วานนี้ (26 ม.ค.) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ จัดอภิปรายทางวิชาการหัวข้อ "ร้อยสิบเอ็ดคืนชีพ เหลียวหลังแลหน้า สังคมและการเมืองไทย หลังกรณี ร้อยสิบเอ็ด" ซึ่งผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เมื่อครั้งพรรคไทยรักไทย ถูกตัดสินยุบพรรค จะครบกำหนด 5 ปี ในเดือน พ.ค.นี้
นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา ในฐานะอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 1 ใน 111 คน ที่ถูกตักสิทธิ์ทางการเมือง มองว่า การยุบพรรคในอดีต กลายเป็นปัญหาความไม่เป็นธรรม ก่อตัวเป็นความขัดแย้ง ทั้งในฝ่ายการเมืองด้วยกัน และฝ่ายประชาธิปไตย กับฝ่ายอำนาจนิยม และมุ่งทำลาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเกิดการจัดตั้งกลุ่มมวลชน ที่ทำให้มีความขัดแย้งมากขึ้น จนกระทั่งมีรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปัจจุบัน ที่แม้ความขัดแย้งไม่ปรากฏมากนัก แต่อาจซ่อนอยู่ลึกๆ ที่รอความผิดพลาดของรัฐบาล จากเงื่อนไขการทุจริต ไม่จงรักภักดี และบริหารงานล้มเหลว ซึ่งหากไม่มีเงื่อนไขเหล่านี้ นักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ 111 คน ก็จะเป็นเพียงบุคลากรสำรอง แต่หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ อาทิ พรรคเพื่อไทย ถูกยุบ ทั้ง 111 คน ก็จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะอดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย มองว่า แม้นักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ 111 คน จะได้รับสิทธิ์คืนสู่วงการการเมือง แม้จะทำให้มีบุคคลากรเพิ่ม และทำให้การเมืองมีสีสันมากขึ้น แต่ก็คงไม่ได้มีบทบาทมากนัก เพราะขณะนี้ มีนักการเมืองรุ่นใหม่ ที่มีความสามารถ เหมาะสมกับตำแหน่งอยู่แล้วหลายคน ยกเว้นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะได้กลับมามีบทบาทสำคัญในประเทศไทย ซึ่งหมายความว่า เวลานั้นประเทศไทย มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
ทั้งนี้ ส่วนตัวหากได้รับสิทธิ์กลับคืนมา ก็ขอใช้สิทธิ์ในการลงคะแนนเลือกตั้ง และรณรงค์ให้กับนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ 109 คน
นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ระบุว่า แม้ไม่เห็นด้วยกับระบบตุลาการภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดการยุบพรรคในอดีต รวมทั้งต่อเนื่องมาถึงการยึดอำนาจ แต่มองว่า การที่พรรคไทยรักไทย มีเสียงข้างมากในสภา จนกลายเป็นเผด็จการรัฐสภา เป็นต้นเหตุของการยุบพรรคดังกล่าว ขณะที่การที่สมาชิกกลุ่ม 111 จะกลับมาสู่ถนนการเมืองนั้น แม้จะยังไม่มีบทบาท แต่ก็จะเกิดสีสันทางการเมืองมากขึ้น และเป็นที่พอใจของผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตย โดยหวังว่าประชาชนจะมีโอกาสตัดสินใจเลือกคนดีมาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา ในฐานะอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 1 ใน 111 คน ที่ถูกตักสิทธิ์ทางการเมือง มองว่า การยุบพรรคในอดีต กลายเป็นปัญหาความไม่เป็นธรรม ก่อตัวเป็นความขัดแย้ง ทั้งในฝ่ายการเมืองด้วยกัน และฝ่ายประชาธิปไตย กับฝ่ายอำนาจนิยม และมุ่งทำลาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเกิดการจัดตั้งกลุ่มมวลชน ที่ทำให้มีความขัดแย้งมากขึ้น จนกระทั่งมีรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปัจจุบัน ที่แม้ความขัดแย้งไม่ปรากฏมากนัก แต่อาจซ่อนอยู่ลึกๆ ที่รอความผิดพลาดของรัฐบาล จากเงื่อนไขการทุจริต ไม่จงรักภักดี และบริหารงานล้มเหลว ซึ่งหากไม่มีเงื่อนไขเหล่านี้ นักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ 111 คน ก็จะเป็นเพียงบุคลากรสำรอง แต่หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ อาทิ พรรคเพื่อไทย ถูกยุบ ทั้ง 111 คน ก็จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะอดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย มองว่า แม้นักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ 111 คน จะได้รับสิทธิ์คืนสู่วงการการเมือง แม้จะทำให้มีบุคคลากรเพิ่ม และทำให้การเมืองมีสีสันมากขึ้น แต่ก็คงไม่ได้มีบทบาทมากนัก เพราะขณะนี้ มีนักการเมืองรุ่นใหม่ ที่มีความสามารถ เหมาะสมกับตำแหน่งอยู่แล้วหลายคน ยกเว้นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะได้กลับมามีบทบาทสำคัญในประเทศไทย ซึ่งหมายความว่า เวลานั้นประเทศไทย มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
ทั้งนี้ ส่วนตัวหากได้รับสิทธิ์กลับคืนมา ก็ขอใช้สิทธิ์ในการลงคะแนนเลือกตั้ง และรณรงค์ให้กับนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ 109 คน
นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ระบุว่า แม้ไม่เห็นด้วยกับระบบตุลาการภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดการยุบพรรคในอดีต รวมทั้งต่อเนื่องมาถึงการยึดอำนาจ แต่มองว่า การที่พรรคไทยรักไทย มีเสียงข้างมากในสภา จนกลายเป็นเผด็จการรัฐสภา เป็นต้นเหตุของการยุบพรรคดังกล่าว ขณะที่การที่สมาชิกกลุ่ม 111 จะกลับมาสู่ถนนการเมืองนั้น แม้จะยังไม่มีบทบาท แต่ก็จะเกิดสีสันทางการเมืองมากขึ้น และเป็นที่พอใจของผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตย โดยหวังว่าประชาชนจะมีโอกาสตัดสินใจเลือกคนดีมาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง