผลทำให้การรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดได้ ประกอบเมื่อศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยว่า ป.ป.ช.ชี้มูลไม่ชอบด้วยกฎหมายก็สมควรอย่างยิ่งที่ต้องตรวจสอบพยานและเอกสารหลักฐาน จากป.ป.ช.เป็นสำคัญด้วย
ดังนั้น ข้ออ้างของป.ป.ช.ที่ว่าศาลปกครองชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด ป.ป.ช.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้เข้ามาในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหรือเข้ามาแล้วถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วม ในการดำเนินกระบวนพิจารณา หรือมีข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่เป็นที่ยุติธรรมจึงรับฟังได้ ป.ป.ช.จึงเป็นผู้มีสิทธิที่จะขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาคดีใหม่
ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลปกครองชั้นต้นได้รับฟังมาไม่เพียงพอ แก่การวินิจฉัยชี้ขาดคดี ศาลปกครองสูงสุดเห็น ว่า มีเหตุอันสมควรที่ศาลปกครองสูงสุดจะกำหนดให้ศาลปกครองชั้นต้นที่ประกอบด้วยตุลาการศาลปกครองชั้นต้นอื่นที่ไม่ใช่องค์คณะเดิมเป็นองค์คณะพิจารณาคดีนี้ใหม่ จึงมีคำสั่งกลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้รับคำขอพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ของป.ป.ช.ไว้พิจารณา และดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามรูปคดีโดยองค์คณะใหม่ของศาลปกครองชั้นต้น
วานนี้ ( 14 มี.ค.) ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น โดยสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำขอพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีที่ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่ให้มีการเพิกถอนคำสั่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) กรณีลงโทษปลด พล.ต.ต.มานิต วงศ์สมบูรณ์ อดีตรองผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 ออกจากราชการ เนื่องจากถูกป.ป.ช.ชี้มูลว่า กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการผิดวินัยอย่างร้ายแรง จากการที่ใช้ตำแหน่งช่วยเหลือให้ผู้ที่กระทำผิดในกรณีเข้าควบคุมจับกุมนายวิชัย เอื้อสิยาพันธุ์ ซึ่งเป็นประชาชนที่ตะโกนต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 49 ที่บริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า จนเป็นเหตุให้มีการทำร้ายร่างกายนายวิชัย
ทั้งนี้ การมีคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากหลังศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ก.ย.52 ระบุว่า การไต่สวนของป.ป.ช.ที่นำมาสู่การมีมติว่าพล.ต.ต.มานิต กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีคำสั่งเพิกถอน คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ลงโทษปลดพล.ต.ต.มานิตออกจากราชการ ตามมติที่ป.ป.ช.เสนอ รวมทั้งสั่งให้ผบ.ตร.รับพล.ต.ต.มานิตกลับเข้ารับราชการ และคืนสิทธิที่พึงได้ตามกฎหมายให้พล.ต.ต.มานิต ภายใน 45 วันนับแต่คดีถึงที่สุด ปรากฎว่าคู่กรณีคือพล.ต.ต.มานิต และสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อครบกำหนดเวลา จึงทำให้คดีถึงที่สุด แต่ป.ป.ช.เห็นว่าตนเองเสียหายจึงได้ยื่นคำขอเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.52 โดยศาลปกครองชั้นต้นยกคำขออุทธรณ์ อ้างว่าป.ป.ช.เป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียหรืออาจถูกกระทบต่อผลแห่งคดีนี้ ป.ป.ช.จึงได้ยื่นอุทธรณ์อีกครั้งต่อศาลปกครองสูงสุด
ส่วนที่ศาลปกครองสูงสุด สั่งให้ศาลชั้นต้นรับพิจารณาคดีใหม่ โดยระบุว่า คดีนี้เป็นกรณีทีมีผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 จึงมีการส่งเรื่องให้ป.ป.ช.พิจารณาดำเนินการ ต่อมาป.ป.ช.ได้มีหนังสือถึงผบ.ตร. ส่งรายงานการไต่สวนของคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาโทษทางวินัย กับพล.ต.ต.มานิต เนื่องจากป.ป.ช.มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า การกระทำของพล.ต.ต.มานิตเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีคำสั่งลงโทษปลดพล.ต.ต.มานิตออกจากราชการ ซึ่งพล.ต.ต.มานิตได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษต่อ ก.ตร. ที่ก็มีมติให้ยกอุทธรณ์
