ASTVผู้จัดการรายวัน- ฝ่ายค้านซัด"รัฐบาลนกแก้ว"ใช้เวลา 15วัน ร่าง พ.ร.ก. 4 ฉบับ ยึดอำนาจสภา เตรียมกู้เงินมาผลาญ "อภิสิทธิ์" ระบุแผนสร้างเขื่อนล้อม 7 นิคมอุตฯ ไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนได้ ด้าน "กิตติรัตน์" อ้างจำต้องออก พ.ร.ก.พ่วง 4 ฉบับใช้กู้ความเชื่อมั่นกลับมา ยัน 5 หมื่นล้าน พอจ่าย "ยิ่งลักษณ์" น้ำตาคลอ เดินหน้าพ.ร.ก.เงินกู้ ขณะที่พ.ร.ก. 2 ฉบับที่ยื่นตีความ ถึงมือศาลรธน. แล้ว
เมื่อเวลา 13.30 น. วานนี้ (1 ก.พ.) มีการประชุมสภาผู้แทนราษฏร โดยมีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ เป็นประธานในที่ประชุม
นายสมศักดิ์ ได้แจ้งให้ที่ประชุมสภาฯรับทราบถึงการพิจารณา พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ว่า ที่ประชุมสภาฯ สามารถพิจารณา พ.ร.ก.ได้เพียง 2 ฉบับ คือ พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 และ พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ.2555
ทั้งนี้ หลังจากมี ส.ส.เข้าชื่อ 1ใน 5 ยื่นต่อประธานสภาฯ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 1 และวรรค 2 หรือไม่ ทำให้สภาฯต้องชะลอการพิจารณาพ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับนี้ไว้ ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ ได้ยื่นพ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
**"ปู"ร่วมประชุมแต่ให้"โต้ง"ชี้แจง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการพิจารณาร่าง พ.ร.ก. 2 ฉบับคือ พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติฯ และ พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยฯ มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมประชุม แต่ให้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นผู้อ่านรายงานในที่ประชุมแทน
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า หนี้ที่จะเกิดขึ้นจากการตั้งกองทุนจำนวน 5 หมื่นล้านบาท รัฐบาลจะดูแลให้มีการชำระหนี้ได้อย่างมั่นคงและแน่นอน เพราะจากการดำเนินการในส่วนอื่นจะทำให้หนี้สาธารณะที่ไม่เคยได้รับการดูแลอย่างชัดเจน จะถูกดูแลให้เป็นหนี้ที่เรียกว่า หนี้สาธารณะที่ไม่เป็นภาระต่องบประมาณ เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้รับดูแลให้เกิดการจัดการบริหารหนี้ส่วนนี้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 ถูกจัดเป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายเป็นลำดับ 5 ของโลก รวมความเสียหาย 2.6 ล้านครัวเรือน ขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้ชัดเจน ประมาณการณ์ว่า จีดีพี ลดลงร้อยละ 2.3 ในปี 2554 ขยายเพียงร้อยละ 1.5 จากเดิมร้อยละ 4
ทั้งนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นได้กระจายตัวไปในทุกภาคส่วนของประเทศโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อรวมทั้งหมดนอกและในเขตนิคมอุตสาหกรรม มีจำนวน 4.7 แสนล้านบาท อีกทั้งยังเกิดความเสียหายในรายได้ในอนาคตด้วย เฉพาะโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมลดลง 3 แสนกว่าล้านบาท และต่อเนื่องไปเป็นวงกว้าง เพราะเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ มีผลต่อห่วงโซ่การผลิต และการจ้างแรงงานในกระบวนการห่วงโซ่อุปทานการผลิตด้วย
