วานนี้ (2 ก.พ.) นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรมว.คลัง แถลงหลังจากที่ไม่สามารถตั้งกระทู้ถามสดในสภาฯ เรื่องการให้กองทุนวายุภักษ์ เข้าไปซื้อหุ้นบริษัทปตท. ว่า ถือเป็นการทำให้ประชาชนเสียโอกาสได้รับคำชี้แจงจากรัฐบาลในการตั้งใจขายหุ้นปตท. ให้กับกองทุนวายุภักษ์ เพื่อแปรรูปเป็นบริษัทเอกชน ทั้งที่ประเด็นสำคัญประชาชนกำลังเดือดร้อนจากค่าครองชีพ สินค้าราคาแพง ซึ่งราคาพลังงงาน ถือเป็นตัวที่จะทำให้สินค้าราคาแพงถึง 10 % จึงอยากถามว่า ทำไมรัฐบาล ถึงมีนโยบายเช่นนี้ ทำไมจึงไม่สามารถตรึงราคาน้ำมัน และก๊าซแอลพีจี ได้เหมือนรัฐบาลก่อน
นายกรณ์ กล่าวว่า จากข่าวที่รัฐบาลต้องการแปรรูปบริษัทปตท. ถือเป็นการทำตามคำขอของปตท.ในการปลดล็อกเงื่อนไข ให้ปตท.ทำกำไรได้เต็มที่ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเดือนร้อน และเมื่อผลสำรวจ ประชาชน 80 % ไม่เห็นด้วย รัฐบาลจึงเงียบไป จากสภาพปัจจุบันรัฐบาลยังแทรกแซงปตท.ให้ดูแลประชาชนได้ต่อไป แต่ทำไมรัฐบาลจึงเลี่ยงที่จะตอบกระทู้นี้
นายกรณ์ กล่าวว่า เหตุผลหลักที่รัฐบาลหลีกเลี่ยงตอบกระทู้นี้ เพราะรัฐบาลมีความตั้งใจจริงในการขายหุ้นปตท. ซึ่งไม่ใช่การปลดล็อกหนี้สาธารณะ ตามที่อ้างแต่อย่างใด เพราะปตท. สามารถชำระหนี้ด้วยตัวเอง ไม่เป็นภาระของงบประมาณประเทศ แต่สาเหตุที่แท้จริงคือ ขณะนี้พรรคเพื่อไทย และ ตระกูลชินวัตร กลับเข้ามามีอำนาจ มีอะไรเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมพลังงงาน อันดับแรก คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หันมาสนใจลงทุนอุตสาหกรรมด้านพลังงาน เช่น แร่ถ่านหินในแอฟริกาใต้ ซึ่งกำลังมีคดีฟ้องร้องกันอยู่ หรือการเจรจากับประเทศต่างๆ โดยใช้สถานะประเทศอะไรก็ไม่ทราบ ไม่ว่าจะเป็นเขมร หรือ พม่า ล่าสุด ที่ออกมาโอ้อวดเองว่า มีการประสานกับประเทศเลบานอน ในเรื่องการลงทุนพลังงาน
" เป็นสัญญาณชัดเจนว่า เป้าหมายในการสร้างขุมทรัพย์ขุมใหม่ ของทักษิณ อยู่ในอุตสหกรรมพลังงานนี้เอง ซึ่งสอดคล้องกับการแต่งตั้งบุคคลใกล้ชิดให้เข้ามามีอำนาจหน้าที่ในการดูแลด้านพลังงาน ในส่วนที่เป็นของรัฐ เช่น การแต่งตั้งอดีตผู้บริหารสูงสุดในเครือไทยคม เครือกลุ่มชินฯ มาเป็นรมว.พลังงาน หรือก่อนหน้านั้น ในเดือน ต.ค.54 มีการแต่งตั้งอดีผู้บริหารของบริษัท เอไอเอส ซึ่งอยู่ในกลุ่มชินฯ เช่นเดียวกัน ที่เป็นลูกน้องเก่าคนสำคัญของ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้มาเป็นกรรมการของ บริษัทปตท. ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีบริษัทของคนในกลุ่มชินฯ เข้ามาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในกระทรวงพลังงาน จึงสามารถสรุปได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ทั้งในส่วนฝ่ายรัฐ และกลไกของรัฐ คือปตท." นายกรณ์ กล่าว
นายกรณ์ กล่าวว่า นี่ จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมเขาจึงต้องการปลดล็อก แปรสภาพปตท.จากวิสาหกิจ เป็นเอกชน เพราะเมื่อรัฐบาลถือหุ้นปตท. 49 % หลายอย่างจะเปลี่ยนแปลงไป
อันดับแรก ปตท.ในอนาคตจะลงทุนอะไรก็ไม่จำเป็นต้องเสนอแผนลงทุนต่อสภาพัฒน์ และ ครม. เหมือน เช่นปัจจุบัน
2. อนาคต ปตท. จะขายหุ้นล็อตใหญ่ให้กับใคร ก็ไม่ต้องขอมติจากครม.
3. เมื่อหลุดพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหาร และกรรมการบริษัท ปตท. ก็หลุดพ้นจากข่ายการดูแลของศาลปกครอง หลุดพ้นจาก ป.ป.ช. และคดีต่างๆ ก็จะหลุดพ้นจากการเป็นคดีอาญา
4. บัญชี และงบการเงิน ของปตท. ก็จะหลุดพ้นจากการตรวจสอบของ ปตท.ทั้งหมด จะเกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกที่รัฐบาลได้ขายหุ้นปตท.ให้กับกองทุนวายุภักษ์ และแปรสภาพปตท. จากรัฐวิสาหกิจ มาเป็นเอกชน ตอนนี้ทุกอย่างเริ่มเกิดขึ้นแล้ว อำนาจก็จะอยู่ในมือของ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่แล้ว ผ่านกระทรวงพลังงาน ปตท. และ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็สามารถซื้อรวบรวมหุ้นที่มีอยู่ในตลาด มาเป็นของตัวเองได้ โดยจะไม่มีกลไกของรัฐใดๆ จะฉุดรั้งนโยบายในการตัดสินใจใดๆ ของปตท.ในเรื่องต่างๆในอนาคต ก็จะส่งผลให้ผู้ที่มาครอบงำปตท. สามารถใช้อำนาจผูกขาดที่ปตท.มีอยู่ โดยอำนาจผูกขาดนั้นก็จะตอบโจทย์ ผู้ถือหุ้น หรือ เจ้าของบริษัท โดยรัฐบาลไม่สามารถ หรือไม่มีสิทธิเข้าไปแทรกแซงใดๆ อย่างที่ทำในปัจจุบันได้ ในที่สุดคนที่รับเคราะห์จากการแปรรูปครั้งนี้คือ ประชาชนคนทั้งประเทศ
นายกรณ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ เริ่มสัมผัสได้แล้ว จากการเริ่มลอยตัวราคาแก๊ส การจัดเก็บค่าธรรมเนียมกองทุนน้ำมัน สัญญาว่า จะยกเลิกกองทุนน้ำมัน หรือ จากนโยบายช่วยปตท. โดยการปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 30 % เป็น 23 % ซึ่ง ปตท.เป็นบริษัทที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด
จากนโยบายนี้ สามารถประหยัดเงินภาษีที่รัฐควรจะได้กว่า6 พันล้านบาท ต่อปี หรือจากนโยบายการยกเลิกการใช้ไฟฟ้าฟรี ที่ช่วยประชาชนผู้มีรายได้น้อย 4 ล้านครัวเรือน ก็เอื้อประโยชน์ต่อปตท. ทุกๆอย่างที่รัฐบาลทำ จึงมองได้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์เพื่อรองรับการแปรรูป ปตท. และการครอบงำปตท. อย่างสมบูรณ์แบบ ตนจึงจำเป็นต้องมาแถลงข่าว เตือนต่อสังคม เพราะถูกปิดปากจากสภา โดยประธานสภา ทั้งที่ควรจะปกป้องผลประโยชน์ สิทธิของประชาชน แต่ประธาน และส.ส. เพื่อไทยกลับเลือกที่จะปกป้องการกระทำที่ขัดต่อผลประโยชน์ของประชาชน โดยการปิดปากฝ่ายค้าน ที่จะตั้งคำถามในกระทู้ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องให้คำตอบที่ชัดเจนต่อไป
เมื่อถามว่า จะยื่นถามกระทู้ถามนี้ ในสัปดาห์หน้าต่อไปหรือไม่ นายกรณ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ตนเลือกลงมาแถลงข่าวผ่านพี่น้องประชาชน เพราะคิดว่าเรื่องนี้เป็นผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะค่าครองชีพ ซึ่งตนจะพิจารณาอีกครั้ง แต่ถ้ารัฐบาลติดตามข่าวสารผ่านสื่อ และเห็นว่าคำถามของตนสมควรที่รัฐต้องการจะให้คำตอบ รัฐบาลก็สามารถแถลงข่าวชี้แจงคำตอบ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงสัปดาห์หน้า ไม่จำเป็นต้องตั้งกระทู้ถาม มาเล่นลีลาในสภา คำถามตรงไปตรงมาคือ
1. รัฐบาลยังมีความคิดที่จะแปรรูป ปตท. มาเป็นบริษัทเอกชนหรือไม่
2 . รัฐบาลมีนโยบายที่จะกำกับดูแลควบคุมไม่ให้มีการครอบงำ ปตท. ให้ประชาชนเสียประโยชน์เรื่องค่าใช้จ่ายในพลังงานอย่างไร
3. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาการผูกขาดทางตลาดในสินค้าจำเป็นอย่างไรหรือไม่
นายกรณ์ กล่าวว่า จากข่าวที่รัฐบาลต้องการแปรรูปบริษัทปตท. ถือเป็นการทำตามคำขอของปตท.ในการปลดล็อกเงื่อนไข ให้ปตท.ทำกำไรได้เต็มที่ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเดือนร้อน และเมื่อผลสำรวจ ประชาชน 80 % ไม่เห็นด้วย รัฐบาลจึงเงียบไป จากสภาพปัจจุบันรัฐบาลยังแทรกแซงปตท.ให้ดูแลประชาชนได้ต่อไป แต่ทำไมรัฐบาลจึงเลี่ยงที่จะตอบกระทู้นี้
นายกรณ์ กล่าวว่า เหตุผลหลักที่รัฐบาลหลีกเลี่ยงตอบกระทู้นี้ เพราะรัฐบาลมีความตั้งใจจริงในการขายหุ้นปตท. ซึ่งไม่ใช่การปลดล็อกหนี้สาธารณะ ตามที่อ้างแต่อย่างใด เพราะปตท. สามารถชำระหนี้ด้วยตัวเอง ไม่เป็นภาระของงบประมาณประเทศ แต่สาเหตุที่แท้จริงคือ ขณะนี้พรรคเพื่อไทย และ ตระกูลชินวัตร กลับเข้ามามีอำนาจ มีอะไรเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมพลังงงาน อันดับแรก คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หันมาสนใจลงทุนอุตสาหกรรมด้านพลังงาน เช่น แร่ถ่านหินในแอฟริกาใต้ ซึ่งกำลังมีคดีฟ้องร้องกันอยู่ หรือการเจรจากับประเทศต่างๆ โดยใช้สถานะประเทศอะไรก็ไม่ทราบ ไม่ว่าจะเป็นเขมร หรือ พม่า ล่าสุด ที่ออกมาโอ้อวดเองว่า มีการประสานกับประเทศเลบานอน ในเรื่องการลงทุนพลังงาน
" เป็นสัญญาณชัดเจนว่า เป้าหมายในการสร้างขุมทรัพย์ขุมใหม่ ของทักษิณ อยู่ในอุตสหกรรมพลังงานนี้เอง ซึ่งสอดคล้องกับการแต่งตั้งบุคคลใกล้ชิดให้เข้ามามีอำนาจหน้าที่ในการดูแลด้านพลังงาน ในส่วนที่เป็นของรัฐ เช่น การแต่งตั้งอดีตผู้บริหารสูงสุดในเครือไทยคม เครือกลุ่มชินฯ มาเป็นรมว.พลังงาน หรือก่อนหน้านั้น ในเดือน ต.ค.54 มีการแต่งตั้งอดีผู้บริหารของบริษัท เอไอเอส ซึ่งอยู่ในกลุ่มชินฯ เช่นเดียวกัน ที่เป็นลูกน้องเก่าคนสำคัญของ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้มาเป็นกรรมการของ บริษัทปตท. ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีบริษัทของคนในกลุ่มชินฯ เข้ามาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในกระทรวงพลังงาน จึงสามารถสรุปได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ทั้งในส่วนฝ่ายรัฐ และกลไกของรัฐ คือปตท." นายกรณ์ กล่าว
นายกรณ์ กล่าวว่า นี่ จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมเขาจึงต้องการปลดล็อก แปรสภาพปตท.จากวิสาหกิจ เป็นเอกชน เพราะเมื่อรัฐบาลถือหุ้นปตท. 49 % หลายอย่างจะเปลี่ยนแปลงไป
อันดับแรก ปตท.ในอนาคตจะลงทุนอะไรก็ไม่จำเป็นต้องเสนอแผนลงทุนต่อสภาพัฒน์ และ ครม. เหมือน เช่นปัจจุบัน
2. อนาคต ปตท. จะขายหุ้นล็อตใหญ่ให้กับใคร ก็ไม่ต้องขอมติจากครม.
3. เมื่อหลุดพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหาร และกรรมการบริษัท ปตท. ก็หลุดพ้นจากข่ายการดูแลของศาลปกครอง หลุดพ้นจาก ป.ป.ช. และคดีต่างๆ ก็จะหลุดพ้นจากการเป็นคดีอาญา
4. บัญชี และงบการเงิน ของปตท. ก็จะหลุดพ้นจากการตรวจสอบของ ปตท.ทั้งหมด จะเกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกที่รัฐบาลได้ขายหุ้นปตท.ให้กับกองทุนวายุภักษ์ และแปรสภาพปตท. จากรัฐวิสาหกิจ มาเป็นเอกชน ตอนนี้ทุกอย่างเริ่มเกิดขึ้นแล้ว อำนาจก็จะอยู่ในมือของ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่แล้ว ผ่านกระทรวงพลังงาน ปตท. และ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็สามารถซื้อรวบรวมหุ้นที่มีอยู่ในตลาด มาเป็นของตัวเองได้ โดยจะไม่มีกลไกของรัฐใดๆ จะฉุดรั้งนโยบายในการตัดสินใจใดๆ ของปตท.ในเรื่องต่างๆในอนาคต ก็จะส่งผลให้ผู้ที่มาครอบงำปตท. สามารถใช้อำนาจผูกขาดที่ปตท.มีอยู่ โดยอำนาจผูกขาดนั้นก็จะตอบโจทย์ ผู้ถือหุ้น หรือ เจ้าของบริษัท โดยรัฐบาลไม่สามารถ หรือไม่มีสิทธิเข้าไปแทรกแซงใดๆ อย่างที่ทำในปัจจุบันได้ ในที่สุดคนที่รับเคราะห์จากการแปรรูปครั้งนี้คือ ประชาชนคนทั้งประเทศ
นายกรณ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ เริ่มสัมผัสได้แล้ว จากการเริ่มลอยตัวราคาแก๊ส การจัดเก็บค่าธรรมเนียมกองทุนน้ำมัน สัญญาว่า จะยกเลิกกองทุนน้ำมัน หรือ จากนโยบายช่วยปตท. โดยการปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 30 % เป็น 23 % ซึ่ง ปตท.เป็นบริษัทที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด
จากนโยบายนี้ สามารถประหยัดเงินภาษีที่รัฐควรจะได้กว่า6 พันล้านบาท ต่อปี หรือจากนโยบายการยกเลิกการใช้ไฟฟ้าฟรี ที่ช่วยประชาชนผู้มีรายได้น้อย 4 ล้านครัวเรือน ก็เอื้อประโยชน์ต่อปตท. ทุกๆอย่างที่รัฐบาลทำ จึงมองได้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์เพื่อรองรับการแปรรูป ปตท. และการครอบงำปตท. อย่างสมบูรณ์แบบ ตนจึงจำเป็นต้องมาแถลงข่าว เตือนต่อสังคม เพราะถูกปิดปากจากสภา โดยประธานสภา ทั้งที่ควรจะปกป้องผลประโยชน์ สิทธิของประชาชน แต่ประธาน และส.ส. เพื่อไทยกลับเลือกที่จะปกป้องการกระทำที่ขัดต่อผลประโยชน์ของประชาชน โดยการปิดปากฝ่ายค้าน ที่จะตั้งคำถามในกระทู้ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องให้คำตอบที่ชัดเจนต่อไป
เมื่อถามว่า จะยื่นถามกระทู้ถามนี้ ในสัปดาห์หน้าต่อไปหรือไม่ นายกรณ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ตนเลือกลงมาแถลงข่าวผ่านพี่น้องประชาชน เพราะคิดว่าเรื่องนี้เป็นผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะค่าครองชีพ ซึ่งตนจะพิจารณาอีกครั้ง แต่ถ้ารัฐบาลติดตามข่าวสารผ่านสื่อ และเห็นว่าคำถามของตนสมควรที่รัฐต้องการจะให้คำตอบ รัฐบาลก็สามารถแถลงข่าวชี้แจงคำตอบ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงสัปดาห์หน้า ไม่จำเป็นต้องตั้งกระทู้ถาม มาเล่นลีลาในสภา คำถามตรงไปตรงมาคือ
1. รัฐบาลยังมีความคิดที่จะแปรรูป ปตท. มาเป็นบริษัทเอกชนหรือไม่
2 . รัฐบาลมีนโยบายที่จะกำกับดูแลควบคุมไม่ให้มีการครอบงำ ปตท. ให้ประชาชนเสียประโยชน์เรื่องค่าใช้จ่ายในพลังงานอย่างไร
3. รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาการผูกขาดทางตลาดในสินค้าจำเป็นอย่างไรหรือไม่