รุมถล่มไอเดียรัฐบาล"ปู" ขายหุ้นปตท. ให้กองทุนวายุภักดิ์ เปิดทางกู้เงินมาถลุงเพิ่ม จับตาปี 56 วายุภักดิ์จะเป็นกองทุนเปิด เปิดช่องเอกชนยึดปตท.ซ้ำรอยเดิมสมัย "แม้ว" รัฐจะไร้อำนาจกำกับดูแล ประชาชนจะเดือดร้อน "อลงกรณ์"ยันปชป.ค้านแหลก ทั้งในและนอกสภา พร้อมปลุกประชาชนร่วมต้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (5 ก.พ.) พรรคประขาธิปัตย์และคณะทำงานประสานงานเครือข่ายภาคประชาชน ได้จัดสัมนาหัวข้อ เปิดหูเปิดตาพลังงานไทย "ขายหุ้น ปตท.คนไทยได้หรือเสีย" โดยมีวิทยากรประกอบด้วย นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และรมว.พลังงานเงา พรรคประชาธิปัตย์ นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน โดยมีน.ส.ผ่องศรี ธาราภูมิ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
นายมนูญ กล่าวว่า สาเหตุที่รัฐบาลใช้เป็นข้ออ้างในการขายหุ้นปตท. เพราะรัฐบาลต้องเผชิญกับปัญหาการจัดทำงบประมาณ เพราะงบรายจ่ายประจำสูงถึงกว่า 80 % มีงบลงทุนเพียงกว่า 10 % เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถพัฒนาประเทศได้ จึงต้องกู้เงินเพิ่มขึ้น แต่ในการชำระหนี้ในการตั้งงบประมาณ จะต้องไม่เกิน 15% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ไม่เช่นนั้นจะเสียวินัยการคลัง จึงหาทางออกด้วยการโอนหนี้ในส่วนของรัฐวิสาหกิจให้กองทุนวายุภักดิ์ที่กระทรวงการคลังถือหุ่นใหญ่ เท่ากับโอนปตท.จากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา
"ถ้าตัวเลขหนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณอยู่ที่ 12% ตามที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลังระบุ ก็เป็นตัวเลขที่อันตราย แต่เรื่องนี้ก็ยังถกเถียงกันอยู่ เพราะนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง ระบุว่าอยู่ที่ 9 % ขณะที่การตั้งงบชำระหนี้ของรัฐบาลในงบประมาณรายจ่ายปี 2555 อยู่ที่ 1 % เท่านั้น ทำให้หนี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถใช้หนี้เงินต้นในระยะยาวได้ จึงทำให้รัฐบาลคิดที่จะลดหนี้สาธารณะลง ทำให้นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกยอ. ออกมาโยนหินถามทางถึงการโอนหุ้นให้กองทุนวายุภักดิ์ เพื่อให้การบินไทยและปตท. พ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ยังคงอำนาจในการดูแลสองหน่วยงานนี้ได้ต่อไปด้วยการขายให้กับกองทุนวายุภักดิ์ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นเกือบ 70 %"
อย่างไรก็ตาม เป็นห่วงว่ากองทุนวายุภักดิ์กำลังจะหมดอายุในปี 2556 หากมีการเปลี่ยนสถานะจากกองทุนปิดเป็นกองทุนเปิด จะทำให้เอกชนครอบครองหุ้นปตท. ผ่านการซื้อหุ้นจากกองทุนวายุภักดิ์ได้ ดังนั้น รัฐบาลต้องมีหลักเกณฑ์ให้สังคมมั่นใจว่ากระทรวงการคลังจะถือหุ้นในกองทุนวายุภักดิ์ 70 % เหมือนเดิม เพื่อคงสิทธิ์ในการกำกับดูแลสองหน่วยงานนี้ต่อไป
นายมนูญ กล่าวอีกว่า สำหรับผลกระทบในแง่การบริหารงานของปตท. จะทำให้การบริหารงานของปตท. มีความคล่องตัวมากขึ้น สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น ลงทุนได้เพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องขอความเห็นชอบเรื่องงบลงทุนจากครม. แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ การที่รัฐบาลกำกับดูแล ปตท. จะทำได้ดีเหมือนเดิมหรือไม่ ซึ่งตนยังเห็นว่าไม่มีปัญหา โดยเปรียบเทียบกับกรณีบางจากปิโตรเลียมที่มีการแปรรูปให้ ปตท.มาถือหุ้นแทน กระทรวงการคลัง ก็ไม่มีปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการ แต่ถ้ามีการแปรรูป ปตท.เป็นเอกชนเต็มตัวก็จะคำนึงถึงกำไรมากขึ้น ทำให้การดูแลเพื่อช่วยเหลือประชาชนทำได้น้อยลง และเข้าใจว่าประชาชนไม่มีความไว้วางใจนักการเมือง แต่ก็ยังเห็นความจำเป็นที่ต้องแก้ปัญหาหนี้สาธารณะด้วย โดยเห็นว่าหนี้ของ ปตท.และการบินไทยไม่ควรรวมอยู้ในหนี้สาธารณะ
ขณะที่ น.ส.รสนา มองว่า หากรัฐบาลทำเพื่อลดหนี้สาธารณะตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง ก็คิดว่าในความเป็นจริงไม่ได้ลดมากนัก เพราะหนี้ของ ปตท.ไม่ได้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) แต่เป็นหนี้ดี เพราะธุรกิจมีกำไร การที่รัฐบาลจะโยกหนี้จึงเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น โดยขณะนี้ประเทศมีหนี้สาธารณะอยู่ที่ประมาณ 42% ของจีดีพี โดยเพดานหนี้สาธารณะอยู่ที่ 60% การที่รัฐบาลคิดโยกหนี้เพื่อกู้เพิ่ม โดยไม่มีคำตอบว่าจะหารายได้จากไหนมาจ่ายหนี้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศตามมา โดยในปี 2554 ที่ผ่านมา จ่ายหนี้หมื่นล้านบาทเท่านั้นที่เป็นเงินต้น ส่วนที่เหลือกว่าแสนล้านเป็นดอกเบี้ย หากยังกู้หนี้เพิ่ม ก็จะมีความเสี่ยงในการชำระหนี้เงินต้นตามมา จึงต้องคิดให้รอบคอบโดยเฉพาะเมื่อมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิง ซึ่งถือว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ของครอบครัว อย่าฟังผู้ชายมากเกินไป เพราะเป็นประเภทใช้เงินอย่างเดียวแต่หาเงินไม่เป็น
น.ส.รสนากล่าวว่า คนที่คิดขายหุ้นให้กองทุนวายุภักดิ์เป็นคนเจ้าเล่ห์แสนกล พร้อมกับยกกรณีแปรรูป ปตท.ใน ยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐบาลที่เคยอ้างว่าจะให้รัฐถือหุ้น 75% แต่ปัจจุบันรัฐถือหุ้นเพียง 52% เท่านั้น ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลเคยระบุว่าการแปรรูป คือ รูปแบบหนึ่งของการคอรัปชั่นด้วยการแปรทรัพย์สินประเทศไปเป็นของเอกชน
"ต้องบอกว่า ทั้งโง่ บ้า และโกง คือ มีการเอาท่อก๊าซ ซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติของชาติไปรวมกับทรัพย์สินของ ปตท.โดยไม่มีการแยกออกมา ทั้งที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนลงทุนของ ปตท. ว่าจะต้องมีการแยกท่อก๊าซออกมาภายใน 1 ปี แต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นผู้นำ ปตท.ไปแปรรูปกลับไม่มีการดำเนินการรักษาผลประโยขน์ชาติในส่วนนี้ นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่ปฏิบัติตามสัญญาช่วงหาเสียงที่จะยกเลิกกฎหมายที่ถูกเรียกว่ากฎหมายขายชาติ 13 ฉบับ แต่กลับใช้ประโชขน์จากกฎหมายดังกล่าวมาแปรรูปรัฐวิสาหกิจชั้นดีของไทย โดยการขายหุ้น ปตท.ในขณะนั้นหมดเกลี้ยงภายใน 1 นาที 17 วินาที ทำให้ถูกมองว่านักการเมือง คือ ผู้ถือหุ้น ปตท. ตัวจริง โดยราคาหุ้น ปตท.จากที่เริ่มต้นในราคา 35 บาท ปัจจุบันราคาหุ้นสูงถึงกว่า 300 บาท และกำไรสะสมของ ปตท.ในปี 2553 สูงถึงกว่า 8 แสนล้านบาท จึงสมควรให้ ปตท.คืนกำไรให้ประชาชนด้วย"น.ส.รสนากล่าว
ด้านนายอลงกรณ์กล่าวว่า การแปรรูปแบบ พ.ต.ท.ทักษิณ คือ ขายสมบัติชาติถูกๆ กระบวนการแปรรูปไม่โปร่งใส เหมือนขายที่สุขุมวิท เท่าที่ดินบางบัวทอง เป็นการทุจรตเชิงนโยบาย มีหุ้นอุปการะคุณ 25 ล้านหุ้น โดยเป็นรายชื่อกลุ่มการเมืองในสังกัดพ.ต.ท.ทักษิณทั้งสิ้น จึงเกรงว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย เพราะการปรับครม.มีการนำชินโมเดลมาบริหารประเทศ ขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นแค่หุ่นเชิด จึงรู้สึกสงสารประเทศ เพราะผู้บริหารตัวจริง คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ประชาชนต้องลุกขึ้นมาต่อต้านเพื่อให้รัฐบาลก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณให้ได้ ไม่ให้มีการทุจริตเชิงนโยบายสนองผลประโยชน์ พ.ต.ท.ทักษิณ เกิดขึ้น
ทั้งนี้ จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ชัดเจนว่า จะคงความเป็นระฐวิสาหกิจของ ปตท.เอาไว้ เพื่อดูแลปัญหาความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคต เป็นกลไกของรัฐในการดูแลราคาน้ำมัน แก๊ส ที่โยงถึงราคาไฟฟ้า ไม่ให้เป็นภาระประชาชนมากจนเกินไป โดยเฉพาะเรื่องก๊าซซึ่ง ปตท.ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จึงจำเป็นต้องคงสถานะรัฐวิสาหกิจเอาไว้ ถ้ารัฐบาลดำเนินการแปรรูปให้เป็นของเอกชน พรรคประชาธิปัตย์จะคัดค้านถึงที่สุดทั้งในและนอกสภา โดยยืนยันว่า ประเทศไทยควรมีบริษัทน้ำมันแห่งชาติเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
"เรายอมไม่ได้ที่จะเอาสมบัติชาติไปเป็นของเอกชน เจ็บแล้วต้องจำคนไทยจะยอมให้มีการฮุบ ปตท.เหมือนที่เคยเกิดในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ อีกไม่ได้ โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งสะท้อนจากพฤติกรรมของรัฐบาลตั้งแต่การปรับโครงสร้างพลังงานทั้งระบบ ส่งผลให้ราคาก๊าซที่ ปตท.ผูกขาดอยู่พุ่งสูงขึ้นทันที โดยในช่วงที่ผมเป็นฝ่ายค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ เคยคุยกับผมว่าจะทำธุรกิจด้านพลังงาน ผมมั่นใจว่า พ.ต.ท.ทักษิณกำลังหาประโยชน์จากแผนลงทุนของ ปตท.ที่กำหนดไว้ถึง 3.5 แสนล้านบาท ผ่านการกำกับดูแลของรัฐบาล โดยในวงเงินจำนวนดังกล่าว 1 ใน 3 เป็นการลงทุนด้านก๊าซ ซึ่งเชื่อมโยงถึงพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา บริเวณเกาะกงด้วย เพราะมีการระบุว่าพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวเป็นแหล่งพลังงานที่มีมูลค่ามหาศาล นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเดินสายเจรจาสัมปทานพลังงานที่เลบานอนแทน ปตท.อีกด้วย เรื่องเหล่านี้ผมไม่อยากให้สื่อมวลชนมองข้าม แล้วไปเสนอแต่ข่าวยาเสพติด เพราะถ้าเผลอเพียงนิดเดียวการฮุบ ปตท.ก็อาจเกิดขึ้นทันที" นายอลงกรณ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (5 ก.พ.) พรรคประขาธิปัตย์และคณะทำงานประสานงานเครือข่ายภาคประชาชน ได้จัดสัมนาหัวข้อ เปิดหูเปิดตาพลังงานไทย "ขายหุ้น ปตท.คนไทยได้หรือเสีย" โดยมีวิทยากรประกอบด้วย นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และรมว.พลังงานเงา พรรคประชาธิปัตย์ นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน โดยมีน.ส.ผ่องศรี ธาราภูมิ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
นายมนูญ กล่าวว่า สาเหตุที่รัฐบาลใช้เป็นข้ออ้างในการขายหุ้นปตท. เพราะรัฐบาลต้องเผชิญกับปัญหาการจัดทำงบประมาณ เพราะงบรายจ่ายประจำสูงถึงกว่า 80 % มีงบลงทุนเพียงกว่า 10 % เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถพัฒนาประเทศได้ จึงต้องกู้เงินเพิ่มขึ้น แต่ในการชำระหนี้ในการตั้งงบประมาณ จะต้องไม่เกิน 15% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ไม่เช่นนั้นจะเสียวินัยการคลัง จึงหาทางออกด้วยการโอนหนี้ในส่วนของรัฐวิสาหกิจให้กองทุนวายุภักดิ์ที่กระทรวงการคลังถือหุ่นใหญ่ เท่ากับโอนปตท.จากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา
"ถ้าตัวเลขหนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณอยู่ที่ 12% ตามที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลังระบุ ก็เป็นตัวเลขที่อันตราย แต่เรื่องนี้ก็ยังถกเถียงกันอยู่ เพราะนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง ระบุว่าอยู่ที่ 9 % ขณะที่การตั้งงบชำระหนี้ของรัฐบาลในงบประมาณรายจ่ายปี 2555 อยู่ที่ 1 % เท่านั้น ทำให้หนี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถใช้หนี้เงินต้นในระยะยาวได้ จึงทำให้รัฐบาลคิดที่จะลดหนี้สาธารณะลง ทำให้นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกยอ. ออกมาโยนหินถามทางถึงการโอนหุ้นให้กองทุนวายุภักดิ์ เพื่อให้การบินไทยและปตท. พ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ยังคงอำนาจในการดูแลสองหน่วยงานนี้ได้ต่อไปด้วยการขายให้กับกองทุนวายุภักดิ์ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นเกือบ 70 %"
อย่างไรก็ตาม เป็นห่วงว่ากองทุนวายุภักดิ์กำลังจะหมดอายุในปี 2556 หากมีการเปลี่ยนสถานะจากกองทุนปิดเป็นกองทุนเปิด จะทำให้เอกชนครอบครองหุ้นปตท. ผ่านการซื้อหุ้นจากกองทุนวายุภักดิ์ได้ ดังนั้น รัฐบาลต้องมีหลักเกณฑ์ให้สังคมมั่นใจว่ากระทรวงการคลังจะถือหุ้นในกองทุนวายุภักดิ์ 70 % เหมือนเดิม เพื่อคงสิทธิ์ในการกำกับดูแลสองหน่วยงานนี้ต่อไป
นายมนูญ กล่าวอีกว่า สำหรับผลกระทบในแง่การบริหารงานของปตท. จะทำให้การบริหารงานของปตท. มีความคล่องตัวมากขึ้น สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น ลงทุนได้เพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องขอความเห็นชอบเรื่องงบลงทุนจากครม. แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ การที่รัฐบาลกำกับดูแล ปตท. จะทำได้ดีเหมือนเดิมหรือไม่ ซึ่งตนยังเห็นว่าไม่มีปัญหา โดยเปรียบเทียบกับกรณีบางจากปิโตรเลียมที่มีการแปรรูปให้ ปตท.มาถือหุ้นแทน กระทรวงการคลัง ก็ไม่มีปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการ แต่ถ้ามีการแปรรูป ปตท.เป็นเอกชนเต็มตัวก็จะคำนึงถึงกำไรมากขึ้น ทำให้การดูแลเพื่อช่วยเหลือประชาชนทำได้น้อยลง และเข้าใจว่าประชาชนไม่มีความไว้วางใจนักการเมือง แต่ก็ยังเห็นความจำเป็นที่ต้องแก้ปัญหาหนี้สาธารณะด้วย โดยเห็นว่าหนี้ของ ปตท.และการบินไทยไม่ควรรวมอยู้ในหนี้สาธารณะ
ขณะที่ น.ส.รสนา มองว่า หากรัฐบาลทำเพื่อลดหนี้สาธารณะตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง ก็คิดว่าในความเป็นจริงไม่ได้ลดมากนัก เพราะหนี้ของ ปตท.ไม่ได้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) แต่เป็นหนี้ดี เพราะธุรกิจมีกำไร การที่รัฐบาลจะโยกหนี้จึงเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น โดยขณะนี้ประเทศมีหนี้สาธารณะอยู่ที่ประมาณ 42% ของจีดีพี โดยเพดานหนี้สาธารณะอยู่ที่ 60% การที่รัฐบาลคิดโยกหนี้เพื่อกู้เพิ่ม โดยไม่มีคำตอบว่าจะหารายได้จากไหนมาจ่ายหนี้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศตามมา โดยในปี 2554 ที่ผ่านมา จ่ายหนี้หมื่นล้านบาทเท่านั้นที่เป็นเงินต้น ส่วนที่เหลือกว่าแสนล้านเป็นดอกเบี้ย หากยังกู้หนี้เพิ่ม ก็จะมีความเสี่ยงในการชำระหนี้เงินต้นตามมา จึงต้องคิดให้รอบคอบโดยเฉพาะเมื่อมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิง ซึ่งถือว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ของครอบครัว อย่าฟังผู้ชายมากเกินไป เพราะเป็นประเภทใช้เงินอย่างเดียวแต่หาเงินไม่เป็น
น.ส.รสนากล่าวว่า คนที่คิดขายหุ้นให้กองทุนวายุภักดิ์เป็นคนเจ้าเล่ห์แสนกล พร้อมกับยกกรณีแปรรูป ปตท.ใน ยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐบาลที่เคยอ้างว่าจะให้รัฐถือหุ้น 75% แต่ปัจจุบันรัฐถือหุ้นเพียง 52% เท่านั้น ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลเคยระบุว่าการแปรรูป คือ รูปแบบหนึ่งของการคอรัปชั่นด้วยการแปรทรัพย์สินประเทศไปเป็นของเอกชน
"ต้องบอกว่า ทั้งโง่ บ้า และโกง คือ มีการเอาท่อก๊าซ ซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติของชาติไปรวมกับทรัพย์สินของ ปตท.โดยไม่มีการแยกออกมา ทั้งที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนลงทุนของ ปตท. ว่าจะต้องมีการแยกท่อก๊าซออกมาภายใน 1 ปี แต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นผู้นำ ปตท.ไปแปรรูปกลับไม่มีการดำเนินการรักษาผลประโยขน์ชาติในส่วนนี้ นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่ปฏิบัติตามสัญญาช่วงหาเสียงที่จะยกเลิกกฎหมายที่ถูกเรียกว่ากฎหมายขายชาติ 13 ฉบับ แต่กลับใช้ประโชขน์จากกฎหมายดังกล่าวมาแปรรูปรัฐวิสาหกิจชั้นดีของไทย โดยการขายหุ้น ปตท.ในขณะนั้นหมดเกลี้ยงภายใน 1 นาที 17 วินาที ทำให้ถูกมองว่านักการเมือง คือ ผู้ถือหุ้น ปตท. ตัวจริง โดยราคาหุ้น ปตท.จากที่เริ่มต้นในราคา 35 บาท ปัจจุบันราคาหุ้นสูงถึงกว่า 300 บาท และกำไรสะสมของ ปตท.ในปี 2553 สูงถึงกว่า 8 แสนล้านบาท จึงสมควรให้ ปตท.คืนกำไรให้ประชาชนด้วย"น.ส.รสนากล่าว
ด้านนายอลงกรณ์กล่าวว่า การแปรรูปแบบ พ.ต.ท.ทักษิณ คือ ขายสมบัติชาติถูกๆ กระบวนการแปรรูปไม่โปร่งใส เหมือนขายที่สุขุมวิท เท่าที่ดินบางบัวทอง เป็นการทุจรตเชิงนโยบาย มีหุ้นอุปการะคุณ 25 ล้านหุ้น โดยเป็นรายชื่อกลุ่มการเมืองในสังกัดพ.ต.ท.ทักษิณทั้งสิ้น จึงเกรงว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย เพราะการปรับครม.มีการนำชินโมเดลมาบริหารประเทศ ขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นแค่หุ่นเชิด จึงรู้สึกสงสารประเทศ เพราะผู้บริหารตัวจริง คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ประชาชนต้องลุกขึ้นมาต่อต้านเพื่อให้รัฐบาลก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณให้ได้ ไม่ให้มีการทุจริตเชิงนโยบายสนองผลประโยชน์ พ.ต.ท.ทักษิณ เกิดขึ้น
ทั้งนี้ จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ชัดเจนว่า จะคงความเป็นระฐวิสาหกิจของ ปตท.เอาไว้ เพื่อดูแลปัญหาความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคต เป็นกลไกของรัฐในการดูแลราคาน้ำมัน แก๊ส ที่โยงถึงราคาไฟฟ้า ไม่ให้เป็นภาระประชาชนมากจนเกินไป โดยเฉพาะเรื่องก๊าซซึ่ง ปตท.ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จึงจำเป็นต้องคงสถานะรัฐวิสาหกิจเอาไว้ ถ้ารัฐบาลดำเนินการแปรรูปให้เป็นของเอกชน พรรคประชาธิปัตย์จะคัดค้านถึงที่สุดทั้งในและนอกสภา โดยยืนยันว่า ประเทศไทยควรมีบริษัทน้ำมันแห่งชาติเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
"เรายอมไม่ได้ที่จะเอาสมบัติชาติไปเป็นของเอกชน เจ็บแล้วต้องจำคนไทยจะยอมให้มีการฮุบ ปตท.เหมือนที่เคยเกิดในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ อีกไม่ได้ โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งสะท้อนจากพฤติกรรมของรัฐบาลตั้งแต่การปรับโครงสร้างพลังงานทั้งระบบ ส่งผลให้ราคาก๊าซที่ ปตท.ผูกขาดอยู่พุ่งสูงขึ้นทันที โดยในช่วงที่ผมเป็นฝ่ายค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ เคยคุยกับผมว่าจะทำธุรกิจด้านพลังงาน ผมมั่นใจว่า พ.ต.ท.ทักษิณกำลังหาประโยชน์จากแผนลงทุนของ ปตท.ที่กำหนดไว้ถึง 3.5 แสนล้านบาท ผ่านการกำกับดูแลของรัฐบาล โดยในวงเงินจำนวนดังกล่าว 1 ใน 3 เป็นการลงทุนด้านก๊าซ ซึ่งเชื่อมโยงถึงพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา บริเวณเกาะกงด้วย เพราะมีการระบุว่าพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวเป็นแหล่งพลังงานที่มีมูลค่ามหาศาล นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเดินสายเจรจาสัมปทานพลังงานที่เลบานอนแทน ปตท.อีกด้วย เรื่องเหล่านี้ผมไม่อยากให้สื่อมวลชนมองข้าม แล้วไปเสนอแต่ข่าวยาเสพติด เพราะถ้าเผลอเพียงนิดเดียวการฮุบ ปตท.ก็อาจเกิดขึ้นทันที" นายอลงกรณ์กล่าว