ASTVผู้จัดการรายวัน-ปชป.เตรียมเดินสายทั่วประเทศ ปลุกประชาชนต้านแก้รัฐธรรมนูญ ชี้เป็นการรวบรัด ล้มล้าง แล้วร่างใหม่เพื่อ"แม้ว" ด้าน "ประสงค์"เตือนจุดชนวนรัฐประหาร ส่วน"เหลิม" ยันการแก้ไขเป็นเรื่องของประชาชน เพราะมีการเลือก ส.ส.ร. และยังต้องทำประชามติ ท้าปชป.ขึ้นเวทีดีเบต หากยังข้องใจ เผยไปจีน แต่ไม่ได้นัดเจอ "แม้ว" โพลชี้แก้รัฐธรรมนูญทำให้เกิดความแตกแยก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยแก้มาตรา 291 เพื่อให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มายกร่างแก้ไข ว่า ต้องดูว่ากระบวนการที่มาของส.ส.ร. มีจุดอ่อน ให้มีการครอบงำโดยพรรคการเมืองหรือไม่ อย่างไร เพราะเท่าที่ดูคงลำบากที่จะให้ปราศจากการครอบงำ โดยเฉพาะให้มีการเลือกตั้งส.ส.ร.โดยตรง จากจังหวัดละ 1 คน โอกาสที่พรรคการเมืองจะเข้าไปเกี่ยวข้องสูงมาก และในส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ 22 คน ก็ยังต้องผ่านกระบวนการที่อิงกับพรรคการเมืองด้วย
"ความจริงควรตั้งหลักให้ชัดก่อนว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่ออะไร ถ้าทำให้ทุกคนสบายใจ ก็เดินไปได้ง่าย แต่ถ้าไม่ยอมพูดให้ชัดในประเด็นที่ละเอียดอ่อน ก็จะเกิดความขัดแย้งระหว่างทาง ซึ่งผมไม่อยากให้เกิดขึ้น และลุกลามบานปลาย แต่ทำไมรัฐบาลต้องทำเช่นนั้น ผลักดันให้สังคมเข้าสู่การขัดแย้งเพื่ออะไร เพราะรัฐบาลสามารถปลดเงื่อนไขความขัดแย้งได้ แต่ไม่ทำ อยากให้สังคมตระหนักว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุด เหมือนเป็นกติกาของระบบการเมือง สังคมในระบอบประชาธิปไตยทั่วไป จึงไม่ปล่อยให้การมีเสียงข้างมากในช่วงใดช่วงหนึ่งมากำหนดได้ทั้งหมด เพราะการแข่งขัน จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าผู้เล่นสามารถเปลี่ยนกติกาได้เอง จะเป็นปัญหาปมความขัดแย้งได้ตลอดเวลา"
ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ จะเดินสายทำความเข้าใจกับประชาชน และเริ่มรณรงค์ให้เห็นถึงประเด็นต่างๆ ส่วนที่พรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า จะไม่แตะต้อง 3 ประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนนั้น เห็นว่า ทำไมไม่เขียนไว้ให้ชัดเจนไปเลย
**ชี้รวบรัดแก้รัฐธรรมนูญเพื่อ"ทักษิณ"
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้มีส.ส.ร.มายกร่างแก้ไข เท่ากับเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งวิปฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย ที่ถูกต้อง คือ ควรแก้ไขในประเด็นที่เป็นปัญหาต่อส่วนรวมเป็นประเด็นๆ ไป ไม่ใช่การแก้ไขทั้งฉบับ และเห็นว่า มีความพยายามทำให้ขั้นตอนทุกอย่างเร็วขึ้น ทั้งการเลือก ส.ส.ร. ที่ร่างของพรรคเพื่อไทย กำหนดไว้ที่ 90 วัน เหลือ 75 วัน การทำประชามติที่ต้องทำภายใน 90-120 วัน ย่อเหลือ 45-60 วัน และที่น่าห่วงที่สุด คือ กรณีที่ปรากฏเป็นข่าวการล็อบบี้แลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับวุฒิสมาชิกบางคน เพื่อให้รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยแลกกับการให้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว.ได้อีกวาระ หลังจากสิ้นสุดอายุสมาชิกภาพ
