xs
xsm
sm
md
lg

ประสบการณ์ไม่ช่วยเฉลิมเลย

เผยแพร่:   โดย: ราวี เวียงพยัคฆ์

รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกพระราชกำหนด 4 ฉบับ คือ พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 พ.ร.ก.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. 2555 พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ

พ.ร.ก. 2 ฉบับหลัง คือ พ.ร.ก.ให้กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ และ พ.ร.ก.ปรับปรุงบริหารหนี้เงินกู้ หรือที่รู้กันว่าเป็น พ.ร.ก.โยกหนี้เพื่อให้ดูเหมือนว่าหนี้สาธารณะของประเทศไม่สูงเกินไป (จะได้กู้ได้อีก) ฝ่ายค้านเห็นว่าอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 1 และวรรค 2 หรือไม่ ต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาก่อน

ถ้าหาก พ.ร.ก.ทั้งสองฉบับ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 1 หรือวรรค 2 อย่างใดอย่างหนึ่งหรือขัดทั้งสองวรรค โดยมารยาทรัฐบาลก็ต้องลาออก

เว้นแต่รัฐบาลนี้จะไม่ต้องรักษามารยาท นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นอย่างนี้ ทั้งนี้พิจารณาตั้งแต่ตัวนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หัวหน้ารัฐบาลเป็นสำคัญ

รัฐธรรมนูญมาตรา 184 พิจารณาจากมีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และเพื่อประโยชน์ที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศหรือไม่

สองประเด็นนี้ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา

ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะพิจารณาชี้ขาดว่า เป็นเรื่องรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ หรือเพื่อประโยชน์ที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่าว่าแต่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมิใช่ฝ่ายบริหารเลย เรื่องที่ผู้คนทั้งหลายเห็นว่าจะต้องใช้ความสุขุมรอบคอบ เรื่องที่ผู้คนถามไถ่กันว่า มีแผนงานหรือยัง ลองเปิดเผยมาดูทีรึว่าจะกู้เงินเขามาบริหารจัดการน้ำไม่ให้น้ำท่วม ไม่ให้เกิดอุทกภัยร้ายแรงอีกทำอย่างไร ทั้งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทั้งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีทั้งคณะก็ยังตอบไม่ได้ ชี้แจงแผนไม่ได้ แต่บอกว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน เป็นความจำเป็น

แล้วศาลท่านจะว่าอย่างไร?

เพื่อประโยชน์ที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศก็เช่นเดียวกัน เห็นไหมละครับ สนามบินเพชรบูรณ์ สนามบินร้อยเอ็ด สนามบินบุรีรัมย์ ที่อำเภอสตึก ตอนที่จะสร้างก็บอกว่า เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพื่อความสะดวก เพื่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองของประเทศชาติ สร้างแล้วใช้คุ้มค่าหรือไม่ ก็เห็นกันอยู่ ท่าเรือที่พิจิตร ที่นครสวรรค์ ผลาญเงินภาษีของประชาชนไปเท่าไร ใช้คุ้มค่าไหมครับ

เพื่อประโยชน์ที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศจึงกลายเป็นเพื่อที่จะสร้างความมั่งคั่งมั่นคงให้กับนักการเมืองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับโปรเจกต์นั้นๆ เสียมากกว่า ศาลท่านจะไปบอกว่าไม่ใช่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างที่คณะรัฐมนตรีกล่าวอ้างได้อย่างไรเล่าครับ?

นี่เป็นข้อสงสัยของผมเอง ศาลท่านจะพิจารณาอย่างไร นั่นก็ต้องคอยดูเพราะเรื่องไปถึงศาลแล้ว

ซึ่งก็มิใช่เรื่องที่จะมาพูดอย่างที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีออกมาตีปลาหน้าไซว่า ศาลรัฐธรรมนูญเคยพิจารณา พ.ร.ก.ทำนองเดียวกันมาแล้วในสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล และก็พิจารณาแล้วว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ คราวนี้จะเป็นอย่างไรไม่รู้ คราวก่อนนี้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่คนนี้

“จะไปบอกว่าไปศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอะไรน่ากลัวไม่ได้ ผมบอกได้เลยว่าคำวินิจฉัยของศาลออกได้ทุกหน้า จึงควรถ่ายทอดการอภิปรายเพื่อส่งแรงสะท้อนไปถึงศาล”

การเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมาแล้วของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ไม่ได้ช่วยให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เข้าอกเข้าใจหรือรู้จักธาตุแท้ของตุลาการที่มีเลือดวิญญาณเป็นตุลาการจริงๆ อาจจะเคยเจอ เคยพบแต่พวกกเฬวรากรับสินบาทคาดสินบนจึงได้ออกมาพูดอย่างนั้น

จะใครเป็นประธานศาล ถ้าหากตั้งอยู่บนความถูกต้องเที่ยงธรรม กล้าหาญ การพิจารณาก็ต้องเหมือนกัน

นอกจากการถ่ายทอดการประชุมสภาที่พิจารณา พ.ร.ก.สองฉบับแรกเพื่อส่งแรงสะท้อนไปถึงศาล (กดดันศาล) การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญก็ควรที่จะถ่ายทอดสดให้ประชาชนทั้งหลายทั้งปวงได้รับฟังด้วย จะได้เห็นกันจะจะไปเลยว่า ศาลท่านคิดอย่างไรกับ พ.ร.ก.ทั้งสองฉบับนี้

จะให้ดี สถาบันการเงินทั้งหลายที่จะต้องส่งเงินเป็นรายได้ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาในประเด็นเนื้อหาสาระของ พ.ร.ก.ว่ามีบทบัญญัติใดขัดต่อรัฐธรรมนูญอันเป็นผลให้บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญตามที่อาจารย์ปรีชา สุวรรณทัต ตั้งข้อสังเกตไว้หรือไม่

พรรคประชาธิปัตย์ขอให้ศาลพิจารณาเพียงประเด็นขัดวรรคหนึ่ง หรือวรรคสองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 หรือไม่เท่านั้น

ประเด็นหลังนี้เป็นประเด็นที่ขัดวินัยการเงิน การคลังตามรัฐธรรมนูญที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จำเป็นต้องสั่งจ่ายเงินและดำเนินการตามพระราชกำหนดซึ่งจะต้องวิเคราะห์จากมาตรา 170 ของรัฐธรรมนูญ

มาตรา 170 เงินรายได้ของหน่วยงานรัฐใดที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินให้หน่วยงานของรัฐนั้น ทำรายงานรายรับและการใช้จ่ายเงินดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นปีงบประมาณทุกปี และให้คณะรัฐมนตรีทำรายงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาต่อไป

อาจารย์ปรีชา บอกว่า ความร้ายกาจของ พ.ร.ก.มันซ่อนอยู่ตรงนี้ เมื่อวันหนึ่งสถาบันการเงินต้องควักจ่าย ธปท.ไปใช้หนี้ก็ต้องเอาจากประชาชน

คนสวยบางคนนอกจากโง่แล้วก็ยังใจดำจริงๆ
กำลังโหลดความคิดเห็น