วานนี้(13 มี.ค.55)พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฐานะรักษาการเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมครม.ว่าครม.อนุมัติหลักการตามที่คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.)เสนอโครงการจำนวน 246 โครงการของกระทรวงคมนาคม วงเงิน 24,828 ล้านบาท โดยรายละเอียดต้องนำกลับไปดำเนินการและเสนอกลับเข้ามาอีกครั้ง
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า 246 โครงการ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 161 งบประมาณ รวม 15,592 ล้านบาท มีโครงการอาทิ เสริมแนวคันกั้นน้ำจากปากคลองระพีพัฒน์–ปากแม่น้ำเจ้าพระยา-ชายทะเล เสริมแนวคันกั้นน้ำคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ซ่อมแซมประตูระบายน้ำ ปรับปรุงคลองระบายน้ำ และติดตั้งสถานีสูบน้ำเพิ่มเติม เป็นต้น
2.พื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 85 โครงการ งบประมาณ 9,235 ล้านบาท มีโครงการอาทิ เสริมแนวคันกั้นน้ำตั้งแต่ปากคลองพระยาบรรลือ จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา เสริมแนวคันกั้นน้ำด้านใต้คลองมหาสวัสดิ์ เสริมแนวคันกั้นน้ำริมแม่น้ำท่าจีน และการเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำคลองทวีวัฒนาให้สามารถระบายน้ำลงสู่พื้นที่แก้มลิงมหาชัย เป็นต้น
ครม.ยังได้มีมติเห็นชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการเพื่อวางระบบบริหารจัดการจัดการน้ำและสร้างอนาคต พ.ศ... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เพื่อเป็นแนวทางดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคต พ.ศ.2555 (พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท) โดย เน้นย้ำให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำแผนบริหารโครงการเพื่อกำหนดระยะเวลา ขนาดของโครงการให้ชัดเจน และให้กระทรวงการคลัง คณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ไปดำเนินการศึกษาและวางแผนในเรื่องหลักเกณฑ์
สำหรับโครงการขยายทางยกระดับบรมราชชนนี มูลค่า 12,500 ล้านบาท และโครงการ Street Canal mถนนพุทธมณฑลสาย 4 และสาย 5 มูลค่ารวม 4,000 ล้านบาทที่กระทรวงคมนาคมเสนอเข้ามาในคราวเดียวกันนี้ยังไม่ได้รับการเห็นชอบจาก ครม. เนื่องจากนายกรัฐมนตรี เห็นควรให้กลับไปทบทวนโครงการและทำรายละเอียดเข้ามาเสนอให้ชัดเจน เพราะถือเป็นโครงการระยะยั่งยืน ต่างจาก 246 โครงการข้างต้นที่เป็นโครงการในระยะเร่งด่วน ที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนหน้าน้ำของปีนี้
โดยให้นำเสนอแผนงานผ่าน กบอ. เพื่อเสนอแผนปฏิบัติการต่อ กนอช.เช่นเดียวกับโครงการอื่นๆที่จะขออนุมัติมาในภายหลัง
วันเดียวกัน ครม. ยังได้อนุมัติงบกลาง 30 ล้านบาท จ้างนักศึกษาทั่วประเทศเก็บข้อมูลน้ำท่วมลงเวป ไซด์ ที่กยน.อนุมัติก่อนหน้านั้น
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพื้นที่รับน้ำ 2 ล้านไร่ หลังจากมีการเสนอที่เข้ามาถึง 3 ล้านไร่ว่า ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สามารถหาพื้นที่ ได้ประมาณ 3 ล้านไร่ แต่จะใช้เท่าไรอย่างไรทางคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) กลับไป ดูรายละเอียด เพราะการใช้พื้นที่รับน้ำจำนวนเท่าไรต้องคำนวณตั้งแต่ต้นน้ำ ซึ่งเวลานี้กำลังประมวลทั้งหมด โดยให้ไปทำ แบบจำลองว่า ถ้าสถานการณ์น้ำปริมาณเท่านี้ น้ำจะไหลลงสู่คู่คลองเท่าไร และต้องหาพื้นที่ รับน้ำเท่าไร เราคง ไม่ได้ประกาศพื้นที่รับน้ำในทันที เพราะทุกบาททุกสตางค์เป็นงบประมาณ
“เราต้องดูก่อนว่า ถ้ามี กรณีน้ำมาต้องใช้พื้นที่เท่าไร ซึ่งวันนี้หาพื้นที่รองรับได้ประมาณ 3 ล้านไร่ ซึ่ง รายละเอียดต้องให้ไปดูและวางพิกัดในจีพีเอสด้วย ถึงจะรู้ว่า แต่ละพื้นที่เป็นพื้นที่รับน้ำนองจริงๆ ดังนั้น คณะกรรมการ กนอช. จึงให้ไปทำรายละเอียดเพิ่มเติม เลยยังไม่ประกาศให้ประชาชนทราบ”
ทั้งนี้ยอมรับว่าต้องข้อความคิดเห็นจากประชาชน แต่วันนี้ยังไม่ทำ เพราะเร็วเกินไป เราต้องเอาแผนทั้งหมดในการพยากรณ์เรื่องของปริมาณน้ำ ซึ่งจะเป็นส่วนสัมพันธ์กัน อย่างที่เรียนถ้าเราดูตั้งแต่ต้นน้ำ ต้องตั้งหลัก ต้นน้ำทั้งหมดว่า น้ำจะมาเท่าไร และ น้ำในเขื่อนรองรับได้เท่าไร และ ผ่าน ตามคูคลองที่ขุดลอกคูคลองอีก เท่าไร ส่วนที่เกินคือส่วนที่เราต้องหาพื้นที่รับน้ำ ฉะนั้นตรงนี้เป็นส่วน สัมพันธ์กัน โดยจะทยอยให้หลักเกณฑ์ มากกว่า และต้องการให้คุยกับประชาชนด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ การยอมรับกันก่อน
สำหรับพื้นที่รับน้ำจะได้ข้อสรุปเมื่อไรนั้น เชื่อว่ายังไงไม่เกินเดือนหน้า หลักการกระทรวงเกษตรฯเสนอมาแล้ว แต่อยากให้เกิดความรอบคอบ จึงได้ให้กระทรวงมหาดไทย บูรณาการในพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง เวลานี้ให้ทำรายละเอียดประมาณไม่เกิน 1 เดือนคงจะมีการ ประกาศทั้งหมด ส่วนหลักเกณฑ์การเยียวยาพื้นที่รับน้ำนั้น ตอนนี้ยังไม่ได้กำหนด แต่จะมาพร้อมๆ กันทั้งหมด
นอกจากนี้ก็ยังไม่ได้กำหนดจะลงพื้นที่ปลายน้ำ แต่จะมีการติดตามคผลจากณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมา โดยใช้ผู้ตรวจราชการ และว่าจ้างนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดช่วยติดตามพื้นที่ และรายงานเข้ามา ซึ่งจะได้ข้อมูลที่มีความใกล้เคียงความจริงมากขึ้น จากนั้นเราจะไปตรวจเพิ่มเติม
ส่วนมาตรการตรวจสอบงบประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาทนั้น ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราห่วงมาก มาตรการทั้งหมดที่เราอนุมัติผ่านการกลั่นกรอง โดยมีคณะกรรมการกบอ. และไปยังกอนช.สุดท้ายกลับมาที่ครม.เหมือนเดิม รวมทั้งขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งถือว่า ขั้นตอนกลั่นกรองเกี่ยวกับเรื่องน้ำขึ้นมามากขึ้นด้วยซ้ำ ที่เหลือการ ทำงานจะทำในขั้นตอนปกติผ่านสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง เหมือนการจัดซื้อจัดจ้างปกติ ไม่ได้ทำอะไรที่ พิเศษเลย เพียงแต่กบอ. และกอนช.จะทำหน้าที่บูรณาการตรวจสอบว่า ทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้งบจาก 3 แสน 5 หมื่นล้านบาท เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการป้องกันอุทกภัยน้ำท่วมอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาราชการโฆษกฯ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้แจ้งต่อครม.ถึงผลการเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ได้รับความเชื่อมั่นทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคธุรกิจเป็นอย่างดี รัฐบาลไทยสร้างความเชื่อมั่นอย่างมาก ต่อรัฐบาลและผู้ค้าชาวญี่ปุ่นมีบริษัทขนาดใหญ่หลายบริษัท เช่น ฮอนด้า ที่ประสบปัญหาสึนามิ ที่ญี่ปุ่น และประสบอุทกภัยที่ไทย ภายหลังเข้าพบนายกฯและการเจรจากับคู่ค้าทำให้เขาเกิดความเชื่อมั่นและยืนยันขยายกรอบการลงทุนในปีนี้และปีถัดไป
