วานนี้ (19 ม.ค.) นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและเร่งรัดโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ กล่าวถึงกรณีที่นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา ฐานะประธานคณะกรรมการให้คำปรึกษาในการจ้างที่ปรึกษาโครงการและควบคุมงานก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ทำหนังสือรายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างสภาฯใหม่ ต่อสมาชิกวุฒิสภาว่า ถือเป็นเรื่องปกติ ที่นายนิคม จะรายงานความคืบหน้า แต่ตนในฐานะประธานคณะกรรมการติดตาม และเร่งรัดโครงการก็ต้องทำหน้าที่
**ยกเลิก 2 บริษัทก่อสร้าง
ทั้งนี้ ตนได้มีการตรวจสอบ และพบความไม่โปร่งใส และอาจกลายเป็นปัญหาที่อนาคตรัฐสภาอาจถูกฟ้องร้องได้ ได้แก่ บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ควบคุมงาน จำนวน 2 บริษัท มีการทำผิดระเบียบ และกฎหมายเป็นต้น โดยประเด็นนี้ ตนได้สั่งให้ยกเลิกการคัดเลือก 2 บริษัทดังกล่าวแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างข้อกำหนดการประกวดราคา (ทีโออาร์) เพื่อหาผู้ควบคุมงานใหม่ อีกทั้งขณะนี้อยู่ระหว่างการการพิจารณาของประธานสภาฯ ให้ดำเนินคดีกับ 2 บริษัท ดังกล่าวด้วย
"ผมได้รับรับมอบหมายให้ทำหน้าที่ติดตามงานก่อสร้างรัฐสภาใหม่ ก็ต้องตรวจสอบให้เกิดความถูกต้อง แต่มีบางคนบอกว่าให้รีบ แต่จะทำได้อย่างไร เพราะพื้นที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบ ในอนาคตอาจจะเป็นเรื่องที่น่าอาย หากรัฐสภาเป็นแหล่งผลิตกฎหมาย แต่กลับถูกฟ้องซะเอง และหลายคนพยายามโยงไปถึงเรื่องผลประโยชน์ ผลประโยชน์อะไรยังไม่เห็นมีอะไรเลย แต่หากเราเดินหน้าเซ็นต์สัญญา เราต้องแอดวานซ์ เอา 1,800 ล้านบาท ที่สำคัญหากเราส่งมอบพื้นที่ล่าช้า นอกจากจะถูกฟ้องว่าทำผิดสัญญาแล้ว อาจจะบวกสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่าเค) ด้วย” นายเจริญ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงบ่ายวานนี้ (19ม.ค.) นายเจริญได้ลงพื้นที่บริเวณเกียกกาย เพื่อสำรวจความคืบหน้าการเวนคืนพื้นที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาใหม่ พร้อมเปิดเผยเพิ่มเติมถึงรายงานผลสรุปของคณะกรรมการฯ ที่ได้ส่งให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ในประเด็นการย้ายสถานที่ก่อสร้างหรือไม่ โดยกล่าวว่า ส่วนตัวอยากได้ข้อสรุปโดยเร็ว หากเป็นไปได้ควรจะเป็นก่อนสิ้นเดือน ม.ค.นี้
ส่วนกรณีที่นายสมศักดิ์ระบุว่าจะนำเข้าเป็นวาระการประชุม เพื่อให้ที่ประชุมสภาฯ เป็นผู้ลงมติตัดสินใจว่าย้ายหรือไม่ย้ายนั้น ก็เป็นสิ่งที่ทำได้
อย่างไรก็ตาม อยากให้นายสมศักดิ์ กล้าตัดสินใจ เพราะถือเป็นผู้มีสิทธิ์ขาด เพราะถือเป็นในส่วนของนโยบาย สำหรับการชี้แจงทำความเข้าใจกับสมาชิกถือเป็นเพียงวิธีการเท่านั้น ทั้งนั้นทั้งนั้นหากมีการตัดสินใจย้ายสถานที่จริง ก็ต้องมีการนำความเพื่อกราบบังคมทูล เพื่อให้มีพระราชวินิจฉัยลงมาก่อน
นายเจริญ กล่าวด้วยว่า หากมีการตัดสินใจได้เร็ว ก็จะทำให้โครงการสามารถเดินหน้าได้ โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ จ.สระบุรี ที่มีความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย ที่กรรมการฯให้ความเป็นห่วงกันมาก ถ้าเริ่มได้ก็อาจจะแล้วเสร็จก่อน 900 วัน ที่กำหนดไว้เดิมด้วยซ้ำ แต่หากยังคงใช้พื้นที่เดิม บริเวณเกียกกายนี้อยู่ ก็อาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 5 ปี เพราะต้องยอมรับว่า มีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะเรื่องการเวนคืนที่ยังไม่มีหลักประกันว่า จะสามารถใช้พื้นที่ในการก่อสร้างได้ตามกำหนด เพราะที่ดินทั้งหมด 119 ไร่นั้น แบ่งเป็น 6 แปลง 6 เจ้าของ และมีกำหนดการย้ายออกไม่พร้อมกัน สุดท้ายก็จะกลายเป็นปัญหาในที่สุด
รองประธานสภาฯ กล่าวอีกว่า ท้ายที่สุดสภาฯ อาจถูกฟ้องเสียค่าโง่ อย่างเรื่องทางด่วน หรือมีเรื่องคาราคาซัง เหมือนกรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับชุมชนในละแวกแอร์พอร์ตลิ้งค์ ที่ยังฟ้องร้องกันอยู่ในตอนนี้ ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคืนในส่วนของโรงเรียนโยธินบูรณะ ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ แม้ว่าจะเพิ่มมูลค่าการเวนคืนให้แล้วก็ตาม ท้ายที่สุดจะเป็นเรื่องของมวลชนที่ไม่ยอมย้ายออก และทำให้สภาฯต้องไปทะเลาะกับนักเรียน หรือแม้แต่ข้อติดขัดเรื่องสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่จะสร้างบริเวณ ถ.ทหารนั้น ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป จุดนี้ก็อยากเชิญ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.เข้ามาร่วมหารืออีกครั้งด้วย
“เราลงทุน 20,000 กว่าล้านบาท ที่เป็นเงินจากภาษีของประชาชน ไม่ควรมีความเสี่ยงใดๆ ทั้งเรื่องน้ำท่วม หรือระบบการรักษาความปลอดภัย ดังนั้นเรื่องของความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญ และอาคารรัฐสภาใหม่ ก็จะถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเทศ ดังนั้นยืนยันว่า ผมคำนึงถึงเรื่องผลประโยชน์ของชาติเป็นหลักอย่างแน่นอน ดังนั้นหากมีการย้ายไปที่ จ.สระบุรีจริง ก็ไม่ควรนำเรื่องความลำบากในการเดินทางมาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจ เพราะเป็นเพียงเรื่องของแต่ละบุคคลเท่านั้น" นายเจริญ ระบุ
** คาดโยธินฯย้ายออก ก.ค.56
ขณะที่ นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ของแก่น ในฐานะรองประธานคณะกรรมการติดตามและเร่งรัดโครงการก่อสร้าง ได้เป็นประธานในการประชุมเพื่อติดตามการย้ายอาคาร สถานที่ออกจากพื้นที่ก่อสร้างสภาใหม่ ร่วมกับเลขาสำนักงานส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ผู้อำนวยการ และอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนโยธินบูรณะ จากนั้นนายประเสริฐ แถลงว่า ทีมโรงเรียนยืนยันว่าจะย้ายออกอย่างแน่นอน แต่ต้องรอเวลาในการก่อสร้างโรงเรียนให้แล้วเสร็จก่อน เบื้องต้นคาดว่า จะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค.56 จากนั้นจะทำเรื่องให้กรมธนารักษ์ทุบอาคารเรียน ซึ่งต้องใช้เวลาอีก ประมาณ 6 เดือน อย่างไรก็ตาม เนื้อที่ก่อสร้างอีก 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นของหน่วยงานทหาร ที่ขณะนี้พบว่ายังไม่มีการรื้อย้ายอาคารใดๆ ทั้งสิ้น
“ในกรรมการเร่งรัดฯ มองว่าหากรอให้มีการรื้ออาคารในพื้นที่ก่อสร้างออกไป อาจใช้เวลามากกว่าหาพื้นที่ใหม่เพื่อก่อสร้าง ดังนั้นกรรมการจึงเห็นตรงกันโดยไม่มีข้อโต้แย้งว่า ควรย้ายพื้นที่ก่อสร้าง และเมื่อย้ายพื้นที่แล้วเชื่อว่าอาจใช้เวลาไม่เกิน 600 วันก่อสร้างจะแล้วเสร็จ" นายประเสริฐ กล่าว
นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า สำหรับประเด็นจะย้ายหรือไม่นั้นเป็นดุลยพินิจของนายสมศักดิ์ เบื้องต้นนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะใช้วิธีพิจารณาให้รอบคอบ ด้วยการนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา และเมื่อที่ประชุมเห็นว่าควรย้าย ควรเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณานำความกราบบังคมทูลพระบรมโอรสาธิราช ให้ทรงทราบ
**ยกเลิก 2 บริษัทก่อสร้าง
ทั้งนี้ ตนได้มีการตรวจสอบ และพบความไม่โปร่งใส และอาจกลายเป็นปัญหาที่อนาคตรัฐสภาอาจถูกฟ้องร้องได้ ได้แก่ บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ควบคุมงาน จำนวน 2 บริษัท มีการทำผิดระเบียบ และกฎหมายเป็นต้น โดยประเด็นนี้ ตนได้สั่งให้ยกเลิกการคัดเลือก 2 บริษัทดังกล่าวแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างข้อกำหนดการประกวดราคา (ทีโออาร์) เพื่อหาผู้ควบคุมงานใหม่ อีกทั้งขณะนี้อยู่ระหว่างการการพิจารณาของประธานสภาฯ ให้ดำเนินคดีกับ 2 บริษัท ดังกล่าวด้วย
"ผมได้รับรับมอบหมายให้ทำหน้าที่ติดตามงานก่อสร้างรัฐสภาใหม่ ก็ต้องตรวจสอบให้เกิดความถูกต้อง แต่มีบางคนบอกว่าให้รีบ แต่จะทำได้อย่างไร เพราะพื้นที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบ ในอนาคตอาจจะเป็นเรื่องที่น่าอาย หากรัฐสภาเป็นแหล่งผลิตกฎหมาย แต่กลับถูกฟ้องซะเอง และหลายคนพยายามโยงไปถึงเรื่องผลประโยชน์ ผลประโยชน์อะไรยังไม่เห็นมีอะไรเลย แต่หากเราเดินหน้าเซ็นต์สัญญา เราต้องแอดวานซ์ เอา 1,800 ล้านบาท ที่สำคัญหากเราส่งมอบพื้นที่ล่าช้า นอกจากจะถูกฟ้องว่าทำผิดสัญญาแล้ว อาจจะบวกสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่าเค) ด้วย” นายเจริญ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงบ่ายวานนี้ (19ม.ค.) นายเจริญได้ลงพื้นที่บริเวณเกียกกาย เพื่อสำรวจความคืบหน้าการเวนคืนพื้นที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาใหม่ พร้อมเปิดเผยเพิ่มเติมถึงรายงานผลสรุปของคณะกรรมการฯ ที่ได้ส่งให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ในประเด็นการย้ายสถานที่ก่อสร้างหรือไม่ โดยกล่าวว่า ส่วนตัวอยากได้ข้อสรุปโดยเร็ว หากเป็นไปได้ควรจะเป็นก่อนสิ้นเดือน ม.ค.นี้
ส่วนกรณีที่นายสมศักดิ์ระบุว่าจะนำเข้าเป็นวาระการประชุม เพื่อให้ที่ประชุมสภาฯ เป็นผู้ลงมติตัดสินใจว่าย้ายหรือไม่ย้ายนั้น ก็เป็นสิ่งที่ทำได้
อย่างไรก็ตาม อยากให้นายสมศักดิ์ กล้าตัดสินใจ เพราะถือเป็นผู้มีสิทธิ์ขาด เพราะถือเป็นในส่วนของนโยบาย สำหรับการชี้แจงทำความเข้าใจกับสมาชิกถือเป็นเพียงวิธีการเท่านั้น ทั้งนั้นทั้งนั้นหากมีการตัดสินใจย้ายสถานที่จริง ก็ต้องมีการนำความเพื่อกราบบังคมทูล เพื่อให้มีพระราชวินิจฉัยลงมาก่อน
นายเจริญ กล่าวด้วยว่า หากมีการตัดสินใจได้เร็ว ก็จะทำให้โครงการสามารถเดินหน้าได้ โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ จ.สระบุรี ที่มีความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย ที่กรรมการฯให้ความเป็นห่วงกันมาก ถ้าเริ่มได้ก็อาจจะแล้วเสร็จก่อน 900 วัน ที่กำหนดไว้เดิมด้วยซ้ำ แต่หากยังคงใช้พื้นที่เดิม บริเวณเกียกกายนี้อยู่ ก็อาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 5 ปี เพราะต้องยอมรับว่า มีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะเรื่องการเวนคืนที่ยังไม่มีหลักประกันว่า จะสามารถใช้พื้นที่ในการก่อสร้างได้ตามกำหนด เพราะที่ดินทั้งหมด 119 ไร่นั้น แบ่งเป็น 6 แปลง 6 เจ้าของ และมีกำหนดการย้ายออกไม่พร้อมกัน สุดท้ายก็จะกลายเป็นปัญหาในที่สุด
รองประธานสภาฯ กล่าวอีกว่า ท้ายที่สุดสภาฯ อาจถูกฟ้องเสียค่าโง่ อย่างเรื่องทางด่วน หรือมีเรื่องคาราคาซัง เหมือนกรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับชุมชนในละแวกแอร์พอร์ตลิ้งค์ ที่ยังฟ้องร้องกันอยู่ในตอนนี้ ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคืนในส่วนของโรงเรียนโยธินบูรณะ ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ แม้ว่าจะเพิ่มมูลค่าการเวนคืนให้แล้วก็ตาม ท้ายที่สุดจะเป็นเรื่องของมวลชนที่ไม่ยอมย้ายออก และทำให้สภาฯต้องไปทะเลาะกับนักเรียน หรือแม้แต่ข้อติดขัดเรื่องสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่จะสร้างบริเวณ ถ.ทหารนั้น ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป จุดนี้ก็อยากเชิญ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.เข้ามาร่วมหารืออีกครั้งด้วย
“เราลงทุน 20,000 กว่าล้านบาท ที่เป็นเงินจากภาษีของประชาชน ไม่ควรมีความเสี่ยงใดๆ ทั้งเรื่องน้ำท่วม หรือระบบการรักษาความปลอดภัย ดังนั้นเรื่องของความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญ และอาคารรัฐสภาใหม่ ก็จะถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเทศ ดังนั้นยืนยันว่า ผมคำนึงถึงเรื่องผลประโยชน์ของชาติเป็นหลักอย่างแน่นอน ดังนั้นหากมีการย้ายไปที่ จ.สระบุรีจริง ก็ไม่ควรนำเรื่องความลำบากในการเดินทางมาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจ เพราะเป็นเพียงเรื่องของแต่ละบุคคลเท่านั้น" นายเจริญ ระบุ
** คาดโยธินฯย้ายออก ก.ค.56
ขณะที่ นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ของแก่น ในฐานะรองประธานคณะกรรมการติดตามและเร่งรัดโครงการก่อสร้าง ได้เป็นประธานในการประชุมเพื่อติดตามการย้ายอาคาร สถานที่ออกจากพื้นที่ก่อสร้างสภาใหม่ ร่วมกับเลขาสำนักงานส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ผู้อำนวยการ และอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนโยธินบูรณะ จากนั้นนายประเสริฐ แถลงว่า ทีมโรงเรียนยืนยันว่าจะย้ายออกอย่างแน่นอน แต่ต้องรอเวลาในการก่อสร้างโรงเรียนให้แล้วเสร็จก่อน เบื้องต้นคาดว่า จะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค.56 จากนั้นจะทำเรื่องให้กรมธนารักษ์ทุบอาคารเรียน ซึ่งต้องใช้เวลาอีก ประมาณ 6 เดือน อย่างไรก็ตาม เนื้อที่ก่อสร้างอีก 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นของหน่วยงานทหาร ที่ขณะนี้พบว่ายังไม่มีการรื้อย้ายอาคารใดๆ ทั้งสิ้น
“ในกรรมการเร่งรัดฯ มองว่าหากรอให้มีการรื้ออาคารในพื้นที่ก่อสร้างออกไป อาจใช้เวลามากกว่าหาพื้นที่ใหม่เพื่อก่อสร้าง ดังนั้นกรรมการจึงเห็นตรงกันโดยไม่มีข้อโต้แย้งว่า ควรย้ายพื้นที่ก่อสร้าง และเมื่อย้ายพื้นที่แล้วเชื่อว่าอาจใช้เวลาไม่เกิน 600 วันก่อสร้างจะแล้วเสร็จ" นายประเสริฐ กล่าว
นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า สำหรับประเด็นจะย้ายหรือไม่นั้นเป็นดุลยพินิจของนายสมศักดิ์ เบื้องต้นนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะใช้วิธีพิจารณาให้รอบคอบ ด้วยการนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา และเมื่อที่ประชุมเห็นว่าควรย้าย ควรเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณานำความกราบบังคมทูลพระบรมโอรสาธิราช ให้ทรงทราบ