ผมได้มีโอกาสเดินทางไปเวียดนามหลายครั้ง ทั้งไปส่วนตัวและพาคณะทัวร์กู้ชาติไปดูงานที่นั่น เพื่อให้คณะที่ไปได้เห็นความรักชาติและรักประชาชนของผู้นำอย่าง “โฮจิมินห์” หรือที่ทุกคนเรียกว่า “ลุงโฮ” ประชาชนชาวเวียดนามเป็นชาติที่แข็งแกร่ง และอดทน กว่าประเทศของเขาจะมาถึงจุดนี้ได้ เต็มไปด้วยสมรภูมิสงคราม สู้กับจีน รบกับฝรั่งเศส และสุดท้ายคือสงครามที่รบกันเองระหว่างคนในชาติเดียวกัน แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ โดยฝ่ายใต้มีสหรัฐอเมริกาหนุนหลังอยู่ แต่คนเวียดนามก็สร้างวีรกรรมจนสามารถเอาชนะสหรัฐอเมริกาได้
เวียดนามฟื้นตัวหลังสงครามจากรากฐานทางการเกษตร ด้วยจอบ เสียม และสองมือสองเท้าของพวกเขา ไถนา ถางป่าท่ามกลางดงระเบิดที่ตกค้างจากสงครามในพื้นที่เกษตรกรรมหลายแห่ง ลูกหลานชาวเวียดนามต้องเจ็บป่วยพิการเป็นจำนวนมาก
สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเป็นแหล่งที่มีพื้นดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ ที่นี่จึงฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ไร่ นา สวน ถูกพลิกฟื้นกลับมาใหม่ภายในเวลาไม่กี่สิบปี จนในที่สุดจึงกลายมาเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศไทย และกำลังจะแซงหน้าเพื่อก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 แทนที่เราได้ในไม่ช้า
จากการที่ผมได้ไปศึกษาดูงานด้านการเกษตรที่จังหวัดเตียนยาง ทางตอนใต้ของไซ่ง่อน หรือโฮจิมินห์ในปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่ผมได้เห็นคือต้นทุนการผลิตที่มีความแตกต่างจากไทย นั่นก็คือ “การคมนาคมทางน้ำ” ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยลดต้นทุนในการขนส่งพืชผลทางการเกษตรได้อย่างมหาศาล แม่น้ำลำคลอง ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่อยู่คู่กับเกษตรกรชาวเวียดนาม เมื่อได้เห็นแล้วทำให้อดย้อนกลับมานึกถึงบ้านของเรา
กรุงเทพมหานครเคยได้ฉายาว่าเป็น “เวนิสตะวันออก” ในช่วงแรกที่เริ่มก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ การคมนาคมทางน้ำคือหัวใจของการขนส่งและการค้า แม้แต่การทำไม้ยังสามารถล่องซุงจากแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน มาจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยาได้
สมัยเด็กๆ การเดินทางจากบ้านเกิดผมที่คลอง 10 อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี เพื่อเข้ากรุงเทพฯ แต่ละครั้ง ต้องนั่งเรือเมล์ที่เราเรียกว่า “เรือตาบู้” ตามชื่อเจ้าของเรือ เรือแวะรับผู้โดยสารตลอดทางเพื่อมาต่อรถที่รังสิต ใช้เวลาเดินทาง 1 วันเต็มจึงจะถึงบ้านคุณปู่ที่ท่าดินแดง ธนบุรี ซึ่งหากเป็นปัจจุบันนี้ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงเศษโดยรถยนต์ก็ถึงแล้ว
เมื่อการเดินทางโดยรถยนต์เข้ามาแทนที่ การสัญจรทางน้ำที่เริ่มหมดคุณค่าลง คูคลองหลายแห่งในกรุงเทพฯ ถูกถมทำเป็นถนน คลองที่เหลืออยู่จึงกลายเป็นเพียงคูระบายน้ำ ขึ้นตรงกับสำนักระบายน้ำของ กทม.และคลองเหล่านั้นส่วนใหญ่ใช้เรือสัญจรไม่ได้แล้ว สองฝั่งคลองถูกสร้างเป็นเขื่อนคอนกรีต กลางคลองยังมีคอนกรีตค้ำยันเป็นช่วงๆ แม้แต่จะขุดลอกด้วยเครื่องจักรก็ยังทำไม่ได้
คลองที่เคยเป็นทางสัญจรจึงทำหน้าที่เป็นเพียงแหล่งรองรับน้ำเสียจากชุมชน หลายแห่งน้ำเสียจนเป็นสีดำสนิท เต็มไปด้วยขยะและส่งกลิ่นเหม็น ไม่เว้นแม้แต่คลองขนาดใหญ่ที่เคยใช้เพื่อการเกษตรและสัญจรทางน้ำอย่างคลองรังสิต และคลองซอยซ้าย-ขวา ตั้งแต่คลอง 1 ไปจนถึงคลอง 13 ซึ่งก็กลายเป็นที่รองรับน้ำโสโครกจากหมู่บ้านจัดสรรที่ไม่มีกติกาในการบำบัดน้ำเสีย ไม่ควบคุมการก่อสร้าง บางแห่งกลายเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มาตั้งอยู่กลางแหล่งชุมชนพักอาศัยเดิม ใครเดือดร้อนก็ต้องย้ายหนีไปหาที่อยู่ใหม่กันเอาเอง
เมื่อน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 เราจึงมาพูดถึงความสำคัญของแม่น้ำลำคลองกันมากขึ้น แม่น้ำสายหลักใหญ่ๆ ถูกปิดกั้นด้วยเขื่อนเกือบทุกสาย การคมนาคมทางน้ำทำได้เพียงระยะสั้นๆ เริ่มมีการพูดถึงอดีตที่ผู้คนในบ้านเรายังใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสายน้ำ ต้องยอมรับว่าน้ำท่วมเป็นเรื่องธรรมชาติ ซึ่งเราจะต้องอยู่ร่วมกับมันให้ได้ เมื่อถนนสายหลักกลายเป็นอัมพาต ก็ต้องหาเรือมาใช้แทนทั้งที่ไม่เคยเตรียมการหรือคาดการณ์ไว้ก่อน และยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปอีก ตราบใดที่การแก้ปัญหายังเป็นเรื่องเฉพาะหน้าและยังไม่มีนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์อาสามาทำงานเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริง
ทั่วโลกยอมรับกันแล้วว่าระบบการขนส่งที่ประหยัดและดีที่สุดคือการใช้ “รถไฟ” และ “การขนส่งทางน้ำ” ไม่ว่าจะเป็นทางทะเลหรือในแม่น้ำลำคลองก็ตาม การรถไฟในบ้านเราเริ่มมีมากว่า 100 ปีตั้งแต่รัชกาลที่ 5 พร้อมกันกับยุคเมจิของญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันนี้การรถไฟของเราเทียบอะไรกับเขาไม่ได้เลย วันนี้เราถอยหลังลงไปจนแม้แต่เพื่อนบ้านอย่างเวียดนามก็กำลังจะแซงหน้าไปใช้รถไฟความเร็วสูงกันแล้ว รถไฟไทยตกรางบ่อยกว่าเดิม เดินทางไม่เคยตรงเวลา ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง ไม่พัฒนาคุณภาพและความสะอาด มีแมลงสาบ ตัวหมัด ตัวไรเป็นของแถมให้แก่ผู้โดยสาร ทุกวันนี้การรถไฟฯ ขาดทุนสะสมนับหมื่นล้าน
เราพัฒนารถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ มากมายหลายสายด้วยเม็ดเงินเป็นแสนล้าน กระจุกตัวเพื่อบริการคนไม่กี่ล้านคนที่อยู่ในเมืองหลวง แต่กลับไม่ใส่ใจคนต่างจังหวัดอีกหลายสิบล้านคนที่รอรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงที่ไม่จำเป็นต้องเร็วมากถึง 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง เอาแค่ 200 กิโลเมตร/ชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น แต่ขอเพียงแค่สามารถใช้งานได้จริงอย่างมีคุณภาพ ประชาชนก็พอใจแล้ว เพราะจะได้ประโยชน์ทั้งการเดินทาง การท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า และการกระจายความเจริญสู่ชนบท
ถ้าเราใช้โอกาสหลังน้ำท่วมหันมาศึกษาและพัฒนาระบบการขนส่งและคมนาคมกันใหม่ โดยลดการก่อสร้างถนน 4 เลน ซึ่งต้องเสียเงินคิดเป็นกิโลเมตรละ 7-8 ล้านบาท แล้วหันมาให้ความสนใจกับการคมนาคมทางน้ำให้มากขึ้น ขุดคลองกว้างประมาณ 20 เมตร ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายประมาณกิโลเมตรละ 2-3 ล้านบาทเท่านั้น พื้นที่สองฝั่งยังปลูกต้นไม้ได้อีกมหาศาล สองข้างทางทำถนนเพื่อใช้ขนส่งควบคู่กันไป แต่เรือจะสามารถขนสินค้าทางการเกษตรได้จำนวนมากกว่าและมีต้นทุนถูกกว่า ยกตัวอย่างเช่น การใช้เรือลากจูง 1 ลำใช้เครื่องยนต์ประมาณ 6 สูบ 160-200 แรงม้า วิ่ง 10 ชั่วโมงจะกินน้ำมันเพียง 170-180 ลิตร ลากเรือพ่วงได้อีก 3-4 ลำ แต่ละลำบรรทุกได้มากกว่า 100 ตัน มากกว่าหรือเทียบเท่ารถบรรทุกสิบล้อถึง 30 คัน ง
ในขณะที่รถบรรทุกสิบล้อราคาคันละ 3-4 ล้านบาท บรรทุกน้ำหนักได้เพียง 26 ตันรวมน้ำหนักรถประมาณ 9-10 ตันเข้าไปด้วย ก็เท่ากับบรรทุกของได้เพียง 16 ตันต่อเที่ยว หากมากกว่านี้ถนนในบ้านเราก็ไม่สามารถรับน้ำหนักของรถได้แล้ว และหากถนนชำรุดก็ต้องหางบประมาณมาซ่อมแซมอีก ดูตัวอย่างทางสายประตูน้ำพระอินทร์-สระบุรี เลนซ้ายต้องซ่อมแซมกันอยู่ตลอดทั้งปี เพราะรับน้ำหนักรถบรรทุกไม่ไหว และบริษัทขนส่งส่วนใหญ่ก็มักจ่ายเงินใต้โต๊ะเพื่อที่จะบรรทุกน้ำหนักให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดกันทั้งนั้น
เรามีนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตและค้ารถยนต์เข้ามากำหนดนโยบายของประเทศ มีพ่อค้านักธุรกิจก่อสร้างถนนเข้ามาร่วมรัฐบาล จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่รถยนต์ขายดีกันอยู่ทุกวันจนแทบไม่มีถนนเพียงพอให้รถวิ่ง ถนนใหม่ๆ ดีๆ ก็ตั้งงบไปรื้อและทำใหม่ ถนนพังๆ ก็พังต่อไปไม่คิดซ่อมแซมให้ดี เพราะถ้าซ่อมดีเกินไปจะเสียโอกาสในการของบใหม่ในครั้งหน้า กลไกการเมืองทุกวันนี้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองและข้าราชการบางกลุ่ม ไม่แปลกอะไรเลยที่ตรวจพบว่าเงินที่โจรปล้นมาจากบ้านปลัดคมนาคม จะมีสายรัดที่เบิกจากธนาคารหลังจากวันที่เซ็นสัญญารถไฟฟ้าสายหนึ่ง
ทุกวันนี้นักการเมืองที่แย่งเก้าอี้รัฐมนตรีกัน ก็หวังเพียงเพื่อจะเข้ามาเซ็นสัญญาอะไรก็ได้ก่อนออกจากตำแหน่งก็คุ้มแล้ว ผลที่ตามมาก็คงไม่แตกต่างกันนักกับโครงการโฮปเวลล์ที่เพิ่งพังถล่มลงมา โดยไม่มีใครต้องรับผิดชอบตามเคย เอวัง... ประเทศไทย
เวียดนามฟื้นตัวหลังสงครามจากรากฐานทางการเกษตร ด้วยจอบ เสียม และสองมือสองเท้าของพวกเขา ไถนา ถางป่าท่ามกลางดงระเบิดที่ตกค้างจากสงครามในพื้นที่เกษตรกรรมหลายแห่ง ลูกหลานชาวเวียดนามต้องเจ็บป่วยพิการเป็นจำนวนมาก
สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเป็นแหล่งที่มีพื้นดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ ที่นี่จึงฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ไร่ นา สวน ถูกพลิกฟื้นกลับมาใหม่ภายในเวลาไม่กี่สิบปี จนในที่สุดจึงกลายมาเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศไทย และกำลังจะแซงหน้าเพื่อก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 แทนที่เราได้ในไม่ช้า
จากการที่ผมได้ไปศึกษาดูงานด้านการเกษตรที่จังหวัดเตียนยาง ทางตอนใต้ของไซ่ง่อน หรือโฮจิมินห์ในปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่ผมได้เห็นคือต้นทุนการผลิตที่มีความแตกต่างจากไทย นั่นก็คือ “การคมนาคมทางน้ำ” ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยลดต้นทุนในการขนส่งพืชผลทางการเกษตรได้อย่างมหาศาล แม่น้ำลำคลอง ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่อยู่คู่กับเกษตรกรชาวเวียดนาม เมื่อได้เห็นแล้วทำให้อดย้อนกลับมานึกถึงบ้านของเรา
กรุงเทพมหานครเคยได้ฉายาว่าเป็น “เวนิสตะวันออก” ในช่วงแรกที่เริ่มก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ การคมนาคมทางน้ำคือหัวใจของการขนส่งและการค้า แม้แต่การทำไม้ยังสามารถล่องซุงจากแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน มาจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยาได้
สมัยเด็กๆ การเดินทางจากบ้านเกิดผมที่คลอง 10 อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี เพื่อเข้ากรุงเทพฯ แต่ละครั้ง ต้องนั่งเรือเมล์ที่เราเรียกว่า “เรือตาบู้” ตามชื่อเจ้าของเรือ เรือแวะรับผู้โดยสารตลอดทางเพื่อมาต่อรถที่รังสิต ใช้เวลาเดินทาง 1 วันเต็มจึงจะถึงบ้านคุณปู่ที่ท่าดินแดง ธนบุรี ซึ่งหากเป็นปัจจุบันนี้ใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงเศษโดยรถยนต์ก็ถึงแล้ว
เมื่อการเดินทางโดยรถยนต์เข้ามาแทนที่ การสัญจรทางน้ำที่เริ่มหมดคุณค่าลง คูคลองหลายแห่งในกรุงเทพฯ ถูกถมทำเป็นถนน คลองที่เหลืออยู่จึงกลายเป็นเพียงคูระบายน้ำ ขึ้นตรงกับสำนักระบายน้ำของ กทม.และคลองเหล่านั้นส่วนใหญ่ใช้เรือสัญจรไม่ได้แล้ว สองฝั่งคลองถูกสร้างเป็นเขื่อนคอนกรีต กลางคลองยังมีคอนกรีตค้ำยันเป็นช่วงๆ แม้แต่จะขุดลอกด้วยเครื่องจักรก็ยังทำไม่ได้
คลองที่เคยเป็นทางสัญจรจึงทำหน้าที่เป็นเพียงแหล่งรองรับน้ำเสียจากชุมชน หลายแห่งน้ำเสียจนเป็นสีดำสนิท เต็มไปด้วยขยะและส่งกลิ่นเหม็น ไม่เว้นแม้แต่คลองขนาดใหญ่ที่เคยใช้เพื่อการเกษตรและสัญจรทางน้ำอย่างคลองรังสิต และคลองซอยซ้าย-ขวา ตั้งแต่คลอง 1 ไปจนถึงคลอง 13 ซึ่งก็กลายเป็นที่รองรับน้ำโสโครกจากหมู่บ้านจัดสรรที่ไม่มีกติกาในการบำบัดน้ำเสีย ไม่ควบคุมการก่อสร้าง บางแห่งกลายเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มาตั้งอยู่กลางแหล่งชุมชนพักอาศัยเดิม ใครเดือดร้อนก็ต้องย้ายหนีไปหาที่อยู่ใหม่กันเอาเอง
เมื่อน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 เราจึงมาพูดถึงความสำคัญของแม่น้ำลำคลองกันมากขึ้น แม่น้ำสายหลักใหญ่ๆ ถูกปิดกั้นด้วยเขื่อนเกือบทุกสาย การคมนาคมทางน้ำทำได้เพียงระยะสั้นๆ เริ่มมีการพูดถึงอดีตที่ผู้คนในบ้านเรายังใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสายน้ำ ต้องยอมรับว่าน้ำท่วมเป็นเรื่องธรรมชาติ ซึ่งเราจะต้องอยู่ร่วมกับมันให้ได้ เมื่อถนนสายหลักกลายเป็นอัมพาต ก็ต้องหาเรือมาใช้แทนทั้งที่ไม่เคยเตรียมการหรือคาดการณ์ไว้ก่อน และยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปอีก ตราบใดที่การแก้ปัญหายังเป็นเรื่องเฉพาะหน้าและยังไม่มีนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์อาสามาทำงานเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริง
ทั่วโลกยอมรับกันแล้วว่าระบบการขนส่งที่ประหยัดและดีที่สุดคือการใช้ “รถไฟ” และ “การขนส่งทางน้ำ” ไม่ว่าจะเป็นทางทะเลหรือในแม่น้ำลำคลองก็ตาม การรถไฟในบ้านเราเริ่มมีมากว่า 100 ปีตั้งแต่รัชกาลที่ 5 พร้อมกันกับยุคเมจิของญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันนี้การรถไฟของเราเทียบอะไรกับเขาไม่ได้เลย วันนี้เราถอยหลังลงไปจนแม้แต่เพื่อนบ้านอย่างเวียดนามก็กำลังจะแซงหน้าไปใช้รถไฟความเร็วสูงกันแล้ว รถไฟไทยตกรางบ่อยกว่าเดิม เดินทางไม่เคยตรงเวลา ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง ไม่พัฒนาคุณภาพและความสะอาด มีแมลงสาบ ตัวหมัด ตัวไรเป็นของแถมให้แก่ผู้โดยสาร ทุกวันนี้การรถไฟฯ ขาดทุนสะสมนับหมื่นล้าน
เราพัฒนารถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ มากมายหลายสายด้วยเม็ดเงินเป็นแสนล้าน กระจุกตัวเพื่อบริการคนไม่กี่ล้านคนที่อยู่ในเมืองหลวง แต่กลับไม่ใส่ใจคนต่างจังหวัดอีกหลายสิบล้านคนที่รอรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงที่ไม่จำเป็นต้องเร็วมากถึง 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง เอาแค่ 200 กิโลเมตร/ชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น แต่ขอเพียงแค่สามารถใช้งานได้จริงอย่างมีคุณภาพ ประชาชนก็พอใจแล้ว เพราะจะได้ประโยชน์ทั้งการเดินทาง การท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า และการกระจายความเจริญสู่ชนบท
ถ้าเราใช้โอกาสหลังน้ำท่วมหันมาศึกษาและพัฒนาระบบการขนส่งและคมนาคมกันใหม่ โดยลดการก่อสร้างถนน 4 เลน ซึ่งต้องเสียเงินคิดเป็นกิโลเมตรละ 7-8 ล้านบาท แล้วหันมาให้ความสนใจกับการคมนาคมทางน้ำให้มากขึ้น ขุดคลองกว้างประมาณ 20 เมตร ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายประมาณกิโลเมตรละ 2-3 ล้านบาทเท่านั้น พื้นที่สองฝั่งยังปลูกต้นไม้ได้อีกมหาศาล สองข้างทางทำถนนเพื่อใช้ขนส่งควบคู่กันไป แต่เรือจะสามารถขนสินค้าทางการเกษตรได้จำนวนมากกว่าและมีต้นทุนถูกกว่า ยกตัวอย่างเช่น การใช้เรือลากจูง 1 ลำใช้เครื่องยนต์ประมาณ 6 สูบ 160-200 แรงม้า วิ่ง 10 ชั่วโมงจะกินน้ำมันเพียง 170-180 ลิตร ลากเรือพ่วงได้อีก 3-4 ลำ แต่ละลำบรรทุกได้มากกว่า 100 ตัน มากกว่าหรือเทียบเท่ารถบรรทุกสิบล้อถึง 30 คัน ง
ในขณะที่รถบรรทุกสิบล้อราคาคันละ 3-4 ล้านบาท บรรทุกน้ำหนักได้เพียง 26 ตันรวมน้ำหนักรถประมาณ 9-10 ตันเข้าไปด้วย ก็เท่ากับบรรทุกของได้เพียง 16 ตันต่อเที่ยว หากมากกว่านี้ถนนในบ้านเราก็ไม่สามารถรับน้ำหนักของรถได้แล้ว และหากถนนชำรุดก็ต้องหางบประมาณมาซ่อมแซมอีก ดูตัวอย่างทางสายประตูน้ำพระอินทร์-สระบุรี เลนซ้ายต้องซ่อมแซมกันอยู่ตลอดทั้งปี เพราะรับน้ำหนักรถบรรทุกไม่ไหว และบริษัทขนส่งส่วนใหญ่ก็มักจ่ายเงินใต้โต๊ะเพื่อที่จะบรรทุกน้ำหนักให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดกันทั้งนั้น
เรามีนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตและค้ารถยนต์เข้ามากำหนดนโยบายของประเทศ มีพ่อค้านักธุรกิจก่อสร้างถนนเข้ามาร่วมรัฐบาล จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่รถยนต์ขายดีกันอยู่ทุกวันจนแทบไม่มีถนนเพียงพอให้รถวิ่ง ถนนใหม่ๆ ดีๆ ก็ตั้งงบไปรื้อและทำใหม่ ถนนพังๆ ก็พังต่อไปไม่คิดซ่อมแซมให้ดี เพราะถ้าซ่อมดีเกินไปจะเสียโอกาสในการของบใหม่ในครั้งหน้า กลไกการเมืองทุกวันนี้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองและข้าราชการบางกลุ่ม ไม่แปลกอะไรเลยที่ตรวจพบว่าเงินที่โจรปล้นมาจากบ้านปลัดคมนาคม จะมีสายรัดที่เบิกจากธนาคารหลังจากวันที่เซ็นสัญญารถไฟฟ้าสายหนึ่ง
ทุกวันนี้นักการเมืองที่แย่งเก้าอี้รัฐมนตรีกัน ก็หวังเพียงเพื่อจะเข้ามาเซ็นสัญญาอะไรก็ได้ก่อนออกจากตำแหน่งก็คุ้มแล้ว ผลที่ตามมาก็คงไม่แตกต่างกันนักกับโครงการโฮปเวลล์ที่เพิ่งพังถล่มลงมา โดยไม่มีใครต้องรับผิดชอบตามเคย เอวัง... ประเทศไทย