ASTVผู้จัดการรายวัน -"มาร์ค" ตรวจการบ้านทัวร์น้ำท่วม 10 ข้อ ชี้รัฐบาลยังต้องทำงานหนัก และชัดเจนมากขึ้น"สาทิตย์" อัดคิดแต่ถลุงงบฯ ไร้แผนบริหารจัดการ ประชาชนไม่มีส่วนร่วมแท้จริง ด้านนักวิชาการเตือนเส้นทางฟลัดเวย์ ต้องไม่ฝืนธรรมชาติ ขณะที่รองผู้ว่าฯกทม.ให้สอบตก "กลุ่มกรีน" ชี้ทัวร์นกขมิ้น แค่การตลาดนำการเมือง ถอดแบบ"ทักษิณโมเดล" จี้รัฐบาลระบุให้ชัด ใช้พื้นที่ใดทำแก้มลิงบ้าง
วานนี้ (19 ก.พ.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการจัดงานเสวนาเรื่อง ตรวจการบ้าน ทัวร์น้ำท่วม คนไทยได้อะไร ? เพื่อประเมินผลการตรวจราชการในพื้นที่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 13 - 17 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีวิทยากรมาร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผศ.ดร.คมสัน มาลีสี รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีฯ ลาดกระบัง ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. นายณัฐวัฒน์ ชั้นอินทร์งาม นายกอบ ต.บางระกำ จ.นครปฐม และ น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ตัวแทนคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
นายอภิสิทธิ์ ได้สรุปผลการทัวร์น้ำท่วม ตามประเด็น 10 ข้อ ที่ได้ให้เป็นการบ้านรัฐบาลในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ในเรื่องการจ่ายเงินชดเชยเยียวยา นายกฯไม่ได้พูดถึงเรื่องเงิน 5,000 บาทเลย ตลอดการตรวจราชการ จนรองโฆษกรัฐบาล ออกมายอมรับว่ามีการเบิกจ่ายไปเพียง 49 % เท่านั้น ขณะที่เงินซ่อมแซมบ้าน 2 - 3 หมื่นบ้าน เบิกจ่ายไปน้อยมาก ซึ่งในการทัวร์ครั้งนี้ มีชาวบ้านพยายามเข้ามาร้องเรียน แต่ไม่สามารถเข้าพบนายกฯ ได้
เรื่องการซ่อมแซมเขื่อน และประตูระบายน้ำที่เสียหาย นายกฯได้เดินทางไปตรวจการซ่อมประตูระบายน้ำบางโฉมศรี เพียงแห่งเดียว ขณะที่ประตูระบายน้ำแห่งอื่นๆ ไม่มีคำตอบว่า มีความพร้อมเพียงใด เช่นเดียวกับเหตุน้ำท่วมที่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ทำให้เห็นว่า ระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประตูระบายน้ำ ยังไม่มี ส่วนระบบพยากรณ์และเตือนภัยก็เสร็จไม่ทัน เดือนมกราคม ตามที่ กยน. เคยรับปาก ซึ่งต้องติดตามว่าที่นายกฯ ขยายเวลาไปอีก 3 เดือน จะเสร็จทันหรือไม่
ส่วนเรื่องแผนอพยพ รัฐบาลไม่ได้กล่าวถึงระหว่างการทัวร์ครั้งนี้ ทั้งที่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในเรื่องการกำหนดพื้นที่รับน้ำ และการก่อสร้างโครงการต่างๆ นายกฯ ไม่ได้ไปตรวจพื้นที่ลุ่มน้ำยม ทั้งที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก อีกทั้งไม่รู้ว่าประชาชนในพื้นที่รู้หรือไม่ว่า บ้านของตนต้องเป็นแก้มลิง และมีความยินยอมหรือไม่ และรัฐบาลได้กำหนดกติการการชดเชยให้ชาวบ้านอย่างไร
เรื่องการป้องกันนิคมอุตสาหกรรม มีความคืบหน้าว่า เขื่อนรอบนิคมฯ จะสร้างเสร็จประมาณเดือนสิงหาคม - กันยายน แต่ขณะนี้ยังไม่รู้ว่า รัฐบาลจะหาวิธีทางใดที่จะช่วยเงินค่าก่อสร้าง 2 ใน 3 เพราะการให้เงินผ่านการนิคมอุตสาหกรรม ก็อาจไม่มีกฎหมายรองรับ เรื่องนี้จึงไม่สามารถเข้าสู่การพิจารณาของครม.ได้
ขณะที่เรื่องการยื่นคัดค้าน พ.ร.ก. 2 ฉบับ ซึ่งทุกโครงการที่มีการกล่าวถึงระหว่างทัวร์น้ำท่วม อยู่ในวงเงินงบประมาณกลางปีนี้ จึงไม่จำเป็นต้องกู้เงินเพิ่ม และเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทย เลิกโกหกในประเด็นนี้