โดยที่ญี่ปุ่นเตรียมจะเสนอเรื่องเข้าครม.ของเขาในวันที่ 24 มี.ค.นี้ เพื่ออนุมัติงบประมาณ 8,000ล้านเยน ในการสนับสนุนไทยใช้ในการสร้างถนนวงแหวนรอบนอกป้องกันน้ำท่วมด้วย
นอกจากนิ้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า) ยังจะสนับสนุนงบประมาณในการให้คำปรึกษาเรื่องการระบายน้ำ และเรื่องขยายวีซ่าให้ชาวญี่ปุ่นอยู่ในประเทศไทยนานขึ้น โดยกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเจ้าภาพร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาทั้งยังจะมีการเพิ่มโควตาการสั่งเพิ่มสินค้าไทยอย่างมากโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อหมูและเนื้อไก่ เช่น ไก่ปรุงสุกแช่แข็งจะมีความนิยมมาก
ทั้งนี้ญี่ปุ่นยังให้ความสนใจอนุภูมิภาคใหม่ คือ ชินเดีย หมายถึง ไชน่ากับอินเดีย ซึ่งพม่าอยู่ตรงกลาง จะเป็นส่วนสำคัญต่อไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึกของพม่า ซึ่งญี่ปุ่นฝากไทยให้ความสำคัญกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่จะเชื่อมโยงท่าเรือดังกล่าว นายกฯยังมีโอกาสไปเยี่ยมศูนย์พักพิงของผู้ประสบภัยจากสึนามิ ที่เมืองนาโตริ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ยกโมเดลเมืองดังกล่าวจะเป็นต้นแบบของคณะทำงานในการป้องกันแก้ไขอุทกภัยของไทย ความจริงแล้วสื่อหลายสำนักเช่น เอ็นเอชเค อาซาฮีชิมบุน ได้เสนอผลสัมฤทธิ์การเยือนครั้งนี้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ กนอช.อนุมัติงบ 2.4 หมื่นล้านบริหารจัดการน้ำว่า ขณะนี้เกิดความสับสน เพราะมีแต่ข่าวอนุมัติงบจากคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่รัฐบาลตั้งขึ้น แต่ยังไม่เห็นจุดเริ่มต้นโครงการว่าจะเดินอย่างไร
ตนย้ำหลายครั้งว่า ไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องมีคณะกรรมการ 4-5 ชุด มาดูโครงการเดียวกัน และยังส่งต่อให้หน่วยงานปกติไปพิจารณาอีก คล้ายกับการวนไปวนมาระหว่าง กยน. กนอช. สำนักงบฯ กระทรวงการคลัง และก็จะวนกลับไปกยอ.อีกหรือไม่ ซึ่งไม่ควรจะเป็นแบบนี้
ทั้งนี้ตนเสนอว่าควรจัดระบบใหม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยเฉพาะพื้นที่รับน้ำ หลังจากมีการประชุมกน อช.ก็บอกให้ไปหาพื้นที่รับน้ำซึ่งตรงข้ามกับที่นายกฯชี้แจงก่อนหน้านี้ว่ามีพื้นที่รับน้ำแล้ว
อีกด้าน นายอภิสิทธิ์ กล่าวภายหลังการเข้าพบผู้บริหารหอการค้าญี่ปุ่น ว่า นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการให้รัฐบาลเพิ่มสัดส่วนกองทุนประกันจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 50 ขึ้นไป โดยในขณะนี้ตนกำลังติดตามแนวทางของรัฐบาลที่ยังมีคำถามว่า ภาคเอกชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างไร เพราะกลายเป็นว่ารัฐบาลที่มีมติคณะรัฐมนตรีว่า หากมีความเสียหายเกินกว่ากองทุนจะแบกรับ รัฐบาลจะเข้าไปรับผิดชอบทั้งหมดแต่เงื่อนไขนี้ก็ไม่ได้เป็นคำตอบที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน เพราะนักลงทุนแต่ละรายก็มีเงื่อนไขแตกต่างกัน จึงมองในเรื่องของสัดส่วนกองทุนมากกว่า
ทั้งนี้ หอการค้าญี่ปุ่นก็บอกว่าสำนักงานใหญ่ที่ญี่ปุ่นคงมีคำถามในเรื่องนี้ ตนจึงอยากให้รัฐบาลมองในภาพรวมว่า ช่วยดูแลไม่ไห้ต้นทุนสูงขึ้นทั้งในเรื่องประกันภัย แรงงานและพลังงาน เพราะจะกระทบต่อการตัดสินใจในอนาคตเกี่ยวกับการขยายการลงทุน
ส่วนกรณีที่นายกฯกลับมาจากญี่ปุ่นและระบุว่าประสบความสำเร็จเนื่องจากมีนักลงทุนรายใหม่เกิดขึ้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การขอรับการส่งเสริมการลงทุนในบางอุตสาหกรรมเป็นแผนเดิมอยู่แล้ว ดูได้จากตัวเลขที่ปรากฏเป็นข่าวก่อนหน้านี้ ดังนั้นรัฐบาลควรมองให้ไกลกว่าเรื่องนี้ โดยต้องพิจารณาการขยายฐานการผลิตเป็นอย่างไรเช่น กรณีอุตสาหกรรมยานยนตร์ที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย แต่นับวันประเทศอินโดนิเซีย เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมากขึ้น ดังนั้นการพิจารณาต้นทุนเป็นเรื่องสำคัญ ตนจึงไม่คิดว่าการลงทุนจะเกิดขึ้นหลังนายกฯกล่าวอ้าง เพราะคงไม่มีนักธุรกิจตัดสินใจลงทุนโดยพิจารณาจากการเดินทางไป 2-3 วันของนายกฯ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกปชป. แถลงว่า การเดินทางเยือนญี่ปุ่นของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้ประโยชน์ เพรานักลงทุนญี่ปุ่นยังคาใจในความต้องการกรณีการค้ำประกันเงินกองทุนประกันภัย ที่รัฐบาลให้เพียง 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่พอ โดยนักลงทุนญี่ปุ่นบอกว่าไม่มีโอกาสได้ถามนายกฯ ดังนั้นนายกฯกลับมาแล้ว ปัญหานี้ยังอยู่ เพราะนายกฯเลือกพูดแต่ที่ตัวเองต้องการ แต่ไม่ตรงความต้องการนักลงทุน ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ควรใส่ใจและตั้งใจบริหารราชการแผ่นดินมากกว่านี้ .
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า 246 โครงการ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 161 งบประมาณ รวม 15,592 ล้านบาท มีโครงการอาทิ เสริมแนวคันกั้นน้ำจากปากคลองระพีพัฒน์–ปากแม่น้ำเจ้าพระยา-ชายทะเล เสริมแนวคันกั้นน้ำคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ซ่อมแซมประตูระบายน้ำ ปรับปรุงคลองระบายน้ำ และติดตั้งสถานีสูบน้ำเพิ่มเติม เป็นต้น
2.พื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 85 โครงการ งบประมาณ 9,235 ล้านบาท มีโครงการอาทิ เสริมแนวคันกั้นน้ำตั้งแต่ปากคลองพระยาบรรลือ จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา เสริมแนวคันกั้นน้ำด้านใต้คลองมหาสวัสดิ์ เสริมแนวคันกั้นน้ำริมแม่น้ำท่าจีน และการเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำคลองทวีวัฒนาให้สามารถระบายน้ำลงสู่พื้นที่แก้มลิงมหาชัย เป็นต้น
ครม.ยังได้มีมติเห็นชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการเพื่อวางระบบบริหารจัดการจัดการน้ำและสร้างอนาคต พ.ศ... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เพื่อเป็นแนวทางดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคต พ.ศ.2555 (พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท) โดย เน้นย้ำให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำแผนบริหารโครงการเพื่อกำหนดระยะเวลา ขนาดของโครงการให้ชัดเจน และให้กระทรวงการคลัง คณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ไปดำเนินการศึกษาและวางแผนในเรื่องหลักเกณฑ์
สำหรับโครงการขยายทางยกระดับบรมราชชนนี มูลค่า 12,500 ล้านบาท และโครงการ Street Canal mถนนพุทธมณฑลสาย 4 และสาย 5 มูลค่ารวม 4,000 ล้านบาทที่กระทรวงคมนาคมเสนอเข้ามาในคราวเดียวกันนี้ยังไม่ได้รับการเห็นชอบจาก ครม. เนื่องจากนายกรัฐมนตรี เห็นควรให้กลับไปทบทวนโครงการและทำรายละเอียดเข้ามาเสนอให้ชัดเจน เพราะถือเป็นโครงการระยะยั่งยืน ต่างจาก 246 โครงการข้างต้นที่เป็นโครงการในระยะเร่งด่วน ที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนหน้าน้ำของปีนี้
โดยให้นำเสนอแผนงานผ่าน กบอ. เพื่อเสนอแผนปฏิบัติการต่อ กนอช.เช่นเดียวกับโครงการอื่นๆที่จะขออนุมัติมาในภายหลัง
วันเดียวกัน ครม. ยังได้อนุมัติงบกลาง 30 ล้านบาท จ้างนักศึกษาทั่วประเทศเก็บข้อมูลน้ำท่วมลงเวป ไซด์ ที่กยน.อนุมัติก่อนหน้านั้น
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพื้นที่รับน้ำ 2 ล้านไร่ หลังจากมีการเสนอที่เข้ามาถึง 3 ล้านไร่ว่า ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สามารถหาพื้นที่ ได้ประมาณ 3 ล้านไร่ แต่จะใช้เท่าไรอย่างไรทางคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) กลับไป ดูรายละเอียด เพราะการใช้พื้นที่รับน้ำจำนวนเท่าไรต้องคำนวณตั้งแต่ต้นน้ำ ซึ่งเวลานี้กำลังประมวลทั้งหมด โดยให้ไปทำ แบบจำลองว่า ถ้าสถานการณ์น้ำปริมาณเท่านี้ น้ำจะไหลลงสู่คู่คลองเท่าไร และต้องหาพื้นที่ รับน้ำเท่าไร เราคง ไม่ได้ประกาศพื้นที่รับน้ำในทันที เพราะทุกบาททุกสตางค์เป็นงบประมาณ
“เราต้องดูก่อนว่า ถ้ามี กรณีน้ำมาต้องใช้พื้นที่เท่าไร ซึ่งวันนี้หาพื้นที่รองรับได้ประมาณ 3 ล้านไร่ ซึ่ง รายละเอียดต้องให้ไปดูและวางพิกัดในจีพีเอสด้วย ถึงจะรู้ว่า แต่ละพื้นที่เป็นพื้นที่รับน้ำนองจริงๆ ดังนั้น คณะกรรมการ กนอช. จึงให้ไปทำรายละเอียดเพิ่มเติม เลยยังไม่ประกาศให้ประชาชนทราบ”
ทั้งนี้ยอมรับว่าต้องข้อความคิดเห็นจากประชาชน แต่วันนี้ยังไม่ทำ เพราะเร็วเกินไป เราต้องเอาแผนทั้งหมดในการพยากรณ์เรื่องของปริมาณน้ำ ซึ่งจะเป็นส่วนสัมพันธ์กัน อย่างที่เรียนถ้าเราดูตั้งแต่ต้นน้ำ ต้องตั้งหลัก ต้นน้ำทั้งหมดว่า น้ำจะมาเท่าไร และ น้ำในเขื่อนรองรับได้เท่าไร และ ผ่าน ตามคูคลองที่ขุดลอกคูคลองอีก เท่าไร ส่วนที่เกินคือส่วนที่เราต้องหาพื้นที่รับน้ำ ฉะนั้นตรงนี้เป็นส่วน สัมพันธ์กัน โดยจะทยอยให้หลักเกณฑ์ มากกว่า และต้องการให้คุยกับประชาชนด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ การยอมรับกันก่อน
สำหรับพื้นที่รับน้ำจะได้ข้อสรุปเมื่อไรนั้น เชื่อว่ายังไงไม่เกินเดือนหน้า หลักการกระทรวงเกษตรฯเสนอมาแล้ว แต่อยากให้เกิดความรอบคอบ จึงได้ให้กระทรวงมหาดไทย บูรณาการในพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง เวลานี้ให้ทำรายละเอียดประมาณไม่เกิน 1 เดือนคงจะมีการ ประกาศทั้งหมด ส่วนหลักเกณฑ์การเยียวยาพื้นที่รับน้ำนั้น ตอนนี้ยังไม่ได้กำหนด แต่จะมาพร้อมๆ กันทั้งหมด
นอกจากนี้ก็ยังไม่ได้กำหนดจะลงพื้นที่ปลายน้ำ แต่จะมีการติดตามคผลจากณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมา โดยใช้ผู้ตรวจราชการ และว่าจ้างนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดช่วยติดตามพื้นที่ และรายงานเข้ามา ซึ่งจะได้ข้อมูลที่มีความใกล้เคียงความจริงมากขึ้น จากนั้นเราจะไปตรวจเพิ่มเติม
ส่วนมาตรการตรวจสอบงบประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาทนั้น ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราห่วงมาก มาตรการทั้งหมดที่เราอนุมัติผ่านการกลั่นกรอง โดยมีคณะกรรมการกบอ. และไปยังกอนช.สุดท้ายกลับมาที่ครม.เหมือนเดิม รวมทั้งขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งถือว่า ขั้นตอนกลั่นกรองเกี่ยวกับเรื่องน้ำขึ้นมามากขึ้นด้วยซ้ำ ที่เหลือการ ทำงานจะทำในขั้นตอนปกติผ่านสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง เหมือนการจัดซื้อจัดจ้างปกติ ไม่ได้ทำอะไรที่ พิเศษเลย เพียงแต่กบอ. และกอนช.จะทำหน้าที่บูรณาการตรวจสอบว่า ทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้งบจาก 3 แสน 5 หมื่นล้านบาท เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการป้องกันอุทกภัยน้ำท่วมอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาราชการโฆษกฯ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้แจ้งต่อครม.ถึงผลการเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ได้รับความเชื่อมั่นทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคธุรกิจเป็นอย่างดี รัฐบาลไทยสร้างความเชื่อมั่นอย่างมาก ต่อรัฐบาลและผู้ค้าชาวญี่ปุ่นมีบริษัทขนาดใหญ่หลายบริษัท เช่น ฮอนด้า ที่ประสบปัญหาสึนามิ ที่ญี่ปุ่น และประสบอุทกภัยที่ไทย ภายหลังเข้าพบนายกฯและการเจรจากับคู่ค้าทำให้เขาเกิดความเชื่อมั่นและยืนยันขยายกรอบการลงทุนในปีนี้และปีถัดไป
โดยที่ญี่ปุ่นเตรียมจะเสนอเรื่องเข้าครม.ของเขาในวันที่ 24 มี.ค.นี้ เพื่ออนุมัติงบประมาณ 8,000ล้านเยน ในการสนับสนุนไทยใช้ในการสร้างถนนวงแหวนรอบนอกป้องกันน้ำท่วมด้วย
นอกจากนิ้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า) ยังจะสนับสนุนงบประมาณในการให้คำปรึกษาเรื่องการระบายน้ำ และเรื่องขยายวีซ่าให้ชาวญี่ปุ่นอยู่ในประเทศไทยนานขึ้น โดยกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเจ้าภาพร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาทั้งยังจะมีการเพิ่มโควตาการสั่งเพิ่มสินค้าไทยอย่างมากโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อหมูและเนื้อไก่ เช่น ไก่ปรุงสุกแช่แข็งจะมีความนิยมมาก
ทั้งนี้ญี่ปุ่นยังให้ความสนใจอนุภูมิภาคใหม่ คือ ชินเดีย หมายถึง ไชน่ากับอินเดีย ซึ่งพม่าอยู่ตรงกลาง จะเป็นส่วนสำคัญต่อไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึกของพม่า ซึ่งญี่ปุ่นฝากไทยให้ความสำคัญกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่จะเชื่อมโยงท่าเรือดังกล่าว นายกฯยังมีโอกาสไปเยี่ยมศูนย์พักพิงของผู้ประสบภัยจากสึนามิ ที่เมืองนาโตริ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ยกโมเดลเมืองดังกล่าวจะเป็นต้นแบบของคณะทำงานในการป้องกันแก้ไขอุทกภัยของไทย ความจริงแล้วสื่อหลายสำนักเช่น เอ็นเอชเค อาซาฮีชิมบุน ได้เสนอผลสัมฤทธิ์การเยือนครั้งนี้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ กนอช.อนุมัติงบ 2.4 หมื่นล้านบริหารจัดการน้ำว่า ขณะนี้เกิดความสับสน เพราะมีแต่ข่าวอนุมัติงบจากคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่รัฐบาลตั้งขึ้น แต่ยังไม่เห็นจุดเริ่มต้นโครงการว่าจะเดินอย่างไร
ตนย้ำหลายครั้งว่า ไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องมีคณะกรรมการ 4-5 ชุด มาดูโครงการเดียวกัน และยังส่งต่อให้หน่วยงานปกติไปพิจารณาอีก คล้ายกับการวนไปวนมาระหว่าง กยน. กนอช. สำนักงบฯ กระทรวงการคลัง และก็จะวนกลับไปกยอ.อีกหรือไม่ ซึ่งไม่ควรจะเป็นแบบนี้
ทั้งนี้ตนเสนอว่าควรจัดระบบใหม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยเฉพาะพื้นที่รับน้ำ หลังจากมีการประชุมกน อช.ก็บอกให้ไปหาพื้นที่รับน้ำซึ่งตรงข้ามกับที่นายกฯชี้แจงก่อนหน้านี้ว่ามีพื้นที่รับน้ำแล้ว
อีกด้าน นายอภิสิทธิ์ กล่าวภายหลังการเข้าพบผู้บริหารหอการค้าญี่ปุ่น ว่า นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการให้รัฐบาลเพิ่มสัดส่วนกองทุนประกันจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 50 ขึ้นไป โดยในขณะนี้ตนกำลังติดตามแนวทางของรัฐบาลที่ยังมีคำถามว่า ภาคเอกชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างไร เพราะกลายเป็นว่ารัฐบาลที่มีมติคณะรัฐมนตรีว่า หากมีความเสียหายเกินกว่ากองทุนจะแบกรับ รัฐบาลจะเข้าไปรับผิดชอบทั้งหมดแต่เงื่อนไขนี้ก็ไม่ได้เป็นคำตอบที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน เพราะนักลงทุนแต่ละรายก็มีเงื่อนไขแตกต่างกัน จึงมองในเรื่องของสัดส่วนกองทุนมากกว่า
ทั้งนี้ หอการค้าญี่ปุ่นก็บอกว่าสำนักงานใหญ่ที่ญี่ปุ่นคงมีคำถามในเรื่องนี้ ตนจึงอยากให้รัฐบาลมองในภาพรวมว่า ช่วยดูแลไม่ไห้ต้นทุนสูงขึ้นทั้งในเรื่องประกันภัย แรงงานและพลังงาน เพราะจะกระทบต่อการตัดสินใจในอนาคตเกี่ยวกับการขยายการลงทุน
ส่วนกรณีที่นายกฯกลับมาจากญี่ปุ่นและระบุว่าประสบความสำเร็จเนื่องจากมีนักลงทุนรายใหม่เกิดขึ้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การขอรับการส่งเสริมการลงทุนในบางอุตสาหกรรมเป็นแผนเดิมอยู่แล้ว ดูได้จากตัวเลขที่ปรากฏเป็นข่าวก่อนหน้านี้ ดังนั้นรัฐบาลควรมองให้ไกลกว่าเรื่องนี้ โดยต้องพิจารณาการขยายฐานการผลิตเป็นอย่างไรเช่น กรณีอุตสาหกรรมยานยนตร์ที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย แต่นับวันประเทศอินโดนิเซีย เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมากขึ้น ดังนั้นการพิจารณาต้นทุนเป็นเรื่องสำคัญ ตนจึงไม่คิดว่าการลงทุนจะเกิดขึ้นหลังนายกฯกล่าวอ้าง เพราะคงไม่มีนักธุรกิจตัดสินใจลงทุนโดยพิจารณาจากการเดินทางไป 2-3 วันของนายกฯ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกปชป. แถลงว่า การเดินทางเยือนญี่ปุ่นของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้ประโยชน์ เพรานักลงทุนญี่ปุ่นยังคาใจในความต้องการกรณีการค้ำประกันเงินกองทุนประกันภัย ที่รัฐบาลให้เพียง 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่พอ โดยนักลงทุนญี่ปุ่นบอกว่าไม่มีโอกาสได้ถามนายกฯ ดังนั้นนายกฯกลับมาแล้ว ปัญหานี้ยังอยู่ เพราะนายกฯเลือกพูดแต่ที่ตัวเองต้องการ แต่ไม่ตรงความต้องการนักลงทุน ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ควรใส่ใจและตั้งใจบริหารราชการแผ่นดินมากกว่านี้ .