สัปดาห์นี้มี “เส้นตาย” ที่จะบ่งบอกทิศทางการเมืองไทยได้ในระดับหนึ่งในวันที่ 16 มีนาคม 2555
คือก็การไต่สวนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 ที่ถ้าพูดกันในภาษาชาวบ้านสั้น ๆ ก็มักจะถ่ายทอดกันว่า...
คดีทหารฆ่าประชาชน !
ก็อย่างที่ทราบกัน ในเหตุการณ์ชุมนุมคนเสื้อแดงช่วงมีนาคม-พฤษภาคม 2553 มีผู้เสียชีวิตต่างกรรมต่างวาระต่างฝ่ายรวม 91 ศพ แต่คดีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าพนักงานสอบสวนทำสำนวนคืบหน้าไปได้ไกลที่สุดขณะนี้มีอยู่เพียง 16 ศพ ต่างกรรมต่างวาระเช่นกัน แต่มีความเหมือนกันอยู่อย่างคือสาเหตุการตายที่ถูกสรุปโดยเจ้าพนักงานสอบสวนว่า...
“เกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่”
แม้จะยังคงอยู่ในชั้นสอบสวน แต่ได้ผ่านขั้นตอนชันสูตรพลิกศพไปแล้ว โดยพนักงานอัยการเข้ามาร่วมด้วยตามเงื่อนไขในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคสาม
ตำรวจได้ร่วมกับอัยการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้นหมดแล้วทั้ง 16 ศพ 16 สำนวนส่งไปถึงมือพนักงานอัยการแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2554 ตามเงื่อนเวลาบังคับในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคสี่ ผมได้เคยเขียนเล่าให้ฟังแล้วว่านี่เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของบ้านนี้เมืองนี้นอกเหนือไปจากเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ ฯลฯ
เพราะต่อไปจะเป็นขั้นตอนสำคัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคห้า วรรคหก และวรรคเจ็ด
การไต่สวนในศาล !
ขอย้ำว่ายังไม่ใช่การฟ้องร้อง เพราะยังอยู่ในขั้นตอนสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวนคือตำรวจ แต่เนื่องจากเป็นการตายผิดธรรมชาติ และเป็นการตายที่ชี้ว่าเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจึงออกแบบถ่วงดุลอำนาจตำรวจไว้ 2 ชั้น ชั้นหนึ่งให้อัยการเข้ามาร่วมชันสูตรพลิกศพและทำสำนวนชันสูตรพลิกศพด้วย อีกชั้นหนึ่งต้องให้ศาลเปิดการไต่สวนเพื่อมีคำสั่งว่าเป็นการตายที่เกิดโดยเจ้าพนักงานจริง
เมื่อศาลมีคำสั่งแล้วจึงจะส่งสำนวนการไต่สวนกลับไปยังอัยการเพื่อส่งต่อไปยังตำรวจต่อไป
การไต่สวนจะเกิดขึ้นภายในไม่ช้าไม่นานนี้แน่นอน
ก่อนหน้านี้ อัยการยื่นขอไต่สวนต่อศาลไปแล้ว 1 ศพ 1 คดี เป็นคดีประชาชนเสียชีวิตที่บริเวณสวนสัตว์ดุสิต
อีก 15 ศพที่แยกเป็นหลายคดีจะถึงศาลภายในวันที่ 16 มีนาคม 2555 นี้
เพราะอัยการมีเงื่อนเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคห้า 30 วัน ต่ออายุได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ๆ ละ 30 วัน ที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจให้เปิดการไต่สวน จากนั้นศาลจะเป็นผู้ประกาศวันไต่สวน โดยวันที่ 16 ธันวาคม 2554 ถือเป็นวันเริ่มนับ 1 ของเงื่อนเวลา
ยืดกันเต็มเหยียดก็คงไม่เกินวันที่ 16 มีนาคม 2555
ยกเว้นจะมีเหตุพลิกผันประเภทฟ้าถล่มดินทลายเท่านั้น คืออัยการ ซึ่งในที่นี้จะต้องเป็นการสั่งคดีของอัยการสูงสุด ส่งเรื่องคดี 15 สพที่เหลือคืนให้ตำรวจ ไม่ยื่นต่อศาล เนื่องจากในคดีอื่นก่อนหน้านี้อัยการได้เคยสู้คดีแทนรัฐว่าการเสียชีวิตของประชาชนในช่วงนั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้เพราะได้ยื่นขอไต่สวนไปแล้ว 1 ศพ 1 คดี
แม้จะยังไม่ถึงขั้นการฟ้องร้อง ยังไม่มีตัวจำเลยเป็นบุคคล และกว่าคดีจะถึงที่สุดก็อีกนานเป็นปี ๆ หรือหลายปี แต่การไต่สวนที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอนและศาลจะต้องมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาแน่นอนภายในสามสี่เดือนนี้จะมีความสำคัญยิ่ง ผมเคยเขียนเปรียบเทียบไว้ว่าเสมือนเป็นการ....