" ผมไม่จำเป็นต้องบอกว่าการบ้าน 10 ข้อ รัฐบาลสอบผ่านหรือสอบตก แต่เป็นห่วงว่าในโจทย์ 10 ข้อ ดังกล่าว รัฐบาลยังต้องทำงานอีกมาก กว่าจะมีความชัดเจน ปริมาณน้ำอาจไม่สำคัญเท่าการบริหารจัดการที่ดี" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**ถลุงงบฯทั้งที่แผนงานยังไม่ชัด
ด้านนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ได้ตั้งข้อสังเกตถึงทัวร์นกขมิ้นของนายกฯ ไว้ 3 ข้อ โดยข้อแรก การทัวร์น้ำท่วมครั้งนี้ นายกฯ คิดแต่จะจ่ายงบประมาณโดยไม่มีการบริหารจัดการ มีแต่การสั่งขุดลอกคู คลอง มีการตั้งคลีนิกงบประมาณให้พื้นที่ประสานของบฯ ซึ่งมีข่าวการทุจริตเกิดขึ้น อีกทั้งแผนการใช้เงินในทัวร์นี้ก็เป็นไปตามแผนที่มีอยู่ก่อนแล้ว ไม่ได้เป็นการให้งบประมาณตามสภาพพื้นที่ที่นายกฯ ไปเห็น
ข้อ 2 การทัวร์ครั้งนี้ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการตรวจสอบชาวบ้านที่จะเข้าไปในงานว่า ต้องเป็นคนที่สนับสนุนรัฐบาล และแจกเอี๊ยมให้ใส่เป็นสัญลักษณ์ เพื่อไม่ให้มีการร้องเรียนจากชาวบ้าน จึงไม่มีการสอบถามความเห็นของประชาชน ทั้งที่เป็นแนวทางการแก้ปัญหาภัยพิบัติ ที่ดีที่สุด
ข้อที่ 3 แผนการระบายน้ำของรัฐบาล ไม่ใช้แนวทางระบายน้ำทางทิศตะวันตก เพราะมีผู้สั่งการไม่ให้น้ำไปในพื้นที่ดังกล่าว และมองว่าการประชุมเรื่องฟลัดเวย์ ร่วมกับนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่น อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับนักธุรกิจหรือไม่ โดยพรรคจะติดตามว่า รัฐบาลจะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมากน้อยเพียงใด และจะจัดงานเสวนาตรวจสอบรัฐบาลในรูปแบบนี้ต่อไป
** ต้องจัดการน้ำในเขื่อนให้เหมาะสม
ด้านความเห็นของนักวิชาการ ผศ.ดร.คมสัน มาลีสี มองว่า การทัวร์น้ำท่วมของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการบริหารจัดการน้ำ และยังเร็วเกินไปที่จะสรุปประเมินผลได้ ซึ่งตนมองว่าจุดสำคัญของการบริหารจัดการน้ำ อยู่ที่การบริหารพื้นที่แก้มลิง ซึ่งควรเป็นพื้นที่รับน้ำโดยธรรมชาติ แต่พื้นที่ที่รัฐบาลประกาศว่า เป็นพื้นที่รับน้ำกว่า 1 ล้านไร่นั้น ไม่ใช่พื้นที่แอ่ง จึงต้องมีการสร้างคันกั้นน้ำโดยรอบ จึงอาจไม่สามารถรับน้ำได้มาก ตามที่รัฐบาลประเมินไว้ อีกทั้งการกำหนดพื้นที่รับน้ำ ต้องมีการทำประชาพิจารณ์ให้ชาวบ้านได้รับรู้ ได้มีส่วนร่วม และยินยอมให้ใช้พื้นที่
นอกจากนี้ รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำในเขื่อน ซึ่งตนเชื่อว่าการพร่องน้ำในเขื่อนในขณะนี้ มีความจำเป็น แม้จะเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง ขณะที่การกำหนดเส้นทางฟลัดเวย์ รัฐบาลต้องไม่ฝืนธรรมชาติของทาง ไม่ควรขวางทางไหลของน้ำ เพราะจะเกิดความเสียหาย
**นายกฯสอบตกแก้ปัญหาน้ำ
ด้าน ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ กล่าวว่า การระบายน้ำเขื่อนช่วงต้นปีในปริมาณมากเป็นประวัติการณ์ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมที่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา และเขตดุสิต ของ กทม. ซึ่งปัญหาเกิดจากการขาดการประสานงาน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตนเคยเสนอแนะรัฐบาลไปแล้วว่า หาก กฟผ. จะปล่อยน้ำจากเขื่อน ต้องดูว่ากรมชลฯ มีน้ำในทุ่งอยู่เท่าไร และต้องสอบถามกรมอุทกศาสตร์ เพื่อให้ทราบถึงเวลาน้ำทะเลหนุน นอกจากนี้ ยังต้องประสานกับกรมอุตุฯ ในการสนับสนุนข้อมูลปริมาณน้ำฝน เพื่อคำนวนปริมาณการปล่อยน้ำที่ถูกต้อง
นอกจากนี้ การบริหารจัดการน้ำในช่วงกลางน้ำ รัฐบาลต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกร เป็นผู้สั่งการ เพราะเหตุน้ำท่วมในปี 54 เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลเชื่อผู้ที่ไม่มีความรู้ จึงมีการสั่งให้กั้นคลองระพีพัฒน์ จนประตูระบายน้ำแตกเกิดความเสียหายต่อเนื่องจำนวนมาก
ขณะที่การประเมินการทัวร์พื้นที่น้ำท่วมของนายกฯในครั้งนี้ ตนให้สอบตก เพราะไม่มีการติดตามการซ่อมแซมประตูระบายน้ำ และเขื่อนที่ได้รับความเสียหาย อีกทั้งไม่มีการตรวจพื้นที่ปลายน้ำที่แท้จริงอย่าง จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสาคร และ จ.นครปฐม ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า หากรัฐบาลมีการทำงานอย่างเป็นระบบ จะสามารถควบคุมสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ได้
** พื้นที่รับน้ำ-เงินชดเชย ยังไม่ชัดเจน
ทางด้าน นายณัฐวัฒน์ ชั้นอินทร์งาม ให้ข้อมูลว่า ต.บางระกำ อยู่ในทุ่งพระพิมล ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 1 แสนไร่ และเป็นพื้นที่รับน้ำมาทุกปี ครั้งนี้จึงมีการเตรียมการน้ำท่วมจากแม่น้ำท่าจีนเป็นอย่างดี แต่เมื่อเกิดเหตุ กลับเป็นน้ำทุ่งที่ไหลบ่ามาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งผ่านมาทาง อ.บางบัวทอง จึงไม่สามารถป้องกันได้ ทั้งนี้ ตนได้เคยเสนอของบประมาณจาก ศปภ. เพื่อขุดลอกคูคลองในพื้นที่ก่อนเกิดน้ำท่วมแล้ว แต่ศปภ.ไม่ดำเนินการ
ทั้งนี้นายณัฐวัฒน์ เชื่อว่า ชาวบ้านพร้อมจะให้ใช้ทุ่งพระพิมลเป็นพื้นที่รับน้ำ แต่รัฐบาลจะต้องมีความชัดเจนว่า น้ำจะมาเมื่อไร ท่วมนานแค่ไหน และสูงแค่ไหน รวมถึงมาตรการชดเชยที่เป็นธรรมให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ทั้งในเรื่องผลผลิตที่แตกต่างกันก็ควรได้เงินชดเชยที่แตกต่างกัน และเรื่องพื้นที่นาให้เช่าที่ ขณะนี้นายทุนไม่ให้ชาวบ้านเช่าทำนา เพราะต้องการใช้เป็นพื้นที่รับน้ำ เพราะจะได้เงินชดเชยจากรัฐบาลในอัตราที่สูงกว่าค่าเช่า
ในส่วนของการเตรียมการรับมือน้ำท่วม นายกอบต.บางระกำ ชี้ว่า รัฐบาลต้องเตรียมเครื่องผลักดันน้ำในแม่น้ำท่าจีน และต้องทยอยระบายน้ำไปทาง จ.สมุทรสาคร เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศฯ บริเวณป่าชายเลน
ด้านผู้นำแรงงาน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย กล่าวว่า รัฐบาลใช้งบประมาณกว่า 10 ล้านบาท จัดงานเลี้ยงปรองดอง ซึ่งคนยากจนไม่ได้รับประโยชน์ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยรับฟังความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงาน ที่ได้รับผลกระทบกว่าแสนคน เพื่อออกมาตรการช่วยเหลือที่เกิดผลได้จริง เพราะที่ผ่านมาไม่รู้ว่านโยบายชะลอการเลิกจ้างได้ผลจริงหรือไม่ ขณะที่กองทุนที่จะให้ความช่วยเหลือก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ทำให้ผู้ที่เดือดร้อนไม่สามารถเข้าถึงได้
