ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติเผยผลทำ Street Test การชดใช้หนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจะมีโอกาสที่ เงินนำส่งจัดเก็บจากภาครัฐและรายได้ตามแหล่งต่างๆ รวมกันแล้วไม่เพียงพอนำส่งในบางเดือนของปี 2560 แนะรัฐควรออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เพื่อระบุบทบาทกองทุนฟื้นฟูฯ ในการกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อการพัฒนาประเทศหรือช่องทางอื่นให้ชัดเจนเพราะหากช่วงใดช่วงหนึ่ง ไม่มีเงินชำระหนี้พันธบัตรจะมีผลต่อความน่าเชื่อถือประเทศอย่างมาก
นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า การชำระคืนเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยของหนี้สินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุนฟื้นฟูฯ)ที่เหลืออยู่ 1.14 ล้านล้านบาท ทางธปท.ได้จัดทำแบบทดสอบภาวะวิกฤต (Street Test) ในกรณีที่สมมติฐานเปลี่ยนแปลงไปจากการประมาณการ พบว่าหากอัตราดอกเบี้ยตลาดปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 5% หรือฐานเงินฝากโตต่ำกว่า 4% หรือรายได้เก็บจากการบริหารทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯ ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีโอกาสที่การจัดเก็บเงินนำส่งอาจขาดหายไปบ้างในช่วง 1-2 เดือนของปี 2560
“หากรายได้จากการนำส่งให้รัฐ เพื่อไปใช้หนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ อาจจะไม่เพียงพอกับรายจ่ายพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ ในกรณีจำเป็นเช่นนี้รัฐบาลควรออกเป็นพระราชกฤษฎีกาให้กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถกู้ยืมเงินในกองทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งจัดเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเฉพาะรัฐหรือไม่ก็หาช่องทางอื่นสำรองไว้บ้างเพราะหากพันธบัตรเกิดผิดนัดชำระหนี้ก็จะส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอย่างมาก จึงเห็นว่าควรผลักดันพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เข้าคณะรัฐมนตรีไปพร้อมกับพระราชกฤษฎีกาที่มีการเปลี่ยนแปลงเงินนำส่งเข้าสถาบันคุ้มครองเงินฝากที่เหลือ 0.01% เพื่อให้มีผลบังคับพร้อมกัน”
อย่างไรก็ตาม ธปท.ประเมินว่าชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของหนี้สินกองทุนฟื้นฟูฯ ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้ายังไม่มีปัญหาในการบริหารจัดการอย่างแน่นอน เพราะเชื่อว่าฐานเงินฝากที่ได้รับจากประชาชนจะโตได้ตามภาวะเศรษฐกิจ โดยธปท.วางแผนจะทยอยชำระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ ขณะที่เงินต้นจะเก็บไว้เมื่อถึงระดับหนึ่งก็จะชำระเป็นก้อนๆ ไป
ดังนั้น จากการประเมินของธปท. พบว่า ในแต่ละเดือนการเก็บเงินนำส่งให้แก่กระทรวงการคลังได้ประมาณ 3-4 พันล้านบาท หรือแต่ละปีประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท พร้อมกันนี้คาดว่าแต่ละปีจะมีรายได้จากการบริหารทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯที่มีอยู่ 1.5 แสนล้านบาทประมาณ 1 หมื่นล้านบาท พร้อมทั้งรายได้จากบัญชีผลประโยชน์ประจำปีประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนนี้นำไปใช้หนี้กอง F3 ได้ทันที
สำหรับการออกกฎหมายพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ช่วยแก้ไขปัญหาทั้งเรื่องความชัดเจนของแหล่งเงินที่จะนำมาชดใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ต่างอดีตที่เป็นภาระรัฐบาล ขณะเดียวกันช่วยลดโอกาสบิดเบือนต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าปวดหัวอย่างมาก โดยเฉพาะการออกตั๋วแลกเงิน(บี/อี) หรือตราสารอื่นๆ ที่เลี่ยงออกเป็นเงินฝาก และเห็นว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กอาจได้รับผลกระทบบ้าง ซึ่งที่ผ่านมาออกตั๋วบี/อีค่อนข้างมากและครั้งนี้ตั๋วบี/อีถูกเก็บเงินนำส่งเช่นกัน แต่เชื่อว่าระบบโดยรวมธนาคารจะไม่มีปัญหา
นอกจากนี้ เห็นว่าสิ่งสำคัญในช่วงที่ผ่านมาทางสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมีการมุ่งเน้นกำไรมากเกินไป ทำให้เกิดการแข่งขันการทำธุรกิจอย่างรุนแรงจนเกิดการบิดเบือนของวัตถุประสงค์เดิมที่จะมุ่งช่วยเหลือกลุ่มรากหญ้าหรือประชาชนอย่างแท้จริง ฉะนั้น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ควรกำหนดเงินนำส่งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจรัฐที่คำนวณจากฐานระดมเงินมากกว่าจะคำนวณจากผลกำไรเหมือนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาวิธีหนึ่ง.
นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า การชำระคืนเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยของหนี้สินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุนฟื้นฟูฯ)ที่เหลืออยู่ 1.14 ล้านล้านบาท ทางธปท.ได้จัดทำแบบทดสอบภาวะวิกฤต (Street Test) ในกรณีที่สมมติฐานเปลี่ยนแปลงไปจากการประมาณการ พบว่าหากอัตราดอกเบี้ยตลาดปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 5% หรือฐานเงินฝากโตต่ำกว่า 4% หรือรายได้เก็บจากการบริหารทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯ ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีโอกาสที่การจัดเก็บเงินนำส่งอาจขาดหายไปบ้างในช่วง 1-2 เดือนของปี 2560
“หากรายได้จากการนำส่งให้รัฐ เพื่อไปใช้หนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ อาจจะไม่เพียงพอกับรายจ่ายพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ ในกรณีจำเป็นเช่นนี้รัฐบาลควรออกเป็นพระราชกฤษฎีกาให้กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถกู้ยืมเงินในกองทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งจัดเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเฉพาะรัฐหรือไม่ก็หาช่องทางอื่นสำรองไว้บ้างเพราะหากพันธบัตรเกิดผิดนัดชำระหนี้ก็จะส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอย่างมาก จึงเห็นว่าควรผลักดันพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เข้าคณะรัฐมนตรีไปพร้อมกับพระราชกฤษฎีกาที่มีการเปลี่ยนแปลงเงินนำส่งเข้าสถาบันคุ้มครองเงินฝากที่เหลือ 0.01% เพื่อให้มีผลบังคับพร้อมกัน”
อย่างไรก็ตาม ธปท.ประเมินว่าชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของหนี้สินกองทุนฟื้นฟูฯ ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้ายังไม่มีปัญหาในการบริหารจัดการอย่างแน่นอน เพราะเชื่อว่าฐานเงินฝากที่ได้รับจากประชาชนจะโตได้ตามภาวะเศรษฐกิจ โดยธปท.วางแผนจะทยอยชำระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ ขณะที่เงินต้นจะเก็บไว้เมื่อถึงระดับหนึ่งก็จะชำระเป็นก้อนๆ ไป
ดังนั้น จากการประเมินของธปท. พบว่า ในแต่ละเดือนการเก็บเงินนำส่งให้แก่กระทรวงการคลังได้ประมาณ 3-4 พันล้านบาท หรือแต่ละปีประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท พร้อมกันนี้คาดว่าแต่ละปีจะมีรายได้จากการบริหารทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯที่มีอยู่ 1.5 แสนล้านบาทประมาณ 1 หมื่นล้านบาท พร้อมทั้งรายได้จากบัญชีผลประโยชน์ประจำปีประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนนี้นำไปใช้หนี้กอง F3 ได้ทันที
สำหรับการออกกฎหมายพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ช่วยแก้ไขปัญหาทั้งเรื่องความชัดเจนของแหล่งเงินที่จะนำมาชดใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ต่างอดีตที่เป็นภาระรัฐบาล ขณะเดียวกันช่วยลดโอกาสบิดเบือนต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าปวดหัวอย่างมาก โดยเฉพาะการออกตั๋วแลกเงิน(บี/อี) หรือตราสารอื่นๆ ที่เลี่ยงออกเป็นเงินฝาก และเห็นว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กอาจได้รับผลกระทบบ้าง ซึ่งที่ผ่านมาออกตั๋วบี/อีค่อนข้างมากและครั้งนี้ตั๋วบี/อีถูกเก็บเงินนำส่งเช่นกัน แต่เชื่อว่าระบบโดยรวมธนาคารจะไม่มีปัญหา
นอกจากนี้ เห็นว่าสิ่งสำคัญในช่วงที่ผ่านมาทางสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมีการมุ่งเน้นกำไรมากเกินไป ทำให้เกิดการแข่งขันการทำธุรกิจอย่างรุนแรงจนเกิดการบิดเบือนของวัตถุประสงค์เดิมที่จะมุ่งช่วยเหลือกลุ่มรากหญ้าหรือประชาชนอย่างแท้จริง ฉะนั้น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ควรกำหนดเงินนำส่งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจรัฐที่คำนวณจากฐานระดมเงินมากกว่าจะคำนวณจากผลกำไรเหมือนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาวิธีหนึ่ง.