ASTVผู้จัดการรายวัน - ถกวันนี้ ธปท.ชงแนวทางให้แบงก์พาณิชย์เลือกอัตราเงินนำส่งใหม่ 0.55-0.60% แบบคงที่หรือทางเลือกที่ 2 แบบขั้นบันได เผยระยุหมดหนี้ยาวสุด 25 ปี สั้นสุด 10 ปี ธปท.เผยชอบแบบคงที่เพราะได้เงินเร็ว ไม่เป็นภาระประชาชน ในอนาคตฐานเงินฝากเพิ่มขึ้นอาจจะลดเงินนำส่งได้
แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.ได้เตรียมแนวทางในการหารือเรื่องเพิ่มอัตราส่วนเงินนำส่งของธนาคารพาณิชย์ไว้เรียบร้อยแล้ว หลังจากพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 ประกาศเป็นทางการแล้ว โดยธปท.จะนำเสนอแบบจำลองหลายแนวทาง ซึ่งคิดอัตราส่วนเงินนำส่งตั้งแต่ 0.55-0.60% ของฐานเงินฝากบวกตั๋วแลกเงิน(บี/อี) จากปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 0.4%ของฐานเงินฝากเท่านั้น เพื่อให้ทางกระทรวงการคลังและธนาคารพาณิชย์หาข้อสรุปแนวทางที่เหมาะสมที่สุด
การหารือร่วมระหว่างผู้บริหาร ธปท.กับผู้บริหารธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ ในวันที่ 30 ม.ค.นี้ ซึ่ง ธปท.ได้มีข้อเสนออัตราการจัดเก็บเงินนำส่ง 2 แนวทาง โดยแนวทางแรกเป็นการเก็บในอัตราเดียวตลอดระยะเวลาการชำระคืนหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งจะมีอัตราส่วนการจัดเก็บในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ 0.55-0.60% ทำให้แต่ละอัตราจะมีรายได้การจัดเก็บเงินนำส่งที่แตกต่างกันไปประมาณ 900-1,000 ล้านบาท
โดยหากคิดอัตราเงินนำส่งใหม่สัดส่วน 0.55% ทำให้มีรายได้จัดเก็บเงินนำส่งต่ำสุดประมาณ 49,500 ล้านบาทต่อปีและสามารถชำระคืนเงินต้นหมดภายในระยะเวลา 25 ปี แต่หากคิดคำนวณในอัตรา 0.60% จะได้ยอดเงินนำส่งสูงสุดประมาณ 54,000 ล้านบาทต่อปีและสามารถชำระคืนเงินต้นหมดภายในระยะเวลาอันสั้น คือ 10 ปี ฉะนั้น ในแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป
สำหรับแนวทางที่สอง คือ จัดเก็บอัตราเงินนำส่งแบบขั้นบันได ซึ่งอาจจะเก็บอัตราสูงในช่วงแรก และลดลงเรื่อยๆ ในปีถัดไป เพราะเห็นว่าในอนาคตมีโอกาสที่ฐานเงินฝากจะเพิ่มขึ้นหรือมีรายได้จากแหล่งอื่นๆ มาสมทบได้ ซึ่งแนวทางนี้ธนาคารพาณิชย์จะรับผลกระทบน้อย รวมถึงประชาชนด้วย แต่อาจมีความไม่แน่นอนเรื่องระยะเวลาการชำระคืนหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ
“ถ้าการจัดเก็บเงินนำส่งเป็นแบบคงที่ มั่นใจได้ว่าจะสามารถได้เงินชำระคืนหนี้เร็วและไม่เป็นภาระต่อประชาชน โดยช่วงแรกจะไม่มีปัญหาเรื่องการชำระคืนหนี้ในส่วนของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งคิดว่าน่าจะได้ประมาณ 20,000-30,000 ล้านบาทต่อปี และในปีต่อๆ ไป ธปท.ก็อาจจะลดอัตราสัดส่วนเงินนำส่งให้ เพราะในอนาคตฐานเงินฝากสูงขึ้นอยู่แล้ว ทำให้ยอดเงินนำส่งเพิ่มขึ้นทำตามภาระก็จะไม่เยอะมาก”
ทั้งนี้ การศึกษาแนวทางสัดส่วนเงินนำส่งแบบใหม่นี้ ธปท.พยายามดูแลไม่ให้เป็นภาระต่อธนาคารพาณิชย์มากจนเกินไป ซึ่งอาจจะผลักภาระไปยังประชาชนผู้บริการทางการเงินได้ อีกทั้งแผนการชำระหนี้เงินต้นพร้อมอัตราดอกเบี้ยจะต้องมีเสถียรภาพ ดังนั้น ข้อสรุปอัตราเงินนำส่งแบบใหม่นี้ต้องขึ้นอยู่กับสมาคมธนาคารไทยและกระทรวงการคลัง เพราะแต่ละฝ่ายต้องการอัตราเงินนำส่งที่ต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่กระทรวงการคลังอาจต้องการในอัตราสูง ขณะที่สมาคมธนาคารไทยต้องการอัตราที่ต่ำ
“สมาคมธนาคารไทยพร้อมให้ความร่วมมือในการชำระหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่เหลืออยู่ แต่เขาไม่ชอบที่มองว่าเป็นตัวการทำให้เกิดหนี้ เพราะแท้ที่จริงแล้วคนที่อยู่ในปัจจุบันเป็นผู้ถูกกระทบ แต่ก็มีประโยชน์จากที่รัฐเข้าไปอุ้มคนอื่นในครั้งนั้น ทำให้สถาบันการเงินทั้งระบบดีขึ้น"
ขณะที่ประธานสมาคมธนาคารไทยก็ห่วงว่าหากเกิดวิกฤตอีกรอบเหมือนในอดีตก็จะไม่มีเงินช่วย จึงต้องการให้ภาระการชำระคืนหนี้ก้อนนี้หมดไปภายใน 10 ปี แต่อยากให้หาแหล่งเงินอื่นด้วย เช่น การจัดเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งจะสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันของระบบการเงินมากขึ้น
แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.ได้เตรียมแนวทางในการหารือเรื่องเพิ่มอัตราส่วนเงินนำส่งของธนาคารพาณิชย์ไว้เรียบร้อยแล้ว หลังจากพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 ประกาศเป็นทางการแล้ว โดยธปท.จะนำเสนอแบบจำลองหลายแนวทาง ซึ่งคิดอัตราส่วนเงินนำส่งตั้งแต่ 0.55-0.60% ของฐานเงินฝากบวกตั๋วแลกเงิน(บี/อี) จากปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 0.4%ของฐานเงินฝากเท่านั้น เพื่อให้ทางกระทรวงการคลังและธนาคารพาณิชย์หาข้อสรุปแนวทางที่เหมาะสมที่สุด
การหารือร่วมระหว่างผู้บริหาร ธปท.กับผู้บริหารธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ ในวันที่ 30 ม.ค.นี้ ซึ่ง ธปท.ได้มีข้อเสนออัตราการจัดเก็บเงินนำส่ง 2 แนวทาง โดยแนวทางแรกเป็นการเก็บในอัตราเดียวตลอดระยะเวลาการชำระคืนหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งจะมีอัตราส่วนการจัดเก็บในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ 0.55-0.60% ทำให้แต่ละอัตราจะมีรายได้การจัดเก็บเงินนำส่งที่แตกต่างกันไปประมาณ 900-1,000 ล้านบาท
โดยหากคิดอัตราเงินนำส่งใหม่สัดส่วน 0.55% ทำให้มีรายได้จัดเก็บเงินนำส่งต่ำสุดประมาณ 49,500 ล้านบาทต่อปีและสามารถชำระคืนเงินต้นหมดภายในระยะเวลา 25 ปี แต่หากคิดคำนวณในอัตรา 0.60% จะได้ยอดเงินนำส่งสูงสุดประมาณ 54,000 ล้านบาทต่อปีและสามารถชำระคืนเงินต้นหมดภายในระยะเวลาอันสั้น คือ 10 ปี ฉะนั้น ในแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป
สำหรับแนวทางที่สอง คือ จัดเก็บอัตราเงินนำส่งแบบขั้นบันได ซึ่งอาจจะเก็บอัตราสูงในช่วงแรก และลดลงเรื่อยๆ ในปีถัดไป เพราะเห็นว่าในอนาคตมีโอกาสที่ฐานเงินฝากจะเพิ่มขึ้นหรือมีรายได้จากแหล่งอื่นๆ มาสมทบได้ ซึ่งแนวทางนี้ธนาคารพาณิชย์จะรับผลกระทบน้อย รวมถึงประชาชนด้วย แต่อาจมีความไม่แน่นอนเรื่องระยะเวลาการชำระคืนหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ
“ถ้าการจัดเก็บเงินนำส่งเป็นแบบคงที่ มั่นใจได้ว่าจะสามารถได้เงินชำระคืนหนี้เร็วและไม่เป็นภาระต่อประชาชน โดยช่วงแรกจะไม่มีปัญหาเรื่องการชำระคืนหนี้ในส่วนของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งคิดว่าน่าจะได้ประมาณ 20,000-30,000 ล้านบาทต่อปี และในปีต่อๆ ไป ธปท.ก็อาจจะลดอัตราสัดส่วนเงินนำส่งให้ เพราะในอนาคตฐานเงินฝากสูงขึ้นอยู่แล้ว ทำให้ยอดเงินนำส่งเพิ่มขึ้นทำตามภาระก็จะไม่เยอะมาก”
ทั้งนี้ การศึกษาแนวทางสัดส่วนเงินนำส่งแบบใหม่นี้ ธปท.พยายามดูแลไม่ให้เป็นภาระต่อธนาคารพาณิชย์มากจนเกินไป ซึ่งอาจจะผลักภาระไปยังประชาชนผู้บริการทางการเงินได้ อีกทั้งแผนการชำระหนี้เงินต้นพร้อมอัตราดอกเบี้ยจะต้องมีเสถียรภาพ ดังนั้น ข้อสรุปอัตราเงินนำส่งแบบใหม่นี้ต้องขึ้นอยู่กับสมาคมธนาคารไทยและกระทรวงการคลัง เพราะแต่ละฝ่ายต้องการอัตราเงินนำส่งที่ต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่กระทรวงการคลังอาจต้องการในอัตราสูง ขณะที่สมาคมธนาคารไทยต้องการอัตราที่ต่ำ
“สมาคมธนาคารไทยพร้อมให้ความร่วมมือในการชำระหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่เหลืออยู่ แต่เขาไม่ชอบที่มองว่าเป็นตัวการทำให้เกิดหนี้ เพราะแท้ที่จริงแล้วคนที่อยู่ในปัจจุบันเป็นผู้ถูกกระทบ แต่ก็มีประโยชน์จากที่รัฐเข้าไปอุ้มคนอื่นในครั้งนั้น ทำให้สถาบันการเงินทั้งระบบดีขึ้น"
ขณะที่ประธานสมาคมธนาคารไทยก็ห่วงว่าหากเกิดวิกฤตอีกรอบเหมือนในอดีตก็จะไม่มีเงินช่วย จึงต้องการให้ภาระการชำระคืนหนี้ก้อนนี้หมดไปภายใน 10 ปี แต่อยากให้หาแหล่งเงินอื่นด้วย เช่น การจัดเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งจะสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันของระบบการเงินมากขึ้น