วานนี้ ( 16ก.พ.) นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวมอบนโยบายในการประชุมซักซ้อมเตรียมการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนให้แก่จังหวัด (อบจ.) และสมาชิก อบจ. ที่ครบวาระในปี 2555 ในจำนวน 76 จังหวัด โดยมีประธาน กกต.จว. ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ( ผอ.กต.จว. ) ปลัด อบจ.ทุกจังหวัด และผู้บริหารจากสำนักงาน กกต.จำนวน 308 คน เข้าร่วมประชุมตอนหนึ่งว่า การเลือกตั้ง 4 ปีก่อน ภาพรวมเรียบร้อยพอใจระดับหนึ่ง แม้จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนที่จังหวัด 1 ใน 3 จังหวัดภาคใต้ ที่มียิงจนท.ประจำหน่วยเลือกตั้งเสียชีวิต 2 คน ซึ่งคาดไม่ถึง ซึ่งสำนักงานกกต.ก็ได้ช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิต
นอกจากนี้ มีการประทุษร้ายเกิดขึ้น บางแห่งถึงขนาดเสียชีวิตก็มีแต่เป็นการเลือกตั้งเทศบาล ของอบจ.ก็มี สำหรับนายก และสมาชิกอบจ. มีความสำคัญหมดทุกจังหวัด ยกเว้นกทม. อีกทั้งบางจังหวัดก็ลาออกก่อน ทำให้ต้องมีเลือกตั้งเพิ่มขึ้น และจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นทั้งจากเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่ครบวาระทั้งหมด 3,118 แห่ง
" ยืนยัน กกต.จะจัดการเลือกตั้งโดยสุจริต และเที่ยงธรรม เรื่องความเป็นกลาง นอกจากบัญญัติในกฎหมาย หากเจ้าพนักงานของรัฐทำอะไรเป็นคุณเป็นโทษกับผู้สมัครับเลือกตั้ง ก็จะมีโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปีและอาญาด้วย ซึ่งมติครม. ก็กำหนดอยู่แล้วว่า ข้าราชการต้องตัวเป็นกลาง การฝ่าฝืนมติครม. ก็ผิดวินัยร้ายแรง กกต.เข้าใจความกังวลปลัดอบจ. และปลัดเทศบาลก็บอกเอง ไม่อยากเป็นผอ.ท้องถิ่น แต่บทบัญญัติกฎหมายเป็นความจำเป็นขอให้ยึดหลักนี้ สุจริต เที่ยงธรรม เพราะเป็นเกราะคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ และมี กกต.จว.เป็นเกราะกำบังให้ท่านในการปฏิบัติหน้าที่ หากอดีตนายกอบจ. ทำอะไรไม่ถูกต้อง ก็อาจชี้แจงได้ว่า กกต.กำชับมา เพราะเลือกตั้งท้องถิ่นหากทำอะไรไม่ถูก กกต.จว. จะไม่ปล่อยไว้"
นายประพันธ์ กล่าวว่า ที่มีการเสนอแก้ไขกฎหมาย คนที่จัดเลือกตั้งได้ดีคือ ปลัดอบจ. ปลัดเทศบาล เพราะเอาคนอื่นมาจะจ่ายงบประมาณไม่สะดวก สำหรับเลือกตั้งนายก และสมาชิกอบจ.หากติดตามสื่อต่างๆ จะเห็นว่าการเมืองระดับชาติ ลงการเลือกตั้งท้องถิ่น ครั้งนี้ปรากฏในสื่อชัดเจน เป็นระดับชาติลงเล่นด้วย เพื่อวางฐานคะแนนท้องถิ่น เพราะตำแหน่งนายกอบจ.มีความสำคัญ หากเป็นนายกอบจ. การทำการเมืองในพื้นที่สะดวก เมื่อมีงานก็จะมีการเชิญนายกอบจ.ไปร่วมงานต่างๆได้ ซึ่งการเลือกตั้งท้องถิ่นนักการเมืองระดับชาติ สามารถลงไปช่วยหาเสียงได้ กฎหมายไม่ถือเป็นความผิด ทั้งนี้ ไม่อยากให้เลือกตั้งท้องถิ่นมีการประทุษร้าย เพราะหากมีการประทุษร้ายก็ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย จึงอยากให้ช่วยดูในส่วนนี้ด้วย
นายประพันธ์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น มีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กองทัพไทย ฝ่ายปกครอง ทุกหน่วยงานยินดีจะช่วยกกต.จัดการเลือกตั้งอย่างเต็มที่ และประธานกกต.มีหนังสือถึง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) และ ผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.กอ.รมน.) คือนายกรัฐมนตรี เพื่อขอความช่วยเหลือดูแลความสงบเรียบร้อยเลือกตั้งท้องถิ่น โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย แต่ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องรอให้ส่วนกลางสั่ง สามารถเชิญประชุมผู้บังคับการ ผู้กำกับ หรือเชิญฝ่ายปกครองมาหารือทำอย่างไรให้เลือกตั้งอบจ.เป็นไปโดยความเรียบร้อย อีกทั้งเรื่องร้องคัดค้านต่างๆในการเลือกตั้งเคยพูดกับกกต.จว.และ ผอ.กต.จว.ไปแล้วที่พูดเพราะปีนี้เลือกตั้งท้องถิ่น 3,118 แห่ง ถ้าเลือกตั้งท้องถิ่นมีเรื่องร้องเรียนมาก อย่างเช่น จ.บุรีรัมย์ที่มี 4 เรื่องหากมีเยอะ 3,118 แห่งอาจมีสำนวนร้องคัดค้านเป็น 1 หมื่นเรื่อง ซึ่งอาจเกินขีดความสามารถทำอย่างไรให้ลดเรื่องร้องเรียนลงได้
