ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้มีมวลชนที่ออกมาชุมนุมหลายกลุ่มได้พยายามชักจูงและเชื้อเชิญให้มวลชนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาร่วมชุมนุมด้วย ลักษณะเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะแกนนำเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับแกนนำในระดับจังหวัด และในระดับมวลชนทั่วไป
จนเกิดคำถามที่หลายคนยังไม่รู้ก็คือเหตุใด พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังไม่ออกมาชุมนุม จึงขอใช้พื้นที่นี้วิเคราะห์ในความเห็น “ส่วนตัว” (ไม่ใช่ในฐานะโฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) ดังนี้
ความจริงแล้ว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่มีความจำเป็นจะต้องผูกขาดการชุมนุมเอาไว้แต่เพียงกลุ่มเดียวและทำหมดไปทุกเรื่อง ดังนั้นถ้ามีกลุ่มประชาชนต่างๆ ได้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านหรือใช้กระบวนการทางกฎหมายในประเด็นที่เป็นปัญหาสังคมอยู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องออกมานำการชุมนุมที่ซ้ำประเด็นกันกับกลุ่มอื่นๆ
เพราะในความเป็นจริง การที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ออกมาเคลื่อนไหว โดยที่มีกลุ่มประชาชนต่างๆ ได้ออกมาเคลื่อนไหวอยู่แล้ว ย่อมจะเป็นผลดีและเกิดประโยชน์มากกว่าที่เราอาจได้ประชาชนกลุ่มใหม่ๆ ออกมาเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประชาชนกลุ่มใหม่ๆ ที่ออกมานี้อาจไม่ชื่นชอบพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ได้
และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ที่มีการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนไหวที่ใช้ “ประเด็น” ขจัดความเลวร้ายทางการเมืองเป็นธงนำ แต่เมื่อได้ให้โอกาสการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองแล้วไม่ว่าจะเป็นการรัฐประหาร หรือนักการเมืองอีกขั้วหนึ่งขึ้นอำนาจแทน เรากลับพบว่าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะนักการเมืองที่เปลี่ยนขั้วอำนาจที่เข้ามานั้น ต่างแสวงหาผลประโยชน์ ทุจริตคอร์รัปชัน ไม่สามารถปกป้องอธิปไตยของชาติได้ ทั้งนี้เพราะไม่มีใครจริงใจที่จะก่อให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างการเมืองครั้งใหญ่ ดังนั้นการเมืองไทยก็จะยังเข้าสู่วงจรอุบาทว์เช่นนี้ต่อไปไม่รู้จบสิ้น
ในขณะที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองหรือทางการทหาร จะใช้การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนเพื่อเป็นบันไดเอาไว้เหยียบขึ้นไปเข้าสวมอำนาจแทนขั้วอำนาจระบอบทักษิณ และเข้าไปโกงบ้านกินเมือง โดยปราศจากการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง
เมื่อเป็นเช่นนั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงได้รณรงค์โหวตโน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ เพราะถ้าประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับในระบบรัฐสภาที่เป็นอยู่เช่นนี้ รังแต่จะเป็นการสร้างความชอบธรรมในระบบนี้ให้กับระบอบทักษิณเพิ่มมากขึ้น เพราะอย่างไรเสียพรรคการเมืองอื่นก็ย่อมพ่ายแพ้ต่อระบอบทักษิณอยู่แล้ว ไม่ว่าจะรวมคะแนนโหวตโนจะลงคะแนนให้กับพรรคการเมืองใดแล้วก็ตาม
การเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หากวันนั้นประชาชนลงคะแนนให้โหวตโนมากพอ เพียงแค่ 26 เขตขึ้นไป เราก็จะยังมีโอกาสต่อสู้ทางข้อกฎหมายและอำนาจต่อรองในระหว่างที่รัฐสภาไม่สามารถเปิดประชุมได้ตามรัฐธรรมนูญ หรือหากมีประชาชนลงคะแนนโหวตโนจำนวนมหาศาล พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ควรจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงที่รับภารกิจเรียกร้องเคลื่อนไหวมวลชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่โดยทันทีนับตั้งแต่วันนั้น
แต่เมื่อการรณรงค์โหวตโนได้ไม่มากพอ ก็แสดงว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา และคะแนนส่วนใหญ่ที่ต่อต้านระบอบทักษิณนั้นยังคงไปลงคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งผลลัพธ์ก็เป็นไปตามคาดคือ พรรคเพื่อไทยชนะพรรคประชาธิปัตย์ขาดลอย (ไม่ว่าจะมีคะแนนโหวตโนหรือไม่ก็ตาม)
ซ้ำร้ายบทเรียนที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้รับมาตลอดระยะเวลา 5 ปี จะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า จะต้องไม่ปล่อยให้นักการเมืองหรือทหารเข้ามาสวมอำนาจแทนเพื่อมาแสวงหาผลประโยชน์ หรือเข้ามาโกงกินบ้านเมืองแบบเดิมอีก
หรือที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า จะไม่ยอมให้ใครมา “ตีกิน” อีก!!!
ดังที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรคในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดสำนักงานเทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้เคยปราศรัยเอาไว้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ความตอนหนึ่งว่า:
“พรรคประชาธิปัตย์จะไม่จัดมวลชนออกมาคัดค้านหรือขับไล่รัฐบาลเหมือนที่พรรคประชาธิปัตย์เคยถูกกระทำในตอนที่ผมมารับหน้าที่นายกรัฐมนตรีในระยะแรก อะไรที่ดีก็จะสนับสนุน และตรวจสอบเรื่องที่มีปัญหา พรรคจะต่อสู้ในแนวทางของระบอบประชาธิปไตยและยึดมั่นในหลักการทำงานของระบบรัฐสภา เพราะผมไม่ต้องการเห็นความรุนแรงเกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้อีก”
แต่ในทางปฏิบัติมวลชนที่ออกมาเคลื่อนไหวในช่วงหลังกลับเป็นมวลชนที่เคยประกาศตัวสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์เป็นส่วนใหญ่ และยิ่งไปกว่านั้นก็ยังมีการจัดตั้งโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่เป็นเครือข่ายสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์และโจมตีเฉพาะพรรคเพื่อไทยอีกไม่ต่ำกว่า 3 สถานี
ที่น่าสังเกตก็คือมวลชนที่เคลื่อนไหวสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์นั้น มีมวลชนกลับไม่มากนัก (ทั้งๆ ที่มีคนลงคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์ถึง 11.43 ล้านเสียง) และไม่เคยยืนหยัดปักหลักพักค้างได้ ทำได้อย่างมากก็อยู่รวมตัวกันไม่กี่ชั่วโมงแล้วกลับบ้าน หรือไม่ก็ยื่นหนังสือไปตามหน่วยงานต่างๆ แล้วก็กลับบ้าน ไม่สามารถระคายผิวนักการเมืองในยุคปัจจุบันได้
ซ้ำร้ายไปกว่านั้นกลุ่มมวลชนบางกลุ่มยังมีผู้ขึ้นปราศรัยที่กล้าใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เพื่อบ่อนทำลายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่าแกนนำรับเงินทักษิณบ้าง หรือ ASTV จะถูกซื้อโดยทักษิณในเดือนพฤษภาคม 2555 และนายจตุพร พรหมพันธุ์ จะเข้ามาจัดรายการทาง ASTV บ้าง ฯลฯ ถือเป็นความหยาบช้าในการใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จเพียงเพื่อทำลายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและช่วงชิงมวลชนให้มาเป็นของกลุ่มตัวเองนั้น หลายเดือนที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วแนวทางที่ต่ำทรามเช่นนี้ไม่สามารถเพิ่มศรัทธาหรือให้กับกลุ่มมวลชนเหล่านี้ได้ และคงเป็นไปไม่ได้ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะไปร่วมกับกลุ่มคนที่ใช้ข้อมูลเท็จและทำทุกอย่างที่ชั่วร้าและไร้จริยธรรม เพียงเพื่อขอให้บรรลุผลทางการเมืองเช่นนี้
ด้วยเหตุผลนี้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงตัดสินใจยืนอยู่บนภู และใช้บริการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV และเครือข่ายเว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการ ฉายภาพให้สังคมเห็นให้มากที่สุดถึงความเลวร้ายในระบอบการเมืองของทุกขั้ว เพื่อให้สังคมตระหนักว่าประเทศไทยต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองครั้งใหญ่ ไม่ใช่พึ่งพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หรือพึ่งหวังคณะรัฐประหารที่มุ่งแต่จะกวาดทั้งแดงและเหลืองโดยอ้างว่าเพราะประชาชน 2 ฝ่ายขัดแย้งกัน เพียงเพื่อมาเสวยและสวาปามในอำนาจและผลประโยชน์แทนขั้วอำนาจเก่า
และสำหรับคนที่ต่อต้านระบอบทักษิณ และเลือกพรรคการเมืองใด (ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก) ก็ควรจะได้ทดลองระบบรัฐสภาที่ตัวเองเชื่อมั่นนั้น สามารถแก้ไขปัญหาให้กับประเทศได้หรือไม่?
ตัวอย่าง ผลงานล่าสุดก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ทั้งฉบับ ถ้าคิดว่าประเทศนี้แก้ไขปัญหาด้วยระบบรัฐสภาได้ คำตอบก็คือมติรัฐสภาลงความเห็น 399 เสียง เห็นชอบให้ล้มล้างรัฐธรรมนูญ และ 199 เสียง ในขณะที่นิด้าโพลสำรวจความเห็นของประชาชนพบว่าร้อยละ 58 ไม่เห็นด้วยกับการรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแบบนี้ ถือเป็นบทเรียนที่ดีอีกครั้งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าระบบรัฐสภาที่เป็นอยู่นี้ ไม่มี “การถ่วงดุล” กันจริงระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายรัฐบาลจะชนะในเกมรัฐสภาตลอดสมัย และฝ่ายค้านก็จะยกมือแพ้ตลอดสมัยในรัฐสภาเช่นกัน ดังนั้นการเมืองจึงไม่สามารถแก้ไขได้จริงด้วยระบบรัฐสภา และการเมืองในระบบแบบนี้สามารถทำได้ทุกอย่างแม้กระทั่งแก้ไขกฎหมายเพื่อลดอำนาจการตรวจสอบนักการเมืองของศาล
และถ้าประชาชนส่วนใหญ่ได้รับบทเรียนมากขึ้นไปเรื่อยๆ และเข้าใจถึงความล้มเหลวในระบบการเมืองมากขึ้น จนได้รับผลกระทบถึงตัวมากขึ้นจากระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่ล้มเหลว ตามหลักแล้วก็ย่อมมีคนมายืนบนภูมากขึ้น และถ้าเรามีคนที่ยืนอยู่บนภูมากพอ เมื่อถึงเวลานั้นก็คือการที่ประชาชนที่อยู่บนภูลงไปที่ตีนเขาเพื่อล้างระบบที่ล้มเหลวทั้งหมด
แต่ถ้าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงไปขัดขวางในแต่ละประเด็นเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา ก็ไม่ต่างจากการชะลอเวลาการเปลี่ยนแปลงออกไปนานขึ้น วิธีการดีที่สุด (สำหรับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ) ต้องปล่อยให้นักการเมืองทำชั่ว ต่ำช้า เลวทรามจนถึงที่สุด จนประชาชนทั่วไปเห็นเป็นที่ประจักษ์และทนไม่ได้ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้และเปิดเผยข้อเท็จจริงกับประชาชน เมื่อถึงเวลานั้นประชาชนจะได้ลุกขึ้นมาต่อสู้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และถ้าสังคมต้องการให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาเคลื่อนไหวมากขึ้นเป็นการทั่วไปเมื่อไร เมื่อนั้นเราก็ย่อมมีความชอบธรรมเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหญ่มากขึ้นเช่นกัน
การทำงานของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงเน้นการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นหลักและใช้การเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงให้มากที่สุด และต้องอดทนจนถึงที่สุด และหากจะเคลื่อนไหวมวลชนก็จะเป็นพันธสัญญาที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศกับประชาชนแล้วว่าจะออกมาชุมนุมเคลื่อนไหว ก็ต่อเมื่อ
1. มีการแก้ไขกฎหมายหรือขบวนการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือลดโครงสร้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
2. มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อนำไปสู่การนิรโทษกรรมให้กับนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร และพวก
ถ้าพ้นจาก 2 เรื่องนี้แล้ว การเคลื่อนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็จะเคลื่อนเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เท่านั้น เพราะการเคลื่อนเพื่อขัดขวางบางประเด็น ต่อให้สำเร็จบ้านเมืองก็ยังกลับเข้าสู่สถานภาพเดิมคือ “ล้มเหลวเหมือนเดิมอยู่ดี”
ซ้ำร้ายหากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนไหวมวลชนก่อนเวลาอันควร นอกจากจะทำให้ประชาชนอีกมากไม่ออกมาทำหน้าที่ของตัวเองแล้ว ยังจะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้นอีกด้วย
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงไม่ควรจะไปเคลื่อนไหว ออกไปแบบฟรีๆ โดยไม่มีเงื่อนไขให้ทราบชัดเจนว่าหลังการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจแล้ว ประเทศไทยจะเป็นไปอย่างไร?
ดังนั้นใครอยากจะเคลื่อนมวลชนในประเด็นต่างๆ วันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี ASTV ก็พร้อมจะสนับสนุนเผยแพร่ความจริงต่อไป แต่หากจะเรียกร้องให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกไปเคลื่อนไหวมวลชน ก็ต้องเป็นไปเพื่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพื่อให้ใครมา “ตีกิน”
การเคลื่อนครั้งใหญ่ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น จำต้องทำให้เกิดสถานการณ์ “สุกงอม” และ “เอกภาพ” ต่อทุกฝ่าย สถาบันทหาร สถาบันตุลาการ สถาบันการเมือง และภาคประชาชน ที่เห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แล้ว จึงร่วมมือกันทำงานเพื่อทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่การสกัดประเด็นปัญหา โดยที่การเมืองยังล้มเหลวต่อไป
แต่หากหวังจะตีกินแบบเดิมๆ ก็เชื่อได้ว่าฝ่ายสถาบันทหาร ฝ่ายสถาบันตุลาการ และพรรคการเมืองที่อยู่ตรงกันข้ามกับระบอบทักษิณ ก็ต้องรับชะตาเผชิญหน้ากันเอาเอง ว่าจะถูกกวาดล้างหรือจะเลือกจับมือกันกับระบอบทักษิณ แต่ก็คงไม่เกี่ยวกับประชาชน นอกจากประชาชนจะทำหน้าที่ตามศรัทธาของตัวเองต่อไป
ที่คิดเช่นนี้ก็เพราะถ้าเปลี่ยนแปลงปฏิรูปการเมืองสำเร็จ ประเทศนี้ก็จะลดบทบาทเผด็จการรัฐสภาโดยทุนสามานย์ ลดการโกงบ้านกินเมือง ให้คนดีมาปกครองบ้านเมืองและป้องกันไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจ ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องอธิปไตยของชาติได้ อันถือเป็นการแก้ไขที่ตรงจุดและตรงประเด็น
ส่วนสถานการณ์จะสุกงอมหรือยัง ต้องลองไปฟังผลการประชุมของแกนนำ ผู้ประสานงาน และตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และทุกกลุ่ม ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555 !!?
จนเกิดคำถามที่หลายคนยังไม่รู้ก็คือเหตุใด พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังไม่ออกมาชุมนุม จึงขอใช้พื้นที่นี้วิเคราะห์ในความเห็น “ส่วนตัว” (ไม่ใช่ในฐานะโฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) ดังนี้
ความจริงแล้ว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่มีความจำเป็นจะต้องผูกขาดการชุมนุมเอาไว้แต่เพียงกลุ่มเดียวและทำหมดไปทุกเรื่อง ดังนั้นถ้ามีกลุ่มประชาชนต่างๆ ได้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านหรือใช้กระบวนการทางกฎหมายในประเด็นที่เป็นปัญหาสังคมอยู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องออกมานำการชุมนุมที่ซ้ำประเด็นกันกับกลุ่มอื่นๆ
เพราะในความเป็นจริง การที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ออกมาเคลื่อนไหว โดยที่มีกลุ่มประชาชนต่างๆ ได้ออกมาเคลื่อนไหวอยู่แล้ว ย่อมจะเป็นผลดีและเกิดประโยชน์มากกว่าที่เราอาจได้ประชาชนกลุ่มใหม่ๆ ออกมาเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประชาชนกลุ่มใหม่ๆ ที่ออกมานี้อาจไม่ชื่นชอบพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ได้
และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ที่มีการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนไหวที่ใช้ “ประเด็น” ขจัดความเลวร้ายทางการเมืองเป็นธงนำ แต่เมื่อได้ให้โอกาสการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองแล้วไม่ว่าจะเป็นการรัฐประหาร หรือนักการเมืองอีกขั้วหนึ่งขึ้นอำนาจแทน เรากลับพบว่าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะนักการเมืองที่เปลี่ยนขั้วอำนาจที่เข้ามานั้น ต่างแสวงหาผลประโยชน์ ทุจริตคอร์รัปชัน ไม่สามารถปกป้องอธิปไตยของชาติได้ ทั้งนี้เพราะไม่มีใครจริงใจที่จะก่อให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างการเมืองครั้งใหญ่ ดังนั้นการเมืองไทยก็จะยังเข้าสู่วงจรอุบาทว์เช่นนี้ต่อไปไม่รู้จบสิ้น
ในขณะที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองหรือทางการทหาร จะใช้การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนเพื่อเป็นบันไดเอาไว้เหยียบขึ้นไปเข้าสวมอำนาจแทนขั้วอำนาจระบอบทักษิณ และเข้าไปโกงบ้านกินเมือง โดยปราศจากการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง
เมื่อเป็นเช่นนั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงได้รณรงค์โหวตโน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ เพราะถ้าประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับในระบบรัฐสภาที่เป็นอยู่เช่นนี้ รังแต่จะเป็นการสร้างความชอบธรรมในระบบนี้ให้กับระบอบทักษิณเพิ่มมากขึ้น เพราะอย่างไรเสียพรรคการเมืองอื่นก็ย่อมพ่ายแพ้ต่อระบอบทักษิณอยู่แล้ว ไม่ว่าจะรวมคะแนนโหวตโนจะลงคะแนนให้กับพรรคการเมืองใดแล้วก็ตาม
การเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หากวันนั้นประชาชนลงคะแนนให้โหวตโนมากพอ เพียงแค่ 26 เขตขึ้นไป เราก็จะยังมีโอกาสต่อสู้ทางข้อกฎหมายและอำนาจต่อรองในระหว่างที่รัฐสภาไม่สามารถเปิดประชุมได้ตามรัฐธรรมนูญ หรือหากมีประชาชนลงคะแนนโหวตโนจำนวนมหาศาล พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ควรจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงที่รับภารกิจเรียกร้องเคลื่อนไหวมวลชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่โดยทันทีนับตั้งแต่วันนั้น
แต่เมื่อการรณรงค์โหวตโนได้ไม่มากพอ ก็แสดงว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา และคะแนนส่วนใหญ่ที่ต่อต้านระบอบทักษิณนั้นยังคงไปลงคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งผลลัพธ์ก็เป็นไปตามคาดคือ พรรคเพื่อไทยชนะพรรคประชาธิปัตย์ขาดลอย (ไม่ว่าจะมีคะแนนโหวตโนหรือไม่ก็ตาม)
ซ้ำร้ายบทเรียนที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้รับมาตลอดระยะเวลา 5 ปี จะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า จะต้องไม่ปล่อยให้นักการเมืองหรือทหารเข้ามาสวมอำนาจแทนเพื่อมาแสวงหาผลประโยชน์ หรือเข้ามาโกงกินบ้านเมืองแบบเดิมอีก
หรือที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า จะไม่ยอมให้ใครมา “ตีกิน” อีก!!!
ดังที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรคในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดสำนักงานเทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้เคยปราศรัยเอาไว้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ความตอนหนึ่งว่า:
“พรรคประชาธิปัตย์จะไม่จัดมวลชนออกมาคัดค้านหรือขับไล่รัฐบาลเหมือนที่พรรคประชาธิปัตย์เคยถูกกระทำในตอนที่ผมมารับหน้าที่นายกรัฐมนตรีในระยะแรก อะไรที่ดีก็จะสนับสนุน และตรวจสอบเรื่องที่มีปัญหา พรรคจะต่อสู้ในแนวทางของระบอบประชาธิปไตยและยึดมั่นในหลักการทำงานของระบบรัฐสภา เพราะผมไม่ต้องการเห็นความรุนแรงเกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้อีก”
แต่ในทางปฏิบัติมวลชนที่ออกมาเคลื่อนไหวในช่วงหลังกลับเป็นมวลชนที่เคยประกาศตัวสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์เป็นส่วนใหญ่ และยิ่งไปกว่านั้นก็ยังมีการจัดตั้งโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่เป็นเครือข่ายสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์และโจมตีเฉพาะพรรคเพื่อไทยอีกไม่ต่ำกว่า 3 สถานี
ที่น่าสังเกตก็คือมวลชนที่เคลื่อนไหวสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์นั้น มีมวลชนกลับไม่มากนัก (ทั้งๆ ที่มีคนลงคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์ถึง 11.43 ล้านเสียง) และไม่เคยยืนหยัดปักหลักพักค้างได้ ทำได้อย่างมากก็อยู่รวมตัวกันไม่กี่ชั่วโมงแล้วกลับบ้าน หรือไม่ก็ยื่นหนังสือไปตามหน่วยงานต่างๆ แล้วก็กลับบ้าน ไม่สามารถระคายผิวนักการเมืองในยุคปัจจุบันได้
ซ้ำร้ายไปกว่านั้นกลุ่มมวลชนบางกลุ่มยังมีผู้ขึ้นปราศรัยที่กล้าใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เพื่อบ่อนทำลายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่าแกนนำรับเงินทักษิณบ้าง หรือ ASTV จะถูกซื้อโดยทักษิณในเดือนพฤษภาคม 2555 และนายจตุพร พรหมพันธุ์ จะเข้ามาจัดรายการทาง ASTV บ้าง ฯลฯ ถือเป็นความหยาบช้าในการใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จเพียงเพื่อทำลายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและช่วงชิงมวลชนให้มาเป็นของกลุ่มตัวเองนั้น หลายเดือนที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วแนวทางที่ต่ำทรามเช่นนี้ไม่สามารถเพิ่มศรัทธาหรือให้กับกลุ่มมวลชนเหล่านี้ได้ และคงเป็นไปไม่ได้ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะไปร่วมกับกลุ่มคนที่ใช้ข้อมูลเท็จและทำทุกอย่างที่ชั่วร้าและไร้จริยธรรม เพียงเพื่อขอให้บรรลุผลทางการเมืองเช่นนี้
ด้วยเหตุผลนี้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงตัดสินใจยืนอยู่บนภู และใช้บริการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV และเครือข่ายเว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการ ฉายภาพให้สังคมเห็นให้มากที่สุดถึงความเลวร้ายในระบอบการเมืองของทุกขั้ว เพื่อให้สังคมตระหนักว่าประเทศไทยต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองครั้งใหญ่ ไม่ใช่พึ่งพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หรือพึ่งหวังคณะรัฐประหารที่มุ่งแต่จะกวาดทั้งแดงและเหลืองโดยอ้างว่าเพราะประชาชน 2 ฝ่ายขัดแย้งกัน เพียงเพื่อมาเสวยและสวาปามในอำนาจและผลประโยชน์แทนขั้วอำนาจเก่า
และสำหรับคนที่ต่อต้านระบอบทักษิณ และเลือกพรรคการเมืองใด (ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก) ก็ควรจะได้ทดลองระบบรัฐสภาที่ตัวเองเชื่อมั่นนั้น สามารถแก้ไขปัญหาให้กับประเทศได้หรือไม่?
ตัวอย่าง ผลงานล่าสุดก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ทั้งฉบับ ถ้าคิดว่าประเทศนี้แก้ไขปัญหาด้วยระบบรัฐสภาได้ คำตอบก็คือมติรัฐสภาลงความเห็น 399 เสียง เห็นชอบให้ล้มล้างรัฐธรรมนูญ และ 199 เสียง ในขณะที่นิด้าโพลสำรวจความเห็นของประชาชนพบว่าร้อยละ 58 ไม่เห็นด้วยกับการรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแบบนี้ ถือเป็นบทเรียนที่ดีอีกครั้งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าระบบรัฐสภาที่เป็นอยู่นี้ ไม่มี “การถ่วงดุล” กันจริงระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายรัฐบาลจะชนะในเกมรัฐสภาตลอดสมัย และฝ่ายค้านก็จะยกมือแพ้ตลอดสมัยในรัฐสภาเช่นกัน ดังนั้นการเมืองจึงไม่สามารถแก้ไขได้จริงด้วยระบบรัฐสภา และการเมืองในระบบแบบนี้สามารถทำได้ทุกอย่างแม้กระทั่งแก้ไขกฎหมายเพื่อลดอำนาจการตรวจสอบนักการเมืองของศาล
และถ้าประชาชนส่วนใหญ่ได้รับบทเรียนมากขึ้นไปเรื่อยๆ และเข้าใจถึงความล้มเหลวในระบบการเมืองมากขึ้น จนได้รับผลกระทบถึงตัวมากขึ้นจากระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่ล้มเหลว ตามหลักแล้วก็ย่อมมีคนมายืนบนภูมากขึ้น และถ้าเรามีคนที่ยืนอยู่บนภูมากพอ เมื่อถึงเวลานั้นก็คือการที่ประชาชนที่อยู่บนภูลงไปที่ตีนเขาเพื่อล้างระบบที่ล้มเหลวทั้งหมด
แต่ถ้าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงไปขัดขวางในแต่ละประเด็นเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา ก็ไม่ต่างจากการชะลอเวลาการเปลี่ยนแปลงออกไปนานขึ้น วิธีการดีที่สุด (สำหรับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ) ต้องปล่อยให้นักการเมืองทำชั่ว ต่ำช้า เลวทรามจนถึงที่สุด จนประชาชนทั่วไปเห็นเป็นที่ประจักษ์และทนไม่ได้ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้และเปิดเผยข้อเท็จจริงกับประชาชน เมื่อถึงเวลานั้นประชาชนจะได้ลุกขึ้นมาต่อสู้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และถ้าสังคมต้องการให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาเคลื่อนไหวมากขึ้นเป็นการทั่วไปเมื่อไร เมื่อนั้นเราก็ย่อมมีความชอบธรรมเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหญ่มากขึ้นเช่นกัน
การทำงานของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงเน้นการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นหลักและใช้การเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงให้มากที่สุด และต้องอดทนจนถึงที่สุด และหากจะเคลื่อนไหวมวลชนก็จะเป็นพันธสัญญาที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศกับประชาชนแล้วว่าจะออกมาชุมนุมเคลื่อนไหว ก็ต่อเมื่อ
1. มีการแก้ไขกฎหมายหรือขบวนการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือลดโครงสร้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
2. มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อนำไปสู่การนิรโทษกรรมให้กับนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร และพวก
ถ้าพ้นจาก 2 เรื่องนี้แล้ว การเคลื่อนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็จะเคลื่อนเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เท่านั้น เพราะการเคลื่อนเพื่อขัดขวางบางประเด็น ต่อให้สำเร็จบ้านเมืองก็ยังกลับเข้าสู่สถานภาพเดิมคือ “ล้มเหลวเหมือนเดิมอยู่ดี”
ซ้ำร้ายหากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนไหวมวลชนก่อนเวลาอันควร นอกจากจะทำให้ประชาชนอีกมากไม่ออกมาทำหน้าที่ของตัวเองแล้ว ยังจะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้นอีกด้วย
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงไม่ควรจะไปเคลื่อนไหว ออกไปแบบฟรีๆ โดยไม่มีเงื่อนไขให้ทราบชัดเจนว่าหลังการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจแล้ว ประเทศไทยจะเป็นไปอย่างไร?
ดังนั้นใครอยากจะเคลื่อนมวลชนในประเด็นต่างๆ วันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี ASTV ก็พร้อมจะสนับสนุนเผยแพร่ความจริงต่อไป แต่หากจะเรียกร้องให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกไปเคลื่อนไหวมวลชน ก็ต้องเป็นไปเพื่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพื่อให้ใครมา “ตีกิน”
การเคลื่อนครั้งใหญ่ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น จำต้องทำให้เกิดสถานการณ์ “สุกงอม” และ “เอกภาพ” ต่อทุกฝ่าย สถาบันทหาร สถาบันตุลาการ สถาบันการเมือง และภาคประชาชน ที่เห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แล้ว จึงร่วมมือกันทำงานเพื่อทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่การสกัดประเด็นปัญหา โดยที่การเมืองยังล้มเหลวต่อไป
แต่หากหวังจะตีกินแบบเดิมๆ ก็เชื่อได้ว่าฝ่ายสถาบันทหาร ฝ่ายสถาบันตุลาการ และพรรคการเมืองที่อยู่ตรงกันข้ามกับระบอบทักษิณ ก็ต้องรับชะตาเผชิญหน้ากันเอาเอง ว่าจะถูกกวาดล้างหรือจะเลือกจับมือกันกับระบอบทักษิณ แต่ก็คงไม่เกี่ยวกับประชาชน นอกจากประชาชนจะทำหน้าที่ตามศรัทธาของตัวเองต่อไป
ที่คิดเช่นนี้ก็เพราะถ้าเปลี่ยนแปลงปฏิรูปการเมืองสำเร็จ ประเทศนี้ก็จะลดบทบาทเผด็จการรัฐสภาโดยทุนสามานย์ ลดการโกงบ้านกินเมือง ให้คนดีมาปกครองบ้านเมืองและป้องกันไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจ ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องอธิปไตยของชาติได้ อันถือเป็นการแก้ไขที่ตรงจุดและตรงประเด็น
ส่วนสถานการณ์จะสุกงอมหรือยัง ต้องลองไปฟังผลการประชุมของแกนนำ ผู้ประสานงาน และตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และทุกกลุ่ม ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555 !!?