ศูนย์ข่าวขอนแก่น - กลุ่มอาสาสมัครเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นภาคพลเมืองจังหวัดขอนแก่นยื่นฟ้องศาลปกครองขอนแก่น ให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกมติ ครม.10 ม.ค.55 นำเงินแผ่นดินจ่ายชดเชยหรือจ่ายเป็นค่าจ้างกลุ่ม นปช.ร่วม 2 พันล้านบาท ย้ำพฤติกรรมกลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมเผาบ้านเผาเมืองทำลายชาติ ไม่สมควรได้รับการเยียวยา
วานนี้ (23 ม.ค.) ที่ศาลปกครองจังหวัดขอนแก่น กลุ่มอาสาสมัครเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นภาคพลเมืองจังหวัดขอนแก่น นำโดยนายตุลย์ ประเสริฐศิลป์ ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อศาลปกครองขอนแก่น เพื่อฟ้องคณะรัฐมนตรีชุดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ม.ค.55 และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด กรณีมีมติคณะรัฐมนตรี จ่ายเงินชดเชยให้กับกลุ่มนปช.ที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บระหว่างเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง
นายตุลย์ ประเสริฐศิลป์ แกนนำกลุ่มอาสาสมัครเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นภาคพลเมืองจังหวัดขอนแก่นกล่าวว่า การสั่งจ่ายค่าชดเชยเยียวยากลุ่ม นปช.ตามมติครม.ดังกล่าว ไม่ต่างจากการจ่ายเงินค่าจ้างให้กับกลุ่ม นปช.ที่ได้ร่วมกันชุมนุมโดยไม่สงบและมีอาวุธและก่อเหตุร้ายแรงขึ้นทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง รุนแรงตั้งแต่ปี 2551-2553 และกระทำผิดกฎหมายหลายฉบับต่างกรรมต่างวาระ เช่น ประกาศภาวะฉุกเฉิน (ศ.อ.ฉ.) รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 63, ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความมั่นคงของรัฐ เช่น การยิงอาวุธสงครามร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครหลายครั้ง การวางเพลิงในเขตกทม.และพื้นที่ภาคอีสาน ทั้งเผาศาลากลางจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี มุกดาหารและอุบลราชธานี ก่อความเสียหายจำนวนมาก
การออกมติ ครม.เพื่อจ่ายเงินค่าจ้างดังกล่าว จึงเป็นไปอย่างไม่สุจริต เที่ยงธรรม ที่สำคัญการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงหรือนปช.นั้น มีเป้าหมายเพื่อคนคนเดียว คือ ล้มอำนาจรัฐบาลในขณะนั้น , ให้นักโทษชาย ทักษิณ ชินวัตร พ้นจากความผิดทางอาญา ทางแพ่งและกลับมามีอำนาจทางการเมือง
นายตุลย์ ระบุว่า จากพฤติกรรมที่กระทำอย่างต่อเนื่องเพื่อรับใช้ นช.ทักษิณ ชินวัตรนั้น มิใช่การเรียกร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นการปลุกระดมให้ละเมิดกฎหมายและมีพรรคการเมืองสนับสนุนอยู่เบื้องหลังและเบื้องหน้าตลอดเวลาที่มีการชุมนุม มีการจัดตั้งทางการเมืองเพื่อระดมคนทั่วประเทศ การจ่ายเงินค่าจ้างจำนวน 7.7 ล้านบาท ถือเป็นเงินจำนวนมากและเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินของประชาชนทั้งชาติ
หากทำการจ่ายเงินดังกล่าวจริงย่อมเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่น มาตรา 4,6,29,30 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2552 มาตรา 9(1) และเข้าข่ายเป็นการจ่ายค่าจ้างให้แก่บุคคลอื่น หรือกลุ่มบุคคลให้กระทำการเผาบ้านเผาเมือง เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีในอนาคต
การออกมติ ครม.ดังกล่าวทำให้ประชาชนทั่วประเทศต้องรับภาระ เป็นเงินงบประมาณแผ่นดินที่มาจากการจัดเก็บภาษีของคนทั้งชาติ เพื่อจ่ายให้แก่กลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่ง จะนำไปสู่การเพิ่มภาระหนี้สาธารณะ ให้แก่ระบบการเงินการคลังของประเทศโดยไม่จำเป็น และก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐในระยะยาว ประชาชนส่วนใหญ่ต้องแบกรับหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ ถึงความเสียหายที่จะตามมาในอนาคต มีดังนี้ 1.เกิดความเสียหายต่อวินัยทางการเงิน การคลังของชาติ และการจัดทำงบประมาณแผ่นดินจากการใช่จ่ายเงินจำนวนมาก ประมาณ 2,000 ล้านบาทอย่างไม่คุ้มค่า 2.เกิดความเสียหายต่อหลักนิติรัฐและนิติธรรม 3.เกิดความเสียหายต่อหลักธรรมาภิบาล 4.เป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรง และ 5.เป็นการใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องมากกว่า การยึดผลประโยชน์ของส่วนรวมมาก่อนส่วนตัว
“การยื่นฟ้องต่อศาลปกครองครั้งนี้เราต้องการให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และต้องการให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีที่ออกมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555” นายตุลย์กล่าว
วานนี้ (23 ม.ค.) ที่ศาลปกครองจังหวัดขอนแก่น กลุ่มอาสาสมัครเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นภาคพลเมืองจังหวัดขอนแก่น นำโดยนายตุลย์ ประเสริฐศิลป์ ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อศาลปกครองขอนแก่น เพื่อฟ้องคณะรัฐมนตรีชุดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ม.ค.55 และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด กรณีมีมติคณะรัฐมนตรี จ่ายเงินชดเชยให้กับกลุ่มนปช.ที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บระหว่างเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง
นายตุลย์ ประเสริฐศิลป์ แกนนำกลุ่มอาสาสมัครเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นภาคพลเมืองจังหวัดขอนแก่นกล่าวว่า การสั่งจ่ายค่าชดเชยเยียวยากลุ่ม นปช.ตามมติครม.ดังกล่าว ไม่ต่างจากการจ่ายเงินค่าจ้างให้กับกลุ่ม นปช.ที่ได้ร่วมกันชุมนุมโดยไม่สงบและมีอาวุธและก่อเหตุร้ายแรงขึ้นทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง รุนแรงตั้งแต่ปี 2551-2553 และกระทำผิดกฎหมายหลายฉบับต่างกรรมต่างวาระ เช่น ประกาศภาวะฉุกเฉิน (ศ.อ.ฉ.) รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 63, ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความมั่นคงของรัฐ เช่น การยิงอาวุธสงครามร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครหลายครั้ง การวางเพลิงในเขตกทม.และพื้นที่ภาคอีสาน ทั้งเผาศาลากลางจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี มุกดาหารและอุบลราชธานี ก่อความเสียหายจำนวนมาก
การออกมติ ครม.เพื่อจ่ายเงินค่าจ้างดังกล่าว จึงเป็นไปอย่างไม่สุจริต เที่ยงธรรม ที่สำคัญการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงหรือนปช.นั้น มีเป้าหมายเพื่อคนคนเดียว คือ ล้มอำนาจรัฐบาลในขณะนั้น , ให้นักโทษชาย ทักษิณ ชินวัตร พ้นจากความผิดทางอาญา ทางแพ่งและกลับมามีอำนาจทางการเมือง
นายตุลย์ ระบุว่า จากพฤติกรรมที่กระทำอย่างต่อเนื่องเพื่อรับใช้ นช.ทักษิณ ชินวัตรนั้น มิใช่การเรียกร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นการปลุกระดมให้ละเมิดกฎหมายและมีพรรคการเมืองสนับสนุนอยู่เบื้องหลังและเบื้องหน้าตลอดเวลาที่มีการชุมนุม มีการจัดตั้งทางการเมืองเพื่อระดมคนทั่วประเทศ การจ่ายเงินค่าจ้างจำนวน 7.7 ล้านบาท ถือเป็นเงินจำนวนมากและเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินของประชาชนทั้งชาติ
หากทำการจ่ายเงินดังกล่าวจริงย่อมเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่น มาตรา 4,6,29,30 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2552 มาตรา 9(1) และเข้าข่ายเป็นการจ่ายค่าจ้างให้แก่บุคคลอื่น หรือกลุ่มบุคคลให้กระทำการเผาบ้านเผาเมือง เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีในอนาคต
การออกมติ ครม.ดังกล่าวทำให้ประชาชนทั่วประเทศต้องรับภาระ เป็นเงินงบประมาณแผ่นดินที่มาจากการจัดเก็บภาษีของคนทั้งชาติ เพื่อจ่ายให้แก่กลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่ง จะนำไปสู่การเพิ่มภาระหนี้สาธารณะ ให้แก่ระบบการเงินการคลังของประเทศโดยไม่จำเป็น และก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐในระยะยาว ประชาชนส่วนใหญ่ต้องแบกรับหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ ถึงความเสียหายที่จะตามมาในอนาคต มีดังนี้ 1.เกิดความเสียหายต่อวินัยทางการเงิน การคลังของชาติ และการจัดทำงบประมาณแผ่นดินจากการใช่จ่ายเงินจำนวนมาก ประมาณ 2,000 ล้านบาทอย่างไม่คุ้มค่า 2.เกิดความเสียหายต่อหลักนิติรัฐและนิติธรรม 3.เกิดความเสียหายต่อหลักธรรมาภิบาล 4.เป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรง และ 5.เป็นการใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องมากกว่า การยึดผลประโยชน์ของส่วนรวมมาก่อนส่วนตัว
“การยื่นฟ้องต่อศาลปกครองครั้งนี้เราต้องการให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และต้องการให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีที่ออกมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555” นายตุลย์กล่าว