"เลือกตั้งอบจ.ทั่วพื้นที่ในจังหวัด แต่ใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยมาก บางแห่งมาใช้สิทธิ 20 % จึงอยากช่วยประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเห็นความสำคัญให้มาใช้สิทธิของท่านให้มากกว่า 50 % มากเท่าไรยิ่งดี ผมไปลงพื้นที่เมื่อไร ก็ไปลุ้นทุกที บางแห่งมีงบกว่า 1 พันล้านบาท ตามข่าวเป็นส.ส.อยากสมัครนายกอบจ.ก็มี การที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิมาก จะทำให้การซื้อสิทธิ ขายเสียง ลดความสำคัญลงไป ถ้าคนใช้สิทธิมากคนซื้อเสียงไม่ชนะเพราะผู้มีสิทธิท่วมท้น ซื้อได้ก็ไม่กี่พันคะแนน"
นายประพันธ์ กล่าวว่า การเลือกตั้งอบจ.ครั้งนี้ จะมีการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง ขอให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.)นับคะแนนให้ดีด้วย หากไปขานบัตรดีเป็นบัตรเสีย อาจมีปัญหาได้ ขอให้กกต.จว. ดูเรื่องนี้ หากใครมีปัญหาก็ไม่ต้องตั้งเป็นกปน. อีกทั้งเรื่องการทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งตกหล่น ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็สั่งให้เลือกตั้งใหม่กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งตกหล่น 358 คน ซึ่งมีผลต่อการได้รับเลือกตั้งที่แพ้ชนะกัน 312 เสียง ทำให้ศาลต้องสั่งเลือกตั้งใหม่ดังนั้นขอดูเรื่องบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ด้วย ซึ่งตนได้อ่านข่าวกรณีปรากฎข่าวสหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิตโผล่เป็นผู้มี สิทธิเลือกตั้ง 1.5 ล้านกว่าชื่อ ซึ่งหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าชื่อศพโผล่มีสิทธิเลือกตั้ง1.5ล้านชื่อ ดังนั้นของเราก็อย่าให้เกิดปัญหานี้เกิดขึ้น
นอกจากนี้ มีการประทุษร้ายเกิดขึ้น บางแห่งถึงขนาดเสียชีวิตก็มีแต่เป็นการเลือกตั้งเทศบาล ของอบจ.ก็มี สำหรับนายก และสมาชิกอบจ. มีความสำคัญหมดทุกจังหวัด ยกเว้นกทม. อีกทั้งบางจังหวัดก็ลาออกก่อน ทำให้ต้องมีเลือกตั้งเพิ่มขึ้น และจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นทั้งจากเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่ครบวาระทั้งหมด 3,118 แห่ง
" ยืนยัน กกต.จะจัดการเลือกตั้งโดยสุจริต และเที่ยงธรรม เรื่องความเป็นกลาง นอกจากบัญญัติในกฎหมาย หากเจ้าพนักงานของรัฐทำอะไรเป็นคุณเป็นโทษกับผู้สมัครับเลือกตั้ง ก็จะมีโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปีและอาญาด้วย ซึ่งมติครม. ก็กำหนดอยู่แล้วว่า ข้าราชการต้องตัวเป็นกลาง การฝ่าฝืนมติครม. ก็ผิดวินัยร้ายแรง กกต.เข้าใจความกังวลปลัดอบจ. และปลัดเทศบาลก็บอกเอง ไม่อยากเป็นผอ.ท้องถิ่น แต่บทบัญญัติกฎหมายเป็นความจำเป็นขอให้ยึดหลักนี้ สุจริต เที่ยงธรรม เพราะเป็นเกราะคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ และมี กกต.จว.เป็นเกราะกำบังให้ท่านในการปฏิบัติหน้าที่ หากอดีตนายกอบจ. ทำอะไรไม่ถูกต้อง ก็อาจชี้แจงได้ว่า กกต.กำชับมา เพราะเลือกตั้งท้องถิ่นหากทำอะไรไม่ถูก กกต.จว. จะไม่ปล่อยไว้"
