วานนี้ (1 มี.ค.) นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ โฆษกประจำตัวนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรก ถึงการเข้ามารับหน้าที่นี้ ว่า บทบาทของตนจะไม่ซ้ำกับโฆษกรัฐบาล โฆษกพรรคเพื่อไทย ซึ่งจริงๆ แล้วตนอาสาเข้ามาช่วยทำงานตั้งแต่ช่วงน้ำท่วมใหญ่ และนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายงานเป็นชิ้นๆ และให้ประสานงานบางเรื่องแล้วแต่ทักษะที่เราจะทำได้ ซึ่งบางครั้งทำงานในทำเนียบฯ เป็นการประสานงาน ไม่ได้ทำงานอะไรเกินเลย จากที่นายกฯ มอบหมาย กระทั่งมี กรณี ว.5 โฟร์ซีซั่นส์ และนายกฯถูกโจมตีอย่างหนัก จึงเห็นว่าอาจมีช่องว่างอยู่ ระหว่างโฆษกรัฐบาล กับโฆษกพรรค ซึ่งนายกฯ ก็ไม่มีเวลาตอบนักข่าว หรือตอบได้ไม่กี่ประโยค ตนจึงอาสานายกฯ เข้ามาอธิบายเรื่องต่างๆ ซึ่งนายกฯกลับไปคิด 2-3 วัน จึงมาให้คำตอบ โดยบอกว่า เป็นการมอบหมายงาน ไม่มีคำสั่งแต่งตั้งเป็นทางการ ไม่มีชื่อตำแหน่ง ไม่มีเงินเดือน นอกจากนี้ คนที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง สามารถรับตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆได้ ยกเว้นการเป็นส.ส.รัฐมนตรี หรือกรรมการบริหารพรรคเท่านั้น
นายสุรนันทน์ กล่าวว่า ตนจะมีหน้าที่ช่วยอธิบายความคิดของนายกฯ บางเรื่อง ซึ่งต้องเป็นเรื่องที่นายกฯ มอบหมาย ไม่ใช่จะพูดเอง แต่ตนจะไม่เข้ามาโต้ตอบทางการเมืองแบบเดิมๆ ที่สรรหาคำมาโต้ตอบกัน เพราะคิดว่าประชาชนคงเบื่อ
อย่างไรก็ตาม ตนได้คุยกับโฆษกรัฐบาลก่อนหน้านี้แล้ว รวมทั้งโฆษกพรรคด้วย เข้าใจกันหมด ไม่เป็นองคาพยพที่จะมาซ้ำซ้อนกัน ตน จะไม่ออกมาพูดรายวัน แต่จะออกมาพูดเฉพาะเรื่องที่คิดว่ามีความจำเป็น และสื่ออยากให้อธิบายเพิ่มเติม แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องที่ตนจะตอบ จะปัดให้ไปถามโฆษกพรรค หรือโฆษกรัฐบาล เพราะการทำงานที่จะทำความเข้าใจกับประชาชน ต้องประสานสอดคล้องให้ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่เช่นนั้นคนที่รับข้อมูลข่าวสารอาจเกิดความรู้สึก พูดหรือเข้าใจไม่ตรงกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นเพราะนายกฯ ไม่ทันเกมทางการเมืองหรือไม่ นายสุรนันทน์ กล่าวว่า คิดว่าไม่ใช่ จากการทำงานกับนายกฯ มา 6 เดือน นายกฯ เป็นนักบริหาร เป็นคนอยากทำงานในพื้นที่ หรือแม้กระทั่งนั่งหัวโต๊ะ จะเห็นว่านายกฯ สั่งการ และพูดจาทำให้คนเข้าใจ ไม่มีปัญหาในการสื่อสาร และนายกฯรู้ตัวเอง และปรับปรุงตัวเสมอ ตนคงไม่ต้องแนะแนวทางอะไร ทั้งนี้นายกฯมองว่าการจะทำความเข้าใจกับสาธารณะนายกฯอยากมีโอกาสพูดยาวๆ และเมื่อมีโอกาสพูดยาวๆ นายกฯ จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าถูกรุมถาม และตอบประโยคสั้นๆ บางครั้งทำให้คนเกิดความเข้าใจผิด ซึ่งนายกฯไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น จึงมีกระบวนการนี้ขึ้นมา
ส่วนข้อครหาที่ว่า ตนมีความขัดแย้งกับนายบัณฑูร สุภัควนิช จนต้องลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีนั้น นายสุรนันทน์ กล่าวว่า ไม่มี จริงๆแล้ว ตนทำงานตามที่นายกฯ มอบหมาย และตนกับนายบัณฑูร มีความสัมพันธ์ที่ดี รู้จักกันมาตั้งแต่ตนเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงบประมาณ และนายบัณฑูร ก็มีความกรุณามาโดยตลอด พอมาทำงานตรงนี้ นายบัณฑูร รู้ว่านายกฯ มอบหมายงานอะไร และอะไรที่ติดขัดในเรื่องราชการ ซึ่งนายบัณฑูร มีอำนาจสั่งการ ก็สั่งการให้ตลอด ฉะนั้นไม่มีปัญหาอะไร ไม่รู้ข่าวมาจากไหน เชื่อว่าไม่ได้มาจากนายบัณฑูร หรือตน หรือใครเป็นข่าวที่ไม่น่าเป็นข่าว และนายบัณฑูร ก็ลาออกด้วยปัญหาสุขภาพ ขณะที่นายกฯ เห็นว่านายบัณฑูร ยังสามารถทำงานได้ แม้ไม่เป็นเลขาธิการนายกฯ ก็ให้เป็นที่ปรึกษานายกฯ ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งที่ไปแขวนอะไร ยังมีบทบาทช่วยเหลือนายกฯ และรัฐมนตรีอยู่
ส่วนกระแสพุ่งเป้ามาที่ตน ทั้งกลุ่มกทม. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยนั้น ยืนยันไม่มีปัญหาอะไร และมีโอกาสพูดคุยกับ คุณหญิงสุดารัตน์หลายครั้ง แลกเปลี่ยนความเห็นตลอด คิดว่ามีขวนการปล่อยข่าว ที่ทำให้เกิดความแตกแยกกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ตนต้องชี้แจง
" การที่มาทำงานตรงนี้ ผมพูดกับนายกฯว่า อาสามาทำงาน และไม่ต้องการตำแหน่งใดๆ ก่อนหรือหลังพฤษภาคม 2555 ซึ่งผมเชื่อในความสามารถของบุคคลที่ถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้งเมื่อออกมาแล้ว คนเหล่านั้นมีความสามารถเต็มที่ได้เลย ไม่ต้องห่วงผม วันไหนหมดความจำเป็นและมีคนเข้ามาเต็มเม็ดเต็มหน่วย ผมก็กลับไปจัดรายการทีวีเหมือนเดิมก็ได้” นายสุรนันทน์ กล่าว
เมื่อถามว่า มาทำงานตรงนี้เพราะมีใบสั่งจากบ้านจันทร์ส่องหล้าหนือไม่ นายสุรนันทน์ กล่าวว่า ไม่มีใบสั่งจากใครทั้งสิ้น ขอบอกว่า ถ้าตนจะรับคำสั่งใครในวันนี้ คือนายกรัฐมนตรี ที่ชื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เท่านั้น แต่การประสานงานองคาพยพทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นพรรค ในรัฐบาลตนเองต้องประสานงาน
ส่วนที่ถามว่าหลังพ.ค.55 พ้นโทษการเมือง สนใจมาทำงานในรัฐบาลอย่างเปิดเผยหรือไม่ นายสุรนันทน์ กล่าวว่า เหลือเวลาอีก 3 เดือน อย่าเพิ่งไปพูดถึงอนาคต การเมืองไทย 1 สัปดาห์ ก็ยาวแล้ว วันนี้มีงานให้ทำได้ และอาสามา ตำแหน่งโฆษกฯ เป็นเพียงสิ่งอุปโลกน์ขึ้นมา ดังนั้นเรียกว่า ไม่มีตำแหน่ง ไม่มีเงินเดือน ไม่ได้ผลประโยชน์ใดๆ เมื่อถึงพ.ค.55 เงื่อนไขการเมืองสภาพแวดล้อมอาจเปลี่ยนไปมากกว่านี้ ไม่มีใครรู้อนาคต
เมื่อถามว่าวันนี้ มีอะไรที่ต้องชี้แจงแทนนายกฯ ในฐานะที่เข้ามาเป็นโฆษกประจำตัวหรือไม่ นายสุรนันทน์ กล่าวว่า กำลังดูเป็นเรื่องๆ ไป ขึ้นอยู่กับสื่อมวลชน ถ้าคิดว่านายกฯ ยังไม่เข้าใจ อยากให้ช่วยอธิบายตนก็พร้อม เมื่อถามว่าการชี้แจงกับผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่องว.5 โฟร์ซีซั่นส์ ทำหนังสือชี้แจงแล้วหรือไม่ นายสุรนันทน์ กล่าวว่า ยังไม่ได้ทำหนังสือชี้แจง และไม่จำเป็นต้องเดินไปด้วยตัวเอง
** ทีมโฆษกฯปรับการทำงานใหม่
ด้านนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา และ นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงการปรับการทำงานของทีมโฆษกฯ โดยนายอนุสรณ์ กล่าวว่า หลังจากนี้การทำงานของทีมโฆษกฯ จะเป็นการทำงานประชาสัมพันธ์เชิงรุก เน้นในการนำเสนอนโยบายของรัฐบาลที่เป็นเนื้อหาสำคัญเร่งด่วน โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน 16 ข้อที่สัมฤทธิ์ผลแล้ว 5 ข้อ โดยในช่วงเช้าของวันจันทร์ที่ 5 มี.ค.นี้ รัฐบาลจะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือ เวิร์กชอป เพื่อติดตามความคืบหน้าของนโยบายเร่งด่วนอีก 16 ข้อ ที่เหลือ โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม และจะมีการเชิญรัฐมนตรี และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเชื่อว่าต่อจากนี้ไป อาจจะมีการหารือกันลักษณะนี้เดือนละครั้ง เพื่อเป็นการติดตามงาน
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า การแถลงข่าวของทีมโฆษกฯจากนี้ จะไม่จำกัดว่าแถลงทุกวันอังคาร หลังการประชุมครม. ที่มีการนำสาระทั้งหมดในการประชุมมาแถลง อาจจะได้เห็นรูปแบบการแถลงแบบใหม่ เมื่อการประชุมครม.เสร็จสิ้นแล้ว เช่น ในวันอังคารหน้า รองโฆษกฯภักดีหาญส์ อาจจะแถลงสาระสำคัญด้วยเรื่องเศรษฐกิจ อังคารถัดไปอาจเป็นรองโฆษกฯชลิตรัตน์ แถลงด้านอุตสาหกรรม และในระหว่างสัปดาห์ อาจจะมีการแถลงเพิ่มเติม อาจจะมีการแถลงรอบวันพุธ วันพฤหัสฯ หรือวันศุกร์ด้วย คือหากมีเรื่องสำคัญใดๆ จะไม่ผูกมัดแถลงเฉพาะวันอังคารเท่านั้น และจากนี้จะมีเวลาการแถลงที่เป็นมาตรฐานในวันอังคาร คือเวลา 14.00 น.
อย่างไรก็ตาม จะมีการทำงานที่เน้นเป็นทีมเวิร์ก มีการดึงส่วนราชการ เช่น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) หรือสำนักโฆษกฯมาบูรณาการข้อมูลร่วมกัน เพื่อที่จะสื่อสารข้อมูลสำคัญ และนโยบายของรัฐบาลให้เข้าถึงมากที่สุด
เมื่อถามว่า ทีมโฆษกฯมีแต่ผู้ชาย และต้องทำงานร่วมกับนายกฯหญิง จะมีปัญหาอะไร หรือไม่ นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ทีมโฆษกของเรา ไม่ใช่ทีมที่ต้องตามนายกฯ ตลอด จะมีการแบ่งการทำงานเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องต่างประเทศ เป็นของรองฯ ภักดีหาญส์ เรื่องอุตสาหกรรมของรองฯ ชลิตรัตน์ ส่วนเรื่องการเมืองเป็นของตน โดยจะมีการให้ความสำคัญกับทุกสื่อ ทุกแขนง
** ขอให้เห็นใจที่"ปู"หนีกระทู้
เมื่อถามว่า การทำหน้าที่ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ มีการมุ่งเน้นทางด้านการบริหาร แต่ในเรื่องการประชุมสภา เช่น มีการตั้งกระทู้ถามสด เรื่องโฟร์ซีซั่น หรืออื่นๆ นายกฯมักไม่เข้าประชุม ทีมโฆษกฯ จะชี้แจงเรื่องนี้ อย่างไร นายอนุสรณ์ กล่าวว่า นายกฯยิ่งลักษณ์ เป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับงานของสภา บางครั้งภาพที่เห็นอาจไม่ได้นั่งในที่ของนายกฯ แต่อาจจะไปนั่งทำงานในห้องทำงานของสภา
ทั้งนี้ เราอาจจะคุ้นชินกับผู้นำรัฐบาลบางยุค ที่อยู่ในสภาตลอด แต่นายกฯยิ่งลักษณ์ มีภาระกิจมากมาย แต่ในความมากมาย ก็ไม่ใช่ข้อแม้ หรือข้ออ้าง ในการไม่เข้าประชุมสภา ท่านจะเข้าไปตอบ หรือมอบหมายให้ใครตอบก็ตาม ขอให้มั่นใจว่ามีเนื้อหาสารถะอันเดียวกัน ทั้งนี้ ก็ขอความเห็นใจด้วย
นายสุรนันทน์ กล่าวว่า ตนจะมีหน้าที่ช่วยอธิบายความคิดของนายกฯ บางเรื่อง ซึ่งต้องเป็นเรื่องที่นายกฯ มอบหมาย ไม่ใช่จะพูดเอง แต่ตนจะไม่เข้ามาโต้ตอบทางการเมืองแบบเดิมๆ ที่สรรหาคำมาโต้ตอบกัน เพราะคิดว่าประชาชนคงเบื่อ
อย่างไรก็ตาม ตนได้คุยกับโฆษกรัฐบาลก่อนหน้านี้แล้ว รวมทั้งโฆษกพรรคด้วย เข้าใจกันหมด ไม่เป็นองคาพยพที่จะมาซ้ำซ้อนกัน ตน จะไม่ออกมาพูดรายวัน แต่จะออกมาพูดเฉพาะเรื่องที่คิดว่ามีความจำเป็น และสื่ออยากให้อธิบายเพิ่มเติม แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องที่ตนจะตอบ จะปัดให้ไปถามโฆษกพรรค หรือโฆษกรัฐบาล เพราะการทำงานที่จะทำความเข้าใจกับประชาชน ต้องประสานสอดคล้องให้ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่เช่นนั้นคนที่รับข้อมูลข่าวสารอาจเกิดความรู้สึก พูดหรือเข้าใจไม่ตรงกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นเพราะนายกฯ ไม่ทันเกมทางการเมืองหรือไม่ นายสุรนันทน์ กล่าวว่า คิดว่าไม่ใช่ จากการทำงานกับนายกฯ มา 6 เดือน นายกฯ เป็นนักบริหาร เป็นคนอยากทำงานในพื้นที่ หรือแม้กระทั่งนั่งหัวโต๊ะ จะเห็นว่านายกฯ สั่งการ และพูดจาทำให้คนเข้าใจ ไม่มีปัญหาในการสื่อสาร และนายกฯรู้ตัวเอง และปรับปรุงตัวเสมอ ตนคงไม่ต้องแนะแนวทางอะไร ทั้งนี้นายกฯมองว่าการจะทำความเข้าใจกับสาธารณะนายกฯอยากมีโอกาสพูดยาวๆ และเมื่อมีโอกาสพูดยาวๆ นายกฯ จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าถูกรุมถาม และตอบประโยคสั้นๆ บางครั้งทำให้คนเกิดความเข้าใจผิด ซึ่งนายกฯไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น จึงมีกระบวนการนี้ขึ้นมา
ส่วนข้อครหาที่ว่า ตนมีความขัดแย้งกับนายบัณฑูร สุภัควนิช จนต้องลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีนั้น นายสุรนันทน์ กล่าวว่า ไม่มี จริงๆแล้ว ตนทำงานตามที่นายกฯ มอบหมาย และตนกับนายบัณฑูร มีความสัมพันธ์ที่ดี รู้จักกันมาตั้งแต่ตนเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงบประมาณ และนายบัณฑูร ก็มีความกรุณามาโดยตลอด พอมาทำงานตรงนี้ นายบัณฑูร รู้ว่านายกฯ มอบหมายงานอะไร และอะไรที่ติดขัดในเรื่องราชการ ซึ่งนายบัณฑูร มีอำนาจสั่งการ ก็สั่งการให้ตลอด ฉะนั้นไม่มีปัญหาอะไร ไม่รู้ข่าวมาจากไหน เชื่อว่าไม่ได้มาจากนายบัณฑูร หรือตน หรือใครเป็นข่าวที่ไม่น่าเป็นข่าว และนายบัณฑูร ก็ลาออกด้วยปัญหาสุขภาพ ขณะที่นายกฯ เห็นว่านายบัณฑูร ยังสามารถทำงานได้ แม้ไม่เป็นเลขาธิการนายกฯ ก็ให้เป็นที่ปรึกษานายกฯ ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งที่ไปแขวนอะไร ยังมีบทบาทช่วยเหลือนายกฯ และรัฐมนตรีอยู่
ส่วนกระแสพุ่งเป้ามาที่ตน ทั้งกลุ่มกทม. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยนั้น ยืนยันไม่มีปัญหาอะไร และมีโอกาสพูดคุยกับ คุณหญิงสุดารัตน์หลายครั้ง แลกเปลี่ยนความเห็นตลอด คิดว่ามีขวนการปล่อยข่าว ที่ทำให้เกิดความแตกแยกกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ตนต้องชี้แจง
" การที่มาทำงานตรงนี้ ผมพูดกับนายกฯว่า อาสามาทำงาน และไม่ต้องการตำแหน่งใดๆ ก่อนหรือหลังพฤษภาคม 2555 ซึ่งผมเชื่อในความสามารถของบุคคลที่ถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้งเมื่อออกมาแล้ว คนเหล่านั้นมีความสามารถเต็มที่ได้เลย ไม่ต้องห่วงผม วันไหนหมดความจำเป็นและมีคนเข้ามาเต็มเม็ดเต็มหน่วย ผมก็กลับไปจัดรายการทีวีเหมือนเดิมก็ได้” นายสุรนันทน์ กล่าว
เมื่อถามว่า มาทำงานตรงนี้เพราะมีใบสั่งจากบ้านจันทร์ส่องหล้าหนือไม่ นายสุรนันทน์ กล่าวว่า ไม่มีใบสั่งจากใครทั้งสิ้น ขอบอกว่า ถ้าตนจะรับคำสั่งใครในวันนี้ คือนายกรัฐมนตรี ที่ชื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เท่านั้น แต่การประสานงานองคาพยพทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นพรรค ในรัฐบาลตนเองต้องประสานงาน
ส่วนที่ถามว่าหลังพ.ค.55 พ้นโทษการเมือง สนใจมาทำงานในรัฐบาลอย่างเปิดเผยหรือไม่ นายสุรนันทน์ กล่าวว่า เหลือเวลาอีก 3 เดือน อย่าเพิ่งไปพูดถึงอนาคต การเมืองไทย 1 สัปดาห์ ก็ยาวแล้ว วันนี้มีงานให้ทำได้ และอาสามา ตำแหน่งโฆษกฯ เป็นเพียงสิ่งอุปโลกน์ขึ้นมา ดังนั้นเรียกว่า ไม่มีตำแหน่ง ไม่มีเงินเดือน ไม่ได้ผลประโยชน์ใดๆ เมื่อถึงพ.ค.55 เงื่อนไขการเมืองสภาพแวดล้อมอาจเปลี่ยนไปมากกว่านี้ ไม่มีใครรู้อนาคต
เมื่อถามว่าวันนี้ มีอะไรที่ต้องชี้แจงแทนนายกฯ ในฐานะที่เข้ามาเป็นโฆษกประจำตัวหรือไม่ นายสุรนันทน์ กล่าวว่า กำลังดูเป็นเรื่องๆ ไป ขึ้นอยู่กับสื่อมวลชน ถ้าคิดว่านายกฯ ยังไม่เข้าใจ อยากให้ช่วยอธิบายตนก็พร้อม เมื่อถามว่าการชี้แจงกับผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่องว.5 โฟร์ซีซั่นส์ ทำหนังสือชี้แจงแล้วหรือไม่ นายสุรนันทน์ กล่าวว่า ยังไม่ได้ทำหนังสือชี้แจง และไม่จำเป็นต้องเดินไปด้วยตัวเอง
** ทีมโฆษกฯปรับการทำงานใหม่
ด้านนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา และ นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงการปรับการทำงานของทีมโฆษกฯ โดยนายอนุสรณ์ กล่าวว่า หลังจากนี้การทำงานของทีมโฆษกฯ จะเป็นการทำงานประชาสัมพันธ์เชิงรุก เน้นในการนำเสนอนโยบายของรัฐบาลที่เป็นเนื้อหาสำคัญเร่งด่วน โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน 16 ข้อที่สัมฤทธิ์ผลแล้ว 5 ข้อ โดยในช่วงเช้าของวันจันทร์ที่ 5 มี.ค.นี้ รัฐบาลจะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือ เวิร์กชอป เพื่อติดตามความคืบหน้าของนโยบายเร่งด่วนอีก 16 ข้อ ที่เหลือ โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม และจะมีการเชิญรัฐมนตรี และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเชื่อว่าต่อจากนี้ไป อาจจะมีการหารือกันลักษณะนี้เดือนละครั้ง เพื่อเป็นการติดตามงาน
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า การแถลงข่าวของทีมโฆษกฯจากนี้ จะไม่จำกัดว่าแถลงทุกวันอังคาร หลังการประชุมครม. ที่มีการนำสาระทั้งหมดในการประชุมมาแถลง อาจจะได้เห็นรูปแบบการแถลงแบบใหม่ เมื่อการประชุมครม.เสร็จสิ้นแล้ว เช่น ในวันอังคารหน้า รองโฆษกฯภักดีหาญส์ อาจจะแถลงสาระสำคัญด้วยเรื่องเศรษฐกิจ อังคารถัดไปอาจเป็นรองโฆษกฯชลิตรัตน์ แถลงด้านอุตสาหกรรม และในระหว่างสัปดาห์ อาจจะมีการแถลงเพิ่มเติม อาจจะมีการแถลงรอบวันพุธ วันพฤหัสฯ หรือวันศุกร์ด้วย คือหากมีเรื่องสำคัญใดๆ จะไม่ผูกมัดแถลงเฉพาะวันอังคารเท่านั้น และจากนี้จะมีเวลาการแถลงที่เป็นมาตรฐานในวันอังคาร คือเวลา 14.00 น.
อย่างไรก็ตาม จะมีการทำงานที่เน้นเป็นทีมเวิร์ก มีการดึงส่วนราชการ เช่น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) หรือสำนักโฆษกฯมาบูรณาการข้อมูลร่วมกัน เพื่อที่จะสื่อสารข้อมูลสำคัญ และนโยบายของรัฐบาลให้เข้าถึงมากที่สุด
เมื่อถามว่า ทีมโฆษกฯมีแต่ผู้ชาย และต้องทำงานร่วมกับนายกฯหญิง จะมีปัญหาอะไร หรือไม่ นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ทีมโฆษกของเรา ไม่ใช่ทีมที่ต้องตามนายกฯ ตลอด จะมีการแบ่งการทำงานเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องต่างประเทศ เป็นของรองฯ ภักดีหาญส์ เรื่องอุตสาหกรรมของรองฯ ชลิตรัตน์ ส่วนเรื่องการเมืองเป็นของตน โดยจะมีการให้ความสำคัญกับทุกสื่อ ทุกแขนง
** ขอให้เห็นใจที่"ปู"หนีกระทู้
เมื่อถามว่า การทำหน้าที่ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ มีการมุ่งเน้นทางด้านการบริหาร แต่ในเรื่องการประชุมสภา เช่น มีการตั้งกระทู้ถามสด เรื่องโฟร์ซีซั่น หรืออื่นๆ นายกฯมักไม่เข้าประชุม ทีมโฆษกฯ จะชี้แจงเรื่องนี้ อย่างไร นายอนุสรณ์ กล่าวว่า นายกฯยิ่งลักษณ์ เป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับงานของสภา บางครั้งภาพที่เห็นอาจไม่ได้นั่งในที่ของนายกฯ แต่อาจจะไปนั่งทำงานในห้องทำงานของสภา
ทั้งนี้ เราอาจจะคุ้นชินกับผู้นำรัฐบาลบางยุค ที่อยู่ในสภาตลอด แต่นายกฯยิ่งลักษณ์ มีภาระกิจมากมาย แต่ในความมากมาย ก็ไม่ใช่ข้อแม้ หรือข้ออ้าง ในการไม่เข้าประชุมสภา ท่านจะเข้าไปตอบ หรือมอบหมายให้ใครตอบก็ตาม ขอให้มั่นใจว่ามีเนื้อหาสารถะอันเดียวกัน ทั้งนี้ ก็ขอความเห็นใจด้วย