ในภาคเกษตรกรรม พื้นที่เพาะปลูกเสียหาย 11 ล้านไร่ สูญเสียรายได้ 4.4 หมื่นล้านบาท และสูญเสียในภาคการพาณิชย์ เกษตร และการส่งออกจำนวนมาก ซึ่งมีความสำคัญต่อรายได้ของประเทศถึงร้อยละ 70 ทำให้จากเดิมได้คาดการณ์ว่า การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 25 ขณะนี้ต้องปรับลดเหลือเพียงร้อยละ17 ส่งผลต่อความมีเสถียรภาพในส่วนการค้าส่ง และการค้าปลีก อย่างมีนัยสำคัญ
ขณะเดียวกัน จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ยังส่งผลให้ผู้ประกอบการประกันวินาศภัยด้วย โดยขณะนี้ผู้ประกอบธุรกิจส่วนนี้ ประสบปัญหาด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการรับประกันวินาศภัยที่เกิดจากภัยพิบัติ ส่งผลให้ประชาชนและผู้ประกอบการต้องเสียเบี้ยประกันเป็นจำนวนสูงมาก หรือไม่สามารถเอาประกันภัยได้ มีผลต่อการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพื่อนำมาฟื้นฟูอุตสาหกรรม
รัฐบาลจึงเล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วน อันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการตรา พ.ร.ก.กองทุนเพื่อจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติในวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
ส่วนพ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ.2555 วงเงินไม่เกิน 3 แสนล้านบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน โดยกำหนดให้ ธปท. มีอำนาจในการพิจารณากู้ยืมแก่สถาบันการเงินเป็นการเฉพาะชั่วคราว เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปให้กู้ยืมแก่ผู้เสียหายในกลุ่มดังกล่าวจากปัญหาอุทกภัยในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดย ธปท.และสถาบันการเงินร่วมกันสนับสนุนเงินกู้ให้กับผู้ได้รับเสียหาย ธปท.จะสมทบร้อยละ 70 ของการให้สินเชื่อคิดอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงิน ร้อยละ0.01 ต่อปี และให้ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินสมทบร้อยละ 30 โดยให้คิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้ ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี
ทั้งนี้ได้กำหนดให้สถาบันการเงินยื่นคำขอกู้จากธปท.ได้ภายหลังจาก พ.ร.ก.ผ่านการพิจารณาทางกฎหมายแล้ว และให้ดำเนินการด้านกู้ยืมให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธ.ค. 56 และสถาบันการเงินต้องส่งคืนเงินกู้แก่ ธปท. ภายในระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่ได้รับเงินกู้
** ยอมรับเพิ่มหนี้สาธารณะ 4 แสนล.
นายกิตติรัตน์ กล่าวด้วยว่า การกู้เงินดังกล่าวรัฐบาลทราบดีว่าเป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะให้แก่รัฐบาลถึง 4 แสนล้านบาท
"ขณะนี้รัฐบาลไทยมีหนี้สาธารณะ 4.45 ล้านล้านบาท เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2.04 ล้านล้านบาท และหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อดูแลความเสียหายให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 1.14 ล้านล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 1.08 ล้านล้านบาท และหนี้อื่นๆอีก 1.8 แสนล้านบาท เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อดูแลความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2540 ปัจจุบันมีวงเงินหนี้คงค้างอยู่ในจำนวนดังกล่าวตั้งแต่ปี 2549-ปัจจุบัน ได้สามารถชำระหนี้เงินต้นโดย ธปท.จำนวนเงิน 1.6 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 ของวงเงินทั้งหมด ขณะนี้กระทรวงการคลัง และธปท.ได้ปรึกษาจนมีความเข้าใจร่วมกันแล้วว่า ธปท.มีความพร้อมในการดูแลกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ โดยดำเนินการให้เจ้าหนี้ เป็นผู้ถือพันธบัตร และตั๋วสัญญาใช้เงินของกระทรวงการคลัง สามารถได้รับชำระดอกเบี้ยเงินต้นผ่านการดูแลของธปท." นายกิตติรัตน์ กล่าว
**จวกรัฐบาลเลี่ยงการตรวจสอบ
จากนั้นที่ประชุมได้เปิดให้สมาชิกอภิปรายแสดงความเห็น โดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ต่างอภิปรายไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลเร่งรีบออก พ.ร.ก. 4 ฉบับ ยึดอำนาจสภา โดยใช้เวลาเพียง 15 วันเท่านั้น ไม่มีความรอบคอบ และความชัดเจน และสร้างปัญหาให้ประเทศเป็นเงินจำนวนมหาศาล
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฏร กล่าวโดยชี้แจงถึงเหตุผลที่ฝ่ายค้านยื่นตีความ ร่าง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 และ ร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 เพราะเห็นว่าไม่ใช่เหตุของความจำเป็นเร่งด่วน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
**โวยน้ำท่วมภาคใต้ ไม่เข้าเงื่อนไข
ส่วนร่าง พ.ร.ก. 2 ฉบับ ที่กำลังพิจารณา ฝ่ายค้านเห็นถึงความจำเป็นเพราะทราบดีว่าเกิดความเสียหายอย่างมากกับภาคเอกชน และมีเครื่องมือให้ฟื้นขึ้นมาด้วยการให้สินเชื่อต่ำ แต่ก็มีประเด็นข้อสังเกตหลายประเด็น เช่น ไม่สามารถไปช่วยผู้ประสบอุทกภัยชาวใต้ได้เลย เพราะในกฏหมายเขียนในนิยาม ”อุทกภัย “ว่า เกิดในปี 54 แต่ภาคใต้เสียหายมากคือต้นเดือน ม.ค.55 หมายความว่าเงิน 3 แสนล้านบาท ที่จะนำไปช่วย จะไม่สามารถปล่อยสินเชื่อให้กับชาวใต้ได้ ตนหวังว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ความ เจตนา แต่อาจจะมองข้ามเรื่องนี้ไป
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีการอ้างถึงกิจการในนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง เชื่อว่ามีจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้านิยาม แต่สมควรได้รับความช่วยเหลือ หากรายใหญ่ไม่ฟื้น ก็จะกระทบไปทั่ว
นายอภิสิทธิ์ ยกตัวอย่างความคิดที่จะสร้างเขื่อน หรือกำแพงรอบนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ซึ่งยังไม่สามารถตอบโจทย์ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ ถ้าน้ำท่วมอย่างปีที่ผ่านมา แม้มีเขื่อนป้องกัน แต่กระบวนการผลิตก็ชะงัก และจะมีมูลค่าความเสียหายหลายเท่ามากกว่าทรัพย์สินด้วยซ้ำ
ส่วน พ.ร.ก.การจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ฝ่ายค้านไม่ส่งตีความ แต่ปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่การจ่ายสินไหมจากภัยน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา หากแต่เป็นการเอาประกันภัยในอนาคตคือปีนี้ เพราะมีสัญญาณว่า บริษัทที่ทำหน้าที่รับประกันจากต่างประเทศยังไม่มีความมั่นใจ
นอกจากนี้การประกันภัยพิบัติตามกองทุนฉบับนี้ รูปแบบการทำงานยังไม่มีความชัดเจน หลักที่แท้จริงเป็นรูปแบบไหน เพราะมีกำหนดแค่ทุกอย่างเป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด เท่ากับกฏหมายให้อำนาจมากว่าจะเลือกใช้วิธีการใดแก้ปัญหา และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือ ปัญหาวงเงินการจัดสรรที่อาจจะเกิดขึ้น กฏหมายให้ไปกู้ 5 หมื่นล้านบาท จะเพียงพอหรือไม่ เพราะตัวเลขจากการประเมินน้ำท่วมที่ผ่านมา จะต้องจ่ายสินไหมที่เกิดขึ้นไม่น่าจะต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท มั่นใจได้อย่างไรว่า เงิน 5 หมื่นล้านนั้นจะพอ อีกทั้งมีการประมาณการว่า การจะทำประกันภัยทุกภาคส่วนรวมกันแล้ว 1 ล้านล้านบาท คือ 20 เท่าของ 5 หมื่นล้านบาท สมเหตุสมผลหรือไม่ เพราะประมาณการความเสียหายที่เกิดขึ้น น่าจะมากกว่านั้น ถือว่ารัฐบาลรับประกันใช่หรือไม่ว่า ถ้าจ่ายมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท รัฐบาลจะช่วยออกให้ และยังเปิดช่องให้คณะกรรมการพิจารณาให้คุณให้โทษ กับผู้ประกอบการเป็นรายๆ ก็ได้เพราะทุกอย่างอยู่ที่คณะกรรมการ ดังนั้นจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่มีการเลือกปฏิบัติ
** ยันพ.ร.ก.เรียกความเชื่อมั่นได้ผล
ด้านนายกิตติรัตน์ ได้ชี้แจงโดยยอมรับว่า มีความหนักใจระหว่างการทำ พ.ร.ก.2 ฉบับนี้ แต่จำเป็นต้องพ่วง พ.ร.ก.อีก 2 ฉบับเข้ามาด้วย เพราะเป็นเชื่อมโยงถึงกัน รัฐบาลจำเป็นต้องเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา ในปีงบประมาณ 2555 เราได้ตั้งยอดเงินชำระดอกเบี้ยหนี้สาธารณะของเราเอาไว้ที่ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท และเรามีพันธบัตร ที่ถึงครบกำหนดชำระในปีนี้ 2.5 แสนล้านบาท หากเวลาที่ประเทศถูกมองว่าไม่น่าเชื่อถือ และขาดความเชื่อมั่น ยอดดอกเบี้ยที่ต้องชำระและยอดเงินต้นที่ถึงกำหนดชำระคืนจะถูกรวมกันว่าทำไมไม่ชำระคืนตามกำหนด
ส่วนประเด็นที่มีการเป็นห่วงวงเงินกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ 5 หมื่นล้านบาท จะสามารถดูแลระดับความเสี่ยงภัยพิบัติได้หรือไม่ ขอยืนยันว่า เงิน 5 หมื่นล้านบาท พอแน่นอนหากดำเนินการควบคู่ไปกับการดำเนินการด้านอื่นๆ นอกจากนี้ ยืนยันว่า การระดมทุน 3.5 แสนล้านบาท มีความจำเป็นต้องใช้เงินทันที 1.5 แสนล้านบาท ในปีแรก
**ชี้ 4 พ.ร.ก.ใบเสร็จการบริหารน้ำห่วย
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พ.ร.ก.ที่รัฐบาลออกในขณะนี้ เป็นการยึดอำนาจจากรัฐสภา ไปออกกฎหมายโดยใช้อำนาจของรัฐบาลเอง การที่รัฐบาลออก พ.ร.ก.4 ฉบับ โดยอ้างว่า เป็นผลจากมหาวิกฤตอุทกภัย จนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ดังนั้น พ.ร.ก.4 ฉบับ จึงเป็นใบเสร็จชัดเจนที่ชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องการจัดการปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล ซึ่งทั้ง 4 ฉบับ เป็นเรื่องการกู้ที่ส่งผลกระทบต่อภาระลูกหลาน
" รัฐบาลมีธรรมาภิบาล ความโปร่งใส น่าเชื่อถือเพียงใด เอาแค่เหตุน้ำท่วมปีที่แล้วก็ขาดความโปร่งใส ถูกวิจารณ์มาก มาครั้งนี้มาออก พ.ร.ก.ยังขาดความรอบคอบ เพราะทั้ง 4 ฉบับ ใช้เวลาตรากฎหมายเพียง 15 วัน โดยใช้เวลาพิจารณาในครม. ครั้งแรกวันที่ 27 ธ.ค.54 สร้างภาระเป็นล้านล้านบาทให้ลูกหลาน" นายสาทิตย์ กล่าว
**"ปู"น้ำตาซึมตอกปชป.เล่นเกม
ด้านน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ ที่โรงแรมดุสิตธานี เมื่อเวลา 11.00 น. ว่า เป็นความจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องออก พ.ร.ก.โดยเร่งด่วน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับต่างชาติในการลงทุน ซึ่งทุกคนก็เห็นว่า ความเสียหายต่างๆ ที่ผ่านมาเกิดขึ้นมาก จำนวนเงิน 120,000 ล้านบาทใช้ในวันนี้ ก็เป็นการแก้ปัญหา และเยียวยา ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ฝ่ายค้านออกมาท้าทายรัฐบาลว่า ถ้าพ.ร.ก.เงินกู้ 4 ฉบับขัดต่อรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ตนไม่ขอพูดในประเด็นนี้ ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่นายกฯตอบคำถาม มีสีหน้าไม่สู้ดี ตาแดง และ มีน้ำตาคลอในตาเล็กน้อย
** คำร้องตีความพ.ร.ก.ถึงศาลรธน.
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เมื่อเวลา 17.20 น. วานนี้ (1 ก.พ.) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับคำร้องกรณีประธานสภาผู้แทนผู้ราษฎร ส่งความเห็นของนายกรณ์ จาติกวนิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และส.ส. 128 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัย พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 วงเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ( การโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านบาท ) ไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหาร ที่ได้มีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 26 ม.ค. ว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคหนึ่ง และวรรคสองหรือไม่แล้ว ซึ่งหลังจากนี้ ทางสำนักงานจะทำการศึกษาคำร้อง พร้อมกับแจ้งให้กับคณะตุลาการได้รับทราบ และคาดว่าต้นสัปดาห์หน้า จะสามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้
อย่างไรก็ตาม คำร้องของสมาชิกวุฒิสภาที่ยื่นผ่านประธานวุฒิสภา ขอให้วินิจฉัย พ.ร.ก. เดียวกันนี้ ยังไม่มีการส่งถึงสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
เมื่อเวลา 13.30 น. วานนี้ (1 ก.พ.) มีการประชุมสภาผู้แทนราษฏร โดยมีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ เป็นประธานในที่ประชุม
นายสมศักดิ์ ได้แจ้งให้ที่ประชุมสภาฯรับทราบถึงการพิจารณา พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ว่า ที่ประชุมสภาฯ สามารถพิจารณา พ.ร.ก.ได้เพียง 2 ฉบับ คือ พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 และ พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ.2555
ทั้งนี้ หลังจากมี ส.ส.เข้าชื่อ 1ใน 5 ยื่นต่อประธานสภาฯ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 1 และวรรค 2 หรือไม่ ทำให้สภาฯต้องชะลอการพิจารณาพ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับนี้ไว้ ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ ได้ยื่นพ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
**"ปู"ร่วมประชุมแต่ให้"โต้ง"ชี้แจง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการพิจารณาร่าง พ.ร.ก. 2 ฉบับคือ พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติฯ และ พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยฯ มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมประชุม แต่ให้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นผู้อ่านรายงานในที่ประชุมแทน
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า หนี้ที่จะเกิดขึ้นจากการตั้งกองทุนจำนวน 5 หมื่นล้านบาท รัฐบาลจะดูแลให้มีการชำระหนี้ได้อย่างมั่นคงและแน่นอน เพราะจากการดำเนินการในส่วนอื่นจะทำให้หนี้สาธารณะที่ไม่เคยได้รับการดูแลอย่างชัดเจน จะถูกดูแลให้เป็นหนี้ที่เรียกว่า หนี้สาธารณะที่ไม่เป็นภาระต่องบประมาณ เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้รับดูแลให้เกิดการจัดการบริหารหนี้ส่วนนี้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 ถูกจัดเป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายเป็นลำดับ 5 ของโลก รวมความเสียหาย 2.6 ล้านครัวเรือน ขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้ชัดเจน ประมาณการณ์ว่า จีดีพี ลดลงร้อยละ 2.3 ในปี 2554 ขยายเพียงร้อยละ 1.5 จากเดิมร้อยละ 4
ทั้งนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นได้กระจายตัวไปในทุกภาคส่วนของประเทศโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อรวมทั้งหมดนอกและในเขตนิคมอุตสาหกรรม มีจำนวน 4.7 แสนล้านบาท อีกทั้งยังเกิดความเสียหายในรายได้ในอนาคตด้วย เฉพาะโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมลดลง 3 แสนกว่าล้านบาท และต่อเนื่องไปเป็นวงกว้าง เพราะเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ มีผลต่อห่วงโซ่การผลิต และการจ้างแรงงานในกระบวนการห่วงโซ่อุปทานการผลิตด้วย
ในภาคเกษตรกรรม พื้นที่เพาะปลูกเสียหาย 11 ล้านไร่ สูญเสียรายได้ 4.4 หมื่นล้านบาท และสูญเสียในภาคการพาณิชย์ เกษตร และการส่งออกจำนวนมาก ซึ่งมีความสำคัญต่อรายได้ของประเทศถึงร้อยละ 70 ทำให้จากเดิมได้คาดการณ์ว่า การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 25 ขณะนี้ต้องปรับลดเหลือเพียงร้อยละ17 ส่งผลต่อความมีเสถียรภาพในส่วนการค้าส่ง และการค้าปลีก อย่างมีนัยสำคัญ
ขณะเดียวกัน จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ยังส่งผลให้ผู้ประกอบการประกันวินาศภัยด้วย โดยขณะนี้ผู้ประกอบธุรกิจส่วนนี้ ประสบปัญหาด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการรับประกันวินาศภัยที่เกิดจากภัยพิบัติ ส่งผลให้ประชาชนและผู้ประกอบการต้องเสียเบี้ยประกันเป็นจำนวนสูงมาก หรือไม่สามารถเอาประกันภัยได้ มีผลต่อการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพื่อนำมาฟื้นฟูอุตสาหกรรม
รัฐบาลจึงเล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วน อันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการตรา พ.ร.ก.กองทุนเพื่อจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติในวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
ส่วนพ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ.2555 วงเงินไม่เกิน 3 แสนล้านบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน โดยกำหนดให้ ธปท. มีอำนาจในการพิจารณากู้ยืมแก่สถาบันการเงินเป็นการเฉพาะชั่วคราว เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปให้กู้ยืมแก่ผู้เสียหายในกลุ่มดังกล่าวจากปัญหาอุทกภัยในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดย ธปท.และสถาบันการเงินร่วมกันสนับสนุนเงินกู้ให้กับผู้ได้รับเสียหาย ธปท.จะสมทบร้อยละ 70 ของการให้สินเชื่อคิดอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงิน ร้อยละ0.01 ต่อปี และให้ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินสมทบร้อยละ 30 โดยให้คิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้ ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี
ทั้งนี้ได้กำหนดให้สถาบันการเงินยื่นคำขอกู้จากธปท.ได้ภายหลังจาก พ.ร.ก.ผ่านการพิจารณาทางกฎหมายแล้ว และให้ดำเนินการด้านกู้ยืมให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธ.ค. 56 และสถาบันการเงินต้องส่งคืนเงินกู้แก่ ธปท. ภายในระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่ได้รับเงินกู้
** ยอมรับเพิ่มหนี้สาธารณะ 4 แสนล.
นายกิตติรัตน์ กล่าวด้วยว่า การกู้เงินดังกล่าวรัฐบาลทราบดีว่าเป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะให้แก่รัฐบาลถึง 4 แสนล้านบาท
"ขณะนี้รัฐบาลไทยมีหนี้สาธารณะ 4.45 ล้านล้านบาท เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2.04 ล้านล้านบาท และหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อดูแลความเสียหายให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 1.14 ล้านล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 1.08 ล้านล้านบาท และหนี้อื่นๆอีก 1.8 แสนล้านบาท เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อดูแลความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2540 ปัจจุบันมีวงเงินหนี้คงค้างอยู่ในจำนวนดังกล่าวตั้งแต่ปี 2549-ปัจจุบัน ได้สามารถชำระหนี้เงินต้นโดย ธปท.จำนวนเงิน 1.6 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 ของวงเงินทั้งหมด ขณะนี้กระทรวงการคลัง และธปท.ได้ปรึกษาจนมีความเข้าใจร่วมกันแล้วว่า ธปท.มีความพร้อมในการดูแลกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ โดยดำเนินการให้เจ้าหนี้ เป็นผู้ถือพันธบัตร และตั๋วสัญญาใช้เงินของกระทรวงการคลัง สามารถได้รับชำระดอกเบี้ยเงินต้นผ่านการดูแลของธปท." นายกิตติรัตน์ กล่าว
**จวกรัฐบาลเลี่ยงการตรวจสอบ
จากนั้นที่ประชุมได้เปิดให้สมาชิกอภิปรายแสดงความเห็น โดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ต่างอภิปรายไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลเร่งรีบออก พ.ร.ก. 4 ฉบับ ยึดอำนาจสภา โดยใช้เวลาเพียง 15 วันเท่านั้น ไม่มีความรอบคอบ และความชัดเจน และสร้างปัญหาให้ประเทศเป็นเงินจำนวนมหาศาล
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฏร กล่าวโดยชี้แจงถึงเหตุผลที่ฝ่ายค้านยื่นตีความ ร่าง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 และ ร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 เพราะเห็นว่าไม่ใช่เหตุของความจำเป็นเร่งด่วน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
**โวยน้ำท่วมภาคใต้ ไม่เข้าเงื่อนไข
ส่วนร่าง พ.ร.ก. 2 ฉบับ ที่กำลังพิจารณา ฝ่ายค้านเห็นถึงความจำเป็นเพราะทราบดีว่าเกิดความเสียหายอย่างมากกับภาคเอกชน และมีเครื่องมือให้ฟื้นขึ้นมาด้วยการให้สินเชื่อต่ำ แต่ก็มีประเด็นข้อสังเกตหลายประเด็น เช่น ไม่สามารถไปช่วยผู้ประสบอุทกภัยชาวใต้ได้เลย เพราะในกฏหมายเขียนในนิยาม ”อุทกภัย “ว่า เกิดในปี 54 แต่ภาคใต้เสียหายมากคือต้นเดือน ม.ค.55 หมายความว่าเงิน 3 แสนล้านบาท ที่จะนำไปช่วย จะไม่สามารถปล่อยสินเชื่อให้กับชาวใต้ได้ ตนหวังว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ความ เจตนา แต่อาจจะมองข้ามเรื่องนี้ไป
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีการอ้างถึงกิจการในนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง เชื่อว่ามีจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้านิยาม แต่สมควรได้รับความช่วยเหลือ หากรายใหญ่ไม่ฟื้น ก็จะกระทบไปทั่ว
นายอภิสิทธิ์ ยกตัวอย่างความคิดที่จะสร้างเขื่อน หรือกำแพงรอบนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ซึ่งยังไม่สามารถตอบโจทย์ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ ถ้าน้ำท่วมอย่างปีที่ผ่านมา แม้มีเขื่อนป้องกัน แต่กระบวนการผลิตก็ชะงัก และจะมีมูลค่าความเสียหายหลายเท่ามากกว่าทรัพย์สินด้วยซ้ำ
ส่วน พ.ร.ก.การจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ฝ่ายค้านไม่ส่งตีความ แต่ปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่การจ่ายสินไหมจากภัยน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา หากแต่เป็นการเอาประกันภัยในอนาคตคือปีนี้ เพราะมีสัญญาณว่า บริษัทที่ทำหน้าที่รับประกันจากต่างประเทศยังไม่มีความมั่นใจ
นอกจากนี้การประกันภัยพิบัติตามกองทุนฉบับนี้ รูปแบบการทำงานยังไม่มีความชัดเจน หลักที่แท้จริงเป็นรูปแบบไหน เพราะมีกำหนดแค่ทุกอย่างเป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด เท่ากับกฏหมายให้อำนาจมากว่าจะเลือกใช้วิธีการใดแก้ปัญหา และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือ ปัญหาวงเงินการจัดสรรที่อาจจะเกิดขึ้น กฏหมายให้ไปกู้ 5 หมื่นล้านบาท จะเพียงพอหรือไม่ เพราะตัวเลขจากการประเมินน้ำท่วมที่ผ่านมา จะต้องจ่ายสินไหมที่เกิดขึ้นไม่น่าจะต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท มั่นใจได้อย่างไรว่า เงิน 5 หมื่นล้านนั้นจะพอ อีกทั้งมีการประมาณการว่า การจะทำประกันภัยทุกภาคส่วนรวมกันแล้ว 1 ล้านล้านบาท คือ 20 เท่าของ 5 หมื่นล้านบาท สมเหตุสมผลหรือไม่ เพราะประมาณการความเสียหายที่เกิดขึ้น น่าจะมากกว่านั้น ถือว่ารัฐบาลรับประกันใช่หรือไม่ว่า ถ้าจ่ายมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท รัฐบาลจะช่วยออกให้ และยังเปิดช่องให้คณะกรรมการพิจารณาให้คุณให้โทษ กับผู้ประกอบการเป็นรายๆ ก็ได้เพราะทุกอย่างอยู่ที่คณะกรรมการ ดังนั้นจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่มีการเลือกปฏิบัติ
** ยันพ.ร.ก.เรียกความเชื่อมั่นได้ผล
ด้านนายกิตติรัตน์ ได้ชี้แจงโดยยอมรับว่า มีความหนักใจระหว่างการทำ พ.ร.ก.2 ฉบับนี้ แต่จำเป็นต้องพ่วง พ.ร.ก.อีก 2 ฉบับเข้ามาด้วย เพราะเป็นเชื่อมโยงถึงกัน รัฐบาลจำเป็นต้องเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา ในปีงบประมาณ 2555 เราได้ตั้งยอดเงินชำระดอกเบี้ยหนี้สาธารณะของเราเอาไว้ที่ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท และเรามีพันธบัตร ที่ถึงครบกำหนดชำระในปีนี้ 2.5 แสนล้านบาท หากเวลาที่ประเทศถูกมองว่าไม่น่าเชื่อถือ และขาดความเชื่อมั่น ยอดดอกเบี้ยที่ต้องชำระและยอดเงินต้นที่ถึงกำหนดชำระคืนจะถูกรวมกันว่าทำไมไม่ชำระคืนตามกำหนด
ส่วนประเด็นที่มีการเป็นห่วงวงเงินกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ 5 หมื่นล้านบาท จะสามารถดูแลระดับความเสี่ยงภัยพิบัติได้หรือไม่ ขอยืนยันว่า เงิน 5 หมื่นล้านบาท พอแน่นอนหากดำเนินการควบคู่ไปกับการดำเนินการด้านอื่นๆ นอกจากนี้ ยืนยันว่า การระดมทุน 3.5 แสนล้านบาท มีความจำเป็นต้องใช้เงินทันที 1.5 แสนล้านบาท ในปีแรก
**ชี้ 4 พ.ร.ก.ใบเสร็จการบริหารน้ำห่วย
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พ.ร.ก.ที่รัฐบาลออกในขณะนี้ เป็นการยึดอำนาจจากรัฐสภา ไปออกกฎหมายโดยใช้อำนาจของรัฐบาลเอง การที่รัฐบาลออก พ.ร.ก.4 ฉบับ โดยอ้างว่า เป็นผลจากมหาวิกฤตอุทกภัย จนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ดังนั้น พ.ร.ก.4 ฉบับ จึงเป็นใบเสร็จชัดเจนที่ชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องการจัดการปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล ซึ่งทั้ง 4 ฉบับ เป็นเรื่องการกู้ที่ส่งผลกระทบต่อภาระลูกหลาน
" รัฐบาลมีธรรมาภิบาล ความโปร่งใส น่าเชื่อถือเพียงใด เอาแค่เหตุน้ำท่วมปีที่แล้วก็ขาดความโปร่งใส ถูกวิจารณ์มาก มาครั้งนี้มาออก พ.ร.ก.ยังขาดความรอบคอบ เพราะทั้ง 4 ฉบับ ใช้เวลาตรากฎหมายเพียง 15 วัน โดยใช้เวลาพิจารณาในครม. ครั้งแรกวันที่ 27 ธ.ค.54 สร้างภาระเป็นล้านล้านบาทให้ลูกหลาน" นายสาทิตย์ กล่าว
**"ปู"น้ำตาซึมตอกปชป.เล่นเกม
ด้านน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ ที่โรงแรมดุสิตธานี เมื่อเวลา 11.00 น. ว่า เป็นความจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องออก พ.ร.ก.โดยเร่งด่วน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับต่างชาติในการลงทุน ซึ่งทุกคนก็เห็นว่า ความเสียหายต่างๆ ที่ผ่านมาเกิดขึ้นมาก จำนวนเงิน 120,000 ล้านบาทใช้ในวันนี้ ก็เป็นการแก้ปัญหา และเยียวยา ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ฝ่ายค้านออกมาท้าทายรัฐบาลว่า ถ้าพ.ร.ก.เงินกู้ 4 ฉบับขัดต่อรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ตนไม่ขอพูดในประเด็นนี้ ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่นายกฯตอบคำถาม มีสีหน้าไม่สู้ดี ตาแดง และ มีน้ำตาคลอในตาเล็กน้อย
** คำร้องตีความพ.ร.ก.ถึงศาลรธน.
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เมื่อเวลา 17.20 น. วานนี้ (1 ก.พ.) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับคำร้องกรณีประธานสภาผู้แทนผู้ราษฎร ส่งความเห็นของนายกรณ์ จาติกวนิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และส.ส. 128 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัย พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 วงเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ( การโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านบาท ) ไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหาร ที่ได้มีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 26 ม.ค. ว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคหนึ่ง และวรรคสองหรือไม่แล้ว ซึ่งหลังจากนี้ ทางสำนักงานจะทำการศึกษาคำร้อง พร้อมกับแจ้งให้กับคณะตุลาการได้รับทราบ และคาดว่าต้นสัปดาห์หน้า จะสามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้
อย่างไรก็ตาม คำร้องของสมาชิกวุฒิสภาที่ยื่นผ่านประธานวุฒิสภา ขอให้วินิจฉัย พ.ร.ก. เดียวกันนี้ ยังไม่มีการส่งถึงสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด