ASTVผู้จัดการรายวัน-“แอร์พอร์ตลิ้งค์”ยันไม่มีปัญหาอะไหล่ เผยตั้งงบจัดซื้อเดือนละ30ล้าน ระบุโยกอะไหล่จากรถอีกขบวนมาใช้ทดแทนก่อนเป็นเรื่องปกติของกระบวนการซ่อม แต่ห้ามรถเสียแบบพิเศษ เหตุในสต๊อกแค่พอใช้หมุนเวียนตามรอบ เตรียมลงทุน 17 ล้านบาทปลดล็อคเปิดขบวน Express Line วิ่งพญาไทจอดมักกะสันได้ เผยบริษัทลูกยังไม่จบ เหตุสบน.ให้รับหนี้ระบบอาณัติสัญญาณอีก 4พันล้าน กระทบแผนธุรกิจหนี้ทะลัก 1.1 หมื่นล้าน
นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้การให้บริหารโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตเรลลิง ไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนอะไหล่ โดยได้มีการตั้งงบในการจัดซื้อประมาณ 30 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนกรณีที่มีรถเสียและมีการถอดอะไหล่จากรถอีกคันไปใช้ในรถอีกคันหนึ่งนั้น เป็นเรื่องปกติที่จะใช้กับอะไหล่ที่ไม่มีความซับซ้อนและเฉพาะตัว และเป็นกระบวนการซ่อมบำรุงปกติ ซึ่งรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ดำเนินการเหมือนกัน
“อะไหล่ในสต๊อกมีเพียงพอสำหรับการหมุนเวียนใช้ตามระบบและเวลาในการซ่อมบำรุง ยกเว้นอะไหล่บางตัวที่ต้องใช้เวลาในการสั่งซื้อนาน 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งหากเกิดปัญหาการชำรุดที่นอกเหนือจากปกติจะกระทบต่อการซ่อมบำรุงได้ ซึ่งเคยเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมี.ค.2554 กรณีคาร์บอนสติ๊ก ตัวรับกระแสไฟฟ้าสึกหรอเร็วผิดปกติ จากอายุใช้งาน 6-8 เดือนเหลือ 1 สัปดาห์ จึงเกิดปัญหาขึ้น”นายภากรณ์กล่าว
นายภากรณ์กล่าวว่า ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่เร่งแก้ไขคือการซ่อมบำรุงใหญ่ หรือซ่อมหนักประมาณปี 2557 ซึ่งรถไฟฟ้าจะวิ่งครบระยะทาง 1 ล้านกิโลเมตร โดยขณะนี้วิ่งไปแล้ว 4 แสนกิโลเมตร เพราะจะต้องมีการจัดซื้ออะไหล่มูลค่าหลายร้อยล้านบาท รวมถึงจะต้องมีขบวนรถสำรอง เนื่องจากจะต้องถอนรถออกจากระบบครั้งละ 2 ขบวนครั้งละ 2 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการให้บริการ
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอแผนจัดซื้อขบวนรถ 5 ขบวนๆ ละ 4 ตู้ วงเงินประมาณ 3,200 ล้านบาท ต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) ของบริษัท รถไฟฟ้าร.ฟ.ท.จำกัด เพื่อนำเสนอบอร์ดร.ฟ.ท.และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโดยบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จะดำเนินการกู้เงินมาจัดซื้อรถเอง โดยจะต้องเร่งสรุปภายในปีนี้ เนื่องจากจ้องใช้เวลาสั่งซื้อ 2 ปี แต่หากไม่ทันอาจจะต้องเจรจากับผู้ผลิตเพื่อเร่งกระบวนการให้เหลือ 1.5 ปี
การจัดซื้อจัดจ้างของแอร์พอร์ตลิ้งค์ยังต้องใช้งบประมาณจากร.ฟ.ท. ซึ่งเป็นบริษัทแม่อยู่ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการพิจารณาโอนหนี้สินให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเดิมบริษัทจะรับหนี้สินจากร.ฟ.ท. ประมาณ 7,035 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ทางสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เห็นว่าควรรับโอนหนี้ในส่วนของระบบอาณัติสัญญาณ ประมาณ 4,000
ล้านบาทด้วย ซึ่งจะทำให้หนี้ของบริษัทเพิ่มเป็นกว่า 11,000 ล้านบาท และกระทบต่อสัดส่วนหนี้สินต่อทุนและแผนธุรกิจของบริษัท จึงยืนยันรับโอนหนี้เฉพาะที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน
ปัจจุบัน แอร์พอร์ตลิ้งค์มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ก.พ.2555 ได้ทำสถิติใหม่จำนวน 50,569 คน แบ่งเป็น ขบวน City Line 46,787 คน ขบวน Express Line 3,782 คน ซึ่งก่อนหน้านี้ขบวน Express Lineจะมีผู้โดยสารเฉลี่ยประมาณ 2,700-2,800 คนต่อวัน ซึ่งสาเหตุที่มีผู้ใช้บริการมากขึ้น เนื่องจากปัญหาการจราจรและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมถึงการปรับขบวนรถ Express Line ให้วิ่งถึงพญาไท ทำให้ขณะนี้มีรายได้รวมประมาณ 47.8 ล้านบาทต่อเดือน (จาก City Line 41 ล้านบาท และ Express Line 7.7 ล้านบาท)
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทได้ทำการออกแบบเพื่อปลดล็อคด้านเทคนิคและเปิดระบบให้ขบวนรถ Express Line ที่วิ่งจากพญาไทสามารถจอดรับส่งได้ที่มักกะสันได้ ลงทุนประมาณ 17 ล้านบาทจากเดิมที่ทางบริษัท ซีเมนส์ จำกัด จะปรับให้แต่ต้องใช้เงินถึง 1,000ล้านบาท โดยคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 4 เดือน โดยจะต้องเสนอของบลงทุนในปี 2556
นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้การให้บริหารโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตเรลลิง ไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนอะไหล่ โดยได้มีการตั้งงบในการจัดซื้อประมาณ 30 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนกรณีที่มีรถเสียและมีการถอดอะไหล่จากรถอีกคันไปใช้ในรถอีกคันหนึ่งนั้น เป็นเรื่องปกติที่จะใช้กับอะไหล่ที่ไม่มีความซับซ้อนและเฉพาะตัว และเป็นกระบวนการซ่อมบำรุงปกติ ซึ่งรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ดำเนินการเหมือนกัน
“อะไหล่ในสต๊อกมีเพียงพอสำหรับการหมุนเวียนใช้ตามระบบและเวลาในการซ่อมบำรุง ยกเว้นอะไหล่บางตัวที่ต้องใช้เวลาในการสั่งซื้อนาน 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งหากเกิดปัญหาการชำรุดที่นอกเหนือจากปกติจะกระทบต่อการซ่อมบำรุงได้ ซึ่งเคยเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมี.ค.2554 กรณีคาร์บอนสติ๊ก ตัวรับกระแสไฟฟ้าสึกหรอเร็วผิดปกติ จากอายุใช้งาน 6-8 เดือนเหลือ 1 สัปดาห์ จึงเกิดปัญหาขึ้น”นายภากรณ์กล่าว
นายภากรณ์กล่าวว่า ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่เร่งแก้ไขคือการซ่อมบำรุงใหญ่ หรือซ่อมหนักประมาณปี 2557 ซึ่งรถไฟฟ้าจะวิ่งครบระยะทาง 1 ล้านกิโลเมตร โดยขณะนี้วิ่งไปแล้ว 4 แสนกิโลเมตร เพราะจะต้องมีการจัดซื้ออะไหล่มูลค่าหลายร้อยล้านบาท รวมถึงจะต้องมีขบวนรถสำรอง เนื่องจากจะต้องถอนรถออกจากระบบครั้งละ 2 ขบวนครั้งละ 2 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการให้บริการ
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอแผนจัดซื้อขบวนรถ 5 ขบวนๆ ละ 4 ตู้ วงเงินประมาณ 3,200 ล้านบาท ต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) ของบริษัท รถไฟฟ้าร.ฟ.ท.จำกัด เพื่อนำเสนอบอร์ดร.ฟ.ท.และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโดยบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จะดำเนินการกู้เงินมาจัดซื้อรถเอง โดยจะต้องเร่งสรุปภายในปีนี้ เนื่องจากจ้องใช้เวลาสั่งซื้อ 2 ปี แต่หากไม่ทันอาจจะต้องเจรจากับผู้ผลิตเพื่อเร่งกระบวนการให้เหลือ 1.5 ปี
การจัดซื้อจัดจ้างของแอร์พอร์ตลิ้งค์ยังต้องใช้งบประมาณจากร.ฟ.ท. ซึ่งเป็นบริษัทแม่อยู่ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการพิจารณาโอนหนี้สินให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเดิมบริษัทจะรับหนี้สินจากร.ฟ.ท. ประมาณ 7,035 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ทางสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เห็นว่าควรรับโอนหนี้ในส่วนของระบบอาณัติสัญญาณ ประมาณ 4,000
ล้านบาทด้วย ซึ่งจะทำให้หนี้ของบริษัทเพิ่มเป็นกว่า 11,000 ล้านบาท และกระทบต่อสัดส่วนหนี้สินต่อทุนและแผนธุรกิจของบริษัท จึงยืนยันรับโอนหนี้เฉพาะที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน
ปัจจุบัน แอร์พอร์ตลิ้งค์มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ก.พ.2555 ได้ทำสถิติใหม่จำนวน 50,569 คน แบ่งเป็น ขบวน City Line 46,787 คน ขบวน Express Line 3,782 คน ซึ่งก่อนหน้านี้ขบวน Express Lineจะมีผู้โดยสารเฉลี่ยประมาณ 2,700-2,800 คนต่อวัน ซึ่งสาเหตุที่มีผู้ใช้บริการมากขึ้น เนื่องจากปัญหาการจราจรและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมถึงการปรับขบวนรถ Express Line ให้วิ่งถึงพญาไท ทำให้ขณะนี้มีรายได้รวมประมาณ 47.8 ล้านบาทต่อเดือน (จาก City Line 41 ล้านบาท และ Express Line 7.7 ล้านบาท)
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทได้ทำการออกแบบเพื่อปลดล็อคด้านเทคนิคและเปิดระบบให้ขบวนรถ Express Line ที่วิ่งจากพญาไทสามารถจอดรับส่งได้ที่มักกะสันได้ ลงทุนประมาณ 17 ล้านบาทจากเดิมที่ทางบริษัท ซีเมนส์ จำกัด จะปรับให้แต่ต้องใช้เงินถึง 1,000ล้านบาท โดยคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 4 เดือน โดยจะต้องเสนอของบลงทุนในปี 2556