แหล่งข่าวจากที่ประชุมครม. เปิดเผยว่า ที่ประชุม วานนี้ (7 ก.พ.55)ในช่วงหารือถึงกรณีกระทรวงการคลัง ขอให้ครม.พิจารณาโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 และโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้าง ที่เป็นการใช้งบแบบผูกพันและการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการที่ตั้งอยู่ในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง พ.ศ. 2555 ที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทั้งนี้ นายวิทยา บูรณศิริ รมว.สาธารณสุข ได้ขออนุมัติโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Development policy Loan (DPL) ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 3,426 ล้านบาทเพื่อนำไปทำโครงการจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับสถานพยาบาลระดับอำเภอและตำบล ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรให้โยกงบดังกล่าวไปเป็นงบช่วยเหลือฟื้นฟู สถานพยาบาลจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
โดยนายวิทยา ได้ถามความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดลักษณะดังกล่าวจะเกิดปัญหาในข้อกฏหมายหรือไม่ เพราะกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทำมาเสร็จเกือบหมดแล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรี อ้างว่าไม่ใช่ รัฐบาลจะไม่ให้งบนี้ตามที่ตั้งไว้ แต่จะนำมาแก้ปัญหาเร่งด่วน เพราะมีความจำเป็นมากกว่าฟื้นฟูสถานพยาบาล จากนั้นนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการครม.ชี้แจงว่าตราบใดที่ยังไม่มีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการก็สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
มีรายงานว่ารัฐมนตรีหลายคนได้หารือกันถึงเรื่องงบโครงการไทยเข้มแข็งที่ใช้งบดังกล่าวตามพระราชกำหนดสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ มาเปรียบเทียบกับกรณีรัฐบาลได้ออกพระราชกำหนดการเงิน 4 ฉบับ ของรัฐบาลที่ล่าสุดศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องให้วินิจฉัยการออก พ.ร.ก. 2 ฉบับเช่นพ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาทเพื่อเตรียมการป้องกันน้ำท่วม มาเปรียบเทียบกัน
มีรัฐมนตรีบางคนเห็นว่าการออกพ.ร.ก.สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เพื่อกู้เงิน 4 แสนล้านบาทตอนนั้นรัฐบาลประชาธิปัตย์ก็บอกว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลก จึงต้องเตรียมการกู้เงินไว้เพื่อรองรับวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจจะกระทบมาถึงไทย ทั้งๆ ที่ไทยจะได้รับผลกระทบยังไม่มีใครรู้ แล้วก็เอาเงินมาทำโครงการไทยเข้มแข็ง และจนถึงขณะนี้หลายโครงการก็ยังไม่ได้ทำ งบหลายโครงการก็ยังไม่ได้มีการเบิกจ่าย เป็นการวิตกไปล่วงหน้าก่อน
แล้วพอออกพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท แต่ถึงตอนนี้ยังมีเงินเหลือค้างอยู่ 8,800 ล้านบาท ยังใช้ไม่หมดแล้วบอกว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างไร ผิดกับรัฐบาลชุดนี้ที่ออกพระราชกำหนดเพื่อกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาทนำมาป้องกันน้ำท่วมปีนี้และปีต่อๆไปซึ่งเร่งด่วน กว่าเพราะน้ำท่วมเกิดขึ้นจริงจึงต้องเตรียมการไว้ จึงมีเหตุผลมากกว่า
“หลายโครงการในไทยเข้มแข็งสมัยรัฐบาลที่แล้วก็มีปัญหามาก ไม่ได้มีความเร่งด่วนอะไร รัฐบาลจึงควรไปตรวจสอบดูโครงการต่างๆในรัฐบาลชุดที่แล้วที่ใช้เงินไทยเข้มแข็งว่าเหลืออยู่เท่าใด ใช้ทำอะไรไปบ้าง โครงการไหนควรยกเลิก โครงการไหนควรทำต่อ บางโครงการทำเสียใหญ่โตแต่ก็มีปัญหา แถมมีเรื่องปัญหาความไม่โปร่งใสจนต้องยกเลิกโครงการไปแล้วเช่นโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมจังหวัดภูเก็ต ที่ไม่โปร่งใส่ในการจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อฝ่ายค้านกับส.ว.ยื่นคำร้องไปศาลรัฐธรรมนูญเราก็ต้องสู้กันในการชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็นเร่งด่วนให้สังคมทราบ โดยชี้ให้เห็นว่าสมัยประชาธิปัตย์ออกพระราชกำหนดแล้วบอกเร่งด่วนแต่เงินก็ยังใช้ไม่หมดเลย “แหล่งข่าวระบุคำพูดของรัฐมนตรีที่หารือกันเรื่องการออกพระราชกำหนดของรัฐบาลกับการเตรียมทบทวนโครงการไทยเข้มแข็ง
ท้ายสุด นายกรัฐมนตรีได้ย้ำ ว่าขอให้ทุกกระทรวงไปทบทวนดู โครงการไทยเข้มแข็งย้อนหลังดูด้วยว่าโครงการไหนมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน โครงการไหนแผนงานไม่ชัดเจน ไม่โปร่งใส ส่อทุจริต ก็ให้ทุกกระทรวงนำเสนอข้อมูลในการประชุมครม.ครั้งต่อไป
ทั้งนี้ นายวิทยา บูรณศิริ รมว.สาธารณสุข ได้ขออนุมัติโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Development policy Loan (DPL) ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 3,426 ล้านบาทเพื่อนำไปทำโครงการจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับสถานพยาบาลระดับอำเภอและตำบล ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรให้โยกงบดังกล่าวไปเป็นงบช่วยเหลือฟื้นฟู สถานพยาบาลจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
โดยนายวิทยา ได้ถามความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดลักษณะดังกล่าวจะเกิดปัญหาในข้อกฏหมายหรือไม่ เพราะกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทำมาเสร็จเกือบหมดแล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรี อ้างว่าไม่ใช่ รัฐบาลจะไม่ให้งบนี้ตามที่ตั้งไว้ แต่จะนำมาแก้ปัญหาเร่งด่วน เพราะมีความจำเป็นมากกว่าฟื้นฟูสถานพยาบาล จากนั้นนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการครม.ชี้แจงว่าตราบใดที่ยังไม่มีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการก็สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
มีรายงานว่ารัฐมนตรีหลายคนได้หารือกันถึงเรื่องงบโครงการไทยเข้มแข็งที่ใช้งบดังกล่าวตามพระราชกำหนดสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ มาเปรียบเทียบกับกรณีรัฐบาลได้ออกพระราชกำหนดการเงิน 4 ฉบับ ของรัฐบาลที่ล่าสุดศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องให้วินิจฉัยการออก พ.ร.ก. 2 ฉบับเช่นพ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาทเพื่อเตรียมการป้องกันน้ำท่วม มาเปรียบเทียบกัน
มีรัฐมนตรีบางคนเห็นว่าการออกพ.ร.ก.สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เพื่อกู้เงิน 4 แสนล้านบาทตอนนั้นรัฐบาลประชาธิปัตย์ก็บอกว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลก จึงต้องเตรียมการกู้เงินไว้เพื่อรองรับวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจจะกระทบมาถึงไทย ทั้งๆ ที่ไทยจะได้รับผลกระทบยังไม่มีใครรู้ แล้วก็เอาเงินมาทำโครงการไทยเข้มแข็ง และจนถึงขณะนี้หลายโครงการก็ยังไม่ได้ทำ งบหลายโครงการก็ยังไม่ได้มีการเบิกจ่าย เป็นการวิตกไปล่วงหน้าก่อน
แล้วพอออกพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท แต่ถึงตอนนี้ยังมีเงินเหลือค้างอยู่ 8,800 ล้านบาท ยังใช้ไม่หมดแล้วบอกว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างไร ผิดกับรัฐบาลชุดนี้ที่ออกพระราชกำหนดเพื่อกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาทนำมาป้องกันน้ำท่วมปีนี้และปีต่อๆไปซึ่งเร่งด่วน กว่าเพราะน้ำท่วมเกิดขึ้นจริงจึงต้องเตรียมการไว้ จึงมีเหตุผลมากกว่า
“หลายโครงการในไทยเข้มแข็งสมัยรัฐบาลที่แล้วก็มีปัญหามาก ไม่ได้มีความเร่งด่วนอะไร รัฐบาลจึงควรไปตรวจสอบดูโครงการต่างๆในรัฐบาลชุดที่แล้วที่ใช้เงินไทยเข้มแข็งว่าเหลืออยู่เท่าใด ใช้ทำอะไรไปบ้าง โครงการไหนควรยกเลิก โครงการไหนควรทำต่อ บางโครงการทำเสียใหญ่โตแต่ก็มีปัญหา แถมมีเรื่องปัญหาความไม่โปร่งใสจนต้องยกเลิกโครงการไปแล้วเช่นโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมจังหวัดภูเก็ต ที่ไม่โปร่งใส่ในการจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อฝ่ายค้านกับส.ว.ยื่นคำร้องไปศาลรัฐธรรมนูญเราก็ต้องสู้กันในการชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็นเร่งด่วนให้สังคมทราบ โดยชี้ให้เห็นว่าสมัยประชาธิปัตย์ออกพระราชกำหนดแล้วบอกเร่งด่วนแต่เงินก็ยังใช้ไม่หมดเลย “แหล่งข่าวระบุคำพูดของรัฐมนตรีที่หารือกันเรื่องการออกพระราชกำหนดของรัฐบาลกับการเตรียมทบทวนโครงการไทยเข้มแข็ง
ท้ายสุด นายกรัฐมนตรีได้ย้ำ ว่าขอให้ทุกกระทรวงไปทบทวนดู โครงการไทยเข้มแข็งย้อนหลังดูด้วยว่าโครงการไหนมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน โครงการไหนแผนงานไม่ชัดเจน ไม่โปร่งใส ส่อทุจริต ก็ให้ทุกกระทรวงนำเสนอข้อมูลในการประชุมครม.ครั้งต่อไป