ดูเหมือนคำว่า “สองมาตรฐาน” ที่บรรดาสมาชิกพรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เคยใช้เป็นเครื่องหมายการค้าในการตราหน้าฝ่ายตรงข้ามในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กำลังกลายเป็นงูยักษ์ตัวใหญ่ที่ตวัดหางกลับมาพันคอตัวเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เสียแล้ว
เมื่อมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 10 ม.ค.55 ที่ผ่านมา ได้ “เทกระจาด” โปรยงบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการชดเชยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง โดยขีดกรอบเวลาไว้ตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย.49 เรื่อยมา จนถึงเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.53 ซึ่งใครๆก็รู้ว่าหวังมุ่งเป้าหมายไปที่การเยียวยาให้ “คนเสื้อแดง” ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุการณ์เมื่อ 2 ปีก่อนเท่านั้น
จึงหนีไม่พ้นการถูกหยิบมาถกเถียงกันอย่างกว้างขวางมากที่สุดในสังคม โดยเฉพาะข้อครหาเรื่องการจ่ายเงินชดเชยเยียวยา “ผู้เสียชีวิต” ที่มียอดตัวเลขสูงถึง “7.75 ล้านบาท” ที่คณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ที่มี “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน ได้พยายามอ้างถึงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามหลักสากลที่คำนวณจากรายได้ต่อหัวปี 53 (150,000 บาท) คูณกับเวลาชีวิตที่เหลือ 35 ปี (ตามอายุเฉลี่ยรวมของผู้ชุมนุม)
พ่วงด้วยเงินเยียวยาจิตใจอีก 3,000,000 บาท อ่านว่า “สามล้านบาทถ้วน”
จนเกิดเสียงอื้ออึงจากหลายฝ่ายว่าตัวเลขดังกล่าว รัฐบาลจงใจ “ปูนบำเหน็จ” ให้กับ “พลพรรคเสื้อแดง” ที่ยอมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายดัน “รัฐบาลทักษิณส่วนหน้า” ขึ้นมาผงาดบริหารประเทศอยู่ทุกวันนี้หรือไม่
นั่นเพราะตัวเลขผู้เสียชีวิตในกรอบเวลาที่รัฐบาลกำหนด ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็น “กลุ่มคนเสื้อแดง” ทั้งสิ้น
แม้กระทั่งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่เป็นคนเสนอแนะเรื่องดังกล่าวเองกับมือ ยังงงเป็น “ไก่ตาแตก” ว่าตัวเลขที่สูงลิบลิ่วขนาดนี้รัฐบาลใช้หลักเกณฑ์ของชาติใดในโลกมาเป็นตัวชี้วัด โดยเฉพาะเงินเยียวยาด้านจิตใจที่มีมูลค่า “3 ล้านบาท”
ตลกร้ายกว่านั้นคือคำตอบจากปากของ “ประธาน ปคอป.” ที่สารภาพอย่างไม่เคอะเขินว่าใช้ “ความรู้สึก” ในการตัดสิน ยิ่งส่งผลให้อุณหภูมิต่อต้านในสังคม เริ่มส่งเสียงดังถี่ขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมๆกับการตั้งคำถามจากญาติผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมตามเหตุการณ์ต่างๆในอดีต ไล่ตั้งแต่อย่าง “14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 - พฤษภา 35 - กรือเซะ – ตากใบ” ตลอดจนเหยื่อมหาอุทกภัยในปี 2554 ที่เพิ่งผ่านพ้นมาหมาดๆ ว่าเขาเหล่านี้สมควรได้รับการเยียวยาเฉกเช่นเดียวกันหรือไม่
ขณะที่ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” พยายามหาทางขจัดข้อโต้แย้งต่างๆ ด้วยการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาหลักเกณฑ์ และการยื้อเวลาจ่ายเงินออกไป ทำให้เรื่องดังกล่าวค่อยๆซา และจางหายไปจากความสนใจของประชาชนอยู่พักหนึ่ง
กระทั่งเกิดเหตุการณ์กองกำลังทหารพรานไล่สกัดจับคนร้ายที่ใช้เครื่องยิงกระสุนเอ็ม 79 ยิงใส่ฐานชุดปฏิบัติการทหารพราน 4302 ม.3 บ.น้ำดำ ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี จนเจ้าหน้าที่ทหารพรานต้องประสานกำลังที่ลาดตระเวนนอกฐานให้จัดตั้งจุดตรวจจุดสกัด พร้อมทั้งใช้รถยนต์ออกจากฐานเพื่อสกัดปิดล้อมบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง จนพบรถกระบะต้องสงสัยที่มีชาวบ้านหลายคนอยู่ในกระบะหลังขับย้อนศรขึ้นมา จึงเกิดการยิงตอบโต้กันขึ้น ส่งผลให้ชาวบ้านเสียชีวิตทันที 4 ราย เมื่อปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา
ประเด็นดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนาหูว่า 4 ศพในที่เกิดเหตุ มีผลมาจากความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จนหน่วยงานบังคับบัญชาต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อลดแรงเสียดทานไม่ให้บานปลาย
เพราะเรื่องนี้นับเป็นประเด็นที่อ่อนไหว และเสี่ยงต่อการเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” ที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอาจฉวยโอกาสทำสงครามจิตวิทยา ด้วยการปลุกระดมคนในพื้นที่ให้ออกมาต่อต้านเจ้าหน้าที่รัฐ จนไม่สามารถควบคุมความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ร้อนแรงอยู่แล้วได้ ทำให้เรื่องการเยียวยาเหยื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ถูกรื้อขึ้นมาหารือกันใหม่ในหมู่ผู้บริหารระดับสูงอีกครั้ง
ขณะเดียวกัน ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการจ่ายเงินชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ และองค์กรสิทธิมนุษยชนบางส่วน ก็วิ่งเข้าขบวนออกมา “กระทุ้ง” รายวัน ให้รัฐบาลใช้มาตรฐานเดียวกัน จ่ายเงินชดเชยให้กับผู้เสียชีวิตทั้ง 4 ศพ เพื่อแสดงความรับผิดชอบ
เล่นเอารัฐบาลออกอาการ “ไปไม่เป็น” เด้งเชือกไม่ออกเหมือนแต่ก่อน ที่มักจะพยายามโบ้ยเรื่องนี้ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชุด “พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน ทุกครั้งที่มีการเรียกร้องให้จ่ายเงินชดเชยเยียวยา “เหยื่อไฟใต้” ให้ทัดเทียมกับ “เหยื่อการเมือง”
เป็นเพราะครั้งนี้ รัฐบาลกำลังตกอยู่ในสภาพเพลี่ยงพล้ำ และแก้ไม่ตก พื้นที่ชายแดนภาคใต้ที่มีปัญหาหมักหมมมานาน วันนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง มิหนำซ้ำเรื่องการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ก็เป็นสิ่งที่ “รัฐบาลน้องสาว” ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เพื่อที่จะหายุทธวิธีในการลบภาพเลวร้ายที่ “รัฐบาลพี่ชาย” เคยสร้างบาดแผลเหวอะหวะทิ้งไว้
การปล่อยปละหรือการไม่แสดงเจตจำนงในการดูแล จึงยิ่งจะส่งผลให้ทัศนคติด้านลบของคนด้ามขวานที่มีต่อ “รัฐบาลพรรคเพื่อไทย” อยู่แล้ว ดิ่งลงเหวเข้าไปชนิดฝังรากลึกยิ่งกว่าเก่า จนไม่อาจฉุดถอนได้
ให้หลังเพียง 4 วัน คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) จึงรีบประชุมและเห็นชอบระเบียบ กพต. ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐอันสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้พ.ศ.… ในวันเดียวกันแบบง่ายดาย
เพื่อส่งสัญญาณกลบกระแสการโจมตีจากพี่น้องทางใต้ รวมถึงฝ่ายค้านเอง
โดยสนน “ราคาชีวิต” ของ “เหยื่อไฟใต้” ไว้ใกล้เคียงกับ “เหยื่อการเมือง” ที่ “7.5 ล้านบาท” ซึ่งจะชดเชยย้อนหลังให้ถึงแค่วันที่ 1 ต.ค.54 ตาม “พระราชบัญญัติศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้” ที่ “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” เลขาธิการศอ.บต. อ้างว่าเพิ่งมีการโอนงานเยียวยามาให้ ศอ.บต.ดูแลเมื่อปลายปี 54
วัดกันสองกรณี เบ็ดเสร็จแล้วกรอบระยะเวลาการชดเชย “เหยื่อไฟใต้” ย้อนหลังได้แค่ 1 ปี ขณะที่ “เหยื่อการเมือง” รูดยาวร่วม 4 ปี
เปิดช่องโจมตีเรื่อง “สองมาตรฐาน” เต็มหน้า
ในขณะที่ เหตุการณ์ถล่มมัสยิดกรือเซะ และสลายการชุมนุมที่หน้าสภ.ตากใบ ที่มีผู้เสียชีวิตร่วม 200 ศพ เตะถ่วงไปให้คณะกรรมการชุด “พล.ต.อ.ประชา” รับผิดชอบ เช่นเดียวกับผู้เสียชีวิตคนอื่นๆตั้งแต่ปี 47 เป็นต้นมา
ตามมุกเดิมๆแค่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า คุมอารมณ์สังคมให้อยู่ ก่อนแถไกลไปเรื่องอื่น
ไม่ต่างจากกลวิธี “เงินฟาดหัว” เพื่อประคับประคองความเกลียดชังให้อยู่ในระดับ “เสมอตัว”
เมื่อมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 10 ม.ค.55 ที่ผ่านมา ได้ “เทกระจาด” โปรยงบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการชดเชยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง โดยขีดกรอบเวลาไว้ตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย.49 เรื่อยมา จนถึงเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.53 ซึ่งใครๆก็รู้ว่าหวังมุ่งเป้าหมายไปที่การเยียวยาให้ “คนเสื้อแดง” ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุการณ์เมื่อ 2 ปีก่อนเท่านั้น
จึงหนีไม่พ้นการถูกหยิบมาถกเถียงกันอย่างกว้างขวางมากที่สุดในสังคม โดยเฉพาะข้อครหาเรื่องการจ่ายเงินชดเชยเยียวยา “ผู้เสียชีวิต” ที่มียอดตัวเลขสูงถึง “7.75 ล้านบาท” ที่คณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ที่มี “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน ได้พยายามอ้างถึงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามหลักสากลที่คำนวณจากรายได้ต่อหัวปี 53 (150,000 บาท) คูณกับเวลาชีวิตที่เหลือ 35 ปี (ตามอายุเฉลี่ยรวมของผู้ชุมนุม)
พ่วงด้วยเงินเยียวยาจิตใจอีก 3,000,000 บาท อ่านว่า “สามล้านบาทถ้วน”
จนเกิดเสียงอื้ออึงจากหลายฝ่ายว่าตัวเลขดังกล่าว รัฐบาลจงใจ “ปูนบำเหน็จ” ให้กับ “พลพรรคเสื้อแดง” ที่ยอมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายดัน “รัฐบาลทักษิณส่วนหน้า” ขึ้นมาผงาดบริหารประเทศอยู่ทุกวันนี้หรือไม่
นั่นเพราะตัวเลขผู้เสียชีวิตในกรอบเวลาที่รัฐบาลกำหนด ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็น “กลุ่มคนเสื้อแดง” ทั้งสิ้น
แม้กระทั่งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่เป็นคนเสนอแนะเรื่องดังกล่าวเองกับมือ ยังงงเป็น “ไก่ตาแตก” ว่าตัวเลขที่สูงลิบลิ่วขนาดนี้รัฐบาลใช้หลักเกณฑ์ของชาติใดในโลกมาเป็นตัวชี้วัด โดยเฉพาะเงินเยียวยาด้านจิตใจที่มีมูลค่า “3 ล้านบาท”
ตลกร้ายกว่านั้นคือคำตอบจากปากของ “ประธาน ปคอป.” ที่สารภาพอย่างไม่เคอะเขินว่าใช้ “ความรู้สึก” ในการตัดสิน ยิ่งส่งผลให้อุณหภูมิต่อต้านในสังคม เริ่มส่งเสียงดังถี่ขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมๆกับการตั้งคำถามจากญาติผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมตามเหตุการณ์ต่างๆในอดีต ไล่ตั้งแต่อย่าง “14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 - พฤษภา 35 - กรือเซะ – ตากใบ” ตลอดจนเหยื่อมหาอุทกภัยในปี 2554 ที่เพิ่งผ่านพ้นมาหมาดๆ ว่าเขาเหล่านี้สมควรได้รับการเยียวยาเฉกเช่นเดียวกันหรือไม่
ขณะที่ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” พยายามหาทางขจัดข้อโต้แย้งต่างๆ ด้วยการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาหลักเกณฑ์ และการยื้อเวลาจ่ายเงินออกไป ทำให้เรื่องดังกล่าวค่อยๆซา และจางหายไปจากความสนใจของประชาชนอยู่พักหนึ่ง
กระทั่งเกิดเหตุการณ์กองกำลังทหารพรานไล่สกัดจับคนร้ายที่ใช้เครื่องยิงกระสุนเอ็ม 79 ยิงใส่ฐานชุดปฏิบัติการทหารพราน 4302 ม.3 บ.น้ำดำ ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี จนเจ้าหน้าที่ทหารพรานต้องประสานกำลังที่ลาดตระเวนนอกฐานให้จัดตั้งจุดตรวจจุดสกัด พร้อมทั้งใช้รถยนต์ออกจากฐานเพื่อสกัดปิดล้อมบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง จนพบรถกระบะต้องสงสัยที่มีชาวบ้านหลายคนอยู่ในกระบะหลังขับย้อนศรขึ้นมา จึงเกิดการยิงตอบโต้กันขึ้น ส่งผลให้ชาวบ้านเสียชีวิตทันที 4 ราย เมื่อปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา
ประเด็นดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนาหูว่า 4 ศพในที่เกิดเหตุ มีผลมาจากความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จนหน่วยงานบังคับบัญชาต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อลดแรงเสียดทานไม่ให้บานปลาย
เพราะเรื่องนี้นับเป็นประเด็นที่อ่อนไหว และเสี่ยงต่อการเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” ที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอาจฉวยโอกาสทำสงครามจิตวิทยา ด้วยการปลุกระดมคนในพื้นที่ให้ออกมาต่อต้านเจ้าหน้าที่รัฐ จนไม่สามารถควบคุมความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ร้อนแรงอยู่แล้วได้ ทำให้เรื่องการเยียวยาเหยื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ถูกรื้อขึ้นมาหารือกันใหม่ในหมู่ผู้บริหารระดับสูงอีกครั้ง
ขณะเดียวกัน ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการจ่ายเงินชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ และองค์กรสิทธิมนุษยชนบางส่วน ก็วิ่งเข้าขบวนออกมา “กระทุ้ง” รายวัน ให้รัฐบาลใช้มาตรฐานเดียวกัน จ่ายเงินชดเชยให้กับผู้เสียชีวิตทั้ง 4 ศพ เพื่อแสดงความรับผิดชอบ
เล่นเอารัฐบาลออกอาการ “ไปไม่เป็น” เด้งเชือกไม่ออกเหมือนแต่ก่อน ที่มักจะพยายามโบ้ยเรื่องนี้ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชุด “พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน ทุกครั้งที่มีการเรียกร้องให้จ่ายเงินชดเชยเยียวยา “เหยื่อไฟใต้” ให้ทัดเทียมกับ “เหยื่อการเมือง”
เป็นเพราะครั้งนี้ รัฐบาลกำลังตกอยู่ในสภาพเพลี่ยงพล้ำ และแก้ไม่ตก พื้นที่ชายแดนภาคใต้ที่มีปัญหาหมักหมมมานาน วันนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง มิหนำซ้ำเรื่องการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ก็เป็นสิ่งที่ “รัฐบาลน้องสาว” ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เพื่อที่จะหายุทธวิธีในการลบภาพเลวร้ายที่ “รัฐบาลพี่ชาย” เคยสร้างบาดแผลเหวอะหวะทิ้งไว้
การปล่อยปละหรือการไม่แสดงเจตจำนงในการดูแล จึงยิ่งจะส่งผลให้ทัศนคติด้านลบของคนด้ามขวานที่มีต่อ “รัฐบาลพรรคเพื่อไทย” อยู่แล้ว ดิ่งลงเหวเข้าไปชนิดฝังรากลึกยิ่งกว่าเก่า จนไม่อาจฉุดถอนได้
ให้หลังเพียง 4 วัน คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) จึงรีบประชุมและเห็นชอบระเบียบ กพต. ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐอันสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้พ.ศ.… ในวันเดียวกันแบบง่ายดาย
เพื่อส่งสัญญาณกลบกระแสการโจมตีจากพี่น้องทางใต้ รวมถึงฝ่ายค้านเอง
โดยสนน “ราคาชีวิต” ของ “เหยื่อไฟใต้” ไว้ใกล้เคียงกับ “เหยื่อการเมือง” ที่ “7.5 ล้านบาท” ซึ่งจะชดเชยย้อนหลังให้ถึงแค่วันที่ 1 ต.ค.54 ตาม “พระราชบัญญัติศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้” ที่ “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” เลขาธิการศอ.บต. อ้างว่าเพิ่งมีการโอนงานเยียวยามาให้ ศอ.บต.ดูแลเมื่อปลายปี 54
วัดกันสองกรณี เบ็ดเสร็จแล้วกรอบระยะเวลาการชดเชย “เหยื่อไฟใต้” ย้อนหลังได้แค่ 1 ปี ขณะที่ “เหยื่อการเมือง” รูดยาวร่วม 4 ปี
เปิดช่องโจมตีเรื่อง “สองมาตรฐาน” เต็มหน้า
ในขณะที่ เหตุการณ์ถล่มมัสยิดกรือเซะ และสลายการชุมนุมที่หน้าสภ.ตากใบ ที่มีผู้เสียชีวิตร่วม 200 ศพ เตะถ่วงไปให้คณะกรรมการชุด “พล.ต.อ.ประชา” รับผิดชอบ เช่นเดียวกับผู้เสียชีวิตคนอื่นๆตั้งแต่ปี 47 เป็นต้นมา
ตามมุกเดิมๆแค่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า คุมอารมณ์สังคมให้อยู่ ก่อนแถไกลไปเรื่องอื่น
ไม่ต่างจากกลวิธี “เงินฟาดหัว” เพื่อประคับประคองความเกลียดชังให้อยู่ในระดับ “เสมอตัว”