ASTVผู้จัดการรายวัน-สมิทธ” แฉ “รบ.ปู”ประเคนงบ 3.5 แสนล้านบาทให้ กยน.แก้น้ำท่วม ไร้แผนเป็นรูปธรรม จวกนักการเมืองพูดไม่ฟังนักวิชาการ ทำ “สุเมธ” ไม่ร่วมด้วย เตือนแค่ขุดลอกคู คลอง ป้องกันน้ำท่วมไม่ได้ แนะรับมือปีนี้เจอหนักอีกแน่ ด้าน “รบ.-กทม.”จูบปาก วาง 12 มาตรการ จัดการน้ำกทม.“ปลอด”โวอีกรักษาพื้นที่ศก.ได้ล้านเปอร์เซ็นต์
วานนี้ (26 ม.ค.) นายสมิทธ ธรรมสโรช คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.) กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ “ภัยพิบัติธรรมชาติและสถานการณ์ภัยพิบัติของโลกในอนาคต” ในงานเสวนา ถอดบทเรียนเหตุการณ์มหาอุทกภัย สานพลังเครือข่าย รับภัยพิบัติ 2555 จัดโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ว่า ขณะนี้ที่ประเทศเม็กซิโกกำลังเคาท์ดาวน์วันที่สิ้นสุดของโลก ในวันที่ 21 ธ.ค.2555 เพราะเชื่อว่าโลกจะต้องล่มสลาย โดยตนก็มีข้อมูลด้วยเช่นกัน อีกทั้งทางโหราศาสตร์ก็มีการทำนายด้วย ซึ่งในประเทศไทย ที่มีการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่ตนเป็นกรรมการอยู่ด้วย
มีการประชุม 5 ครั้ง แต่ตนเข้าร่วมเพียง 3 ครั้ง และลากิจ 2 ครั้ง เนื่องจากเห็นว่าไม่มีนักวิชาการเช่น นายสุเมธ ตันติเวชกุล เข้าร่วมเพราะมีเหตุผลส่วนตัว ซึ่งตนเห็นว่างานที่รัฐบาลเสนอไม่เป็นรูปธรรม และการอนุมัติงบประมาณ 350,000 ล้านบาท ที่อนุมัติเพียงไม่กี่วินาที โดยไม่มีข้อเสนอของนักวิชาการที่เป็นรูปธรรม
“การแถลงของนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ ผมก็ไม่เห็นแผนงานที่เป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำฟลัดเวย์ว่าจะเป็นจุดใด ที่ไหน ทางน้ำผ่านทางไหน ไปทางฝั่งตะวันออก ตะวันตก ผ่าน กทม.หรือไม่ หรือไปยังแม่น้ำบางปะกง ก็ยังไม่เห็นแผน ไม่ทราบเหตุใดที่รัฐบาลอนุมัติงบประมาณ 350,000 ล้านบาท ซึ่งนักลงทุนจากต่างประเทศก็สอบถามผมเรื่องแผนงานของรัฐบาล”
ขณะที่ หัวหน้าฝ่ายของธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ ก็ขอเข้าพบตนเพื่อสอบถามแผนงานของรัฐบาล เพราะมีความสนใจ ซึ่งได้ชี้แจงไปว่าไม่ทราบแผนงานนี้เลย แต่เห็นว่าในอนาคตจะต้องประสบภัยน้ำท่วมอีกอย่างน่นอน และอาจจะมีน้ำมากเหมือนปี 2554 เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญา และในปี 2555 เดือนพฤษภาคมจะมีฝนตกไม่น้อยกว่าปี 2554 แต่รัฐบาลยังไม่มีแผนงานที่จะระบายน้ำออกไปยังแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำบางปะกง แต่รัฐบาลมีเงินที่อนุมัติเพียง 3-4 นาที ที่จะทำแล้ว
**งง!กักน้ำในเขื่อนตั้งแต่ต้นฤดูฝน
ส่วนการจัดเก็บน้ำในเขื่อน ตนไม่ทราบว่ามีการเก็บน้ำทำไม ตั้งแต่ต้นฤดูฝน ซึ่งการปล่อยน้ำเ มื่อปี 2554 นั้นไม่มีการบูรณาการร่วมมือกันในการปล่อยน้ำออกจาก 3 เขื่อนใหญ่ โดยมีการปล่อยน้ำรวมกัน วันละ เกิน 100 ล้าน ลบ.ม.แต่ปล่อยลงทะเลไม่ถึง 100 ล้านลบ.ม.และที่มีการกล่าวว่าจะเอาอยู่นั้นก็กลายเป็นเอาไม่อยู่จนทำให้น้ำ ท่วม
ซึ่งการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของประเทศไทยยังไม่สามารถใช้การได้ เพราะไม่มีการนำข้อมูลการบริหารจัดการน้ำของกรมอุตุนิยมวิทยาที่คาดการณ์ไว้มาศึกษาล่วงหน้าว่าเขื่อนต่างๆ จะ ปล่อยน้ำแค่ไหน ซึ่ง ประเทศไทยมีหน่วยงานบริหารน้ำกว่า 20 หน่วยงาน มากที่สุดในโลก แต่แยกกระทรวงและไม่เคยมีการประชุมติดต่อกันว่าจะบริหารน้ำอย่างไร แต่ต่างคนต่างปล่อย จนน้ำท่วม ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งหากไม่ มีการแก้ไขตั้งแต่วันนี้ก็จะประสบปัญหานี้อีก
**ยัน “ขุดคลอง ซ่อมคัน”ไม่พอ
จากนั้นนายนายสมิทธให้สัมภาษณ์กรณี นายปีติพงษ์ ระบุว่าระยะเร่งด่วนต้องขุดลอกคูคลอง ซ่อมคันกั้นน้ำที่เสียหายก่อน ว่า ทำแค่นั้นไม่พอ ถ้าน้ำเหมือนปี 2554 ก็จะท่วมอีก ต้องทำมากกว่านั้น ปริมาณน้ำที่จะไหล ผ่าน กทม. จะผ่านหรือผันไปตรงไหน ซึ่งหากทำเพียงขุดลอกคูคลอง เชื่อว่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พื้นที่ กทม.และปริมณฑลได้ ซึ่งตนก็คิดว่าการดำเนินการจะไม่ทันในฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงในปีนี้
ส่วนการที่นายกรัฐมนตรีระบุจะต้องมีการขุดลอกคูคลองให้เสร็จภายใน 1-2 เดือนนั้น ตนก็ยังไม่เห็นมีการขุดลอกคูคลอง หรือซ่อมประตูระบายน้ำที่ไหน และการที่กทม.ระบุว่าได้ดำเนินการแล้วนั้นก็ต้องนำมาให้ชี้แจงหรือเสนอให้ประชาชนได้เห็นด้วยว่าขุดลอกคูคลองที่ไหน มีความลึกเท่าไหร่ มีการเก็บผักตบชวา หรือสวะหมดแล้วหรือยัง รวมทั้งบ้านของประชาชนที่ล้ำเขตลงไปอยู่ในคลอง มีการเคลื่อนย้ายหรือขยายคลองให้กว้างขึ้น หรือไม่
**จวกนักการเมืองไม่ฟังนักวิชาการ
นายสมิทธ ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นว่าการขุดลอกคูคลองภายใน กทม.จะทันในเดือนพฤษภาคมนี้หรือไม่ แต่กล่าวว่าตนได้ติรัฐบาลหลายครั้งแล้ว ทำให้มีการกล่าวหาว่าตนเป็นนักวิชาการที่พูดมาก ติรัฐบาลตลอดเวลา ตนไม่อยากเป็นตัวถ่วง และไม่ทราบว่ารัฐบาลจะทำได้สำเร็จหรือไม่
“ในที่ประชุม กยน.มีการเสนอแนวทางการฟื้นฟูว่าควรทำอะไรบ้าง แต่นักการเมืองไม่ค่อยเชื่อนักวิชาการ มีการเสนอหลายเรื่อง ข้อมูลผมก็ได้ทำร่วมกับนายปราโมทย์ ไม้กลัด ที่สามารถเปิดเผยได้ โดยกรมอุตุนิยมวิทยา ก็คำนวนล่วงหน้าได้หลายเดือนตามที่ต้องการ แต่ว่าคำนวนไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีหน่วยงานที่จะเอาไปใช้” นายสมิทธ กล่าว
กรณีหากมีการเสนอข้อมูลในกยน.แล้วไม่มีการรับฟัง มีแนวคิดที่จะลาออกหรือไม่ นายสมิทธ กล่าวว่า ตนไม่ได้เข้าร่วมประชุม 2 ครั้ง รวมทั้ง นายสุเมธ ตันติเวชกุล ก็ขาดการประชุม ที่ไม่เข้าร่วมประชุมเพราะพูดไม่ทันนักการเมือง ขณะที่เห็นว่าฝ่ายการเมืองจะรับฟังเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรับไปปฏิบัติด้วยและต้องมีการบูร ณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารน้ำ 20 หน่วยงาน ซึ่งในปี 2555 เชื่อว่า น้ำจะมากกว่าปี 2554
ดังนั้น ต้องมีการเตือนประชาชนล่วงหน้าหลายวันด้วยเพื่อให้มีการอพยพ ซึ่งการทำแผนงานจัดระบบข้อมูลและระบบการเตือนภัย ที่ กยน.มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนมีนาคมนี้นั้น ก็มีการประชุมเพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น
**มท.1 เรียกประชุมจัดการน้ำกทม.
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวก่อนการประชุมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ถึงการเร่งรัดให้กทม.ขุดลอกคู คลอง เพื่อเตรียมการรับมือปัญหาอุทกภัย ว่า กทม.ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิเศษจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล ไม่ใช่รัฐอิสระ ดังนั้นมีทางเดียวคือ กทม.จะต้องรีบดำเนินการขุดลอกคู คลองให้เสร็จก่อนฤดูฝนมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังจากครม.มีหนังสือไปยังกทม.ให้เร่งรัดขุดลอก คูคลอง ไปเมื่อวันที่ 19 ม.ค.ได้มีการตรวจสอบหรือไม่ว่ากทม.เริ่มปฏิบัติงานแล้ว นายยงยุทธ กล่าวว่า กำลังติดตามอยู่ ซึ่งกทม.ก็ดำเนินการไปแล้วส่วนหนึ่ง
เมื่อถามว่า กทม.ระบุว่ายังไม่ได้รับงบประมาณ 1,900 ล้านบาท ตามที่รัฐบาลอนุมัติให้ นายยงยุทธกล่าวว่า ตนได้กำชับสำนักงบประมาณว่าให้อนุมัติโครงการไปเพื่อที่กทม.จะได้ดำเนินการจัดจ้าง แต่ยังไม่ต้องลงนามในสัญญา เมื่อวงเงินลงไปแล้วค่อยทำสัญญาได้ โดยขณะนี้ให้กทม.หาผู้จัดจ้างไปก่อน
**ขู่ปลด"สุขุมพันธุ์"พ้นผู้ว่าฯกทม.
เมื่อถามว่า การทำงานระหว่างรัฐบาลกับกทม.ยังดูมีปัญหา รองนายกฯกล่าวว่า ไม่มี เพราะร่วมชะตากรรมเดียวกัน น้ำท่วมมาก็ไม่ใช่ท่วมเฉพาะต่างจังหวัดหรือกทม. ฉะนั้นเป็นภารกิจที่ต้องร่วมเป็นร่วมตายกัน ส่วนตัวผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆที่มีปัญหา หากมีความผิดชัดเจน บกพร่องชัดเจน มันมีมาตรการทางกฎหมายอยู่แล้ว ตนในฐานะรมว.มหาดไทย เป็นผู้ดูแลกทม. ก็มีมาตรการในการบริหารที่จะใช้กับกทม.อยู่แล้ว
เมื่อถามว่า หากกทม.ทำไม่สำเร็จจะมีบทลงโทษหรือไม่ รองนายกฯกล่าวว่า มีมาตรการในการบริหารตามพ.ร.บ.บริหารราชการกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทยก็จะต้องเป็นคนดูแลมาตรฐานในการปฏิบัติงานของกทม. ซึ่งตามกฎหมายก็เขียนไว้ว่ารมว.มหาดไทยมีอำนาจในการปลดผู้ว่าราชการกทม.ได้
**รับเขื่อนภาคเหนือน้ำมาก ผลิตไฟฟ้า
นายยงยุทธ กล่าวถึงกรณีการกักเก็บน้ำในเขื่อนทางภาคเหนือที่มีจำนวนมากว่า ส่วนหนึ่งเป็นเหตุผลการ ผลิตไฟฟ้า ไม่ต้องการจะเพิ่มค่าไฟฟ้าให้เป็นภาระของประชาชน แทนการใช้น้ำมันหรือถ่านหินที่จะส่งผลต่อการ เพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้า ซึ่งในตอนนี้เราได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาดมาแล้ว จึงมี การศึกษาในเรื่องการกักเก็บและบริหารจัดการน้ำ เพื่อรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอากาศ ให้ชัดเจน ให้เกิดความเหมาะสมในการกักเก็บน้ำ คือการระบบน้ำออกมาเป็นระยะ และให้เหมาะสมกับสภาวะอากาศ ไม่ใช่ห่วง แต่การผลิตไฟฟ้าเช่นในปีที่ผ่านมา ส่วนจะดีหรือไม่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินจากการพิจารณาผลการดำเนินงานของรัฐบาลเอง
**วาง 12 มาตรการ จัดการน้ำกทม.
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้กำหนด 12 มาตรการ ป้องกันน้ำท่วม กทม.เช่น รัฐบาลและกทม. จะร่วมกันแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ มีการมอบเงินงบประมาณให้จำนวน 1,964 ล้านบาท เพื่อซ่อมแซมคันกั้นน้ำ ขุดลอกคูคลองขนาดใหญ่จำนวน 29 คลอง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และ เครื่องดันน้ำเพิ่มเติม ฯลฯ
ทั้งนี้ เชื่อว่า 12 มาตรการดังกล่าว จะสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่กทม.ได้ หากรัฐบาลและ รองผู้ว่ากทม. ที่เข้าร่วมประชุมเห็นตรงกันว่า อยากให้ยุติการเมืองชั่วคราว แล้วหันหน้ามาแก้ไขน้ำท่วมด้วยกัน
**โวอีกรักษาพื้นที่ศก.ได้ล้านเปอร์เซ็นต์
ส่วนการขุดลอกคูคลอง ทั้งหมดจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หรือในเดือนกรกฎาคมนี้ สำหรับผลการประชุมทั้งหมดนี้ เชื่อว่าจะสามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมได้
“ผลของการตกลงกันวันนี้จะทำให้ชาวกทม.สบายใจได้ว่าน้ำจะไม่ท่วมและจะรักษาพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจจะได้รับการปกป้อง และจะป้องกันให้ปลอดภัยล้านเปอร์เซ็นต์ หรือหากน้ำท่วมก็จะให้อยู่ในระยะสั้น และเสียหายน้อยที่สุด ส่วนปริมณฑลนั้นถือเป็นทางระบายน้ำอยู่แล้ว”นายปลอดประสพกล่าว
**กทม.ยิ้มรบ.จัดงบ 800 ล้าน ขุดลอก
ที่ศาลาว่าการ กทม.นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยว่า รัฐบาลและกทม.จะร่วมมือกันเพื่อขุดลอกคูคลอง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพบกและหน่วยงานอื่นๆ ที่มีศักยภาพ โดยกทม.จะถ่ายโอนงบประมาณจำนวน 67.5 ล้านบาทให้กองทัพบกสำหรับการขุดลอกคลองจำนวน 29 คลอง
นอกจากนี้รัฐบาลจะพิจารณาให้มีการขุดลอกคูคลองใน 26 เขต จำนวน 347 คลองและจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้กองทัพบกอีก 770 ล้านบาท ซึ่งจะมีการหารือในวันที่ 27 ม.ค.นี้ ทั้งนี้ภาพจำนวนคลองกว่า 370 คลอง จะได้รับงบประมาณขุดลอกประมาณ 800 ล้านบาท โดยกองทัพบกจะเข้าดำเนินการทันทีที่ได้รับงบประมาณ สำหรับคลองใหญ่ๆ บางคลอง อาทิ คลองลาดพร้าว คลองประเวศ คลองแสนแสบ หากมีความจำเป็นทางรัฐบาลก็ยินดีที่จะสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม
นายธีระชน กล่าวอีกว่า ในที่ประชุมยังมีความกังวลในเรื่องท่อระบายในพื้นที่เอกชน ซึ่งมีข้อจำกัดไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้ โดยนายยงยุทธ์ ได้สั่งการให้ มท.และ กทม. ไปหาทางออกในเชิงกฎหมาย เพื่อให้สามารถเข้าไปดำเนินการ
นอกจากนี้ ยังมีมติที่เพิ่มเครื่องผลักดันน้ำให้กับกองทัพเรือ โดยกทม. ก็พร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องผลักดันน้ำให้กับกองทัพเรือ
สำหรับงบประมาณ จำนวน 1,900 ล้านบาทนั้น แบ่งออกเป็นงบประมาณในการสร้างเขื่อน และระบบป้องกันน้ำท่วมประมาณ 900 ล้านบาท การขุดลอกคูคลอง 67 ล้านบาท ระบบประมวลผล 20 กว่าล้าน และเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ ประมาณ 1,000 ล้านบาท
**เติ้งโวบินขอเงินซ่อมบางโฉมศรีเอง
นายบรรหาร ศิลปะอาชา ประธานที่ปรึกษารมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ลงพื้นที่ติดตามการงานซ่อมแซมประตูระบายน้ำบางโฉมศรี และงานก่อสร้างประตูระบายน้ำบางโฉมศรี และสถานีสูบน้ำแห่งใหม่ ที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2555
ระหว่างการบรรยาย นายบรรหารได้พูดอย่างอารมณ์ดี ว่า ถนนกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือเขื่อนชัยนาท ที่กำลังรองบประมาณอยู่ ให้ชลประทานลงมือทำทันที ส่วนงบประมาณตนเองจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งนายบรรหารเปรยออกมาเล่นๆว่า "หากของบประมาณไม่ได้ ก็จะออกเอง หากไม่ได้จริงๆ ก็จะบินไปขอที่ต่างประเทศ จะขอกับใครไม่ขอบอก”
**กมธ.จี้ระบายน้ำเขื่อนป่าสัก
นายนิยม วรปัญญา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะกมธ.วิสามัญศึกษาปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำในเขื่อนสูงเกินเกณฑ์การกักเก็บมากกว่าทุกปี ทำให้เกรงว่าในช่วงฤดูฝนอีกไม่กี่เดือนอาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมได้ รวมทั้งยังมีความตื้นเขินมากขึ้นทำให้น้ำไหลได้น้อย ดังนั้นจึงต้องเร่งระบาย
วานนี้ (26 ม.ค.) นายสมิทธ ธรรมสโรช คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.) กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ “ภัยพิบัติธรรมชาติและสถานการณ์ภัยพิบัติของโลกในอนาคต” ในงานเสวนา ถอดบทเรียนเหตุการณ์มหาอุทกภัย สานพลังเครือข่าย รับภัยพิบัติ 2555 จัดโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ว่า ขณะนี้ที่ประเทศเม็กซิโกกำลังเคาท์ดาวน์วันที่สิ้นสุดของโลก ในวันที่ 21 ธ.ค.2555 เพราะเชื่อว่าโลกจะต้องล่มสลาย โดยตนก็มีข้อมูลด้วยเช่นกัน อีกทั้งทางโหราศาสตร์ก็มีการทำนายด้วย ซึ่งในประเทศไทย ที่มีการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่ตนเป็นกรรมการอยู่ด้วย
มีการประชุม 5 ครั้ง แต่ตนเข้าร่วมเพียง 3 ครั้ง และลากิจ 2 ครั้ง เนื่องจากเห็นว่าไม่มีนักวิชาการเช่น นายสุเมธ ตันติเวชกุล เข้าร่วมเพราะมีเหตุผลส่วนตัว ซึ่งตนเห็นว่างานที่รัฐบาลเสนอไม่เป็นรูปธรรม และการอนุมัติงบประมาณ 350,000 ล้านบาท ที่อนุมัติเพียงไม่กี่วินาที โดยไม่มีข้อเสนอของนักวิชาการที่เป็นรูปธรรม
“การแถลงของนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ ผมก็ไม่เห็นแผนงานที่เป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำฟลัดเวย์ว่าจะเป็นจุดใด ที่ไหน ทางน้ำผ่านทางไหน ไปทางฝั่งตะวันออก ตะวันตก ผ่าน กทม.หรือไม่ หรือไปยังแม่น้ำบางปะกง ก็ยังไม่เห็นแผน ไม่ทราบเหตุใดที่รัฐบาลอนุมัติงบประมาณ 350,000 ล้านบาท ซึ่งนักลงทุนจากต่างประเทศก็สอบถามผมเรื่องแผนงานของรัฐบาล”
ขณะที่ หัวหน้าฝ่ายของธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ ก็ขอเข้าพบตนเพื่อสอบถามแผนงานของรัฐบาล เพราะมีความสนใจ ซึ่งได้ชี้แจงไปว่าไม่ทราบแผนงานนี้เลย แต่เห็นว่าในอนาคตจะต้องประสบภัยน้ำท่วมอีกอย่างน่นอน และอาจจะมีน้ำมากเหมือนปี 2554 เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญา และในปี 2555 เดือนพฤษภาคมจะมีฝนตกไม่น้อยกว่าปี 2554 แต่รัฐบาลยังไม่มีแผนงานที่จะระบายน้ำออกไปยังแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำบางปะกง แต่รัฐบาลมีเงินที่อนุมัติเพียง 3-4 นาที ที่จะทำแล้ว
**งง!กักน้ำในเขื่อนตั้งแต่ต้นฤดูฝน
ส่วนการจัดเก็บน้ำในเขื่อน ตนไม่ทราบว่ามีการเก็บน้ำทำไม ตั้งแต่ต้นฤดูฝน ซึ่งการปล่อยน้ำเ มื่อปี 2554 นั้นไม่มีการบูรณาการร่วมมือกันในการปล่อยน้ำออกจาก 3 เขื่อนใหญ่ โดยมีการปล่อยน้ำรวมกัน วันละ เกิน 100 ล้าน ลบ.ม.แต่ปล่อยลงทะเลไม่ถึง 100 ล้านลบ.ม.และที่มีการกล่าวว่าจะเอาอยู่นั้นก็กลายเป็นเอาไม่อยู่จนทำให้น้ำ ท่วม
ซึ่งการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของประเทศไทยยังไม่สามารถใช้การได้ เพราะไม่มีการนำข้อมูลการบริหารจัดการน้ำของกรมอุตุนิยมวิทยาที่คาดการณ์ไว้มาศึกษาล่วงหน้าว่าเขื่อนต่างๆ จะ ปล่อยน้ำแค่ไหน ซึ่ง ประเทศไทยมีหน่วยงานบริหารน้ำกว่า 20 หน่วยงาน มากที่สุดในโลก แต่แยกกระทรวงและไม่เคยมีการประชุมติดต่อกันว่าจะบริหารน้ำอย่างไร แต่ต่างคนต่างปล่อย จนน้ำท่วม ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งหากไม่ มีการแก้ไขตั้งแต่วันนี้ก็จะประสบปัญหานี้อีก
**ยัน “ขุดคลอง ซ่อมคัน”ไม่พอ
จากนั้นนายนายสมิทธให้สัมภาษณ์กรณี นายปีติพงษ์ ระบุว่าระยะเร่งด่วนต้องขุดลอกคูคลอง ซ่อมคันกั้นน้ำที่เสียหายก่อน ว่า ทำแค่นั้นไม่พอ ถ้าน้ำเหมือนปี 2554 ก็จะท่วมอีก ต้องทำมากกว่านั้น ปริมาณน้ำที่จะไหล ผ่าน กทม. จะผ่านหรือผันไปตรงไหน ซึ่งหากทำเพียงขุดลอกคูคลอง เชื่อว่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พื้นที่ กทม.และปริมณฑลได้ ซึ่งตนก็คิดว่าการดำเนินการจะไม่ทันในฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงในปีนี้
ส่วนการที่นายกรัฐมนตรีระบุจะต้องมีการขุดลอกคูคลองให้เสร็จภายใน 1-2 เดือนนั้น ตนก็ยังไม่เห็นมีการขุดลอกคูคลอง หรือซ่อมประตูระบายน้ำที่ไหน และการที่กทม.ระบุว่าได้ดำเนินการแล้วนั้นก็ต้องนำมาให้ชี้แจงหรือเสนอให้ประชาชนได้เห็นด้วยว่าขุดลอกคูคลองที่ไหน มีความลึกเท่าไหร่ มีการเก็บผักตบชวา หรือสวะหมดแล้วหรือยัง รวมทั้งบ้านของประชาชนที่ล้ำเขตลงไปอยู่ในคลอง มีการเคลื่อนย้ายหรือขยายคลองให้กว้างขึ้น หรือไม่
**จวกนักการเมืองไม่ฟังนักวิชาการ
นายสมิทธ ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นว่าการขุดลอกคูคลองภายใน กทม.จะทันในเดือนพฤษภาคมนี้หรือไม่ แต่กล่าวว่าตนได้ติรัฐบาลหลายครั้งแล้ว ทำให้มีการกล่าวหาว่าตนเป็นนักวิชาการที่พูดมาก ติรัฐบาลตลอดเวลา ตนไม่อยากเป็นตัวถ่วง และไม่ทราบว่ารัฐบาลจะทำได้สำเร็จหรือไม่
“ในที่ประชุม กยน.มีการเสนอแนวทางการฟื้นฟูว่าควรทำอะไรบ้าง แต่นักการเมืองไม่ค่อยเชื่อนักวิชาการ มีการเสนอหลายเรื่อง ข้อมูลผมก็ได้ทำร่วมกับนายปราโมทย์ ไม้กลัด ที่สามารถเปิดเผยได้ โดยกรมอุตุนิยมวิทยา ก็คำนวนล่วงหน้าได้หลายเดือนตามที่ต้องการ แต่ว่าคำนวนไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีหน่วยงานที่จะเอาไปใช้” นายสมิทธ กล่าว
กรณีหากมีการเสนอข้อมูลในกยน.แล้วไม่มีการรับฟัง มีแนวคิดที่จะลาออกหรือไม่ นายสมิทธ กล่าวว่า ตนไม่ได้เข้าร่วมประชุม 2 ครั้ง รวมทั้ง นายสุเมธ ตันติเวชกุล ก็ขาดการประชุม ที่ไม่เข้าร่วมประชุมเพราะพูดไม่ทันนักการเมือง ขณะที่เห็นว่าฝ่ายการเมืองจะรับฟังเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรับไปปฏิบัติด้วยและต้องมีการบูร ณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารน้ำ 20 หน่วยงาน ซึ่งในปี 2555 เชื่อว่า น้ำจะมากกว่าปี 2554
ดังนั้น ต้องมีการเตือนประชาชนล่วงหน้าหลายวันด้วยเพื่อให้มีการอพยพ ซึ่งการทำแผนงานจัดระบบข้อมูลและระบบการเตือนภัย ที่ กยน.มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนมีนาคมนี้นั้น ก็มีการประชุมเพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น
**มท.1 เรียกประชุมจัดการน้ำกทม.
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวก่อนการประชุมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ถึงการเร่งรัดให้กทม.ขุดลอกคู คลอง เพื่อเตรียมการรับมือปัญหาอุทกภัย ว่า กทม.ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิเศษจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล ไม่ใช่รัฐอิสระ ดังนั้นมีทางเดียวคือ กทม.จะต้องรีบดำเนินการขุดลอกคู คลองให้เสร็จก่อนฤดูฝนมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังจากครม.มีหนังสือไปยังกทม.ให้เร่งรัดขุดลอก คูคลอง ไปเมื่อวันที่ 19 ม.ค.ได้มีการตรวจสอบหรือไม่ว่ากทม.เริ่มปฏิบัติงานแล้ว นายยงยุทธ กล่าวว่า กำลังติดตามอยู่ ซึ่งกทม.ก็ดำเนินการไปแล้วส่วนหนึ่ง
เมื่อถามว่า กทม.ระบุว่ายังไม่ได้รับงบประมาณ 1,900 ล้านบาท ตามที่รัฐบาลอนุมัติให้ นายยงยุทธกล่าวว่า ตนได้กำชับสำนักงบประมาณว่าให้อนุมัติโครงการไปเพื่อที่กทม.จะได้ดำเนินการจัดจ้าง แต่ยังไม่ต้องลงนามในสัญญา เมื่อวงเงินลงไปแล้วค่อยทำสัญญาได้ โดยขณะนี้ให้กทม.หาผู้จัดจ้างไปก่อน
**ขู่ปลด"สุขุมพันธุ์"พ้นผู้ว่าฯกทม.
เมื่อถามว่า การทำงานระหว่างรัฐบาลกับกทม.ยังดูมีปัญหา รองนายกฯกล่าวว่า ไม่มี เพราะร่วมชะตากรรมเดียวกัน น้ำท่วมมาก็ไม่ใช่ท่วมเฉพาะต่างจังหวัดหรือกทม. ฉะนั้นเป็นภารกิจที่ต้องร่วมเป็นร่วมตายกัน ส่วนตัวผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆที่มีปัญหา หากมีความผิดชัดเจน บกพร่องชัดเจน มันมีมาตรการทางกฎหมายอยู่แล้ว ตนในฐานะรมว.มหาดไทย เป็นผู้ดูแลกทม. ก็มีมาตรการในการบริหารที่จะใช้กับกทม.อยู่แล้ว
เมื่อถามว่า หากกทม.ทำไม่สำเร็จจะมีบทลงโทษหรือไม่ รองนายกฯกล่าวว่า มีมาตรการในการบริหารตามพ.ร.บ.บริหารราชการกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทยก็จะต้องเป็นคนดูแลมาตรฐานในการปฏิบัติงานของกทม. ซึ่งตามกฎหมายก็เขียนไว้ว่ารมว.มหาดไทยมีอำนาจในการปลดผู้ว่าราชการกทม.ได้
**รับเขื่อนภาคเหนือน้ำมาก ผลิตไฟฟ้า
นายยงยุทธ กล่าวถึงกรณีการกักเก็บน้ำในเขื่อนทางภาคเหนือที่มีจำนวนมากว่า ส่วนหนึ่งเป็นเหตุผลการ ผลิตไฟฟ้า ไม่ต้องการจะเพิ่มค่าไฟฟ้าให้เป็นภาระของประชาชน แทนการใช้น้ำมันหรือถ่านหินที่จะส่งผลต่อการ เพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้า ซึ่งในตอนนี้เราได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาดมาแล้ว จึงมี การศึกษาในเรื่องการกักเก็บและบริหารจัดการน้ำ เพื่อรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอากาศ ให้ชัดเจน ให้เกิดความเหมาะสมในการกักเก็บน้ำ คือการระบบน้ำออกมาเป็นระยะ และให้เหมาะสมกับสภาวะอากาศ ไม่ใช่ห่วง แต่การผลิตไฟฟ้าเช่นในปีที่ผ่านมา ส่วนจะดีหรือไม่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินจากการพิจารณาผลการดำเนินงานของรัฐบาลเอง
**วาง 12 มาตรการ จัดการน้ำกทม.
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้กำหนด 12 มาตรการ ป้องกันน้ำท่วม กทม.เช่น รัฐบาลและกทม. จะร่วมกันแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ มีการมอบเงินงบประมาณให้จำนวน 1,964 ล้านบาท เพื่อซ่อมแซมคันกั้นน้ำ ขุดลอกคูคลองขนาดใหญ่จำนวน 29 คลอง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และ เครื่องดันน้ำเพิ่มเติม ฯลฯ
ทั้งนี้ เชื่อว่า 12 มาตรการดังกล่าว จะสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่กทม.ได้ หากรัฐบาลและ รองผู้ว่ากทม. ที่เข้าร่วมประชุมเห็นตรงกันว่า อยากให้ยุติการเมืองชั่วคราว แล้วหันหน้ามาแก้ไขน้ำท่วมด้วยกัน
**โวอีกรักษาพื้นที่ศก.ได้ล้านเปอร์เซ็นต์
ส่วนการขุดลอกคูคลอง ทั้งหมดจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หรือในเดือนกรกฎาคมนี้ สำหรับผลการประชุมทั้งหมดนี้ เชื่อว่าจะสามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมได้
“ผลของการตกลงกันวันนี้จะทำให้ชาวกทม.สบายใจได้ว่าน้ำจะไม่ท่วมและจะรักษาพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจจะได้รับการปกป้อง และจะป้องกันให้ปลอดภัยล้านเปอร์เซ็นต์ หรือหากน้ำท่วมก็จะให้อยู่ในระยะสั้น และเสียหายน้อยที่สุด ส่วนปริมณฑลนั้นถือเป็นทางระบายน้ำอยู่แล้ว”นายปลอดประสพกล่าว
**กทม.ยิ้มรบ.จัดงบ 800 ล้าน ขุดลอก
ที่ศาลาว่าการ กทม.นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยว่า รัฐบาลและกทม.จะร่วมมือกันเพื่อขุดลอกคูคลอง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพบกและหน่วยงานอื่นๆ ที่มีศักยภาพ โดยกทม.จะถ่ายโอนงบประมาณจำนวน 67.5 ล้านบาทให้กองทัพบกสำหรับการขุดลอกคลองจำนวน 29 คลอง
นอกจากนี้รัฐบาลจะพิจารณาให้มีการขุดลอกคูคลองใน 26 เขต จำนวน 347 คลองและจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้กองทัพบกอีก 770 ล้านบาท ซึ่งจะมีการหารือในวันที่ 27 ม.ค.นี้ ทั้งนี้ภาพจำนวนคลองกว่า 370 คลอง จะได้รับงบประมาณขุดลอกประมาณ 800 ล้านบาท โดยกองทัพบกจะเข้าดำเนินการทันทีที่ได้รับงบประมาณ สำหรับคลองใหญ่ๆ บางคลอง อาทิ คลองลาดพร้าว คลองประเวศ คลองแสนแสบ หากมีความจำเป็นทางรัฐบาลก็ยินดีที่จะสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม
นายธีระชน กล่าวอีกว่า ในที่ประชุมยังมีความกังวลในเรื่องท่อระบายในพื้นที่เอกชน ซึ่งมีข้อจำกัดไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้ โดยนายยงยุทธ์ ได้สั่งการให้ มท.และ กทม. ไปหาทางออกในเชิงกฎหมาย เพื่อให้สามารถเข้าไปดำเนินการ
นอกจากนี้ ยังมีมติที่เพิ่มเครื่องผลักดันน้ำให้กับกองทัพเรือ โดยกทม. ก็พร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องผลักดันน้ำให้กับกองทัพเรือ
สำหรับงบประมาณ จำนวน 1,900 ล้านบาทนั้น แบ่งออกเป็นงบประมาณในการสร้างเขื่อน และระบบป้องกันน้ำท่วมประมาณ 900 ล้านบาท การขุดลอกคูคลอง 67 ล้านบาท ระบบประมวลผล 20 กว่าล้าน และเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ ประมาณ 1,000 ล้านบาท
**เติ้งโวบินขอเงินซ่อมบางโฉมศรีเอง
นายบรรหาร ศิลปะอาชา ประธานที่ปรึกษารมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ลงพื้นที่ติดตามการงานซ่อมแซมประตูระบายน้ำบางโฉมศรี และงานก่อสร้างประตูระบายน้ำบางโฉมศรี และสถานีสูบน้ำแห่งใหม่ ที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2555
ระหว่างการบรรยาย นายบรรหารได้พูดอย่างอารมณ์ดี ว่า ถนนกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือเขื่อนชัยนาท ที่กำลังรองบประมาณอยู่ ให้ชลประทานลงมือทำทันที ส่วนงบประมาณตนเองจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งนายบรรหารเปรยออกมาเล่นๆว่า "หากของบประมาณไม่ได้ ก็จะออกเอง หากไม่ได้จริงๆ ก็จะบินไปขอที่ต่างประเทศ จะขอกับใครไม่ขอบอก”
**กมธ.จี้ระบายน้ำเขื่อนป่าสัก
นายนิยม วรปัญญา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะกมธ.วิสามัญศึกษาปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำในเขื่อนสูงเกินเกณฑ์การกักเก็บมากกว่าทุกปี ทำให้เกรงว่าในช่วงฤดูฝนอีกไม่กี่เดือนอาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมได้ รวมทั้งยังมีความตื้นเขินมากขึ้นทำให้น้ำไหลได้น้อย ดังนั้นจึงต้องเร่งระบาย