จึงจะเห็นได้ว่าป.ป.ช.เป็นผู้ตรวจสอบและแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนเพื่อดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง และได้มีการดำเนินการไต่สวนผู้กล่าวหา พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ จึงถือว่าป.ป.ช.เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการชี้มูลของ พล.ต.ต.มานิตมาตั้งแต่ต้น
การที่ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณา ว่า กระบวนการไต่สวนของคณะอนุกรรมการไต่สวน ป.ป.ช.นั้นไม่เป็นไปตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 และระเบียบป.ป.ช.ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการไต่สวน 2547 หลายประการ กระบวนการก่อนออกคำสั่งลงโทษทางวินัยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่เป็นการยุติธรรมต่อพล.ต.ต.มานิตนั้น เห็นว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลปกครองชั้นต้นย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพการดำเนินคดีของ ป.ป.ช.ตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจไว้ ซึ่งที่ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยว่า การดำเนินการของป.ป.ช.ดังกล่าว เป็นเพียงการเตรียมการ และการดำเนินการเพื่อจัดให้มีคำสั่งลงโทษทางวินัยพล.ต.ต.มานิต เป็นเพียงการพิจารณาทางปกครองตามมาตรา 5 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 ไม่มีผลบังคับให้ผบ.ตร.และก.ตร.ต้องพิจารณาโทษตามฐานความผิดที่ป.ป.ช.ได้มีมติจึงไม่ถูกต้อง ป.ป.ช.จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องในการวินิจฉัยดังกล่าว สมควรที่จะต้องเข้ามาอยู่ในคดีตั้งแต่ต้น อุทธรณ์ข้อนี้ของป.ป.ช.จึงฟังขึ้น
ส่วนที่ป.ป.ช.อุทธรณ์ว่า ศาลปกครองชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดนั้นเห็นว่า เมื่อศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วว่ากระบวนการไต่สวนของคณะอนุกรรมการไต่สวนป.ป.ช.ไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ก็ควรที่จะได้ตรวจสอบพยานเอกสารดังกล่าวจากป.ป.ช. ที่ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาโดยสุรปว่าข้อเท็จจริงจากเอกสารหลักฐาน คำให้การของพยานบุคคล พยานวัตถุ แผ่นวีดีทัศน์ ซึ่งมีภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและภาพถ่าย ที่อยู่ในสำนวนคดี ที่คู่กรณีได้ส่งมาส่วนใหญ่ปรากฎอยู่ในสำนวนของป.ป.ช. โดยมีข้อเท็จจริงที่ถูกกล่าวหาตรงกับเอกสารรายงานไต่สวนข้อเท็จจริง หรือจากการนำส่งของพล.ต.ต.มานิต ผบ.ตร.และก.ตร. โดยยังมิได้รับฟังหลักฐานโดยตรงจากป.ป.ช.ซึ่งอาจมีผลทำให้การรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดได้ ประกอบเมื่อศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยว่า ป.ป.ช.ชี้มูลไม่ชอบด้วยกฎหมายก็สมควรอย่างยิ่งที่ต้องตรวจสอบพยานและเอกสารหลักฐาน จากป.ป.ช.เป็นสำคัญด้วย
ดังนั้น ข้ออ้างของป.ป.ช.ที่ว่าศาลปกครองชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด ป.ป.ช.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้เข้ามาในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหรือเข้ามาแล้วถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วม ในการดำเนินกระบวนพิจารณา หรือมีข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีไม่เป็นที่ยุติธรรมจึงรับฟังได้ ป.ป.ช.จึงเป็นผู้มีสิทธิที่จะขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาคดีใหม่
ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลปกครองชั้นต้นได้รับฟังมาไม่เพียงพอ แก่การวินิจฉัยชี้ขาดคดี ศาลปกครองสูงสุดเห็น ว่า มีเหตุอันสมควรที่ศาลปกครองสูงสุดจะกำหนดให้ศาลปกครองชั้นต้นที่ประกอบด้วยตุลาการศาลปกครองชั้นต้นอื่นที่ไม่ใช่องค์คณะเดิมเป็นองค์คณะพิจารณาคดีนี้ใหม่ จึงมีคำสั่งกลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้รับคำขอพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ของป.ป.ช.ไว้พิจารณา และดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามรูปคดีโดยองค์คณะใหม่ของศาลปกครองชั้นต้น