วานนี้( 30 ม.ค.)ในการประชุมวุฒิสภา มีวาระพิจารณากระทู้ถามด่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ เรื่องการจ่ายเงินเพื่อชดเชยเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อและผู้เสียหายตลอดจนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความนรุนแรงและความขัดแย้งทางการเมือง เมื่อวันที่ 10 ม.ค.55 โดยมี 3 สมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ได้แก่ นายวีรวิท คงศักดิ์, นายสมชาย แสวงการ และ นางตรึงใจ บูรณสมภพ ทั้งนี้นายกฯ ได้มอบหมายให้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ฐานะประธานคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(ป.คอป.) มาชี้แจงแทน
ทั้งนี้ไฮไลต์ของการตอบกระทู้ดังกล่าว เป็นในส่วนของนายสมชาย กล่าวถึงตัวเลขการจ่ายเงินเยียวยาของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ในส่วนของการถูกคุมขังเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด เช่น เกินกว่า 180 วัน ได้ค่าชดเชย 1 ล้านบาท เกินกว่า 90 วันได้ ค่าชดเชย 5 แสนบาท เมื่อหารตัวเลขเฉลี่ยแล้วพบว่าได้รับค่าชดเชยวันละ 8,333 บาท ขณะที่ผู้ต้องหาคดีอาญาอื่น ๆ ได้วันละ 200 บาท ซึ่งมีความแตกต่างในเรื่องมาตรฐานหลายเท่าตัว ทำให้สังคมเกิดตั้งคำถามว่าแท้จริงแล้วการจ่ายเงินดังกล่าวจะนำไปสู่ความปรองดองได้จริงหรือเป็นการยั่วยุให้เกิดการชุมนุมในอนาคต รวมถึงในวันข้างหน้าหากเกิดความขัดแย้งต่าง ๆ และมีผู้สูญเสีย จะใช้มาตรฐานการเยียวยาดังกล่าวหรือไม่
โดยนายยงยุทธ ชี้แจงว่า เรื่องการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปตามข้อเสนอของคอป. ในส่วนของป.คอป. เป็นผู้ที่ทำตามข้อเสนอดังกล่าวเท่านั้น ส่วนประเด็นในอนาคตจะมีเหตุรุนแรง ขัดแย้งเกิดขึ้น และมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอย่างไรนั้น เป็นเรื่องของ คอป. เป็นผู้มีหน้าที่โดยตรง และการจ่ายเงินดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นไปตามสิทธิมนุษยชนจะได้รับ หากรัฐบาลไปละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน ส่วนจะใช้เยียวยากรณีอื่นๆ ด้วยหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี
นายสมชาย กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะแกนนำคนเสื้อแดง เคยระบุผ่านสื่อว่า บุคคลที่สูญเสียจากการชุมนุมจะได้รับค่าดูแลรายละ 10 ล้านบาท จากนั้นรัฐบาลได้ออกมาตรการค่าชดเชยดังกล่าวออกมา ซึ่งตนไม่ทราบว่าเป็นตัวเลขที่ผ่านการเจรจาต่อรองมาแล้วหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนั้นนายสมชายได้นำคลิปวีดีโอความยาวประมาณ 10 นาทีมาเปิดในที่ประชุม เป็นภาพการปราศรัยปลุกใจผู้ชุมนุมของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และภาพชายชุดดำที่มีอาวุธแฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้ นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี ลุกประท้วงขอให้ระงับการฉายคลิปวีดีโอดังกล่าวเนื่องจากกังวลว่าจะเป็นการตอกย้ำถึงความขัดแย้งในอดีต เช่นเดียวกับนายมงคล ศรีคำแหง ส.ว.จันทบุรี ที่ขอให้ประธานในที่ประชุมระงับการฉายคลิปดังกล่าว โดยพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ได้ขอยุติการเปิดคลิปวีดีโอและนายสมชาย กล่าวต่อไปว่า ภาพที่ปรากฎในคลิปวีดีโอดังกล่าว ยืนยันชัดเจนว่ามีกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ ใช้อาวุธสงครามในการชุมนุม ฐานะเป็นผู้นำรัฐบาลต้องเร่งสอบสวน หาบุคคลทำผิดมาดำเนินคดีให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตามคนกลุ่มที่ใช้อาวุธดังกล่าวที่ขณะนี้ถูกคุมขังจะได้รับการเยียวยาด้วยหรือไม่ หากสอบสวนแล้วพบว่าคดีมีการพลิก
โดยนายยงยุทธ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตนไม่อยากให้เกิดซ้ำอีก อย่างไรก็ตามกรณีที่นำภาพดังกล่าวเผยแพร่ จะทำให้เกิดความแตกแยก และเป็นบาปเป็นกรรมกันไป เนื่องจากมีคนตาย และไม่รู้ว่าดวงวิญญาณไปอยู่ที่ไหน ซึ่งตนคาดว่าดวงวิญญาณดังกล่าวนั้นยังคงเรียกร้องหาความเป็นธรรมอยู่
**ภรรยา"ร่มเกล้า"จวกรัฐเยียวยาคนผิด
นายกิตติพงษ์ กิตยิรักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า การจัดเสวนาเรื่องความปรองดองในกระแสพลวัตทางสังคมและการเมือง เป็นการรับฟังความเห็นจากนานาชาติ เพื่อนำมาปรับใช้ด้านยุทศาสตร์เพื่อการปรองดอง เนื่องจาก คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) พิจารณาแล้วเห็นว่าสถานการณ์ในปัจจุบัน สังคมไทยยังมีความแตกแยกทางความคิด มีการแบ่งขั้วทางการเมือง และการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างรวดเร็วเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้นครั้งใหม่ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเคลื่อนไหวเรื่องกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ การเสนอให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรม รวมถึงบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นขององค์กรอิสระ และถูกมองว่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ด้าน นายคณิต ณ นคร ประธานคอป. กล่าวว่า ในช่วงพ.ศ.2546-2547 ที่ผ่านมา เกิดลักษณะการใช้กฎหมายไม่ตรงไปตรงมา จึงเป็นปัญหารากเหง้าที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง จึงเปรียบเทียบช่วงเวลานั้นเหมือนในสมัยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อดีตผู้นำประเทศเยอรมันนี ที่กฎหมายไม่มีความศักดิ์สิทธิ์
ขณะที่นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยาของพ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม นายทหารที่เสียชีวิตจากเหตุปะทะกันของเจ้าหน้าที่ทหารและผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จกานแห่งชาติ (นปช.) เปิดเผยว่า การปรองดองจะต้องควบคู่กับความยุติธรรม ไม่ใช่แค่เยียวยาคนเสื้อเหลือง-คนเสื้อแดง แต่ยังมีผู้เกี่ยวข้องมากกว่านั้นอีกมากที่สูญเสียและยังไม่มีการชดเชย
นางนิชา กล่าวว่า การหาความจริงในเหตุการณ์ที่ผ่านมา ควรจะต้องเริ่มจากหาข้อเท็จจริง ไปสู่กระบวนการให้ความยุติธรรม จากนั้นจึงจะเริ่มการเยียวยา แต่ทว่าเกิดความสับสนที่การเยียวยาถูกนำขึ้นมาก่อน ซึ่งต้องมีการพิสูจน์ก่อนว่าผู้ได้รับการเยียวยาเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ ทั้งนี้ที่มีการกล่าวถึงผู้เสียชีวิต91ศพ ไม่ได้มีแต่คนเสื้อแดงเท่านั้น แต่ยังมี เจ้าหน้าที่ทหาร อาสาสมัครกู้ภัย ประชาชนที่ถูกลูกหลง และผู้เข้าร่วมการชุมนุม แบ่งเป็น2ส่วนคือ ผู้ชุมนุมอย่างสงบ และผู้ชุมนุมที่ใช้ความรุนแรง ซึ่งทุกกลุ่มที่อยู่ใน91ศพควรได้รับการเยียวยาเหมือนกันหรือไม่
"รมว.ยุติธรรมได้ส่งเอกสารความคืบหน้าล่าสุดการเสียชีวิตของพ.อ.ร่มเกล้า มาให้พบว่าไม่สามารถระบุผู้กระทำได้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ สืบสวนว่า การเสียชีวิตเกิดจากการกระทำของผู้ชุมนุมนปช. สุดท้ายก็มีการให้ประกันตัวไปหมด" นิชา กล่าว
นายเอกชัย ศรีวิลาศ ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมมาภิบาล กล่าวว่า สังคมไทยยังขาดคนให้ความรู้ความถูกต้องอย่างชัดเจน ตต้องยอมรับว่าประชาชนรับฟังสื่อเพียงด้านเดียวเท่านั้นทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม ทั้งนี้ไม่ต้องการให้คอป.นำกระแสสังคมมาเป็นที่ตั้งในเรื่องของการเยียวยา เพราะหากนโยบายเยียวยากำหนดเพียงปี47-53 ก็จะไม่ยุติธรรมกับประชาชนที่ล้มตายในเหตุการณ์อื่นๆ ส่วนกรณีความพยายามแก้กฎหมาย ม.112 ขอตั้งข้อสังเกตว่าเกิดจากความจงใจบางอย่างในช่วงนี้เท่านั้น จึงขอถามว่าถ้าแก้ม.112แล้วจะทำให้สังคมดีขึ้นได้จริงหรือไม่
ทั้งนี้ไฮไลต์ของการตอบกระทู้ดังกล่าว เป็นในส่วนของนายสมชาย กล่าวถึงตัวเลขการจ่ายเงินเยียวยาของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ในส่วนของการถูกคุมขังเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด เช่น เกินกว่า 180 วัน ได้ค่าชดเชย 1 ล้านบาท เกินกว่า 90 วันได้ ค่าชดเชย 5 แสนบาท เมื่อหารตัวเลขเฉลี่ยแล้วพบว่าได้รับค่าชดเชยวันละ 8,333 บาท ขณะที่ผู้ต้องหาคดีอาญาอื่น ๆ ได้วันละ 200 บาท ซึ่งมีความแตกต่างในเรื่องมาตรฐานหลายเท่าตัว ทำให้สังคมเกิดตั้งคำถามว่าแท้จริงแล้วการจ่ายเงินดังกล่าวจะนำไปสู่ความปรองดองได้จริงหรือเป็นการยั่วยุให้เกิดการชุมนุมในอนาคต รวมถึงในวันข้างหน้าหากเกิดความขัดแย้งต่าง ๆ และมีผู้สูญเสีย จะใช้มาตรฐานการเยียวยาดังกล่าวหรือไม่
โดยนายยงยุทธ ชี้แจงว่า เรื่องการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปตามข้อเสนอของคอป. ในส่วนของป.คอป. เป็นผู้ที่ทำตามข้อเสนอดังกล่าวเท่านั้น ส่วนประเด็นในอนาคตจะมีเหตุรุนแรง ขัดแย้งเกิดขึ้น และมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอย่างไรนั้น เป็นเรื่องของ คอป. เป็นผู้มีหน้าที่โดยตรง และการจ่ายเงินดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นไปตามสิทธิมนุษยชนจะได้รับ หากรัฐบาลไปละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน ส่วนจะใช้เยียวยากรณีอื่นๆ ด้วยหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี
นายสมชาย กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะแกนนำคนเสื้อแดง เคยระบุผ่านสื่อว่า บุคคลที่สูญเสียจากการชุมนุมจะได้รับค่าดูแลรายละ 10 ล้านบาท จากนั้นรัฐบาลได้ออกมาตรการค่าชดเชยดังกล่าวออกมา ซึ่งตนไม่ทราบว่าเป็นตัวเลขที่ผ่านการเจรจาต่อรองมาแล้วหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนั้นนายสมชายได้นำคลิปวีดีโอความยาวประมาณ 10 นาทีมาเปิดในที่ประชุม เป็นภาพการปราศรัยปลุกใจผู้ชุมนุมของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และภาพชายชุดดำที่มีอาวุธแฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้ นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี ลุกประท้วงขอให้ระงับการฉายคลิปวีดีโอดังกล่าวเนื่องจากกังวลว่าจะเป็นการตอกย้ำถึงความขัดแย้งในอดีต เช่นเดียวกับนายมงคล ศรีคำแหง ส.ว.จันทบุรี ที่ขอให้ประธานในที่ประชุมระงับการฉายคลิปดังกล่าว โดยพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ได้ขอยุติการเปิดคลิปวีดีโอและนายสมชาย กล่าวต่อไปว่า ภาพที่ปรากฎในคลิปวีดีโอดังกล่าว ยืนยันชัดเจนว่ามีกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ ใช้อาวุธสงครามในการชุมนุม ฐานะเป็นผู้นำรัฐบาลต้องเร่งสอบสวน หาบุคคลทำผิดมาดำเนินคดีให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตามคนกลุ่มที่ใช้อาวุธดังกล่าวที่ขณะนี้ถูกคุมขังจะได้รับการเยียวยาด้วยหรือไม่ หากสอบสวนแล้วพบว่าคดีมีการพลิก
โดยนายยงยุทธ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตนไม่อยากให้เกิดซ้ำอีก อย่างไรก็ตามกรณีที่นำภาพดังกล่าวเผยแพร่ จะทำให้เกิดความแตกแยก และเป็นบาปเป็นกรรมกันไป เนื่องจากมีคนตาย และไม่รู้ว่าดวงวิญญาณไปอยู่ที่ไหน ซึ่งตนคาดว่าดวงวิญญาณดังกล่าวนั้นยังคงเรียกร้องหาความเป็นธรรมอยู่
**ภรรยา"ร่มเกล้า"จวกรัฐเยียวยาคนผิด
นายกิตติพงษ์ กิตยิรักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า การจัดเสวนาเรื่องความปรองดองในกระแสพลวัตทางสังคมและการเมือง เป็นการรับฟังความเห็นจากนานาชาติ เพื่อนำมาปรับใช้ด้านยุทศาสตร์เพื่อการปรองดอง เนื่องจาก คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) พิจารณาแล้วเห็นว่าสถานการณ์ในปัจจุบัน สังคมไทยยังมีความแตกแยกทางความคิด มีการแบ่งขั้วทางการเมือง และการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างรวดเร็วเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้นครั้งใหม่ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเคลื่อนไหวเรื่องกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ การเสนอให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรม รวมถึงบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นขององค์กรอิสระ และถูกมองว่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ด้าน นายคณิต ณ นคร ประธานคอป. กล่าวว่า ในช่วงพ.ศ.2546-2547 ที่ผ่านมา เกิดลักษณะการใช้กฎหมายไม่ตรงไปตรงมา จึงเป็นปัญหารากเหง้าที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง จึงเปรียบเทียบช่วงเวลานั้นเหมือนในสมัยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อดีตผู้นำประเทศเยอรมันนี ที่กฎหมายไม่มีความศักดิ์สิทธิ์
ขณะที่นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยาของพ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม นายทหารที่เสียชีวิตจากเหตุปะทะกันของเจ้าหน้าที่ทหารและผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จกานแห่งชาติ (นปช.) เปิดเผยว่า การปรองดองจะต้องควบคู่กับความยุติธรรม ไม่ใช่แค่เยียวยาคนเสื้อเหลือง-คนเสื้อแดง แต่ยังมีผู้เกี่ยวข้องมากกว่านั้นอีกมากที่สูญเสียและยังไม่มีการชดเชย
นางนิชา กล่าวว่า การหาความจริงในเหตุการณ์ที่ผ่านมา ควรจะต้องเริ่มจากหาข้อเท็จจริง ไปสู่กระบวนการให้ความยุติธรรม จากนั้นจึงจะเริ่มการเยียวยา แต่ทว่าเกิดความสับสนที่การเยียวยาถูกนำขึ้นมาก่อน ซึ่งต้องมีการพิสูจน์ก่อนว่าผู้ได้รับการเยียวยาเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ ทั้งนี้ที่มีการกล่าวถึงผู้เสียชีวิต91ศพ ไม่ได้มีแต่คนเสื้อแดงเท่านั้น แต่ยังมี เจ้าหน้าที่ทหาร อาสาสมัครกู้ภัย ประชาชนที่ถูกลูกหลง และผู้เข้าร่วมการชุมนุม แบ่งเป็น2ส่วนคือ ผู้ชุมนุมอย่างสงบ และผู้ชุมนุมที่ใช้ความรุนแรง ซึ่งทุกกลุ่มที่อยู่ใน91ศพควรได้รับการเยียวยาเหมือนกันหรือไม่
"รมว.ยุติธรรมได้ส่งเอกสารความคืบหน้าล่าสุดการเสียชีวิตของพ.อ.ร่มเกล้า มาให้พบว่าไม่สามารถระบุผู้กระทำได้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ สืบสวนว่า การเสียชีวิตเกิดจากการกระทำของผู้ชุมนุมนปช. สุดท้ายก็มีการให้ประกันตัวไปหมด" นิชา กล่าว
นายเอกชัย ศรีวิลาศ ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมมาภิบาล กล่าวว่า สังคมไทยยังขาดคนให้ความรู้ความถูกต้องอย่างชัดเจน ตต้องยอมรับว่าประชาชนรับฟังสื่อเพียงด้านเดียวเท่านั้นทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม ทั้งนี้ไม่ต้องการให้คอป.นำกระแสสังคมมาเป็นที่ตั้งในเรื่องของการเยียวยา เพราะหากนโยบายเยียวยากำหนดเพียงปี47-53 ก็จะไม่ยุติธรรมกับประชาชนที่ล้มตายในเหตุการณ์อื่นๆ ส่วนกรณีความพยายามแก้กฎหมาย ม.112 ขอตั้งข้อสังเกตว่าเกิดจากความจงใจบางอย่างในช่วงนี้เท่านั้น จึงขอถามว่าถ้าแก้ม.112แล้วจะทำให้สังคมดีขึ้นได้จริงหรือไม่