**แค่ใช้แผนการตลาดนำการเมือง
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มการเมืองสีเขียว (กลุ่มกรีน) กล่าวถึงการประเมินผลการ “ทัวร์นกขมิ้น” ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า จากการลงพื้นที่ของนายกฯครั้งนี้ กลุ่มกรีนสังเกตเห็นว่ายังมีหลายอย่างที่ยังไม่มีความชัดเจน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงข้อเท็จจริงต่อประชาชน ดังนี้ 1. จะใช้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่รับน้ำ และจัดทำแก้มลิงบ้าง และแต่ละบริเวณได้ผ่านกระบวนการตัดสินใจอย่างโปร่งใส หรือไม่ เพราะมีความเป็นไปได้ในกระบวนการเวนคืนที่ดินเพื่อทำฟลัดเวย์และพื้นที่รับน้ำกว่า 2 ล้านไร่นั้น อาจจะมีนายทุนใช้ข้อมูลอินไซด์ ไปกว้านซื้อที่ดินบริเวณน้ำท่วมจากชาวบ้านในราคาถูก เพื่ออ้างสิทธิในการรับเงินชดเชยค่าเวนคืนจากรัฐอีกต่อหนึ่ง
2. รัฐบาลยังไม่ให้ความสำคัญกับบทบาท และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และชุมชน เป็นแผนที่กำหนดและตัดสินใจโดยส่วนกลางแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทั้งที่ในบางพื้นที่เริ่มมีเสียงทักท้วงคัดค้านจากประชาชน
3. “ทัวร์นกขมิ้น” ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของสูตรการเมืองแบบ“การตลาดนำการเมือง” ถอดแบบจาก “ทักษิณโมเดล” ที่สร้างการเมืองเชิงมวลชน เสริมภาวะผู้นำให้กับนายกรัฐมนตรี โดยมีการระดมมวลชนเสื้อแดงมาต้อนรับนายกฯ ในทุกๆ พื้นที่ ทำให้ภาคประชาชนที่ไม่เห็นด้วย ไม่มีเวทีสะท้อนความเห็นที่แตกต่างอย่างแท้จริง
4. มีข้อน่าสังเกตว่า ทำไมคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำ (กยน.) และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและวางอนาคตประเทศ (กยอ.) สายผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการ ทำไมถึงไม่ร่วมทัวร์นกขมิ้นครั้งนี้ ทั้งที่การลงพื้นที่เป็นการติดตามตรวจสอบความคืบหน้าของแผนบริหารจัดการน้ำที่กำหนดโดย กยน. แต่กลับปล่อยกรรมการ กยน. สายการเมือง หรือ “ทักษิณคอนเนกชัน” ร่วมลงพื้นที่ครั้งนี้ จึงเกิดคำถามตามมาว่า โครงการต่างๆ ภายใต้แผนบูรณาการจัดการน้ำ จะมีการทุจริต คอร์รัปชัน หรือการแสวงหาประโยชน์จากทักษิณคอนเนกชัน หรือไม่
ทั้งนี้ หลังจากนี้ทางกลุ่มกรีน จะจัดทีมลงพื้นที่เพื่อไปสอบถามและเก็บข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ที่ “ทัวร์นกขมิ้น” เดินทางไปมาทุกที่ ว่ายังมีผลกระทบอะไรอีกหรือไม่เพื่อจะนำมาประเมินต่อไป
** วอนปชป.ถอนการยื่นตีความพ.ร.ก.
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี พรรคประชาธิปัตย์ออกมาโจมตีการลงพื้นที่ทัวร์นกขมิ้นของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เพื่อติดตามแก้ไขปัญหาน้ำท่วมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ พร้อมอนุมัติโครงการทั้งหมด117 โครงการ งบประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งภาคประชาชน และภาคเอกชนต่างให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาล เหลือเพียงฝ่ายค้านที่ยังขัดขวาง และเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของรัฐบาล และกรณีการยื่นตีความพ.ร.ก.2 ฉบับ ต่อศาลรัฐธรรมนูญ จึงเรียกร้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ทบทวนการถอนยื่นตีความต่อศาลรัฐธรรมนูญ เลิกแตะถ่วง ทำหน้าที่อย่างจริงใจในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน.
วานนี้ (19 ก.พ.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการจัดงานเสวนาเรื่อง ตรวจการบ้าน ทัวร์น้ำท่วม คนไทยได้อะไร ? เพื่อประเมินผลการตรวจราชการในพื้นที่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 13 - 17 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีวิทยากรมาร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผศ.ดร.คมสัน มาลีสี รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีฯ ลาดกระบัง ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. นายณัฐวัฒน์ ชั้นอินทร์งาม นายกอบ ต.บางระกำ จ.นครปฐม และ น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ตัวแทนคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
นายอภิสิทธิ์ ได้สรุปผลการทัวร์น้ำท่วม ตามประเด็น 10 ข้อ ที่ได้ให้เป็นการบ้านรัฐบาลในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ในเรื่องการจ่ายเงินชดเชยเยียวยา นายกฯไม่ได้พูดถึงเรื่องเงิน 5,000 บาทเลย ตลอดการตรวจราชการ จนรองโฆษกรัฐบาล ออกมายอมรับว่ามีการเบิกจ่ายไปเพียง 49 % เท่านั้น ขณะที่เงินซ่อมแซมบ้าน 2 - 3 หมื่นบ้าน เบิกจ่ายไปน้อยมาก ซึ่งในการทัวร์ครั้งนี้ มีชาวบ้านพยายามเข้ามาร้องเรียน แต่ไม่สามารถเข้าพบนายกฯ ได้
เรื่องการซ่อมแซมเขื่อน และประตูระบายน้ำที่เสียหาย นายกฯได้เดินทางไปตรวจการซ่อมประตูระบายน้ำบางโฉมศรี เพียงแห่งเดียว ขณะที่ประตูระบายน้ำแห่งอื่นๆ ไม่มีคำตอบว่า มีความพร้อมเพียงใด เช่นเดียวกับเหตุน้ำท่วมที่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ทำให้เห็นว่า ระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประตูระบายน้ำ ยังไม่มี ส่วนระบบพยากรณ์และเตือนภัยก็เสร็จไม่ทัน เดือนมกราคม ตามที่ กยน. เคยรับปาก ซึ่งต้องติดตามว่าที่นายกฯ ขยายเวลาไปอีก 3 เดือน จะเสร็จทันหรือไม่
ส่วนเรื่องแผนอพยพ รัฐบาลไม่ได้กล่าวถึงระหว่างการทัวร์ครั้งนี้ ทั้งที่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในเรื่องการกำหนดพื้นที่รับน้ำ และการก่อสร้างโครงการต่างๆ นายกฯ ไม่ได้ไปตรวจพื้นที่ลุ่มน้ำยม ทั้งที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก อีกทั้งไม่รู้ว่าประชาชนในพื้นที่รู้หรือไม่ว่า บ้านของตนต้องเป็นแก้มลิง และมีความยินยอมหรือไม่ และรัฐบาลได้กำหนดกติการการชดเชยให้ชาวบ้านอย่างไร
เรื่องการป้องกันนิคมอุตสาหกรรม มีความคืบหน้าว่า เขื่อนรอบนิคมฯ จะสร้างเสร็จประมาณเดือนสิงหาคม - กันยายน แต่ขณะนี้ยังไม่รู้ว่า รัฐบาลจะหาวิธีทางใดที่จะช่วยเงินค่าก่อสร้าง 2 ใน 3 เพราะการให้เงินผ่านการนิคมอุตสาหกรรม ก็อาจไม่มีกฎหมายรองรับ เรื่องนี้จึงไม่สามารถเข้าสู่การพิจารณาของครม.ได้
ขณะที่เรื่องการยื่นคัดค้าน พ.ร.ก. 2 ฉบับ ซึ่งทุกโครงการที่มีการกล่าวถึงระหว่างทัวร์น้ำท่วม อยู่ในวงเงินงบประมาณกลางปีนี้ จึงไม่จำเป็นต้องกู้เงินเพิ่ม และเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทย เลิกโกหกในประเด็นนี้
" ผมไม่จำเป็นต้องบอกว่าการบ้าน 10 ข้อ รัฐบาลสอบผ่านหรือสอบตก แต่เป็นห่วงว่าในโจทย์ 10 ข้อ ดังกล่าว รัฐบาลยังต้องทำงานอีกมาก กว่าจะมีความชัดเจน ปริมาณน้ำอาจไม่สำคัญเท่าการบริหารจัดการที่ดี" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**ถลุงงบฯทั้งที่แผนงานยังไม่ชัด
ด้านนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ได้ตั้งข้อสังเกตถึงทัวร์นกขมิ้นของนายกฯ ไว้ 3 ข้อ โดยข้อแรก การทัวร์น้ำท่วมครั้งนี้ นายกฯ คิดแต่จะจ่ายงบประมาณโดยไม่มีการบริหารจัดการ มีแต่การสั่งขุดลอกคู คลอง มีการตั้งคลีนิกงบประมาณให้พื้นที่ประสานของบฯ ซึ่งมีข่าวการทุจริตเกิดขึ้น อีกทั้งแผนการใช้เงินในทัวร์นี้ก็เป็นไปตามแผนที่มีอยู่ก่อนแล้ว ไม่ได้เป็นการให้งบประมาณตามสภาพพื้นที่ที่นายกฯ ไปเห็น
ข้อ 2 การทัวร์ครั้งนี้ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการตรวจสอบชาวบ้านที่จะเข้าไปในงานว่า ต้องเป็นคนที่สนับสนุนรัฐบาล และแจกเอี๊ยมให้ใส่เป็นสัญลักษณ์ เพื่อไม่ให้มีการร้องเรียนจากชาวบ้าน จึงไม่มีการสอบถามความเห็นของประชาชน ทั้งที่เป็นแนวทางการแก้ปัญหาภัยพิบัติ ที่ดีที่สุด
ข้อที่ 3 แผนการระบายน้ำของรัฐบาล ไม่ใช้แนวทางระบายน้ำทางทิศตะวันตก เพราะมีผู้สั่งการไม่ให้น้ำไปในพื้นที่ดังกล่าว และมองว่าการประชุมเรื่องฟลัดเวย์ ร่วมกับนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่น อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับนักธุรกิจหรือไม่ โดยพรรคจะติดตามว่า รัฐบาลจะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมากน้อยเพียงใด และจะจัดงานเสวนาตรวจสอบรัฐบาลในรูปแบบนี้ต่อไป
** ต้องจัดการน้ำในเขื่อนให้เหมาะสม
ด้านความเห็นของนักวิชาการ ผศ.ดร.คมสัน มาลีสี มองว่า การทัวร์น้ำท่วมของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการบริหารจัดการน้ำ และยังเร็วเกินไปที่จะสรุปประเมินผลได้ ซึ่งตนมองว่าจุดสำคัญของการบริหารจัดการน้ำ อยู่ที่การบริหารพื้นที่แก้มลิง ซึ่งควรเป็นพื้นที่รับน้ำโดยธรรมชาติ แต่พื้นที่ที่รัฐบาลประกาศว่า เป็นพื้นที่รับน้ำกว่า 1 ล้านไร่นั้น ไม่ใช่พื้นที่แอ่ง จึงต้องมีการสร้างคันกั้นน้ำโดยรอบ จึงอาจไม่สามารถรับน้ำได้มาก ตามที่รัฐบาลประเมินไว้ อีกทั้งการกำหนดพื้นที่รับน้ำ ต้องมีการทำประชาพิจารณ์ให้ชาวบ้านได้รับรู้ ได้มีส่วนร่วม และยินยอมให้ใช้พื้นที่
นอกจากนี้ รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำในเขื่อน ซึ่งตนเชื่อว่าการพร่องน้ำในเขื่อนในขณะนี้ มีความจำเป็น แม้จะเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง ขณะที่การกำหนดเส้นทางฟลัดเวย์ รัฐบาลต้องไม่ฝืนธรรมชาติของทาง ไม่ควรขวางทางไหลของน้ำ เพราะจะเกิดความเสียหาย
**นายกฯสอบตกแก้ปัญหาน้ำ
ด้าน ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ กล่าวว่า การระบายน้ำเขื่อนช่วงต้นปีในปริมาณมากเป็นประวัติการณ์ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมที่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา และเขตดุสิต ของ กทม. ซึ่งปัญหาเกิดจากการขาดการประสานงาน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตนเคยเสนอแนะรัฐบาลไปแล้วว่า หาก กฟผ. จะปล่อยน้ำจากเขื่อน ต้องดูว่ากรมชลฯ มีน้ำในทุ่งอยู่เท่าไร และต้องสอบถามกรมอุทกศาสตร์ เพื่อให้ทราบถึงเวลาน้ำทะเลหนุน นอกจากนี้ ยังต้องประสานกับกรมอุตุฯ ในการสนับสนุนข้อมูลปริมาณน้ำฝน เพื่อคำนวนปริมาณการปล่อยน้ำที่ถูกต้อง
นอกจากนี้ การบริหารจัดการน้ำในช่วงกลางน้ำ รัฐบาลต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกร เป็นผู้สั่งการ เพราะเหตุน้ำท่วมในปี 54 เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลเชื่อผู้ที่ไม่มีความรู้ จึงมีการสั่งให้กั้นคลองระพีพัฒน์ จนประตูระบายน้ำแตกเกิดความเสียหายต่อเนื่องจำนวนมาก
ขณะที่การประเมินการทัวร์พื้นที่น้ำท่วมของนายกฯในครั้งนี้ ตนให้สอบตก เพราะไม่มีการติดตามการซ่อมแซมประตูระบายน้ำ และเขื่อนที่ได้รับความเสียหาย อีกทั้งไม่มีการตรวจพื้นที่ปลายน้ำที่แท้จริงอย่าง จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสาคร และ จ.นครปฐม ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า หากรัฐบาลมีการทำงานอย่างเป็นระบบ จะสามารถควบคุมสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ได้
** พื้นที่รับน้ำ-เงินชดเชย ยังไม่ชัดเจน
ทางด้าน นายณัฐวัฒน์ ชั้นอินทร์งาม ให้ข้อมูลว่า ต.บางระกำ อยู่ในทุ่งพระพิมล ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 1 แสนไร่ และเป็นพื้นที่รับน้ำมาทุกปี ครั้งนี้จึงมีการเตรียมการน้ำท่วมจากแม่น้ำท่าจีนเป็นอย่างดี แต่เมื่อเกิดเหตุ กลับเป็นน้ำทุ่งที่ไหลบ่ามาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งผ่านมาทาง อ.บางบัวทอง จึงไม่สามารถป้องกันได้ ทั้งนี้ ตนได้เคยเสนอของบประมาณจาก ศปภ. เพื่อขุดลอกคูคลองในพื้นที่ก่อนเกิดน้ำท่วมแล้ว แต่ศปภ.ไม่ดำเนินการ
ทั้งนี้นายณัฐวัฒน์ เชื่อว่า ชาวบ้านพร้อมจะให้ใช้ทุ่งพระพิมลเป็นพื้นที่รับน้ำ แต่รัฐบาลจะต้องมีความชัดเจนว่า น้ำจะมาเมื่อไร ท่วมนานแค่ไหน และสูงแค่ไหน รวมถึงมาตรการชดเชยที่เป็นธรรมให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ทั้งในเรื่องผลผลิตที่แตกต่างกันก็ควรได้เงินชดเชยที่แตกต่างกัน และเรื่องพื้นที่นาให้เช่าที่ ขณะนี้นายทุนไม่ให้ชาวบ้านเช่าทำนา เพราะต้องการใช้เป็นพื้นที่รับน้ำ เพราะจะได้เงินชดเชยจากรัฐบาลในอัตราที่สูงกว่าค่าเช่า
ในส่วนของการเตรียมการรับมือน้ำท่วม นายกอบต.บางระกำ ชี้ว่า รัฐบาลต้องเตรียมเครื่องผลักดันน้ำในแม่น้ำท่าจีน และต้องทยอยระบายน้ำไปทาง จ.สมุทรสาคร เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศฯ บริเวณป่าชายเลน
ด้านผู้นำแรงงาน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย กล่าวว่า รัฐบาลใช้งบประมาณกว่า 10 ล้านบาท จัดงานเลี้ยงปรองดอง ซึ่งคนยากจนไม่ได้รับประโยชน์ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยรับฟังความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงาน ที่ได้รับผลกระทบกว่าแสนคน เพื่อออกมาตรการช่วยเหลือที่เกิดผลได้จริง เพราะที่ผ่านมาไม่รู้ว่านโยบายชะลอการเลิกจ้างได้ผลจริงหรือไม่ ขณะที่กองทุนที่จะให้ความช่วยเหลือก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ทำให้ผู้ที่เดือดร้อนไม่สามารถเข้าถึงได้
**แค่ใช้แผนการตลาดนำการเมือง
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มการเมืองสีเขียว (กลุ่มกรีน) กล่าวถึงการประเมินผลการ “ทัวร์นกขมิ้น” ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า จากการลงพื้นที่ของนายกฯครั้งนี้ กลุ่มกรีนสังเกตเห็นว่ายังมีหลายอย่างที่ยังไม่มีความชัดเจน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงข้อเท็จจริงต่อประชาชน ดังนี้ 1. จะใช้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่รับน้ำ และจัดทำแก้มลิงบ้าง และแต่ละบริเวณได้ผ่านกระบวนการตัดสินใจอย่างโปร่งใส หรือไม่ เพราะมีความเป็นไปได้ในกระบวนการเวนคืนที่ดินเพื่อทำฟลัดเวย์และพื้นที่รับน้ำกว่า 2 ล้านไร่นั้น อาจจะมีนายทุนใช้ข้อมูลอินไซด์ ไปกว้านซื้อที่ดินบริเวณน้ำท่วมจากชาวบ้านในราคาถูก เพื่ออ้างสิทธิในการรับเงินชดเชยค่าเวนคืนจากรัฐอีกต่อหนึ่ง
2. รัฐบาลยังไม่ให้ความสำคัญกับบทบาท และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และชุมชน เป็นแผนที่กำหนดและตัดสินใจโดยส่วนกลางแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทั้งที่ในบางพื้นที่เริ่มมีเสียงทักท้วงคัดค้านจากประชาชน
3. “ทัวร์นกขมิ้น” ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของสูตรการเมืองแบบ“การตลาดนำการเมือง” ถอดแบบจาก “ทักษิณโมเดล” ที่สร้างการเมืองเชิงมวลชน เสริมภาวะผู้นำให้กับนายกรัฐมนตรี โดยมีการระดมมวลชนเสื้อแดงมาต้อนรับนายกฯ ในทุกๆ พื้นที่ ทำให้ภาคประชาชนที่ไม่เห็นด้วย ไม่มีเวทีสะท้อนความเห็นที่แตกต่างอย่างแท้จริง
4. มีข้อน่าสังเกตว่า ทำไมคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำ (กยน.) และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและวางอนาคตประเทศ (กยอ.) สายผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการ ทำไมถึงไม่ร่วมทัวร์นกขมิ้นครั้งนี้ ทั้งที่การลงพื้นที่เป็นการติดตามตรวจสอบความคืบหน้าของแผนบริหารจัดการน้ำที่กำหนดโดย กยน. แต่กลับปล่อยกรรมการ กยน. สายการเมือง หรือ “ทักษิณคอนเนกชัน” ร่วมลงพื้นที่ครั้งนี้ จึงเกิดคำถามตามมาว่า โครงการต่างๆ ภายใต้แผนบูรณาการจัดการน้ำ จะมีการทุจริต คอร์รัปชัน หรือการแสวงหาประโยชน์จากทักษิณคอนเนกชัน หรือไม่
ทั้งนี้ หลังจากนี้ทางกลุ่มกรีน จะจัดทีมลงพื้นที่เพื่อไปสอบถามและเก็บข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ที่ “ทัวร์นกขมิ้น” เดินทางไปมาทุกที่ ว่ายังมีผลกระทบอะไรอีกหรือไม่เพื่อจะนำมาประเมินต่อไป
** วอนปชป.ถอนการยื่นตีความพ.ร.ก.
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี พรรคประชาธิปัตย์ออกมาโจมตีการลงพื้นที่ทัวร์นกขมิ้นของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เพื่อติดตามแก้ไขปัญหาน้ำท่วมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ พร้อมอนุมัติโครงการทั้งหมด117 โครงการ งบประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งภาคประชาชน และภาคเอกชนต่างให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาล เหลือเพียงฝ่ายค้านที่ยังขัดขวาง และเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของรัฐบาล และกรณีการยื่นตีความพ.ร.ก.2 ฉบับ ต่อศาลรัฐธรรมนูญ จึงเรียกร้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ทบทวนการถอนยื่นตีความต่อศาลรัฐธรรมนูญ เลิกแตะถ่วง ทำหน้าที่อย่างจริงใจในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน.