ASTVผู้จัดการรายวัน -"ยิ่งลักษณ์" ฟุ้งต่างชาติพอใจแผนน้ำท่วม พื้นฐานประเทศแกร่ง-รัฐบาลมีเสถียรภาพ อ้อนนักวิชาการ กยน.อย่าลาออก กำลังทำรายละเอียดแผนฟื้นฟู "สมิทธ" หยอด ไม่มีเหตุผลให้ลาออก ด้าน "สุริยะใส" ชำแหละ กยน.-กยอ. รัฐแค่หวังอาศัยสร้างภาพ แนะนักวิชาการอย่าเป็นแค่ไม้ประดับใต้ปีกนักการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 55 เวลา 10.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ Congress Center เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เข้าร่วมการอภิปราย Public Private Interaction on Thailand เพื่อพบปะ และพูดคุยกับผู้บริหารของบริษัทที่มีความสนใจการค้าการลงทุนในไทย โดยนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และแนวนโยบายในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลไทย เพื่อให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลสามารถแก้ปัญหาวิกฤติอุทกภัยและมีแผน เพื่อให้ความมั่นใจว่าวิกฤติจะไม่เกิดขึ้นอีก
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ชี้แจงว่า รัฐบาลได้วางแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำด้วยงบประมาณ 11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งกำลังดำเนินการไปด้วยดี ในแผนดังกล่าวจะมีการสร้างคันกั้นน้ำตามที่ต่างๆ เพื่อป้องกันสาธารณูปโภค และเขตเศรษฐกิจ ทางน้ำและระบบระบายน้ำ จะมีการปรับปรุงเพื่อให้น้ำไหลผ่านได้ดีขึ้น พัฒนาระบบเตือนภัยและพยากรณ์ รวมถึงการตั้งหน่วยสั่งการเดียว หรือ Single Command Authority เพื่อการบริหารจัดการน้ำ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพในการบริหารภาวะวิกฤติ
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า ปัญหาอุทกภัยส่งผลกระทบต่อการเติบโตของ GDP โดยลดลงประมาณร้อยละ 2 แต่ทั้งนี้ ไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง จึงคาดว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะเป็นลักษณะ V shape ด้วย GDP ที่จะโตขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 5 ในปี 2555 ด้วยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และวิกฤติหนี้ในสหภาพยุโรป รัฐบาลจึงตั้งเป้าการบริโภค และอุปสงค์ภายในประเทศเป็นปัจจัยหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องดำเนินการด้วยนโยบายต่างๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มกำลังการซื้อของผู้มีรายได้น้อย และเพิ่มช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเงินทุนเพื่อเริ่มธุรกิจของตนเอง
นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแผนการเร่งด่วนในการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคสำคัญ โดยเฉพาะระบบการขนส่งมวลชน และรถไฟ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และยังนำไปสู่การสร้างงานและการพัฒนาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ด้วย
ขณะเดียวกันสถานะทางการเงินการคลังปัจจุบันของไทยอยู่ในภาวะที่ดีเยี่ยม มีหนี้สาธารณะต่อ GDP ประมาณร้อยละ 40 เงินทุนแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสูงประมาณ 180 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสี่เท่าของหนี้ภายนอก ดังนั้น จึงช่วยให้ไทยมีสถานะที่เข้มแข็งในการหาเงินทุนสำหรับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคที่สำคัญ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลยังคงยึดมั่นในการส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน โดยการสร้างสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจที่เสรีและแข่งขันได้ รัฐบาลจะลดภาษีรายได้ของบริษัท Corporate Income Tax ลงเหลือร้อยละ 20 ในปีหน้า จะขจัดข้อจำกัดสำหรับบริษัทที่จะตั้งสำนักงานใหญ่ในภูมิภาค หรือ Regional Headquarters ในประเทศไทย พร้อมทั้ง ยังมีแรงงานทักษะที่มีคุณภาพเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ดังนั้น ไทยจึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจ เพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ในฐานะศูนย์กลางของประชาคมอาเซียน ที่มีผู้บริโภครวมกันกว่า 600 ล้านคน