นายประพันธ์ กล่าวว่า ที่มีการเสนอแก้ไขกฎหมาย คนที่จัดเลือกตั้งได้ดีคือ ปลัดอบจ. ปลัดเทศบาล เพราะเอาคนอื่นมาจะจ่ายงบประมาณไม่สะดวก สำหรับเลือกตั้งนายก และสมาชิกอบจ.หากติดตามสื่อต่างๆ จะเห็นว่าการเมืองระดับชาติ ลงการเลือกตั้งท้องถิ่น ครั้งนี้ปรากฏในสื่อชัดเจน เป็นระดับชาติลงเล่นด้วย เพื่อวางฐานคะแนนท้องถิ่น เพราะตำแหน่งนายกอบจ.มีความสำคัญ หากเป็นนายกอบจ. การทำการเมืองในพื้นที่สะดวก เมื่อมีงานก็จะมีการเชิญนายกอบจ.ไปร่วมงานต่างๆได้ ซึ่งการเลือกตั้งท้องถิ่นนักการเมืองระดับชาติ สามารถลงไปช่วยหาเสียงได้ กฎหมายไม่ถือเป็นความผิด ทั้งนี้ ไม่อยากให้เลือกตั้งท้องถิ่นมีการประทุษร้าย เพราะหากมีการประทุษร้ายก็ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย จึงอยากให้ช่วยดูในส่วนนี้ด้วย
นายประพันธ์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น มีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กองทัพไทย ฝ่ายปกครอง ทุกหน่วยงานยินดีจะช่วยกกต.จัดการเลือกตั้งอย่างเต็มที่ และประธานกกต.มีหนังสือถึง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) และ ผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.กอ.รมน.) คือนายกรัฐมนตรี เพื่อขอความช่วยเหลือดูแลความสงบเรียบร้อยเลือกตั้งท้องถิ่น โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย แต่ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องรอให้ส่วนกลางสั่ง สามารถเชิญประชุมผู้บังคับการ ผู้กำกับ หรือเชิญฝ่ายปกครองมาหารือทำอย่างไรให้เลือกตั้งอบจ.เป็นไปโดยความเรียบร้อย อีกทั้งเรื่องร้องคัดค้านต่างๆในการเลือกตั้งเคยพูดกับกกต.จว.และ ผอ.กต.จว.ไปแล้วที่พูดเพราะปีนี้เลือกตั้งท้องถิ่น 3,118 แห่ง ถ้าเลือกตั้งท้องถิ่นมีเรื่องร้องเรียนมาก อย่างเช่น จ.บุรีรัมย์ที่มี 4 เรื่องหากมีเยอะ 3,118 แห่งอาจมีสำนวนร้องคัดค้านเป็น 1 หมื่นเรื่อง ซึ่งอาจเกินขีดความสามารถทำอย่างไรให้ลดเรื่องร้องเรียนลงได้
"เลือกตั้งอบจ.ทั่วพื้นที่ในจังหวัด แต่ใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยมาก บางแห่งมาใช้สิทธิ 20 % จึงอยากช่วยประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเห็นความสำคัญให้มาใช้สิทธิของท่านให้มากกว่า 50 % มากเท่าไรยิ่งดี ผมไปลงพื้นที่เมื่อไร ก็ไปลุ้นทุกที บางแห่งมีงบกว่า 1 พันล้านบาท ตามข่าวเป็นส.ส.อยากสมัครนายกอบจ.ก็มี การที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิมาก จะทำให้การซื้อสิทธิ ขายเสียง ลดความสำคัญลงไป ถ้าคนใช้สิทธิมากคนซื้อเสียงไม่ชนะเพราะผู้มีสิทธิท่วมท้น ซื้อได้ก็ไม่กี่พันคะแนน"
นายประพันธ์ กล่าวว่า การเลือกตั้งอบจ.ครั้งนี้ จะมีการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง ขอให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.)นับคะแนนให้ดีด้วย หากไปขานบัตรดีเป็นบัตรเสีย อาจมีปัญหาได้ ขอให้กกต.จว. ดูเรื่องนี้ หากใครมีปัญหาก็ไม่ต้องตั้งเป็นกปน. อีกทั้งเรื่องการทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งตกหล่น ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็สั่งให้เลือกตั้งใหม่กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งตกหล่น 358 คน ซึ่งมีผลต่อการได้รับเลือกตั้งที่แพ้ชนะกัน 312 เสียง ทำให้ศาลต้องสั่งเลือกตั้งใหม่ดังนั้นขอดูเรื่องบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ด้วย ซึ่งตนได้อ่านข่าวกรณีปรากฎข่าวสหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิตโผล่เป็นผู้มี สิทธิเลือกตั้ง 1.5 ล้านกว่าชื่อ ซึ่งหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าชื่อศพโผล่มีสิทธิเลือกตั้ง1.5ล้านชื่อ ดังนั้นของเราก็อย่าให้เกิดปัญหานี้เกิดขึ้น