"เรารู้เท่าทันพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลว่า เป้าหมายที่แท้จริงของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เพื่อประชาธิปไตย และการปฏิรูปการเมือง แต่ต้องการแก้ไขเพื่อล้างผิดให้คนพิเศษ อีกทั้งไม่มีหลักประกันใดว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะไม่แตะต้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ยกเลิกองค์กรอิสระ ไม่มีผลนิรโทษกรรมแก่คนที่ทำความผิด และจะไม่นำประเทศชาติให้ก้าวพ้นระบอบทักษิณ"
** ร่างแก้ไขของนปช.แค่ไม้ประดับ
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเองว่า เป็นการส่งสัญญาณว่า จะยึดถือร่างฉบับนี้เป็นหลัก เพราะดูท่าทีของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ที่เป็นผู้ผลักดัน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า 4-5 ร่าง ที่ยื่นมาแล้ว เป็นเพียงร่างประกอบเท่านั้น โดยเฉพาะร่างที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตรต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เสนอมา อีกทั้งท่าทีของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ที่รับลูกว่าจะนำ การแก้ไขรัฐธรรมนูญบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมในสัปดาห์หน้า ก็ถือว่าชัดเจน
**ฟันธงแก้ม.102 (7) ช่วย "แม้ว"
น.ต.ประสงค์ สุ่นศริ อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 กล่าวถึงกรณีที่มีความกังวลกันว่ารัฐบาลอาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 (7) เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า ขณะนี้สังคมกำลังตั้งข้อสงสัยกับความเป็นอิสระของ ส.ส.ร. 99 คน ที่มีการมองกันว่า รัฐบาลได้จัดตั้งคนเอาไว้แล้ว เพียงแต่ใช้ ส.ส.ร.เหล่านี้ มาเป็นมือไม้ให้กับพวกนักการเมืองเท่านั้น ซึ่งตนคิดว่า ส.ส.ร.จำนวน 99 คน ที่จะร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ มีไม่ถึง 5 คน ที่เป็นนักวิชาการที่ทำเพื่อบ้านเมืองจริงๆ ขณะเดียวกัน แม้รัฐบาลจะระบุว่า ไม่ได้แก้ไขเพื่อคนๆ เดียว แต่เป้าหมายของเขามันหลายคนด้วยกัน แต่ตัวพ.ต.ท.ทักษิณ คือเป้าหลัก เพียงเพื่อให้หลุดพ้นจากคดีความทั้งหลายทั้งปวง และกลับเข้าสู่อำนาจ ซึ่งเชื่อว่าจะมีการแก้ไขมาตรา 102 (7) แน่นอน
** เตือนเข้าเงื่อนไขปฏิวัติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการแก้ไขมาตรา 102 (7) เพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณจริง มีโอกาสจะเกิดการรัฐประหารอีกหรือไม่ เนื่องจากกระแสต่อต้านในสังคมสูงมาก น.ต.ประสงค์ กล่าวว่า การต่อต้านของสังคมสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่วนเรื่องการรัฐประหารนั้น ต้องดูสาเหตุ และประวัติศาสตร์ของการรัฐประหารที่ผ่านมา 10 กว่าครั้ง อย่างการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 หากยังจำได้ เหตุผลของการรัฐประหารมี 4 ข้อ คือ 1.มีการกระทำที่มีลักษณะหมิ่นต่อพระบรมเดชานุภาพ 2.มีการแทรกแซงองค์กรอิสระต่างๆ 3.มีการแตกแยกกันอย่างมากในระหว่างหมู่ประชาชนด้วยกันเอง และ 4.มีการทุจริตคอร์รัปชั่นในการบริหารบ้านเมือง
"รัฐประหารหรือไม่รัฐประหาร ไม่มีใครบอกได้ อยู่ที่เงื่อนไขของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง และหากนำเหตุการณ์เมื่อปี 2549 มาเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน อยากจะถามว่า 4 ข้อ ยังคงอยู่หรือไม่ บางสิ่งบางอย่างเลยเถิดเสียด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะการจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง ที่ถึงขั้นจะแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112"น.ต.ประสงค์กล่าว
** "เหลิม"ไปจีนปัดนัดพบ"แม้ว"
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการที่ตนจะเดินทางไปเยือนประเทศจีน ระหว่างวันที่ 15-17 ก.พ.นี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เดินทางไปจีนเช่นกัน จะได้พบกันหรือไม่ว่า ปักกิ่งมันแคบหรือ
ทั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ยืนยันว่าไม่ได้นัดเจอกับ.พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะท่านงานเยอะ และไม่ค่อยได้คุยกัน ส่วนที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อยากมาประเทศไทยหรือไม่นั้น ใครก็คงคิดถึงบ้าน ขนาดตนอยู่เดนมาร์กปีเดียว ยังใจจะขาดเลย และยังไม่เคยพูดว่าให้รอแล้วจะเซอร์ไพร้ส์ บอกแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อนั่น เพื่อนี่ ที่จะเซอร์ไพร้ส์ คือ พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ และทำเปิดเผยด้วย
** อ้างประชาชนเป็นคนชี้เอาไม่เอา
ร.ต.อ.เฉลิม ยังกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีจุดเชื่อมโยงกับพี่น้องประชาชนมาก ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้ง 77 คน วิชาชีพ 22 คน เลือกโดยรัฐสภา เมื่อเป็น 99 คน ก็ไปยกร่างฯ ระหว่างนี้ ก็รับฟังความเห็นประชาชน ยกร่างเสร็จ ต้องส่งกกต.ทำประชามติ ถ้าประชาชนเอาด้วย หรือไม่เอาด้วย ก็จบ หากรัฐธรรมนูญตก สภาหนึ่งสภาใด โดยเสียง 1 ใน 3 มีสิทธิ์ เสนอให้ยกร่างใหม่ได้ หรือ 2 สภารวมกัน
** ท้าปชป.ขึ้นเวทีดีเบต
เมื่อถามว่า หากมีการแก้ไข มาตรา 309 จริง จะมีผลย้อนหลังหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า คนพูดไม่เข้าใจกฎหมาย รัฐบาลแก้ไขมาตราเดียว คือ 291 แต่ 16 เรื่อง
"เมื่อเขาไปยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ รัฐธรรมนูญเก่าก็ตกทั้งฉบับ เมื่อรัฐธรรมนูญใหม่โปรดเกล้าฯ คุณจะมา 308-309 พูดทำไม ถ้าฟิตนักก็มา เอาที่ไหนสักรอบ มาดีเบตกัน"ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
เมื่อถามว่าจะมีการเสนอแนวคิดให้แก้มาตราไหนหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ห้ามอย่างเดียว หมวดพระกษัตริย์ ห้ามแตะ อย่างอื่นเป็นเรื่องของเขา และพรรคเราให้ฟรีแฮนด์
** ยันออกพ.ร.บ.ปรองดองแน่
เมื่อถามว่า มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว พ.ร.บ.ปรองดอง ยังจะออกหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า มันคนละเรื่อง ออก ยังออกอยู่ รอฤกษ์ผา นาที ตนออกแน่ แต่พ.ร.บ.ปรองดอง มันคนละเรื่องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ปรองดองจะเร็วกว่า เพราะไม่ต้องเลือก ส.ส.ร. ทำประชามติ มันมีแค่สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา นี่ร่างแล้ว 6 มาตรา รออีกนิด
**โพลชี้แก้รัฐธรรมนูญสร้างความแตกแยก
รามคำแหงโพล เผยผลสำรวจเกี่ยวกับผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 และการแต่งตั้งครม.ยิ่งลักษณ์ 2 โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน 11,595 คน ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 25 ม.ค.- 1 ก.พ.2555 พบว่า ด้านความพอใจในการบริหารงานของ นายกฯยิ่งลักษณ์ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ประชาชนพอใจ ร้อยละ 45.00 ไม่พอใจ ร้อยละ 15.63 ประเด็นที่ไม่พอใจ คือ เห็นว่าสร้างความแตกแยก ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 26.55 นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไม่มีภาวะผู้นำร้อยละ 25.91 มีการก่อหนี้สินให้ประเทศชาติโดยไม่จำเป็น ร้อยละ 15.32 ก้าวก่ายงานข้าราชการประจำ ร้อยละ 11.77
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยแก้มาตรา 291 เพื่อให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มายกร่างแก้ไข ว่า ต้องดูว่ากระบวนการที่มาของส.ส.ร. มีจุดอ่อน ให้มีการครอบงำโดยพรรคการเมืองหรือไม่ อย่างไร เพราะเท่าที่ดูคงลำบากที่จะให้ปราศจากการครอบงำ โดยเฉพาะให้มีการเลือกตั้งส.ส.ร.โดยตรง จากจังหวัดละ 1 คน โอกาสที่พรรคการเมืองจะเข้าไปเกี่ยวข้องสูงมาก และในส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ 22 คน ก็ยังต้องผ่านกระบวนการที่อิงกับพรรคการเมืองด้วย
"ความจริงควรตั้งหลักให้ชัดก่อนว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่ออะไร ถ้าทำให้ทุกคนสบายใจ ก็เดินไปได้ง่าย แต่ถ้าไม่ยอมพูดให้ชัดในประเด็นที่ละเอียดอ่อน ก็จะเกิดความขัดแย้งระหว่างทาง ซึ่งผมไม่อยากให้เกิดขึ้น และลุกลามบานปลาย แต่ทำไมรัฐบาลต้องทำเช่นนั้น ผลักดันให้สังคมเข้าสู่การขัดแย้งเพื่ออะไร เพราะรัฐบาลสามารถปลดเงื่อนไขความขัดแย้งได้ แต่ไม่ทำ อยากให้สังคมตระหนักว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุด เหมือนเป็นกติกาของระบบการเมือง สังคมในระบอบประชาธิปไตยทั่วไป จึงไม่ปล่อยให้การมีเสียงข้างมากในช่วงใดช่วงหนึ่งมากำหนดได้ทั้งหมด เพราะการแข่งขัน จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าผู้เล่นสามารถเปลี่ยนกติกาได้เอง จะเป็นปัญหาปมความขัดแย้งได้ตลอดเวลา"
ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ จะเดินสายทำความเข้าใจกับประชาชน และเริ่มรณรงค์ให้เห็นถึงประเด็นต่างๆ ส่วนที่พรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า จะไม่แตะต้อง 3 ประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนนั้น เห็นว่า ทำไมไม่เขียนไว้ให้ชัดเจนไปเลย
**ชี้รวบรัดแก้รัฐธรรมนูญเพื่อ"ทักษิณ"
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้มีส.ส.ร.มายกร่างแก้ไข เท่ากับเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งวิปฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย ที่ถูกต้อง คือ ควรแก้ไขในประเด็นที่เป็นปัญหาต่อส่วนรวมเป็นประเด็นๆ ไป ไม่ใช่การแก้ไขทั้งฉบับ และเห็นว่า มีความพยายามทำให้ขั้นตอนทุกอย่างเร็วขึ้น ทั้งการเลือก ส.ส.ร. ที่ร่างของพรรคเพื่อไทย กำหนดไว้ที่ 90 วัน เหลือ 75 วัน การทำประชามติที่ต้องทำภายใน 90-120 วัน ย่อเหลือ 45-60 วัน และที่น่าห่วงที่สุด คือ กรณีที่ปรากฏเป็นข่าวการล็อบบี้แลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับวุฒิสมาชิกบางคน เพื่อให้รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยแลกกับการให้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว.ได้อีกวาระ หลังจากสิ้นสุดอายุสมาชิกภาพ
"เรารู้เท่าทันพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลว่า เป้าหมายที่แท้จริงของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เพื่อประชาธิปไตย และการปฏิรูปการเมือง แต่ต้องการแก้ไขเพื่อล้างผิดให้คนพิเศษ อีกทั้งไม่มีหลักประกันใดว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะไม่แตะต้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ยกเลิกองค์กรอิสระ ไม่มีผลนิรโทษกรรมแก่คนที่ทำความผิด และจะไม่นำประเทศชาติให้ก้าวพ้นระบอบทักษิณ"
** ร่างแก้ไขของนปช.แค่ไม้ประดับ
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเองว่า เป็นการส่งสัญญาณว่า จะยึดถือร่างฉบับนี้เป็นหลัก เพราะดูท่าทีของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ที่เป็นผู้ผลักดัน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า 4-5 ร่าง ที่ยื่นมาแล้ว เป็นเพียงร่างประกอบเท่านั้น โดยเฉพาะร่างที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตรต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เสนอมา อีกทั้งท่าทีของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ที่รับลูกว่าจะนำ การแก้ไขรัฐธรรมนูญบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมในสัปดาห์หน้า ก็ถือว่าชัดเจน
**ฟันธงแก้ม.102 (7) ช่วย "แม้ว"
น.ต.ประสงค์ สุ่นศริ อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 กล่าวถึงกรณีที่มีความกังวลกันว่ารัฐบาลอาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 (7) เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า ขณะนี้สังคมกำลังตั้งข้อสงสัยกับความเป็นอิสระของ ส.ส.ร. 99 คน ที่มีการมองกันว่า รัฐบาลได้จัดตั้งคนเอาไว้แล้ว เพียงแต่ใช้ ส.ส.ร.เหล่านี้ มาเป็นมือไม้ให้กับพวกนักการเมืองเท่านั้น ซึ่งตนคิดว่า ส.ส.ร.จำนวน 99 คน ที่จะร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ มีไม่ถึง 5 คน ที่เป็นนักวิชาการที่ทำเพื่อบ้านเมืองจริงๆ ขณะเดียวกัน แม้รัฐบาลจะระบุว่า ไม่ได้แก้ไขเพื่อคนๆ เดียว แต่เป้าหมายของเขามันหลายคนด้วยกัน แต่ตัวพ.ต.ท.ทักษิณ คือเป้าหลัก เพียงเพื่อให้หลุดพ้นจากคดีความทั้งหลายทั้งปวง และกลับเข้าสู่อำนาจ ซึ่งเชื่อว่าจะมีการแก้ไขมาตรา 102 (7) แน่นอน
** เตือนเข้าเงื่อนไขปฏิวัติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการแก้ไขมาตรา 102 (7) เพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณจริง มีโอกาสจะเกิดการรัฐประหารอีกหรือไม่ เนื่องจากกระแสต่อต้านในสังคมสูงมาก น.ต.ประสงค์ กล่าวว่า การต่อต้านของสังคมสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่วนเรื่องการรัฐประหารนั้น ต้องดูสาเหตุ และประวัติศาสตร์ของการรัฐประหารที่ผ่านมา 10 กว่าครั้ง อย่างการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 หากยังจำได้ เหตุผลของการรัฐประหารมี 4 ข้อ คือ 1.มีการกระทำที่มีลักษณะหมิ่นต่อพระบรมเดชานุภาพ 2.มีการแทรกแซงองค์กรอิสระต่างๆ 3.มีการแตกแยกกันอย่างมากในระหว่างหมู่ประชาชนด้วยกันเอง และ 4.มีการทุจริตคอร์รัปชั่นในการบริหารบ้านเมือง
"รัฐประหารหรือไม่รัฐประหาร ไม่มีใครบอกได้ อยู่ที่เงื่อนไขของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง และหากนำเหตุการณ์เมื่อปี 2549 มาเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน อยากจะถามว่า 4 ข้อ ยังคงอยู่หรือไม่ บางสิ่งบางอย่างเลยเถิดเสียด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะการจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง ที่ถึงขั้นจะแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112"น.ต.ประสงค์กล่าว
** "เหลิม"ไปจีนปัดนัดพบ"แม้ว"
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการที่ตนจะเดินทางไปเยือนประเทศจีน ระหว่างวันที่ 15-17 ก.พ.นี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เดินทางไปจีนเช่นกัน จะได้พบกันหรือไม่ว่า ปักกิ่งมันแคบหรือ
ทั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ยืนยันว่าไม่ได้นัดเจอกับ.พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะท่านงานเยอะ และไม่ค่อยได้คุยกัน ส่วนที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อยากมาประเทศไทยหรือไม่นั้น ใครก็คงคิดถึงบ้าน ขนาดตนอยู่เดนมาร์กปีเดียว ยังใจจะขาดเลย และยังไม่เคยพูดว่าให้รอแล้วจะเซอร์ไพร้ส์ บอกแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อนั่น เพื่อนี่ ที่จะเซอร์ไพร้ส์ คือ พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ และทำเปิดเผยด้วย
** อ้างประชาชนเป็นคนชี้เอาไม่เอา
ร.ต.อ.เฉลิม ยังกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีจุดเชื่อมโยงกับพี่น้องประชาชนมาก ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้ง 77 คน วิชาชีพ 22 คน เลือกโดยรัฐสภา เมื่อเป็น 99 คน ก็ไปยกร่างฯ ระหว่างนี้ ก็รับฟังความเห็นประชาชน ยกร่างเสร็จ ต้องส่งกกต.ทำประชามติ ถ้าประชาชนเอาด้วย หรือไม่เอาด้วย ก็จบ หากรัฐธรรมนูญตก สภาหนึ่งสภาใด โดยเสียง 1 ใน 3 มีสิทธิ์ เสนอให้ยกร่างใหม่ได้ หรือ 2 สภารวมกัน
** ท้าปชป.ขึ้นเวทีดีเบต
เมื่อถามว่า หากมีการแก้ไข มาตรา 309 จริง จะมีผลย้อนหลังหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า คนพูดไม่เข้าใจกฎหมาย รัฐบาลแก้ไขมาตราเดียว คือ 291 แต่ 16 เรื่อง
"เมื่อเขาไปยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ รัฐธรรมนูญเก่าก็ตกทั้งฉบับ เมื่อรัฐธรรมนูญใหม่โปรดเกล้าฯ คุณจะมา 308-309 พูดทำไม ถ้าฟิตนักก็มา เอาที่ไหนสักรอบ มาดีเบตกัน"ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
เมื่อถามว่าจะมีการเสนอแนวคิดให้แก้มาตราไหนหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ห้ามอย่างเดียว หมวดพระกษัตริย์ ห้ามแตะ อย่างอื่นเป็นเรื่องของเขา และพรรคเราให้ฟรีแฮนด์
** ยันออกพ.ร.บ.ปรองดองแน่
เมื่อถามว่า มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว พ.ร.บ.ปรองดอง ยังจะออกหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า มันคนละเรื่อง ออก ยังออกอยู่ รอฤกษ์ผา นาที ตนออกแน่ แต่พ.ร.บ.ปรองดอง มันคนละเรื่องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ปรองดองจะเร็วกว่า เพราะไม่ต้องเลือก ส.ส.ร. ทำประชามติ มันมีแค่สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา นี่ร่างแล้ว 6 มาตรา รออีกนิด
**โพลชี้แก้รัฐธรรมนูญสร้างความแตกแยก
รามคำแหงโพล เผยผลสำรวจเกี่ยวกับผลงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 และการแต่งตั้งครม.ยิ่งลักษณ์ 2 โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน 11,595 คน ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 25 ม.ค.- 1 ก.พ.2555 พบว่า ด้านความพอใจในการบริหารงานของ นายกฯยิ่งลักษณ์ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ประชาชนพอใจ ร้อยละ 45.00 ไม่พอใจ ร้อยละ 15.63 ประเด็นที่ไม่พอใจ คือ เห็นว่าสร้างความแตกแยก ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 26.55 นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไม่มีภาวะผู้นำร้อยละ 25.91 มีการก่อหนี้สินให้ประเทศชาติโดยไม่จำเป็น ร้อยละ 15.32 ก้าวก่ายงานข้าราชการประจำ ร้อยละ 11.77