การพังทลายของตลาดหุ้นในปี 2537 ทำให้ค่าเงินบาทเสียหาย สภาพคล่องเสียหาย เกิดการล้มลงของภาคการเงินและภาคการผลิตจริง คนตกงานมาก เกิดหนี้เสีย เงินเฟ้อสูง ในที่สุดต้องลอยค่าเงินบาทและเข้าโครงการไอเอ็มเอฟครั้งที่ 2 เมื่อกลางปี 2540 และก็ได้มีความพยายามแก้ปัญหาดังกล่าว
การล้มลงครั้งใหญ่ของระบบเศรษฐกิจไทยระหว่างปี 2537-2540 ทำให้ปี 2541 เกิดหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู 1.392 ล้านล้านบาท จากปี 2541-2553 หรือระยะเวลา 12 ปีของการแก้ปัญหา ธปท.เป็นผู้ใช้หนี้เงินต้นปีละประมาณ 20,000 ล้านบาท ชำระเงินต้น 12 ปีเป็นเงินประมาณ 2.5 แสนล้านบาท กระทรวงการคลังเป็นผู้ชำระดอกเบี้ยปีละประมาณ 50,000 ล้านบาท ชำระดอกเบี้ย 12 ปี เป็นเงินประมาณ 6.04 แสนล้านบาท ยังคงมีหนี้เหลือที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู 1.14 ล้านล้านบาท
กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ บริษัท บริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด และถือหุ้น 55 เปอร์เซ็นต์ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ที่มีสินทรัพย์รวมกันประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยส่วนใหญ่สินทรัพย์ที่มี เป็นการซื้อหนี้จากสถาบันการเงินที่ล้มลงที่มีส่วนลด 75-85 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีรายงานว่าได้มีการนำส่งผลประโยชน์รายได้จากบริษัทต่างๆ ดังกล่าว มาช่วยใช้หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟู และยังมีข่าวบอกว่าบางบริษัทจะแปรรูปเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น สงสัยว่าบริษัทดังกล่าวทุกวันนี้ไม่ได้เป็นของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูแล้วหรืออย่างไร
สถาบันคุ้มครองเงินฝากตั้งขึ้นในปี 2551 บทบาทของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูถูกปิดลงชั่วคราว โดยมีโครงการจะปิดถาวรในปี 2556 หรือหลังการเปิดสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 5 ปี รายได้ค่าธรรมเนียม 0.4 เปอร์เซ็นต์ของเงินฝากที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูที่เคยเรียกเก็บจากสถาบันการเงิน ก็ไม่ได้เรียกเก็บอีกต่อไป กลายมาเป็นรายได้ของสถาบันคุ้มครองเงินฝากแทน ทุกวันนี้สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีเงินทุนจากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวประมาณ 8 หมื่นล้านบาท
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูจึงไม่มีรายได้อะไรเป็นของตนเอง ผลประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ ก็ไม่มีเข้ามา ค่าธรรมเนียมจากเงินฝากก็ถูกสถาบันคุ้มครองเงินฝากเอาไป ทำให้ภาระหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูกลายมาเป็นภาระจากภาษีของประชาชนแต่อย่างเดียว ไม่เช่นนั้นหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูคงไม่เหลือสูงถึง 1.14 ล้านล้านบาท คงจะเหลือเพียง 8-9 แสนล้านล้านบาทเท่านั้น
หนี้ที่เกิดขึ้นจากการพังทลายของตลาดหุ้นระหว่างปี 2521-2527 เคยเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่งแล้ว จากโครงการ 4 เมษายน 2527 โดย ธปท.เข้าควบกิจการ 25 ไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ ใช้เวลา 10-15 ปีในการจัดการหนี้ ทำให้การจัดการหนี้ผ่านไปโดยทุลักทุเล ผู้ฝากเงินหลายรายไม่รับดอกเบี้ยและยอมลดเงินต้น หนี้เสียของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูนี้ จึงเป็นหนี้เสียกองที่ 2 จากการพังทลายของตลาดหุ้นระหว่างปี 2537- 2540
ที่จริงแล้วหนี้ทั้ง 2 กองนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้น สถาบันการเงินล้มลงยังไม่พอ ยังต้องเสียทรัพยากรมหาศาลในการจัดการหนี้เหล่านี้อีก ธปท.ก็ยังไม่คิดแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ยังคงคิดแก้แต่ปลายเหตุของการแก้ปัญหาเหมือนเดิม เห็นได้จากการตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นมาอีก ปรัชญาของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีข้อแตกต่างจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูบ้าง แต่สาระใหญ่ยังเหมือนเดิม คือการคุ้มครองเงินฝาก และหากเกิดการพังทลายของตลาดหุ้นอีก หนี้กองใหม่อาจจะโตกว่า 4 ล้านล้านบาทได้
การโอนการจัดการหนี้ทั้งหมดของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูไปให้ ธปท.โดยเชื่อว่าเป็นการช่วยลดอัตราส่วนของหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลง เพื่อที่จะสามารถกู้เงินเพิ่มได้ จึงไม่ได้ช่วยในการแก้ปัญหาแต่อย่างใด จะทำให้ปัญหาเรื้อรังมากยิ่งขึ้น ดูจากข้อมูลที่นำเสนอแล้วจะเห็นว่า ธปท.ไม่สามารถที่จะจัดการหนี้นี้ได้ทั้งหมด ทางที่จะทำได้คือต้องพิมพ์เงินมาใช้หนี้ ซึ่งจะทำให้ความเชื่อมั่นต่อพันธบัตรไทยตกลง
ที่สำคัญไม่ได้มีการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดหนี้กองใหม่ที่กองใหญ่กว่าเดิมอีก
ประเทศไทยยังหารัฐมนตรีคลังที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของประเทศไม่ได้ มีแต่มาเพิ่มปัญหาให้กับประเทศ
http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@gmail.com
การล้มลงครั้งใหญ่ของระบบเศรษฐกิจไทยระหว่างปี 2537-2540 ทำให้ปี 2541 เกิดหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู 1.392 ล้านล้านบาท จากปี 2541-2553 หรือระยะเวลา 12 ปีของการแก้ปัญหา ธปท.เป็นผู้ใช้หนี้เงินต้นปีละประมาณ 20,000 ล้านบาท ชำระเงินต้น 12 ปีเป็นเงินประมาณ 2.5 แสนล้านบาท กระทรวงการคลังเป็นผู้ชำระดอกเบี้ยปีละประมาณ 50,000 ล้านบาท ชำระดอกเบี้ย 12 ปี เป็นเงินประมาณ 6.04 แสนล้านบาท ยังคงมีหนี้เหลือที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู 1.14 ล้านล้านบาท
กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ บริษัท บริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด และถือหุ้น 55 เปอร์เซ็นต์ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ที่มีสินทรัพย์รวมกันประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยส่วนใหญ่สินทรัพย์ที่มี เป็นการซื้อหนี้จากสถาบันการเงินที่ล้มลงที่มีส่วนลด 75-85 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีรายงานว่าได้มีการนำส่งผลประโยชน์รายได้จากบริษัทต่างๆ ดังกล่าว มาช่วยใช้หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟู และยังมีข่าวบอกว่าบางบริษัทจะแปรรูปเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น สงสัยว่าบริษัทดังกล่าวทุกวันนี้ไม่ได้เป็นของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูแล้วหรืออย่างไร
สถาบันคุ้มครองเงินฝากตั้งขึ้นในปี 2551 บทบาทของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูถูกปิดลงชั่วคราว โดยมีโครงการจะปิดถาวรในปี 2556 หรือหลังการเปิดสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 5 ปี รายได้ค่าธรรมเนียม 0.4 เปอร์เซ็นต์ของเงินฝากที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูที่เคยเรียกเก็บจากสถาบันการเงิน ก็ไม่ได้เรียกเก็บอีกต่อไป กลายมาเป็นรายได้ของสถาบันคุ้มครองเงินฝากแทน ทุกวันนี้สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีเงินทุนจากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวประมาณ 8 หมื่นล้านบาท
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูจึงไม่มีรายได้อะไรเป็นของตนเอง ผลประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ ก็ไม่มีเข้ามา ค่าธรรมเนียมจากเงินฝากก็ถูกสถาบันคุ้มครองเงินฝากเอาไป ทำให้ภาระหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูกลายมาเป็นภาระจากภาษีของประชาชนแต่อย่างเดียว ไม่เช่นนั้นหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูคงไม่เหลือสูงถึง 1.14 ล้านล้านบาท คงจะเหลือเพียง 8-9 แสนล้านล้านบาทเท่านั้น
หนี้ที่เกิดขึ้นจากการพังทลายของตลาดหุ้นระหว่างปี 2521-2527 เคยเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่งแล้ว จากโครงการ 4 เมษายน 2527 โดย ธปท.เข้าควบกิจการ 25 ไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ ใช้เวลา 10-15 ปีในการจัดการหนี้ ทำให้การจัดการหนี้ผ่านไปโดยทุลักทุเล ผู้ฝากเงินหลายรายไม่รับดอกเบี้ยและยอมลดเงินต้น หนี้เสียของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูนี้ จึงเป็นหนี้เสียกองที่ 2 จากการพังทลายของตลาดหุ้นระหว่างปี 2537- 2540
ที่จริงแล้วหนี้ทั้ง 2 กองนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้น สถาบันการเงินล้มลงยังไม่พอ ยังต้องเสียทรัพยากรมหาศาลในการจัดการหนี้เหล่านี้อีก ธปท.ก็ยังไม่คิดแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ยังคงคิดแก้แต่ปลายเหตุของการแก้ปัญหาเหมือนเดิม เห็นได้จากการตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นมาอีก ปรัชญาของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีข้อแตกต่างจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูบ้าง แต่สาระใหญ่ยังเหมือนเดิม คือการคุ้มครองเงินฝาก และหากเกิดการพังทลายของตลาดหุ้นอีก หนี้กองใหม่อาจจะโตกว่า 4 ล้านล้านบาทได้
การโอนการจัดการหนี้ทั้งหมดของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูไปให้ ธปท.โดยเชื่อว่าเป็นการช่วยลดอัตราส่วนของหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลง เพื่อที่จะสามารถกู้เงินเพิ่มได้ จึงไม่ได้ช่วยในการแก้ปัญหาแต่อย่างใด จะทำให้ปัญหาเรื้อรังมากยิ่งขึ้น ดูจากข้อมูลที่นำเสนอแล้วจะเห็นว่า ธปท.ไม่สามารถที่จะจัดการหนี้นี้ได้ทั้งหมด ทางที่จะทำได้คือต้องพิมพ์เงินมาใช้หนี้ ซึ่งจะทำให้ความเชื่อมั่นต่อพันธบัตรไทยตกลง
ที่สำคัญไม่ได้มีการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดหนี้กองใหม่ที่กองใหญ่กว่าเดิมอีก
ประเทศไทยยังหารัฐมนตรีคลังที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของประเทศไม่ได้ มีแต่มาเพิ่มปัญหาให้กับประเทศ
http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@gmail.com