การผลิตซ้ำความยากจนแก่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เพียงเป็นบทสรุปของการปฏิวัติทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ แต่การปฏิวัติระบบเกษตรกรรมและอาหารก็ไม่ต่างกันด้วยสร้างสภาวะยากจนซ้ำซากแก่เกษตรกรรายย่อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในทุกประเทศทั่วโลก ด้านหนึ่งของการปฏิวัติเขียวครั้งแรกจึงเป็นการผลิตซ้ำความยากจนแก่เกษตรกรเพราะกระบวนการผลิตต้องพึ่งพิงปัจจัยการผลิตสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อตอบสนองพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง (high-yield) ซึ่งพัฒนาขึ้นใหม่
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) เข้มข้นขึ้นทำให้เกษตรกรไถ่ถอนความยากจนข้นแค้นไม่ได้ด้วยในกระบวนการผลิตพึ่งพิงปัจจัยภายนอกสิ้น ซึ่งถึงที่สุดข้อเท็จจริงขื่นขมของเกษตรกรก็คงต้องตกไปด้วยในข้อเรียกร้องให้เกิดการปฏิวัติเขียวครั้งที่สอง (second green revolution) ทั้งจากบรรษัทข้ามชาติ หรือกระทั่งบิดาการปฏิวัติเขียว Norman Borlaug (1914-2009) ต่างวางอยู่บนข้ออ้างว่าประชากรโลกเพิ่มถึง 7 พันล้านคน ภาวะทุพโภชนาการ ความอดอยากหิวโหย ราคาอาหารผันผวน และความไม่มั่นคงทางอาหารทั่วโลก จนยากจะปฏิเสธถึงความสำคัญของการพัฒนาพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงขึ้นเพื่อเลี้ยงโลกได้
นัยข้ออ้างข้างต้นส่งผลให้การปฏิวัติเขียวครั้งที่สองเพื่อตอบโจทย์อาหารราคาแพง และขาดแคลนปักหมุดอยู่ที่การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) และเมล็ดพันธุ์ลูกผสม (hybrid) บนสมมติฐานวิทยาศาสตร์และแรงโฆษณาชวนเชื่อทางการตลาดว่าสามารถให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้โดยมองข้ามข้อจำกัดผลกระทบสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และแน่นอนความมั่นคงของเกษตรกรรายย่อยที่ลดลงเหลือ ‘ศูนย์’ เพราะต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีนี้เรื่อยไป เก็บเมล็ดพันธุ์ไม่ได้ ไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง ถึงแม้มีศักยภาพทำได้ก็ถูกข้อกฎหมายและนโยบายกีดกัน อันเป็นทิศทางเดียวกับเกษตรพันธสัญญา (contract farming) หนึ่งในรูปแบบธุรกิจการเกษตร (agribusiness) ที่ขยายตัวรวดเร็วทั้งไทยและทั่วโลกจนเป็นหัวใจปฏิวัติเขียวครั้งที่สองและเครื่องมือการตลาดแบบครบวงจรของบรรษัทอุตสาหกรรมข้ามชาติที่มีไม่กี่ราย
ระดับภายในประเทศเปลี่ยนสถานะเกษตรกรเป็นผู้รับจ้างบนผืนดินตนเอง ระดับระหว่างประเทศเกษตรพันธสัญญากลายเป็นกลไกทำกำไรให้บริษัทในอีกประเทศหนึ่งซึ่งแลกมากับความอดอยากหิวโหยและล่มสลายของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ดินที่ถูกแย่งชิงฉกฉวย (land grab) ด้วยความร่วมมือของรัฐบาลเจ้าของทรัพยากรที่ดินที่เปิดช่องกฎหมายและนโยบายภายใต้กรอบคิดการค้าเสรีที่ทุกอย่างแปลงเป็นสินค้าได้ (commodification) ไม่เว้นแม้แต่ความคับแค้นขื่นขมของผู้คนที่ไร้ที่ดินทำกิน โดยเฉพาะชนพื้นเมืองและเกษตรกรรายย่อย จนเป็นที่มาของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ (new social movement) ที่กลายเป็นหัวหอกต้านกระแสทุนโลกาภิวัตน์ที่ครอบงำวิถีชีวิตผู้คนไว้ด้วยการบริโภคนิยม
ดังนั้นการปฏิวัติระบบเกษตรกรรมและอาหารจึงกำหนดเป้าหมาย (end) ที่จะบรรลุไว้แค่การเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศที่ถูกครอบงำทิศทางจากบรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารข้ามชาติไม่ได้ ด้วยในข้อเท็จจริงกลุ่มกุมอำนาจตัดสินใจทางนโยบายมีผลประโยชน์พัวพันกับกลุ่มทุนธุรกิจจนแทบกำหนดนโยบายปกป้องประโยชน์เกษตรกรรายย่อยไม่ได้ หรือได้ก็ไม่ทำถ้าขัดผลประโยชน์ทับซ้อน
การปฏิวัติจึงเรียกร้องวิธีการ (means) ที่เป็นเนื้อเดียวกับเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติระบบเกษตรกรรมด้วยแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่กับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคซึ่งอยู่ใต้อำนาจทุนที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตของระบบอาหารและการเกษตร (agro-food system) รวมถึงวัฒนธรรมด้านค่านิยม-ความเชื่อของผู้คน โดย ‘ปฏิวัติการบริโภค’ ที่มุ่งให้ความสำคัญกับอาหารทั้งแง่มุมแหล่งที่มา ความปลอดภัย โภชนาการ และความเป็นธรรม อันเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางสังคมที่สร้างความเป็นธรรมและอิสรภาพมากขึ้นได้
กล่าวคือการปฏิวัติระบบเกษตรกรรมและอาหารต้องอยู่บนกระบวนทัศน์แบบเป้าหมายและวิธีการไปด้วยกัน อันหมายถึงแนวคิดแบบเป้าหมายอธิบายวิธีการ (The end justifies the means) ที่สังคมไทยใช้เคลื่อนไหวทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ต้องปรับเปลี่ยนไป ในขณะเดียวกันก็ต้องมองถึงคุณูปการของปฏิบัติการระดับประจำวันด้วยว่าเป็นทางออกของวิกฤตอาหารโลกในอนาคต (future global food crisis) ที่ไม่ผูกติดกับการปฏิวัติเขียวครั้งที่สองซึ่งขึ้นต่อเทคโนโลยีชีวภาพที่ถูกครอบครองเบ็ดเสร็จโดยบรรษัทผ่านกลไกการค้าเสรี เพราะพลังเปลี่ยนแปลงในสังคมทุนนิยมเสรีประชาธิปไตยอยู่ที่ทิศทางพฤติกรรมผู้บริโภค
วิถีชีวิตประจำวันหรือรูปแบบการใช้ชีวิต (lifestyle) จึงเป็นกลไกการต่อสู้ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนลดอันตรายสังคมโดยรวม ดังการรวมกลุ่มแนวระนาบของผู้บริโภคในทวีปยุโรปต่อต้าน GMOs จนสำเร็จระดับหนึ่ง ซึ่งแนวโน้มไทยยังไม่เป็นเช่นนั้นเนื่องมาจากการต่อต้านสารเคมีกำจัดศัตรูพืชพิษร้ายแรง 4 ชนิด คือ carbofuran, methomyl, dicrotophos และ EPN ที่ทั่วโลกเลิกใช้แต่ไทยยังจะให้ขึ้นทะเบียนต่อได้แม้มีข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ก็เพราะไม่มีแรงกดดันจากภาคประชาสังคม โดยเฉพาะผู้บริโภคที่เข้มแข็งพอแม้ตนเองจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งร้ายภายหลังบริโภคผืชผักผลไม้ปนเปื้อนเหล่านี้
การปฏิวัติระดับชีวิตประจำวันของผู้บริโภคจึงเป็นพลังปฏิวัติระบบเกษตรกรรมและอาหารที่สามารถทวนกระแสวาทกรรม ‘เสรีภาพในการบริโภค’ ที่ไม่มีจริงเพราะถูกกำหนดด้วยกลไกตลาดจนปราศจากทางเลือก ถึงแม้มีอาหารมากมายบนชั้นวางสินค้าที่หน้าตาบรรจุภัณฑ์ต่างกัน ซึ่งระหว่างนั้นก็ต้องปฏิวัติโครงสร้างสังคมภายใต้กำกับของทุนโลกาภิวัตน์ผูกขาดตามข้อเสนอคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) มติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของเกษตรกรและองค์กรสาธารณประโยชน์ต่างๆ
การปฏิวัติเขียวรอบสองด้วยเทคโนโลยีชีวภาพจึงเป็นการหมุนกลับไปยังความยากจนของเกษตรกรรายย่อยดังเดิม ด้วยปัจจัยการผลิตทุกอย่าง โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ GMOs และลูกผสมล้วนเป็นสมบัติบรรษัท ไม่ใช่สมบัติมวลมนุษยชาติ
ดังนั้นการปฏิวัติระบบเกษตรกรรมและอาหารเพื่ออิสรภาพปลดพันธนาการจึงต้องกล้า ‘ขบถ’ กับบรรษัทที่อาศัยอำนาจกฎหมายและนโยบายการค้าการลงทุน รวมถึงวาทกรรมวิทยาศาสตร์ครอบงำความชอบธรรมของการปฏิวัติการเกษตรและอาหารผ่านเทคโนโลยีและกลไกการค้าเสรีที่ความข้นแค้นของเกษตรกรและความอดอยากของผู้คนไม่มีค่าไปกว่าการเนียนทำ CSR สร้างภาพลักษณ์ และฉวยใช้ข้อมูลหรือฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ (scientific consensus) ที่ไม่ยั่งยืนมาอ้างความมั่นคง ลดทอนข้อโต้แย้งทางเลือกอื่น!
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) เข้มข้นขึ้นทำให้เกษตรกรไถ่ถอนความยากจนข้นแค้นไม่ได้ด้วยในกระบวนการผลิตพึ่งพิงปัจจัยภายนอกสิ้น ซึ่งถึงที่สุดข้อเท็จจริงขื่นขมของเกษตรกรก็คงต้องตกไปด้วยในข้อเรียกร้องให้เกิดการปฏิวัติเขียวครั้งที่สอง (second green revolution) ทั้งจากบรรษัทข้ามชาติ หรือกระทั่งบิดาการปฏิวัติเขียว Norman Borlaug (1914-2009) ต่างวางอยู่บนข้ออ้างว่าประชากรโลกเพิ่มถึง 7 พันล้านคน ภาวะทุพโภชนาการ ความอดอยากหิวโหย ราคาอาหารผันผวน และความไม่มั่นคงทางอาหารทั่วโลก จนยากจะปฏิเสธถึงความสำคัญของการพัฒนาพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงขึ้นเพื่อเลี้ยงโลกได้
นัยข้ออ้างข้างต้นส่งผลให้การปฏิวัติเขียวครั้งที่สองเพื่อตอบโจทย์อาหารราคาแพง และขาดแคลนปักหมุดอยู่ที่การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) และเมล็ดพันธุ์ลูกผสม (hybrid) บนสมมติฐานวิทยาศาสตร์และแรงโฆษณาชวนเชื่อทางการตลาดว่าสามารถให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้โดยมองข้ามข้อจำกัดผลกระทบสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และแน่นอนความมั่นคงของเกษตรกรรายย่อยที่ลดลงเหลือ ‘ศูนย์’ เพราะต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีนี้เรื่อยไป เก็บเมล็ดพันธุ์ไม่ได้ ไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง ถึงแม้มีศักยภาพทำได้ก็ถูกข้อกฎหมายและนโยบายกีดกัน อันเป็นทิศทางเดียวกับเกษตรพันธสัญญา (contract farming) หนึ่งในรูปแบบธุรกิจการเกษตร (agribusiness) ที่ขยายตัวรวดเร็วทั้งไทยและทั่วโลกจนเป็นหัวใจปฏิวัติเขียวครั้งที่สองและเครื่องมือการตลาดแบบครบวงจรของบรรษัทอุตสาหกรรมข้ามชาติที่มีไม่กี่ราย
ระดับภายในประเทศเปลี่ยนสถานะเกษตรกรเป็นผู้รับจ้างบนผืนดินตนเอง ระดับระหว่างประเทศเกษตรพันธสัญญากลายเป็นกลไกทำกำไรให้บริษัทในอีกประเทศหนึ่งซึ่งแลกมากับความอดอยากหิวโหยและล่มสลายของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ดินที่ถูกแย่งชิงฉกฉวย (land grab) ด้วยความร่วมมือของรัฐบาลเจ้าของทรัพยากรที่ดินที่เปิดช่องกฎหมายและนโยบายภายใต้กรอบคิดการค้าเสรีที่ทุกอย่างแปลงเป็นสินค้าได้ (commodification) ไม่เว้นแม้แต่ความคับแค้นขื่นขมของผู้คนที่ไร้ที่ดินทำกิน โดยเฉพาะชนพื้นเมืองและเกษตรกรรายย่อย จนเป็นที่มาของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ (new social movement) ที่กลายเป็นหัวหอกต้านกระแสทุนโลกาภิวัตน์ที่ครอบงำวิถีชีวิตผู้คนไว้ด้วยการบริโภคนิยม
ดังนั้นการปฏิวัติระบบเกษตรกรรมและอาหารจึงกำหนดเป้าหมาย (end) ที่จะบรรลุไว้แค่การเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศที่ถูกครอบงำทิศทางจากบรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารข้ามชาติไม่ได้ ด้วยในข้อเท็จจริงกลุ่มกุมอำนาจตัดสินใจทางนโยบายมีผลประโยชน์พัวพันกับกลุ่มทุนธุรกิจจนแทบกำหนดนโยบายปกป้องประโยชน์เกษตรกรรายย่อยไม่ได้ หรือได้ก็ไม่ทำถ้าขัดผลประโยชน์ทับซ้อน
การปฏิวัติจึงเรียกร้องวิธีการ (means) ที่เป็นเนื้อเดียวกับเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติระบบเกษตรกรรมด้วยแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่กับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคซึ่งอยู่ใต้อำนาจทุนที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตของระบบอาหารและการเกษตร (agro-food system) รวมถึงวัฒนธรรมด้านค่านิยม-ความเชื่อของผู้คน โดย ‘ปฏิวัติการบริโภค’ ที่มุ่งให้ความสำคัญกับอาหารทั้งแง่มุมแหล่งที่มา ความปลอดภัย โภชนาการ และความเป็นธรรม อันเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางสังคมที่สร้างความเป็นธรรมและอิสรภาพมากขึ้นได้
กล่าวคือการปฏิวัติระบบเกษตรกรรมและอาหารต้องอยู่บนกระบวนทัศน์แบบเป้าหมายและวิธีการไปด้วยกัน อันหมายถึงแนวคิดแบบเป้าหมายอธิบายวิธีการ (The end justifies the means) ที่สังคมไทยใช้เคลื่อนไหวทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ต้องปรับเปลี่ยนไป ในขณะเดียวกันก็ต้องมองถึงคุณูปการของปฏิบัติการระดับประจำวันด้วยว่าเป็นทางออกของวิกฤตอาหารโลกในอนาคต (future global food crisis) ที่ไม่ผูกติดกับการปฏิวัติเขียวครั้งที่สองซึ่งขึ้นต่อเทคโนโลยีชีวภาพที่ถูกครอบครองเบ็ดเสร็จโดยบรรษัทผ่านกลไกการค้าเสรี เพราะพลังเปลี่ยนแปลงในสังคมทุนนิยมเสรีประชาธิปไตยอยู่ที่ทิศทางพฤติกรรมผู้บริโภค
วิถีชีวิตประจำวันหรือรูปแบบการใช้ชีวิต (lifestyle) จึงเป็นกลไกการต่อสู้ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนลดอันตรายสังคมโดยรวม ดังการรวมกลุ่มแนวระนาบของผู้บริโภคในทวีปยุโรปต่อต้าน GMOs จนสำเร็จระดับหนึ่ง ซึ่งแนวโน้มไทยยังไม่เป็นเช่นนั้นเนื่องมาจากการต่อต้านสารเคมีกำจัดศัตรูพืชพิษร้ายแรง 4 ชนิด คือ carbofuran, methomyl, dicrotophos และ EPN ที่ทั่วโลกเลิกใช้แต่ไทยยังจะให้ขึ้นทะเบียนต่อได้แม้มีข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ก็เพราะไม่มีแรงกดดันจากภาคประชาสังคม โดยเฉพาะผู้บริโภคที่เข้มแข็งพอแม้ตนเองจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งร้ายภายหลังบริโภคผืชผักผลไม้ปนเปื้อนเหล่านี้
การปฏิวัติระดับชีวิตประจำวันของผู้บริโภคจึงเป็นพลังปฏิวัติระบบเกษตรกรรมและอาหารที่สามารถทวนกระแสวาทกรรม ‘เสรีภาพในการบริโภค’ ที่ไม่มีจริงเพราะถูกกำหนดด้วยกลไกตลาดจนปราศจากทางเลือก ถึงแม้มีอาหารมากมายบนชั้นวางสินค้าที่หน้าตาบรรจุภัณฑ์ต่างกัน ซึ่งระหว่างนั้นก็ต้องปฏิวัติโครงสร้างสังคมภายใต้กำกับของทุนโลกาภิวัตน์ผูกขาดตามข้อเสนอคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) มติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของเกษตรกรและองค์กรสาธารณประโยชน์ต่างๆ
การปฏิวัติเขียวรอบสองด้วยเทคโนโลยีชีวภาพจึงเป็นการหมุนกลับไปยังความยากจนของเกษตรกรรายย่อยดังเดิม ด้วยปัจจัยการผลิตทุกอย่าง โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ GMOs และลูกผสมล้วนเป็นสมบัติบรรษัท ไม่ใช่สมบัติมวลมนุษยชาติ
ดังนั้นการปฏิวัติระบบเกษตรกรรมและอาหารเพื่ออิสรภาพปลดพันธนาการจึงต้องกล้า ‘ขบถ’ กับบรรษัทที่อาศัยอำนาจกฎหมายและนโยบายการค้าการลงทุน รวมถึงวาทกรรมวิทยาศาสตร์ครอบงำความชอบธรรมของการปฏิวัติการเกษตรและอาหารผ่านเทคโนโลยีและกลไกการค้าเสรีที่ความข้นแค้นของเกษตรกรและความอดอยากของผู้คนไม่มีค่าไปกว่าการเนียนทำ CSR สร้างภาพลักษณ์ และฉวยใช้ข้อมูลหรือฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ (scientific consensus) ที่ไม่ยั่งยืนมาอ้างความมั่นคง ลดทอนข้อโต้แย้งทางเลือกอื่น!