จุดหัวไม้ขีด !
ถ้าจุดติด ก็คือหลังการไต่สวนศาลมีคำสั่งออกมาตามที่ตำรวจและอัยการยื่นคำร้องขอไป คือเป็นการตายโดยเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ คำสั่งศาลที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณามาตรา 150 วรรคสิบบัญญัติไว้ให้ถือเป็นที่สุดนี้นอกจากจะเป็นการนับ 1 กระบวนการหาตัวผู้กระทำความผิดในเชิงบุคคลมาฟ้องร้องดำเนินคดีแล้ว ในเชิงการเมืองและสังคมคำสั่งศาลดังกล่าวจะถูกนำมาทำซ้ำถ่ายทอดต่อผ่านวาทกรรมต่าง ๆ ในลักษณะ...
ทหารฆ่าประชาชน !
เพราะเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ขณะเกิดการตายของทั้ง 16 ศพมีทหารเป็นหลัก
การทำซ้ำถ่ายทอดคำสั่งศาลผ่านวาทกรรมลักษณะดังกล่าวจะไม่เฉพาะภายในประเทศ แต่จะไปยังต่างประเทศด้วย เพราะ 1 หรือ 2 ใน 16 ศพนั้นเป็นชาวต่างประเทศ
จริงอยู่วาทกรรมดั่งว่าไม่ใช่ของใหม่ คนกลุ่มหนึ่งพูดซ้ำซากมานานแล้ว แต่คราวนี้น้ำหนักจะต่างกัน เพราะเป็นคำสั่งศาล
คงไม่ต้องพูดถึงผลสะเทือนทางสังคมและทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลสะเทือนต่อกองทัพไทยในบริบทต่าง ๆ ให้มากความ
รวมทั้งคงไม่จำเป็นต้องตอบคำถามที่ว่านี่เป็นแผนจับทหารเป็นตัวประกันเพื่อให้สามารถออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ทุกฝ่ายรวมทั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรด้วยหรือไม่
เพราะทั้งหมดนี้ท่านผู้อ่านย่อมคิดได้เองดีกว่าผมด้วยซ้ำ
คงพอตอบได้ว่าเป็นการเข้าทาง “ร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ” ที่ใครบางคนขยับขับเคลื่อนหรือไม่ ?
แต่วันนี้ทหารต้องเตรียมตัวลุกขึ้นสู้ก่อน !
ขั้นแรกของการลุกขึ้นสู้คือ กองทัพบกในฐานะหน่วยต้นสังกัดที่ออกปฏิบัติราชการตามคำสั่งอันถูกต้องชอบธรรมจะต้องปกป้องกำลังพลของท่านโดยอาศัยช่องทางตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคเก้า แต่งทนายความเข้าไปขอนำสืบพยานหลักฐานเพื่อคัดค้านสำนวนชันสูตรพลิกศพของตำรวจ-อัยการที่สรุปว่า 16 ศพที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงานฯ แม้จะไม่มีบทบัญญัติกำหนดให้ฝ่ายที่ถูกกล่าวหาในสำนวนชั้นสอบสวนนี้นำสืบคัดค้านได้ แต่ก็ไม่ได้มีบทบัญญัติห้าม และความในมาตรานี้ 150 วรรคเก้านี้กล่าวว่า...
“เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจะเรียกพยานที่นำสืบมาแล้วมาสืบเพิ่มเติม หรือเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบก็ได้ และศาลอาจขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นเพื่อประกอบการไต่สวนและการทำคำสั่ง...”
ถ้าไม่ต่อสู้ในชั้นไต่สวนนี้ เพราะถือว่ายังไม่ตกเป็นจำเลย ยังไม่ถูกฟ้องร้อง และไปหลงเชื่อนักการเมืองว่าไม่ต้องตกใจจะไม่มีทหารคนใดตกเป็นจำเลย รวมทั้งไปร่วมผลักดันร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯหรือนิรโทษกรรม ก็เท่ากับให้ศาลสืบพยานฝ่ายเดียว และศาลจะไม่มีทางเลือกอื่นเหลืออยู่นอกจากทำคำสั่งตามที่ตำรวจ-อัยการสรุปเสนอมาในสำนวนชันสูตรพลิกศพ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นละก็ “ถูกจับเป็นตัวประกัน” ของจริงแน่นอน เพราะต้องรอกฎหมายปรองดองฯหรือนิรโทษกรรมสถานเดียว
ผู้บังคับบัญชาระดับสูงที่มีปฏิสัมพันธ์กับนักการเมืองอาจจะคิดอย่างหนึ่ง
แต่ผู้ปฏิบัติระดับกลางถึงล่างที่ลงพื้นที่เสี่ยงตายเห็นการสูญเสียเพื่อนไปกับตาอาจจะคิดไม่เหมือนกัน !
คือก็การไต่สวนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 ที่ถ้าพูดกันในภาษาชาวบ้านสั้น ๆ ก็มักจะถ่ายทอดกันว่า...
คดีทหารฆ่าประชาชน !
ก็อย่างที่ทราบกัน ในเหตุการณ์ชุมนุมคนเสื้อแดงช่วงมีนาคม-พฤษภาคม 2553 มีผู้เสียชีวิตต่างกรรมต่างวาระต่างฝ่ายรวม 91 ศพ แต่คดีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าพนักงานสอบสวนทำสำนวนคืบหน้าไปได้ไกลที่สุดขณะนี้มีอยู่เพียง 16 ศพ ต่างกรรมต่างวาระเช่นกัน แต่มีความเหมือนกันอยู่อย่างคือสาเหตุการตายที่ถูกสรุปโดยเจ้าพนักงานสอบสวนว่า...
“เกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่”
แม้จะยังคงอยู่ในชั้นสอบสวน แต่ได้ผ่านขั้นตอนชันสูตรพลิกศพไปแล้ว โดยพนักงานอัยการเข้ามาร่วมด้วยตามเงื่อนไขในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคสาม
ตำรวจได้ร่วมกับอัยการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้นหมดแล้วทั้ง 16 ศพ 16 สำนวนส่งไปถึงมือพนักงานอัยการแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2554 ตามเงื่อนเวลาบังคับในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคสี่ ผมได้เคยเขียนเล่าให้ฟังแล้วว่านี่เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของบ้านนี้เมืองนี้นอกเหนือไปจากเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ ฯลฯ
เพราะต่อไปจะเป็นขั้นตอนสำคัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคห้า วรรคหก และวรรคเจ็ด
การไต่สวนในศาล !
ขอย้ำว่ายังไม่ใช่การฟ้องร้อง เพราะยังอยู่ในขั้นตอนสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวนคือตำรวจ แต่เนื่องจากเป็นการตายผิดธรรมชาติ และเป็นการตายที่ชี้ว่าเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจึงออกแบบถ่วงดุลอำนาจตำรวจไว้ 2 ชั้น ชั้นหนึ่งให้อัยการเข้ามาร่วมชันสูตรพลิกศพและทำสำนวนชันสูตรพลิกศพด้วย อีกชั้นหนึ่งต้องให้ศาลเปิดการไต่สวนเพื่อมีคำสั่งว่าเป็นการตายที่เกิดโดยเจ้าพนักงานจริง
เมื่อศาลมีคำสั่งแล้วจึงจะส่งสำนวนการไต่สวนกลับไปยังอัยการเพื่อส่งต่อไปยังตำรวจต่อไป
การไต่สวนจะเกิดขึ้นภายในไม่ช้าไม่นานนี้แน่นอน
ก่อนหน้านี้ อัยการยื่นขอไต่สวนต่อศาลไปแล้ว 1 ศพ 1 คดี เป็นคดีประชาชนเสียชีวิตที่บริเวณสวนสัตว์ดุสิต
อีก 15 ศพที่แยกเป็นหลายคดีจะถึงศาลภายในวันที่ 16 มีนาคม 2555 นี้
เพราะอัยการมีเงื่อนเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคห้า 30 วัน ต่ออายุได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ๆ ละ 30 วัน ที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจให้เปิดการไต่สวน จากนั้นศาลจะเป็นผู้ประกาศวันไต่สวน โดยวันที่ 16 ธันวาคม 2554 ถือเป็นวันเริ่มนับ 1 ของเงื่อนเวลา
ยืดกันเต็มเหยียดก็คงไม่เกินวันที่ 16 มีนาคม 2555
ยกเว้นจะมีเหตุพลิกผันประเภทฟ้าถล่มดินทลายเท่านั้น คืออัยการ ซึ่งในที่นี้จะต้องเป็นการสั่งคดีของอัยการสูงสุด ส่งเรื่องคดี 15 สพที่เหลือคืนให้ตำรวจ ไม่ยื่นต่อศาล เนื่องจากในคดีอื่นก่อนหน้านี้อัยการได้เคยสู้คดีแทนรัฐว่าการเสียชีวิตของประชาชนในช่วงนั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้เพราะได้ยื่นขอไต่สวนไปแล้ว 1 ศพ 1 คดี
แม้จะยังไม่ถึงขั้นการฟ้องร้อง ยังไม่มีตัวจำเลยเป็นบุคคล และกว่าคดีจะถึงที่สุดก็อีกนานเป็นปี ๆ หรือหลายปี แต่การไต่สวนที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอนและศาลจะต้องมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาแน่นอนภายในสามสี่เดือนนี้จะมีความสำคัญยิ่ง ผมเคยเขียนเปรียบเทียบไว้ว่าเสมือนเป็นการ....
จุดหัวไม้ขีด !
ถ้าจุดติด ก็คือหลังการไต่สวนศาลมีคำสั่งออกมาตามที่ตำรวจและอัยการยื่นคำร้องขอไป คือเป็นการตายโดยเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ คำสั่งศาลที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณามาตรา 150 วรรคสิบบัญญัติไว้ให้ถือเป็นที่สุดนี้นอกจากจะเป็นการนับ 1 กระบวนการหาตัวผู้กระทำความผิดในเชิงบุคคลมาฟ้องร้องดำเนินคดีแล้ว ในเชิงการเมืองและสังคมคำสั่งศาลดังกล่าวจะถูกนำมาทำซ้ำถ่ายทอดต่อผ่านวาทกรรมต่าง ๆ ในลักษณะ...
ทหารฆ่าประชาชน !
เพราะเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ขณะเกิดการตายของทั้ง 16 ศพมีทหารเป็นหลัก
การทำซ้ำถ่ายทอดคำสั่งศาลผ่านวาทกรรมลักษณะดังกล่าวจะไม่เฉพาะภายในประเทศ แต่จะไปยังต่างประเทศด้วย เพราะ 1 หรือ 2 ใน 16 ศพนั้นเป็นชาวต่างประเทศ
จริงอยู่วาทกรรมดั่งว่าไม่ใช่ของใหม่ คนกลุ่มหนึ่งพูดซ้ำซากมานานแล้ว แต่คราวนี้น้ำหนักจะต่างกัน เพราะเป็นคำสั่งศาล
คงไม่ต้องพูดถึงผลสะเทือนทางสังคมและทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลสะเทือนต่อกองทัพไทยในบริบทต่าง ๆ ให้มากความ
รวมทั้งคงไม่จำเป็นต้องตอบคำถามที่ว่านี่เป็นแผนจับทหารเป็นตัวประกันเพื่อให้สามารถออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ทุกฝ่ายรวมทั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรด้วยหรือไม่
เพราะทั้งหมดนี้ท่านผู้อ่านย่อมคิดได้เองดีกว่าผมด้วยซ้ำ
คงพอตอบได้ว่าเป็นการเข้าทาง “ร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ” ที่ใครบางคนขยับขับเคลื่อนหรือไม่ ?
แต่วันนี้ทหารต้องเตรียมตัวลุกขึ้นสู้ก่อน !
ขั้นแรกของการลุกขึ้นสู้คือ กองทัพบกในฐานะหน่วยต้นสังกัดที่ออกปฏิบัติราชการตามคำสั่งอันถูกต้องชอบธรรมจะต้องปกป้องกำลังพลของท่านโดยอาศัยช่องทางตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคเก้า แต่งทนายความเข้าไปขอนำสืบพยานหลักฐานเพื่อคัดค้านสำนวนชันสูตรพลิกศพของตำรวจ-อัยการที่สรุปว่า 16 ศพที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงานฯ แม้จะไม่มีบทบัญญัติกำหนดให้ฝ่ายที่ถูกกล่าวหาในสำนวนชั้นสอบสวนนี้นำสืบคัดค้านได้ แต่ก็ไม่ได้มีบทบัญญัติห้าม และความในมาตรานี้ 150 วรรคเก้านี้กล่าวว่า...
“เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจะเรียกพยานที่นำสืบมาแล้วมาสืบเพิ่มเติม หรือเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบก็ได้ และศาลอาจขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นเพื่อประกอบการไต่สวนและการทำคำสั่ง...”
ถ้าไม่ต่อสู้ในชั้นไต่สวนนี้ เพราะถือว่ายังไม่ตกเป็นจำเลย ยังไม่ถูกฟ้องร้อง และไปหลงเชื่อนักการเมืองว่าไม่ต้องตกใจจะไม่มีทหารคนใดตกเป็นจำเลย รวมทั้งไปร่วมผลักดันร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯหรือนิรโทษกรรม ก็เท่ากับให้ศาลสืบพยานฝ่ายเดียว และศาลจะไม่มีทางเลือกอื่นเหลืออยู่นอกจากทำคำสั่งตามที่ตำรวจ-อัยการสรุปเสนอมาในสำนวนชันสูตรพลิกศพ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นละก็ “ถูกจับเป็นตัวประกัน” ของจริงแน่นอน เพราะต้องรอกฎหมายปรองดองฯหรือนิรโทษกรรมสถานเดียว
ผู้บังคับบัญชาระดับสูงที่มีปฏิสัมพันธ์กับนักการเมืองอาจจะคิดอย่างหนึ่ง
แต่ผู้ปฏิบัติระดับกลางถึงล่างที่ลงพื้นที่เสี่ยงตายเห็นการสูญเสียเพื่อนไปกับตาอาจจะคิดไม่เหมือนกัน !