ASTVผู้จัดการรายวัน – คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงพบ “นิพัทธ พุกกะณะสุต” มีเอี่ยวชงข้อมูลเท็จสร้างหมอชิตคอมเพล็กซ์ เตรียมชงคลังฟ้องแพ่งกว่าพันล้านชดใช้บีทีเอส แฉเจ้าตัวพยายามรักษาอำนาจสุดชีวิต ส่งคนสนิทคุมออมสิน บีบ ผอ.พ้นเก้าอี้ หวังส่งคนของตัวเองเสียบแทน
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กรมธนารักษ์ได้สอบข้อเท็จจริงตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อชดเชยเงินคืนแก่บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ BTS ที่ได้ก่อสร้างฐานรากโรงจอดและซ่อมบำรุงบริเวณสถานีขนส่งหมอชิต รวมเงินต้นและดอกเบี้ย 1,049 ล้านบาท ในส่วนของการสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายในครั้งนี้ว่ามีผู้ใดที่เกี่ยวข้องบ้างทั้งที่ยังรับราชการและที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว พบว่านายนิพัทธ พุกกะณะสุต อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าว
ทั้งนี้ข้อมูลจากการสอบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าวระบุว่านายนิพัธนั้นเป็นผู้เสนอโปรเจกต์หมอชิตเข้าสู่ที่ประชุมครม. โดยระบุว่าโครงการดังกล่าวเข้าเกณฑ์การดำเนินโครงการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 แต่เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่าไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนดังกล่าวแต่อย่างใด
“ตอนนี้ต้อรอให้นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ที่ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชุดนี้ขึ้นมาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เนื่องจากพบว่ามีผู้เกี่ยวข้องที่ทำให้รัฐเสียหายแล้ว ซึ่งตามขั้นตอนของกระทรวงการคลังนั้นจะต้องให้มีการตั้งคณะกรรมการระดับกระทรวงโดยกรมบัญชีกลางขึ้นมาเพื่อฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งต่อนายนิพัธตามจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้กับบีทีเอส” แหล่งข่าวกล่าว
ขณะเดียวกันนายนิพัทธ ซึ่งปัจจุบันเป็นทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี มีพฤติกรรมเข้าข่ายใช้อำนาจและบารมีในการล้วงลูกการทำงานในหน่วยงานกระทรวงการคลังและธนาคารรัฐ เป็นไปได้ว่าในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้กลุ่มนักการเมืองบ้านเลขที่ 111 จะพ้นโทษเว้นวรรค 5 ปี อาจส่งผลให้ถูกลดทอนอำนาจหรือตำแหน่งอาจสั่นคลอน เพราะรัฐบาลจะมีตัวเลือกมากขึ้น การล้วงลูกทำได้ไม่สะดวก จึงรีบสร้างฐานอำนาจในกระทรวงการคลังให้เร็วที่สุด
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้นายนิพัทธได้ส่งคนใกล้ชิดคือ นางพรรณี สถาวโรดม อดีตผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เข้าไปนั่งเป็นประธานกรรมการธนาคารออมสิน พร้อมกับกระแสข่าวการปลดนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ให้พ้นจากตำแหน่งโดยเร็ว ซึ่งในการประชุมบอร์ดแต่ละครั้งได้พยายามกดดันให้นายเลอศักดิ์ลาออกก่อนครบวาระ เพื่อให้คนใกล้ชิดเข้ามาทำหน้าที่แทน
อย่างไรก็ตาม นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.คลัง ที่กำกับดูแลธนาคารออมสินทราบเรื่องดังกล่าวก็ได้สั่งให้บอร์ดทบทวนกระบวนการนี้ใหม่ว่าในทางกฎหมายสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด เพราะหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นอาจมีการฟ้องร้องตามกฎหมายและเกิดคดีความขึ้นมาได้ อีกทั้งในเดือนกรกฎาคมนี้นายเลอศักดิ์ก็จะครบวาระการทำงานที่ธนาคารออมสินแล้วจึงได้มีคำสั่งให้ชะลอเรื่องนี้ออกไปและดำเนินการด้วยความรอบคอบมากขึ้น.
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กรมธนารักษ์ได้สอบข้อเท็จจริงตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อชดเชยเงินคืนแก่บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ BTS ที่ได้ก่อสร้างฐานรากโรงจอดและซ่อมบำรุงบริเวณสถานีขนส่งหมอชิต รวมเงินต้นและดอกเบี้ย 1,049 ล้านบาท ในส่วนของการสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายในครั้งนี้ว่ามีผู้ใดที่เกี่ยวข้องบ้างทั้งที่ยังรับราชการและที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว พบว่านายนิพัทธ พุกกะณะสุต อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าว
ทั้งนี้ข้อมูลจากการสอบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าวระบุว่านายนิพัธนั้นเป็นผู้เสนอโปรเจกต์หมอชิตเข้าสู่ที่ประชุมครม. โดยระบุว่าโครงการดังกล่าวเข้าเกณฑ์การดำเนินโครงการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 แต่เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่าไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนดังกล่าวแต่อย่างใด
“ตอนนี้ต้อรอให้นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ที่ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชุดนี้ขึ้นมาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เนื่องจากพบว่ามีผู้เกี่ยวข้องที่ทำให้รัฐเสียหายแล้ว ซึ่งตามขั้นตอนของกระทรวงการคลังนั้นจะต้องให้มีการตั้งคณะกรรมการระดับกระทรวงโดยกรมบัญชีกลางขึ้นมาเพื่อฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งต่อนายนิพัธตามจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้กับบีทีเอส” แหล่งข่าวกล่าว
ขณะเดียวกันนายนิพัทธ ซึ่งปัจจุบันเป็นทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี มีพฤติกรรมเข้าข่ายใช้อำนาจและบารมีในการล้วงลูกการทำงานในหน่วยงานกระทรวงการคลังและธนาคารรัฐ เป็นไปได้ว่าในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้กลุ่มนักการเมืองบ้านเลขที่ 111 จะพ้นโทษเว้นวรรค 5 ปี อาจส่งผลให้ถูกลดทอนอำนาจหรือตำแหน่งอาจสั่นคลอน เพราะรัฐบาลจะมีตัวเลือกมากขึ้น การล้วงลูกทำได้ไม่สะดวก จึงรีบสร้างฐานอำนาจในกระทรวงการคลังให้เร็วที่สุด
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้นายนิพัทธได้ส่งคนใกล้ชิดคือ นางพรรณี สถาวโรดม อดีตผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เข้าไปนั่งเป็นประธานกรรมการธนาคารออมสิน พร้อมกับกระแสข่าวการปลดนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ให้พ้นจากตำแหน่งโดยเร็ว ซึ่งในการประชุมบอร์ดแต่ละครั้งได้พยายามกดดันให้นายเลอศักดิ์ลาออกก่อนครบวาระ เพื่อให้คนใกล้ชิดเข้ามาทำหน้าที่แทน
อย่างไรก็ตาม นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.คลัง ที่กำกับดูแลธนาคารออมสินทราบเรื่องดังกล่าวก็ได้สั่งให้บอร์ดทบทวนกระบวนการนี้ใหม่ว่าในทางกฎหมายสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด เพราะหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นอาจมีการฟ้องร้องตามกฎหมายและเกิดคดีความขึ้นมาได้ อีกทั้งในเดือนกรกฎาคมนี้นายเลอศักดิ์ก็จะครบวาระการทำงานที่ธนาคารออมสินแล้วจึงได้มีคำสั่งให้ชะลอเรื่องนี้ออกไปและดำเนินการด้วยความรอบคอบมากขึ้น.