นอกจากนี้ ประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 จะมีการไหลเวียนของสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานทักษะที่อิสระ และมีการไหลของทุนที่อิสระยิ่งขึ้น เหล่านี้จะได้รับการส่งเสริมจากการเชื่อมโยงภายในอาเซียนและนอกอาเซียนที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเสริมเรื่องความมั่นคงทางการเมืองและประชาธิปไตยของไทย ว่า การเลือกตั้งเมื่อปีที่ผ่านมาที่มีความสำคัญและทุกภาคส่วนยอมรับผลการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นว่า ประชาชนไทยปราถนาที่จะสร้างความปรองดองและประชาธิปไตยที่แท้จริง รัฐบาลสนับสนุนการดำเนินงานสู่การสร้างปรองดองแห่งชาติ ยึดในนิติรัฐ และส่งเสริมความเป็นเอกภาพของสังคม ด้วยสิ่งเหล่านี้เป็นดังพื้นฐานที่เข้มแข็งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ต่อมานายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากการประชุมที่เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส ว่า การเดินทางไปดาวอสครั้งนี้ ถือว่าเราประสบความสำเร็จ และได้รับความมั่นใจจากนานาประเทศ เพราะหลังจากที่เราชี้แจงถึงแผนฟื้นฟู จากปัญหาอุทกภัย หลายประเทศก็ให้ความมั่นใจ
ขณะเดียวกันเราได้พบกับกลุ่มคนที่อยากลงทุนเพิ่มซึ่งเป็นโอกาสใหม่ของไทยที่จะได้ประชาสัมพันธ์ว่าเรามีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดีอย่างไร และที่สำคัญประเทศไทย ถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคอื่นในส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ดี และเป็นจุดแข็งของประเทศไทย ตรงนี้เป็นส่วนที่เราเพิ่มเติมขึ้นมา ได้เรียนรู้ และมาดูในเรื่องความตื่นตัวของเศรษฐกิจโลกว่าทุกประเทศมีความตื่นตัวอย่างไร และมีความกังวลอย่างไร ซึ่งจะนำข้อกังวลใจเหล่านี้ มาดูในส่วนของประเทศไทยด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติและการก่อการร้าย เป็นอุปสรรคทำให้แสดงความเชื่อมั่นลำบากหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่หรอกค่ะ ส่วนใหญ่เราเองได้บอกในเรื่องนโยบายต่างๆ ที่เราได้ทำ เรื่องแผนการลงทุนแก้ไขปัญหาระยะยาว หลายๆประเทศก็พอใจ และมีการเจรจาและพบปะบริษัทใหญ่หลายบริษัท
***กำลังทำรายละเอียดแผนจัดการน้ำ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังกล่าวถึงกรณี นายสมิทธ ธรรมโรช กรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการวางระบบการบริหารจัดการน้ำ หรือ กยน. ให้สัมภาษณ์ตำหนิแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐไม่ชัดเจน และเตรียมถอนตัวออกว่า จริงๆ ต้องเรียนว่าแผนบริหารจัดการน้ำ ซึ่งเป็นแผนใหญ่ของประเทศ ก็ต้องค่อยๆ ออกไป ซึ่งแผนบริหารจัดการน้ำได้มีการสั่งการแล้ว ซึ่งเขากำลังทำงานอยู่ ขณะเดียวกันก็มีการปล่อยน้ำไป ยังไงก็ต้องกลับเข้ามาแผน กยน. อยู่แล้ว ขอเรียนว่าทุกอย่างมีแผน แต่อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ทันใจ ก็มีความเข้าใจ และเห็นใจทั้ง 2 ฝ่าย ทางคณะกรรมการเองก็เป็นห่วง เพราะภารกิจต่างๆ ก็ถือว่าเป็นภารกิจที่หนักหนามากสำหรับประเทศ และสำหรับคณะกรรมการที่ต้องเร่งติดตาม แต่ขณะเดียวกัน คนทำงานก็คงต้องเร่งมือด้วย ยืนยันว่าในช่วงหน้าฝนหน้า จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมและป้องกันให้ดี
เมื่อถามว่า จะสร้างความเชื่อมั่นอย่างไร ในเมื่อตัวคณะกรรมการเอง ยังออกมาพูดว่ารัฐบาลจ้องแต่หาเงิน แต่แผนยังไม่พร้อม จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับคณะกรรมการอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า จริงๆแล้ว พูดวันนี้อาจจะบอกว่ายังไม่เห็นแผน ซึ่งแผนเราไม่สามารถชี้แจงลงไปในรายละเอียดทุกอย่าง ขอให้มาดูได้กับคนทำงาน จะรู้หมด แต่ว่าในส่วนของการทำงาน ผลเท่านั้น ซึ่งจะค่อยๆที่จะเร่งออกมาให้ ขณะนี้ทุกคนก็ทำงานขอความเห็นใจด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯได้ชี้แจงกับนักวิชาการ เพื่อขอให้เขากลับมาทำงานหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ถือว่าเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องช่วยกัน อยากจะขอเชิญชวน และขอร้องขอทุกฝ่ายมีความอดทนด้วยกัน เพราะวิกฤตครั้งนี้เป็นมหาวิกฤตที่ทุกคนเจอพร้อมๆกัน และหลายๆฝ่าย วันนี้เราก็มาปรับจากเรื่องของทิศทาง จากนักวิชาการและแนวทางปฏิบัติซึ่งต้องใช้เวลา และแน่นอนเราจะไม่ปล่อยเวลาสูญเสียไป และต้องเร่งทำให้ทันกับเวลา
เมื่อถามว่านายกฯหวั่นหรือไม่ว่านักวิชาการจะลาออก น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ต้องเรียกว่าขอความร่วมมือช่วยกัน จริงๆ อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ได้มีการพูดคุยกันมากกว่า ท่านก็อาจจะเป็นห่วง ตนคิดว่าทุกคนก็ต้องทำหน้าที่ให้พร้อม เห็นใจกรรมการและประธานอนุกรรมการด้วย ทุกท่านก็ทำงานก็อยากขอให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพื่อเราจะได้ฟันฝ่าวิกฤตนี้ และฟื้นฟูประเทศโดยเร็ว
**"สมิทธ" เผยไม่มีเหตุผลต้องออก
ด้านนายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในฐานะ กรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) กล่าวยืนยันว่า ตนไม่ลาออกจาก กยน. เพราะไม่มีเหตุผลต้องลาออก แม้จะกล่าวว่าส่วนตัวไม่มีความสำคัญ และเชื่อว่าแม้จะลาออก กรรมการคนอื่นสามารถทำงานได้ แต่ทั้งนี้ ไม่ได้น้อยใจ และขอบคุณนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่เป็นห่วง และเอาใจช่วย แม้จะไม่ได้คุยกันโดยตรง
นายสมิทธ ยังกล่าวอีกว่าไม่สำคัญตัวขนาดที่จะคิดว่านายกรัฐมนตรี จะต้องมาพูดคุยทำความเข้าใจด้วย พร้อมกันนี้ยังยืนยันว่าใน กยน. ไม่มีปัญหาขัดแย้ง แต่กรรมการมีความคิดของตัวเองที่ต่างกันไป
**ไม่ทราบ"สุเมธ-ปราโมทย์" จะออก
สำหรับกรณีนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ที่ปรึกษา กยน. และ นายปราโมทย์ ไม้กลัด กรรมการ กยน. จะลาออกหรือไม่นั้น ส่วนตัวไม่ทราบ แต่เชื่อว่าทั้ง 2 คน คงไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบกับการทำงานของรัฐบาล
** "กลุ่มกรีน"เสนอแนวทางฟื้นฟู
วานนี้ ( 29 ม.ค.) ที่โรงแรมจันทรเกษม ปาร์ค นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มการเมืองสีเขียว (Green Politics) ได้แถลงข่าว ถึงการติดตามตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่มีการแต่งตั้งขึ้นโดยรัฐบาลตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 พ.ย.54 ว่า หากมองในทางภาพ ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสวยหรู แต่ในแนวปฏิบัติ 3 เดือนที่ผ่านมา ของกยอ.และ กยน. ทางกลุ่มกรีนมีความเห็นและข้อเสนอแนะในหลายด้าน คือ
1. แม้รัฐบาลจะมอบหมายให้คณะกรรมการทั้งกยอ.และ กยน. มีอำนาจหน้าที่ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการ รวมถึงฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน การเยียวยารับผิดชอบต่อประชาชน ก็ยังเป็นภาระหน้าที่โดยตรงที่รัฐบาลไม่สามารถลอยตัวได้ แต่จากการตรวจสอบพบว่า การเยียวยาเฉพาะหน้า เงินเยียวยาครอบครัวละ 5,000 บาท ที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากมาก ก็ปรากฏชัดว่า การทำงานของรัฐบาลล้มเหลวซ้ำซาก จนมีการชุมนุมประท้วงของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นระยะๆ รวมไปถึงกรณีเงินเยียวยาน้ำท่วม กรณีของในบ้านเสียหายทั้งหลัง 30,000 บาท หรือเสียหายบางส่วน 20,000 บาท ก็เป็นเงื่อนไขที่ยุ่งยากเช่นกัน จนมีการประท้วง ถือเป็นการประจานความล้มเหลวซ้ำซาก ในการบริหารจัดการของรัฐบาลอย่างชัดเจน ดังนั้น รัฐบาลควรปรับลดเงื่อนไขในการเยียวยาให้เท่าทันสถานการณ์ และสอดคล้องกับปัญหา
2. คณะกรรม กยอ. ซึ่งกรรมส่วนใหญ่ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นทักษิณคอนเนกชัน ทำให้กรอบคิดในการกำหนดแผนฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศ ยังเป็นกรอบคิดเก่า วนเวียนอยู่ในเขาวงกตของการพัฒนาที่ล้มเหลว ไม่เป็นธรรม และเป็นศัตรูกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักคิดในการเอางบประมาณเป็นตัวตั้ง จึงไม่แปลก ที่ผลสรุปหรือแผนยุทธศาสตร์เต็มไปด้วยเมกะโปรเจกต์ หลายเรื่องควรถูกขึ้นแบล็กลิสต์ เพราะเป็นเรื่องที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ทำลายสิ่งแวดล้อม และเปิดช่องให้มีการคอร์รัปชัน โดยเฉพาะในแผนที่ 4 ของ กยอ.ในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระหว่างปี 2555 - 2559 มีวงเงินทั้งสิ้น 2.27 ล้านล้านบาท ถือว่าเยอะมาก กว่างบประมาณแผ่นดินเสียอีก
3. สำหรับกรรมการ กยน. ที่รับผิดชอบการแก้ปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการ และได้อนุมัติงบประมาณวงเงิน 3.5 แสนล้านบาทไปแล้วนั้น ซึ่งก็ได้มี นายสมิทธ ธรรมสโรช หนึ่งในกรรมการ กยน. ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างรุนแรงว่า อนุมัติงบประมาณดังกล่าว โดยที่ไม่มีแผนการทำงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ซึ่งจากการตรวจสอบของกลุ่มกรีน ก็ไม่พบรายละเอียดโครงการแต่ประการใด แม้คณะกรรมการชุดนี้จะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความน่าเชื่อถือ มีประสบการณ์ มีต้นทุนทางสังคมสูงก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องน่าผิดหวัง ที่บทบาทและอำนาจการตัดสินใจในกรรมการ กยน. ไปอยู่ที่ตัวแทนจากฝ่ายการเมือง และข้าราชการประจำเป็นหลัก ทำให้แนวคิดสำคัญๆ ของผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้น ไม่ปรากฏในแผนการแก้ปัญหาของ กยน. เท่าที่ควร และทำให้ทิศทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมยังเน้นความอยู่รอดของภาคอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง ขาดการประเมินความเสียหาย และการกำหนดแผนเพื่อปกป้องฟื้นฟูภาคการเกษตรกรรม ชาวไร่ชาวนา ซึ่งได้รับความเสียหายรุนแรงจากน้ำท่วมใหญ่ครั้งที่ผ่านมา
นายสุริยะใส กล่าวด้วยว่า กลุ่มกรีนเห็นว่า ควรเพิ่มบทบาทของนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่าจะเป็น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล อ.ปราโมทย์ ไม้กลัด ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ดร.เสรี ศุภราทิตย์ และอีกหลายๆคน โดยควรจะทำให้ประชาชน และสังคมคาดหวังและมีความเชื่อมั่นได้มากกว่านี้ เพราะ 3 เดือนที่ผ่านมา แม้ผู้ทรงคุณวุฒิบางคนจะออกมาท้งติงสะท้อนและวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ กยอ. และ กยน. ถึงความไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีรูปธรรมที่ชัดเจน แต่สุดท้ายก็เงียบหายไป
“เราไม่อยากเห็นบุคคลเหล่านี้นำต้นทุนที่ดี ไปเป็นไม้ประดับ หรือสร้างราคาให้กับ กยอ. กยน. ตามที่ฝ่ายการเมืองต้องการ ถึงเวลาแล้วที่คณะกรรมการในปีกของผู้ทรงคุณวุฒิ แสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อประชาชน เพื่อไม่ให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัย หากเป็นได้เพียงไม้ประดับ" นายสุริยะใส กล่าว
** อุ้มอุตสาหกรรมละเลยภาคเกษตร
นายสุริยะใส ยังได้ยกตัวอย่างการอนุมัติงบประมาณสำหรับการสร้างเขื่อนกั้นนิคมอุตสาหกรรม เป็นเงินทั้งสิ้น 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิธีคิดแบบอุ้มภาคอุตสาหกรรม แต่ละเลยภาคเกษตรกรรรม โดยความสูงของกำแพงคอนกรีตสูงในระดับ 6.5 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และฝังลึกลงไปในดินอีก 6-7 ม. ผู้รับเหมาคือ บริษัท บมจ. ช.การช่าง ที่ได้รื้อเขื่อนดินเก่า แล้วปรับฐานให้กว้างจากเดิม 9 ม. เป็น 20 ม. โดยที่โครงการดังกล่าวไม่ผ่านการประชาพิจารณ์ ไม่ได้สอบถามความเห็นของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง เป็นการตัดสินใจโดยพลการของ กยน. ซึ่งเกรงว่า กรณีนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้ง หากประชาชนในพื้นที่รู้สึกไม่ปลอดภัย และได้รับผลกระทบ อาจจะมาประท้วงและต่อต้านในที่สุด
**ประชาชนต้องมีส่วนร่วมรับรู้
นายสุริยะใส ยังได้กล่าวถึงข้อเสนอ คือ กลุ่มกรีน ขอเรียกร้องให้ กยอ. และ กยน. นำแผนแม่บท โดยเฉพาะแผนระยะกลางและระยะยาวในแต่ส่วนไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนภาคส่วนต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ของการการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศนั้น หมดยุคหนึ่งคนคิด สิบคนทำ ทั้ง กยอ. กยน. และรัฐบาลจะต้องระดมการมีส่วนร่วมและจัดทำเป็น วาระแห่งชาติมากกว่าเป็นแค่งานประจำ และควรสร้างกลไกการสื่อสารกับสังคมที่มีประสิทธิภาพมากกว่าที่ผ่านๆมา ทั้งนี้จากการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของกรรมการทั้ง 2 ชุด ยังขาดการให้ข้อมูลข่าวสารทำให้ประชาชนขาดโอกาสที่จะได้รับรู้ข้อมูลที่เท่าทันและความตื่นตัวในการมีส่วนร่วม
ในส่วนของการจัดสรร วงเงินงบประมาณกว่า 2.6 ล้านล้านบาทนั้น นายสุริยะใส มองว่างบประมาณส่วนนี้มากกว่างบประมาณแผ่นดินในแต่ละปี ดังนั้นจะต้องสร้างหลักประกันถึงความโปร่งใส และป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน จะต้องไม่ปล่อยให้มีขบวนการแสวงหาประโยชน์จากความหายนะของชาติ ไม่ปล่อยให้ประชาชนอยู่ในสภาพน้ำลด หนี้ท่วม ทั้งนี้รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรมีบทบาทมากกว่าที่ผ่านมา หรือมากกว่าการแจกถุงยังชีพ โดยควรเป็นเจ้าภาพในการส่งเสริม และสนับสนุนให้มีเวทีสมัชชาผู้ประสบอุทกภัย เพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เดือดร้อน และผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง ร่วมกันถอดบทเรียน ประสบการณ์ในการแก้ปัญหา เพื่อสร้างความมั่นใจและขจัดอาการหวาดผวาถึงปัญหาอุทกภัยที่อาจจะมารอบใหม่
" ภายหลังน้ำลด มีการพูดถึงการจัดผังเมืองใหม่ เรื่องทางน้ำไหล หรือที่ตั้งของชุมชนบ้านจัดสรร ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่กลุ่มกรีนเห็นว่า เรื่องที่สำคัญกว่าอย่างการจัดผังอำนาจ ยังไม่มีใครพูดถึง กยอ. และ กยน. ควรใช้โอกาสนี้ในการจัดผังอำนาจในการบริหารจัดการภัยพิบัติใหม่ ที่ต้องให้ภาคประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่ผูกขาดโดยส่วนกลาง หรือหน่วยงานข้าราชการประจำอีกต่อไป ฉะนั้นแผนฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ จึงต้องส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม เพราะทั้ง 8 แผนของ กยน.หรือ 5 ยุทธศาสตร์ของ กยอ. ไม่มีข้อไหนพูดถึงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเลย" นายสุริยะใส กล่าว
** ขอตรวจสอบปริมาณน้ำในเขื่อน
นายสุริยะใส เปิดเผยด้วยว่า ทางกลุ่มกรีน ได้มีการประสานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และกรมชลประทาน เพื่อขอนำคณะเข้าไปตรวจสอบปริมาณน้ำที่เขื่อนสำคัญ เช่น เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งที่ผ่านมามีข้อพิพาทกันว่า มีเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำในบางช่วง
ดังนั้นเพื่อให้เกิดข้อเท็จจริงและความกระจ่าง จึงจะเป็นตัวแทนในการเข้าไปตรวจสอบปริมาณน้ำในแต่ละเดือน รวมทั้งแผนในการบริหารจัดการน้ำด้วย พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายรับฟังความคิดเห็นของผู้ประสบภัย สร้างการมีส่วนร่วม เพื่อผลักดันแผน กยอ.และ กยน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 55 เวลา 10.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ Congress Center เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เข้าร่วมการอภิปราย Public Private Interaction on Thailand เพื่อพบปะ และพูดคุยกับผู้บริหารของบริษัทที่มีความสนใจการค้าการลงทุนในไทย โดยนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และแนวนโยบายในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลไทย เพื่อให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลสามารถแก้ปัญหาวิกฤติอุทกภัยและมีแผน เพื่อให้ความมั่นใจว่าวิกฤติจะไม่เกิดขึ้นอีก
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ชี้แจงว่า รัฐบาลได้วางแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำด้วยงบประมาณ 11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งกำลังดำเนินการไปด้วยดี ในแผนดังกล่าวจะมีการสร้างคันกั้นน้ำตามที่ต่างๆ เพื่อป้องกันสาธารณูปโภค และเขตเศรษฐกิจ ทางน้ำและระบบระบายน้ำ จะมีการปรับปรุงเพื่อให้น้ำไหลผ่านได้ดีขึ้น พัฒนาระบบเตือนภัยและพยากรณ์ รวมถึงการตั้งหน่วยสั่งการเดียว หรือ Single Command Authority เพื่อการบริหารจัดการน้ำ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพในการบริหารภาวะวิกฤติ
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า ปัญหาอุทกภัยส่งผลกระทบต่อการเติบโตของ GDP โดยลดลงประมาณร้อยละ 2 แต่ทั้งนี้ ไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง จึงคาดว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะเป็นลักษณะ V shape ด้วย GDP ที่จะโตขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 5 ในปี 2555 ด้วยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และวิกฤติหนี้ในสหภาพยุโรป รัฐบาลจึงตั้งเป้าการบริโภค และอุปสงค์ภายในประเทศเป็นปัจจัยหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องดำเนินการด้วยนโยบายต่างๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มกำลังการซื้อของผู้มีรายได้น้อย และเพิ่มช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเงินทุนเพื่อเริ่มธุรกิจของตนเอง
นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแผนการเร่งด่วนในการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคสำคัญ โดยเฉพาะระบบการขนส่งมวลชน และรถไฟ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และยังนำไปสู่การสร้างงานและการพัฒนาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ด้วย
ขณะเดียวกันสถานะทางการเงินการคลังปัจจุบันของไทยอยู่ในภาวะที่ดีเยี่ยม มีหนี้สาธารณะต่อ GDP ประมาณร้อยละ 40 เงินทุนแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสูงประมาณ 180 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสี่เท่าของหนี้ภายนอก ดังนั้น จึงช่วยให้ไทยมีสถานะที่เข้มแข็งในการหาเงินทุนสำหรับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคที่สำคัญ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลยังคงยึดมั่นในการส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน โดยการสร้างสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจที่เสรีและแข่งขันได้ รัฐบาลจะลดภาษีรายได้ของบริษัท Corporate Income Tax ลงเหลือร้อยละ 20 ในปีหน้า จะขจัดข้อจำกัดสำหรับบริษัทที่จะตั้งสำนักงานใหญ่ในภูมิภาค หรือ Regional Headquarters ในประเทศไทย พร้อมทั้ง ยังมีแรงงานทักษะที่มีคุณภาพเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ดังนั้น ไทยจึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจ เพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ในฐานะศูนย์กลางของประชาคมอาเซียน ที่มีผู้บริโภครวมกันกว่า 600 ล้านคน
นอกจากนี้ ประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 จะมีการไหลเวียนของสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานทักษะที่อิสระ และมีการไหลของทุนที่อิสระยิ่งขึ้น เหล่านี้จะได้รับการส่งเสริมจากการเชื่อมโยงภายในอาเซียนและนอกอาเซียนที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเสริมเรื่องความมั่นคงทางการเมืองและประชาธิปไตยของไทย ว่า การเลือกตั้งเมื่อปีที่ผ่านมาที่มีความสำคัญและทุกภาคส่วนยอมรับผลการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นว่า ประชาชนไทยปราถนาที่จะสร้างความปรองดองและประชาธิปไตยที่แท้จริง รัฐบาลสนับสนุนการดำเนินงานสู่การสร้างปรองดองแห่งชาติ ยึดในนิติรัฐ และส่งเสริมความเป็นเอกภาพของสังคม ด้วยสิ่งเหล่านี้เป็นดังพื้นฐานที่เข้มแข็งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ต่อมานายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากการประชุมที่เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส ว่า การเดินทางไปดาวอสครั้งนี้ ถือว่าเราประสบความสำเร็จ และได้รับความมั่นใจจากนานาประเทศ เพราะหลังจากที่เราชี้แจงถึงแผนฟื้นฟู จากปัญหาอุทกภัย หลายประเทศก็ให้ความมั่นใจ
ขณะเดียวกันเราได้พบกับกลุ่มคนที่อยากลงทุนเพิ่มซึ่งเป็นโอกาสใหม่ของไทยที่จะได้ประชาสัมพันธ์ว่าเรามีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดีอย่างไร และที่สำคัญประเทศไทย ถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคอื่นในส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ดี และเป็นจุดแข็งของประเทศไทย ตรงนี้เป็นส่วนที่เราเพิ่มเติมขึ้นมา ได้เรียนรู้ และมาดูในเรื่องความตื่นตัวของเศรษฐกิจโลกว่าทุกประเทศมีความตื่นตัวอย่างไร และมีความกังวลอย่างไร ซึ่งจะนำข้อกังวลใจเหล่านี้ มาดูในส่วนของประเทศไทยด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติและการก่อการร้าย เป็นอุปสรรคทำให้แสดงความเชื่อมั่นลำบากหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่หรอกค่ะ ส่วนใหญ่เราเองได้บอกในเรื่องนโยบายต่างๆ ที่เราได้ทำ เรื่องแผนการลงทุนแก้ไขปัญหาระยะยาว หลายๆประเทศก็พอใจ และมีการเจรจาและพบปะบริษัทใหญ่หลายบริษัท
***กำลังทำรายละเอียดแผนจัดการน้ำ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังกล่าวถึงกรณี นายสมิทธ ธรรมโรช กรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการวางระบบการบริหารจัดการน้ำ หรือ กยน. ให้สัมภาษณ์ตำหนิแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐไม่ชัดเจน และเตรียมถอนตัวออกว่า จริงๆ ต้องเรียนว่าแผนบริหารจัดการน้ำ ซึ่งเป็นแผนใหญ่ของประเทศ ก็ต้องค่อยๆ ออกไป ซึ่งแผนบริหารจัดการน้ำได้มีการสั่งการแล้ว ซึ่งเขากำลังทำงานอยู่ ขณะเดียวกันก็มีการปล่อยน้ำไป ยังไงก็ต้องกลับเข้ามาแผน กยน. อยู่แล้ว ขอเรียนว่าทุกอย่างมีแผน แต่อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ทันใจ ก็มีความเข้าใจ และเห็นใจทั้ง 2 ฝ่าย ทางคณะกรรมการเองก็เป็นห่วง เพราะภารกิจต่างๆ ก็ถือว่าเป็นภารกิจที่หนักหนามากสำหรับประเทศ และสำหรับคณะกรรมการที่ต้องเร่งติดตาม แต่ขณะเดียวกัน คนทำงานก็คงต้องเร่งมือด้วย ยืนยันว่าในช่วงหน้าฝนหน้า จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมและป้องกันให้ดี
เมื่อถามว่า จะสร้างความเชื่อมั่นอย่างไร ในเมื่อตัวคณะกรรมการเอง ยังออกมาพูดว่ารัฐบาลจ้องแต่หาเงิน แต่แผนยังไม่พร้อม จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับคณะกรรมการอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า จริงๆแล้ว พูดวันนี้อาจจะบอกว่ายังไม่เห็นแผน ซึ่งแผนเราไม่สามารถชี้แจงลงไปในรายละเอียดทุกอย่าง ขอให้มาดูได้กับคนทำงาน จะรู้หมด แต่ว่าในส่วนของการทำงาน ผลเท่านั้น ซึ่งจะค่อยๆที่จะเร่งออกมาให้ ขณะนี้ทุกคนก็ทำงานขอความเห็นใจด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯได้ชี้แจงกับนักวิชาการ เพื่อขอให้เขากลับมาทำงานหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ถือว่าเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องช่วยกัน อยากจะขอเชิญชวน และขอร้องขอทุกฝ่ายมีความอดทนด้วยกัน เพราะวิกฤตครั้งนี้เป็นมหาวิกฤตที่ทุกคนเจอพร้อมๆกัน และหลายๆฝ่าย วันนี้เราก็มาปรับจากเรื่องของทิศทาง จากนักวิชาการและแนวทางปฏิบัติซึ่งต้องใช้เวลา และแน่นอนเราจะไม่ปล่อยเวลาสูญเสียไป และต้องเร่งทำให้ทันกับเวลา
เมื่อถามว่านายกฯหวั่นหรือไม่ว่านักวิชาการจะลาออก น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ต้องเรียกว่าขอความร่วมมือช่วยกัน จริงๆ อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ได้มีการพูดคุยกันมากกว่า ท่านก็อาจจะเป็นห่วง ตนคิดว่าทุกคนก็ต้องทำหน้าที่ให้พร้อม เห็นใจกรรมการและประธานอนุกรรมการด้วย ทุกท่านก็ทำงานก็อยากขอให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพื่อเราจะได้ฟันฝ่าวิกฤตนี้ และฟื้นฟูประเทศโดยเร็ว
**"สมิทธ" เผยไม่มีเหตุผลต้องออก
ด้านนายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในฐานะ กรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) กล่าวยืนยันว่า ตนไม่ลาออกจาก กยน. เพราะไม่มีเหตุผลต้องลาออก แม้จะกล่าวว่าส่วนตัวไม่มีความสำคัญ และเชื่อว่าแม้จะลาออก กรรมการคนอื่นสามารถทำงานได้ แต่ทั้งนี้ ไม่ได้น้อยใจ และขอบคุณนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่เป็นห่วง และเอาใจช่วย แม้จะไม่ได้คุยกันโดยตรง
นายสมิทธ ยังกล่าวอีกว่าไม่สำคัญตัวขนาดที่จะคิดว่านายกรัฐมนตรี จะต้องมาพูดคุยทำความเข้าใจด้วย พร้อมกันนี้ยังยืนยันว่าใน กยน. ไม่มีปัญหาขัดแย้ง แต่กรรมการมีความคิดของตัวเองที่ต่างกันไป
**ไม่ทราบ"สุเมธ-ปราโมทย์" จะออก
สำหรับกรณีนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ที่ปรึกษา กยน. และ นายปราโมทย์ ไม้กลัด กรรมการ กยน. จะลาออกหรือไม่นั้น ส่วนตัวไม่ทราบ แต่เชื่อว่าทั้ง 2 คน คงไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบกับการทำงานของรัฐบาล
** "กลุ่มกรีน"เสนอแนวทางฟื้นฟู
วานนี้ ( 29 ม.ค.) ที่โรงแรมจันทรเกษม ปาร์ค นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มการเมืองสีเขียว (Green Politics) ได้แถลงข่าว ถึงการติดตามตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่มีการแต่งตั้งขึ้นโดยรัฐบาลตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 พ.ย.54 ว่า หากมองในทางภาพ ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสวยหรู แต่ในแนวปฏิบัติ 3 เดือนที่ผ่านมา ของกยอ.และ กยน. ทางกลุ่มกรีนมีความเห็นและข้อเสนอแนะในหลายด้าน คือ
1. แม้รัฐบาลจะมอบหมายให้คณะกรรมการทั้งกยอ.และ กยน. มีอำนาจหน้าที่ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการ รวมถึงฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน การเยียวยารับผิดชอบต่อประชาชน ก็ยังเป็นภาระหน้าที่โดยตรงที่รัฐบาลไม่สามารถลอยตัวได้ แต่จากการตรวจสอบพบว่า การเยียวยาเฉพาะหน้า เงินเยียวยาครอบครัวละ 5,000 บาท ที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากมาก ก็ปรากฏชัดว่า การทำงานของรัฐบาลล้มเหลวซ้ำซาก จนมีการชุมนุมประท้วงของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นระยะๆ รวมไปถึงกรณีเงินเยียวยาน้ำท่วม กรณีของในบ้านเสียหายทั้งหลัง 30,000 บาท หรือเสียหายบางส่วน 20,000 บาท ก็เป็นเงื่อนไขที่ยุ่งยากเช่นกัน จนมีการประท้วง ถือเป็นการประจานความล้มเหลวซ้ำซาก ในการบริหารจัดการของรัฐบาลอย่างชัดเจน ดังนั้น รัฐบาลควรปรับลดเงื่อนไขในการเยียวยาให้เท่าทันสถานการณ์ และสอดคล้องกับปัญหา
2. คณะกรรม กยอ. ซึ่งกรรมส่วนใหญ่ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นทักษิณคอนเนกชัน ทำให้กรอบคิดในการกำหนดแผนฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศ ยังเป็นกรอบคิดเก่า วนเวียนอยู่ในเขาวงกตของการพัฒนาที่ล้มเหลว ไม่เป็นธรรม และเป็นศัตรูกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักคิดในการเอางบประมาณเป็นตัวตั้ง จึงไม่แปลก ที่ผลสรุปหรือแผนยุทธศาสตร์เต็มไปด้วยเมกะโปรเจกต์ หลายเรื่องควรถูกขึ้นแบล็กลิสต์ เพราะเป็นเรื่องที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ทำลายสิ่งแวดล้อม และเปิดช่องให้มีการคอร์รัปชัน โดยเฉพาะในแผนที่ 4 ของ กยอ.ในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระหว่างปี 2555 - 2559 มีวงเงินทั้งสิ้น 2.27 ล้านล้านบาท ถือว่าเยอะมาก กว่างบประมาณแผ่นดินเสียอีก
3. สำหรับกรรมการ กยน. ที่รับผิดชอบการแก้ปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการ และได้อนุมัติงบประมาณวงเงิน 3.5 แสนล้านบาทไปแล้วนั้น ซึ่งก็ได้มี นายสมิทธ ธรรมสโรช หนึ่งในกรรมการ กยน. ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างรุนแรงว่า อนุมัติงบประมาณดังกล่าว โดยที่ไม่มีแผนการทำงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ซึ่งจากการตรวจสอบของกลุ่มกรีน ก็ไม่พบรายละเอียดโครงการแต่ประการใด แม้คณะกรรมการชุดนี้จะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความน่าเชื่อถือ มีประสบการณ์ มีต้นทุนทางสังคมสูงก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องน่าผิดหวัง ที่บทบาทและอำนาจการตัดสินใจในกรรมการ กยน. ไปอยู่ที่ตัวแทนจากฝ่ายการเมือง และข้าราชการประจำเป็นหลัก ทำให้แนวคิดสำคัญๆ ของผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้น ไม่ปรากฏในแผนการแก้ปัญหาของ กยน. เท่าที่ควร และทำให้ทิศทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมยังเน้นความอยู่รอดของภาคอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง ขาดการประเมินความเสียหาย และการกำหนดแผนเพื่อปกป้องฟื้นฟูภาคการเกษตรกรรม ชาวไร่ชาวนา ซึ่งได้รับความเสียหายรุนแรงจากน้ำท่วมใหญ่ครั้งที่ผ่านมา
นายสุริยะใส กล่าวด้วยว่า กลุ่มกรีนเห็นว่า ควรเพิ่มบทบาทของนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่าจะเป็น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล อ.ปราโมทย์ ไม้กลัด ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ดร.เสรี ศุภราทิตย์ และอีกหลายๆคน โดยควรจะทำให้ประชาชน และสังคมคาดหวังและมีความเชื่อมั่นได้มากกว่านี้ เพราะ 3 เดือนที่ผ่านมา แม้ผู้ทรงคุณวุฒิบางคนจะออกมาท้งติงสะท้อนและวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ กยอ. และ กยน. ถึงความไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีรูปธรรมที่ชัดเจน แต่สุดท้ายก็เงียบหายไป
“เราไม่อยากเห็นบุคคลเหล่านี้นำต้นทุนที่ดี ไปเป็นไม้ประดับ หรือสร้างราคาให้กับ กยอ. กยน. ตามที่ฝ่ายการเมืองต้องการ ถึงเวลาแล้วที่คณะกรรมการในปีกของผู้ทรงคุณวุฒิ แสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อประชาชน เพื่อไม่ให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัย หากเป็นได้เพียงไม้ประดับ" นายสุริยะใส กล่าว
** อุ้มอุตสาหกรรมละเลยภาคเกษตร
นายสุริยะใส ยังได้ยกตัวอย่างการอนุมัติงบประมาณสำหรับการสร้างเขื่อนกั้นนิคมอุตสาหกรรม เป็นเงินทั้งสิ้น 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิธีคิดแบบอุ้มภาคอุตสาหกรรม แต่ละเลยภาคเกษตรกรรรม โดยความสูงของกำแพงคอนกรีตสูงในระดับ 6.5 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และฝังลึกลงไปในดินอีก 6-7 ม. ผู้รับเหมาคือ บริษัท บมจ. ช.การช่าง ที่ได้รื้อเขื่อนดินเก่า แล้วปรับฐานให้กว้างจากเดิม 9 ม. เป็น 20 ม. โดยที่โครงการดังกล่าวไม่ผ่านการประชาพิจารณ์ ไม่ได้สอบถามความเห็นของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง เป็นการตัดสินใจโดยพลการของ กยน. ซึ่งเกรงว่า กรณีนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้ง หากประชาชนในพื้นที่รู้สึกไม่ปลอดภัย และได้รับผลกระทบ อาจจะมาประท้วงและต่อต้านในที่สุด
**ประชาชนต้องมีส่วนร่วมรับรู้
นายสุริยะใส ยังได้กล่าวถึงข้อเสนอ คือ กลุ่มกรีน ขอเรียกร้องให้ กยอ. และ กยน. นำแผนแม่บท โดยเฉพาะแผนระยะกลางและระยะยาวในแต่ส่วนไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนภาคส่วนต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ของการการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศนั้น หมดยุคหนึ่งคนคิด สิบคนทำ ทั้ง กยอ. กยน. และรัฐบาลจะต้องระดมการมีส่วนร่วมและจัดทำเป็น วาระแห่งชาติมากกว่าเป็นแค่งานประจำ และควรสร้างกลไกการสื่อสารกับสังคมที่มีประสิทธิภาพมากกว่าที่ผ่านๆมา ทั้งนี้จากการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของกรรมการทั้ง 2 ชุด ยังขาดการให้ข้อมูลข่าวสารทำให้ประชาชนขาดโอกาสที่จะได้รับรู้ข้อมูลที่เท่าทันและความตื่นตัวในการมีส่วนร่วม
ในส่วนของการจัดสรร วงเงินงบประมาณกว่า 2.6 ล้านล้านบาทนั้น นายสุริยะใส มองว่างบประมาณส่วนนี้มากกว่างบประมาณแผ่นดินในแต่ละปี ดังนั้นจะต้องสร้างหลักประกันถึงความโปร่งใส และป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน จะต้องไม่ปล่อยให้มีขบวนการแสวงหาประโยชน์จากความหายนะของชาติ ไม่ปล่อยให้ประชาชนอยู่ในสภาพน้ำลด หนี้ท่วม ทั้งนี้รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรมีบทบาทมากกว่าที่ผ่านมา หรือมากกว่าการแจกถุงยังชีพ โดยควรเป็นเจ้าภาพในการส่งเสริม และสนับสนุนให้มีเวทีสมัชชาผู้ประสบอุทกภัย เพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เดือดร้อน และผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง ร่วมกันถอดบทเรียน ประสบการณ์ในการแก้ปัญหา เพื่อสร้างความมั่นใจและขจัดอาการหวาดผวาถึงปัญหาอุทกภัยที่อาจจะมารอบใหม่
" ภายหลังน้ำลด มีการพูดถึงการจัดผังเมืองใหม่ เรื่องทางน้ำไหล หรือที่ตั้งของชุมชนบ้านจัดสรร ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่กลุ่มกรีนเห็นว่า เรื่องที่สำคัญกว่าอย่างการจัดผังอำนาจ ยังไม่มีใครพูดถึง กยอ. และ กยน. ควรใช้โอกาสนี้ในการจัดผังอำนาจในการบริหารจัดการภัยพิบัติใหม่ ที่ต้องให้ภาคประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่ผูกขาดโดยส่วนกลาง หรือหน่วยงานข้าราชการประจำอีกต่อไป ฉะนั้นแผนฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ จึงต้องส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม เพราะทั้ง 8 แผนของ กยน.หรือ 5 ยุทธศาสตร์ของ กยอ. ไม่มีข้อไหนพูดถึงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเลย" นายสุริยะใส กล่าว
** ขอตรวจสอบปริมาณน้ำในเขื่อน
นายสุริยะใส เปิดเผยด้วยว่า ทางกลุ่มกรีน ได้มีการประสานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และกรมชลประทาน เพื่อขอนำคณะเข้าไปตรวจสอบปริมาณน้ำที่เขื่อนสำคัญ เช่น เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งที่ผ่านมามีข้อพิพาทกันว่า มีเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำในบางช่วง
ดังนั้นเพื่อให้เกิดข้อเท็จจริงและความกระจ่าง จึงจะเป็นตัวแทนในการเข้าไปตรวจสอบปริมาณน้ำในแต่ละเดือน รวมทั้งแผนในการบริหารจัดการน้ำด้วย พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายรับฟังความคิดเห็นของผู้ประสบภัย สร้างการมีส่วนร่วม เพื่อผลักดันแผน กยอ.และ กยน.