xs
xsm
sm
md
lg

สบน.พร้อมรับหนี้รสก.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - สบน.พร้อมรับหนี้จากรัฐวิสาหกิจแต่ต้องนำทรัพย์สินมาแลกให้คลังบริหารแทน อิงแนวทางเดียวกับกองทุนฟื้นฟู ระบุการรถไฟมีทรัพย์สินมากมีความเป็นไปได้สูง พร้อมเดินหน้าหาเงินกู้ลงทุนด้านน้ำก้อนแรก 3 หมื่นล้าน
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) กล่าวถึงแนวคิดการยกเลิกการค้ำประกันเงินกู้้ให้รัฐวิสาหกิจที่มีหนี้สินและขาดทุนสะสมมานานเพื่อลดภาระหนี้สาธารณะของภาครัฐอีกทางหนึ่งว่า หากรัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณชำระหนี้ให้แต่ละปีก็มีความเป็นไปได้ โดยอยู่ระหว่างหารือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)และองค์การขนส่งมวลนมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) ซึ่งทางรมว.คมนาคมเห็นด้วยกับแนวทางลดภาระหนี้ดังกล่าว จึงอาจนำข้อเสนอเดิมของสำนักงาคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) ที่เสนอให้นำทรัพย์สินมาแลกกับการรับภาระหนี้ โดยส่วนของรถไฟนั้นถิอว่ามีทรัยพ์สินที่อยู่ในการครอบครองจำนวนมาก
ทั้งนี้ หากการรถไฟโอนทรัพย์สินบางส่วนมาเท่ากับหนี้สินที่มีอยู่กระทรวงการคลัง โดยสคร.จะทำหนาที่บริหารให้มีผลตอบแทนเพื่อนำรายได้นำส่งเข้ารัฐต่อไป ส่วนหนี้ที่โอนมานั้นรัฐบาลก็จะตั้งงบประมาณชำระให้ในแต่ละปีจนกว่าจะล้างหนี้ได้ทั้งหมด
"เมื่อการรถไฟหรือขสมก.โอนหนี้มาให้กระทรวงการคลังแล้ว ฐานะของทั้งสองแห่งก็จะดูดีขึ้น หากจะตั้งบริษัทลูกเพื่อดำเนินธุรกิจก็สามารถระดมทุนหรือกู้เงินได้เองโดยที่กระทรวงการคลังไม่ต้องค้ำประกันให้อีกต่อไป แต่เมื่อหนี้เก่าหายไปแล้ว ก็ต้องมีแผนบริหารจัดการในการหารายได้ที่ชัดเจนเพื่อให้สอดรับกับรายจ่ายด้วย"นายจักรกฤศฏ์ กล่าวและวางแนวทางแก้ปัญหาหนี้สินของ 2 แห่งน่าจะมีความเป็นไปได้สูงเพราะรมต.ทั้ง 2 กระทรวงมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน ซึ่งนโยบายการรับหนี้จากรัฐวิสาหกิจดังกล่าวอาจเหมือนกับการรับภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันนการเงินที่มีการเคลียร์หนี้ท้้งก้อนแลัวมาตั้งงบชำระคืนในแต่ละปีนกว่าจะหนด
สำหรับการตั้งงบชำระหนี้ในปีงบประมาณ2556 ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาขอจัดสรรวงเงินจากสำนักบประมาณ ซึ่งน่าจะได้รับจัดสรรลดลงหลังภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูหายไป 6 หมื่นล้านบาท แต่จะพยายามรักษาะดับการชำระหนี้เงินต้นให้ได้ 3%ของวงเงินงบประมาณที่เหลือเป็นการชำระดอกเบี้ย ซึ่งเหตุที่ไม่ได้รับการจัดสรรเพิ่มเพราะรัฐบาลต้องการนำไปเพิ่มในสัดส่วนงบลงทุน
นายจักรฤศฏิ์ กล่าวถึงการกู้เงินลงทุนบริหารจัดการน้ำว่า ขณะนี้มีความชัดเจนเฉพาะการลงทุนสร้างเขื่อนหรือแนวป้องกันน้ำท่วมตามแม่น้ำเจ้าพระยาในวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท แต่การกู้เงินจะทำตามกรอบการใช้เงินเพราะคงไม่ได้สร้างเสร็จพร้อมกันอาจเป็น 3 เดือน 6 เดือน หรือ1 ปี ขึ้นอยู่กับว่าโครงการเดินไปได้เร็วแค่ไหน จึงจะทยอยเบิกเงินกู้จากสถาบันการ ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่ได้เรียกให้มาเสนออัตราดอกเบี้ย แต่คาดว่าจะมีทั้งแบงก์รัฐและเอกชนใหความสนใจ
อย่างไรก็ตาม จะพยายามใช้สภาพคล่องในประเทศก่อน แค่หากเงื่อนไขไม่ดีก็ยังมีวงเงินที่ไจก้าเปิดไว้ให้อีก1,000 ล้านเหรียญสหรัฐที่ไทยสามารถกู้มาลงทุนด้านน้ำได้ ส่วนอีก 6 หมื่นล้่านบาทสำหรับจ่ายชดเชยพื้นที่รับน้ำนั้นยังไม่มีความชัดเจนและอาจไม่ได้ใช้ตามที่กำหนดไว้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่เข้าไปในพื้นที่จึงไม่จำเป็นตองรีบกู้
กำลังโหลดความคิดเห็น