จากการศึกษาติดตามศึกษาข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ได้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด บันทึกเป็นกลไกได้อย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเกิดกับประเทศไหน ปีใด จะเป็นแบบเดียวกัน นั่นคือ เมื่อตลาดหุ้นตกหนัก
1) จะทำให้ค่าเงินเสียหาย เงินนั้นไม่ได้รับความเชื่อมั่น ทำให้เงินไหลออกจากระบบ ไปถือเงินสกุลอื่น หรือซื้อสินทรัพย์ในรูปของเงินสกุลอื่น
2) สภาพคล่องของระบบเสียหาย เพราะเงินไหลออก ทำให้ปริมาณเงินในระบบมีน้อย
3) ทำให้ภาคการผลิตจริง และภาคการเงินล้มลง เพราะสภาพคล่องของระบบเสียหาย
4) ทำให้เคนตกงาน เหตุเพราะเอกชนล้มลง
5) เกิดหนี้เสียท่วมระบบ และหนี้สาธารณะสูง เหตุเพราะเอกชนล้มลง
6) ทำให้เงินเฟ้อสูง หรือค่าครองชีพสูงขึ้น เหตุเพราะค่าเงินเสียหายหรือมีค่าเล็กลง
ยกตัวอย่าง
1) ประเทศไทยเปิดตลาดหุ้นในปี 2518 ตลาดหุ้นถูกลากขึ้นไปสูงสุดในต้นปี 2521 จากนั้นก็ถล่มทลายพังลงมารุนแรง และมาต่ำสุดในปี 2524-2525 หรือตกลงมา 62 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นพบว่าต้องประกาศ “ลดค่าเงินบาท” 3-4 ครั้ง จาก 20.672 ลงมาต่ำสุดที่ 28.12 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรือลดลงประมาณ 27 เปอร์เซ็นต์ (http://yfrog.com/h2jt50dj) สภาพคล่องของระบบเสียหาย ภาคการผลิตจริงล้ม สถาบันการเงินก็ล้ม ทางการต้องเข้าไปควบกิจการไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ 25 แห่ง เรียกว่าโครงการ 4 เมษายน 2527 ประเทศไทยต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟเป็นครั้งแรก ใช้เงินกู้ไอเอ็มเอฟ 982 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้มีการตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในปี 2528 มีปรัชญาที่จะช่วยสถาบันการเงินเมื่อสภาพคล่องมีปัญหา และช่วยรับผิดชอบเงินฝากของระบบ
2) ประเทศไทยได้นำระบบ Maintenance margin & Forced sell หรือระบบให้กู้ยืมเงินมาซื้อขายหุ้น และสามารถบังคับขายหุ้นได้ มาใช้ในเดือนตุลาคม 2536 ทำให้ตลาดหุ้นถูกลากขึ้นไปสูงสุดที่ 1,750 จุด จากนั้นก็มีการทุบถล่มทิ้งหุ้นลงมารุนแรง ยิ่งมีการบังคับขายหุ้นด้วย ยิ่งซ้ำเติมให้ตลาดหุ้นตกหนักยิ่งกว่าเดิม ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย หุ้นตกหนักทำให้ค่าเงินบาทตกด้วย (http://yfrog.com/j2pi1aj) แต่ทางการได้เข้าปกป้องค่าเงินบาทไว้ในช่วงแรก จึงไม่เห็นว่าค่าเงินตก กระทั่งทุนสำรองสุทธิลดลงจากระดับ 4 หมื่นล้าน เหลือไม่ถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (http://yfrog.com/ntlp00j) ประเทศไทยจึงต้องขอเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินครั้งที่ 2 จากไอเอ็มเอฟ และประกาศ “ลอยค่าเงินบาท” ประเทศไทยได้ใช้เงินกู้ไอเอ็มเอฟ 12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ ทางการต้องประกาศยุติการดำเนินงานของสถาบันการเงิน 56 แห่ง เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 ทำให้เกิดหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 1.392 ล้านล้านบาท (http://yfrog.com/j2t3p3j) ถึงปี 2553 ยังมีหนี้คงค้างอยู่ 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งจะต้องใช้เวลา 45 ปี จึงจะใช้หนี้ก้อนนี้ได้หมด กองทุนยังมีสินทรัพย์รอการจำหน่ายเหลืออยู่ประมาณ 2 แสนล้านบาท ทางการกำลังจะยุติบทบาทของกองทุนฟื้นฟู แต่ก็ตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นมาเมื่อปี 2551 ที่มีลักษณะคล้ายกองทุนเพื่อการฟื้นฟู โดยไม่มีการช่วยเหลือสภาพคล่องของสถาบันการเงิน แต่จะรอช่วยเหลือเงินฝากของระบบเมื่อเกิดปัญหาเป็นสำคัญ
3) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ปรับปรุงตัวหุ้นในการคำนวณดัชนี Nasdaq Index ในปี 1999 (2542) โดยได้เพิ่มหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูง 3-4 ตัวเข้าไปในการคำนวณดัชนี เช่นหุ้นไมโครซอฟท์ Nasdaq Index เป็น Capitalization Weighted Index ส่งผลให้ Nasdaq Index มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงขึ้นทันที ทำให้ดัชนีอ่อนแอลง ทำให้มีการลากดัชนีจากระดับ 2,500 จุด ในต้นปี 2000 ที่ 5,000 จุด จากนั้นก็ถล่มทุบลงมารุนแรง ลงไปต่ำสุดในปี 2002 ตกลง 78 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาก็ตามมา (http://yfrog.com/h7a0oyqj) ก็เป็นแบบเดียวกันกับที่เคยเกิดกับประเทศไทย หรือเป็นไปตามกลไกการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ 6 ข้อ ที่กล่าวไว้ในช่วงต้น เช่น การเสียหายของค่าเงินเหรียญสหรัฐ การล้มละลายของเอกชน เกิดหนี้เสีย คนตกงาน (http://yfrog.com/h20t2bj) เงินเฟ้อสูงขึ้น คนอเมริกันเดือดร้อนกันทั่วหน้า เห็นได้จากการออกมาชุมนุมตามเมืองใหญ่ทั่วประเทศ (Occupy Wall Street) เรียกร้องตำแหน่งงาน และสมดุลทางรายได้ เงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถือเสมือนว่าเป็นสกุลเงินของโลกได้ ส่งผลให้เงินเฟ้อ และค่าครองชีพทั่วโลกสูงขึ้นด้วย เดือดร้อนกันไปทั่วทั้งโลก
ประเทศสหรัฐอเมริกาเปิดตลาดหุ้นมาได้กว่า 100 ปีแล้ว หากตลาดหุ้นดีจริง ประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่ยากจนลงเช่นทุกวันนี้ หนี้ท่วมประเทศ คนตกงานมาก ตลาดหุ้นเป็นต้นเหตุให้เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาเสื่อม
ประเทศไทยตั้งตลาดหุ้นมาได้ 36 ปีแล้ว นำพาเศรษฐกิจประเทศสู่วิกฤต กระทั่งต้องเข้าไอเอ็มเอฟมาแล้วถึง 2 ครั้ง แล้วยังคิดจะแปรรูปตลาดหุ้นอีก ใจร้ายกับประเทศไทยมาก จะมีใครช่วยยับยั้งตลาดหุ้นไทยได้บ้าง back to basic เหลือตลาดเงินอย่างเดียว ก็จะทำให้ประเทศไทยดีขึ้น
ความมั่นคงของระบบต่างหากคือสิ่งที่มีคุณค่าต่อระบบ ไม่ใช่ความมั่งคั่ง ซึ่งเอารัดเอาเปรียบระบบ ทุกวันนี้ก็เป็นเพียงความมั่งคั่งจอมปลอม ไม่พบว่าประเทศใดมั่งคั่งจากการเปิดตลาดหุ้น
indexthai2@yahoo.com
http://twitter.com/indexthai2
1) จะทำให้ค่าเงินเสียหาย เงินนั้นไม่ได้รับความเชื่อมั่น ทำให้เงินไหลออกจากระบบ ไปถือเงินสกุลอื่น หรือซื้อสินทรัพย์ในรูปของเงินสกุลอื่น
2) สภาพคล่องของระบบเสียหาย เพราะเงินไหลออก ทำให้ปริมาณเงินในระบบมีน้อย
3) ทำให้ภาคการผลิตจริง และภาคการเงินล้มลง เพราะสภาพคล่องของระบบเสียหาย
4) ทำให้เคนตกงาน เหตุเพราะเอกชนล้มลง
5) เกิดหนี้เสียท่วมระบบ และหนี้สาธารณะสูง เหตุเพราะเอกชนล้มลง
6) ทำให้เงินเฟ้อสูง หรือค่าครองชีพสูงขึ้น เหตุเพราะค่าเงินเสียหายหรือมีค่าเล็กลง
ยกตัวอย่าง
1) ประเทศไทยเปิดตลาดหุ้นในปี 2518 ตลาดหุ้นถูกลากขึ้นไปสูงสุดในต้นปี 2521 จากนั้นก็ถล่มทลายพังลงมารุนแรง และมาต่ำสุดในปี 2524-2525 หรือตกลงมา 62 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นพบว่าต้องประกาศ “ลดค่าเงินบาท” 3-4 ครั้ง จาก 20.672 ลงมาต่ำสุดที่ 28.12 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรือลดลงประมาณ 27 เปอร์เซ็นต์ (http://yfrog.com/h2jt50dj) สภาพคล่องของระบบเสียหาย ภาคการผลิตจริงล้ม สถาบันการเงินก็ล้ม ทางการต้องเข้าไปควบกิจการไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ 25 แห่ง เรียกว่าโครงการ 4 เมษายน 2527 ประเทศไทยต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟเป็นครั้งแรก ใช้เงินกู้ไอเอ็มเอฟ 982 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้มีการตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในปี 2528 มีปรัชญาที่จะช่วยสถาบันการเงินเมื่อสภาพคล่องมีปัญหา และช่วยรับผิดชอบเงินฝากของระบบ
2) ประเทศไทยได้นำระบบ Maintenance margin & Forced sell หรือระบบให้กู้ยืมเงินมาซื้อขายหุ้น และสามารถบังคับขายหุ้นได้ มาใช้ในเดือนตุลาคม 2536 ทำให้ตลาดหุ้นถูกลากขึ้นไปสูงสุดที่ 1,750 จุด จากนั้นก็มีการทุบถล่มทิ้งหุ้นลงมารุนแรง ยิ่งมีการบังคับขายหุ้นด้วย ยิ่งซ้ำเติมให้ตลาดหุ้นตกหนักยิ่งกว่าเดิม ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย หุ้นตกหนักทำให้ค่าเงินบาทตกด้วย (http://yfrog.com/j2pi1aj) แต่ทางการได้เข้าปกป้องค่าเงินบาทไว้ในช่วงแรก จึงไม่เห็นว่าค่าเงินตก กระทั่งทุนสำรองสุทธิลดลงจากระดับ 4 หมื่นล้าน เหลือไม่ถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (http://yfrog.com/ntlp00j) ประเทศไทยจึงต้องขอเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินครั้งที่ 2 จากไอเอ็มเอฟ และประกาศ “ลอยค่าเงินบาท” ประเทศไทยได้ใช้เงินกู้ไอเอ็มเอฟ 12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ ทางการต้องประกาศยุติการดำเนินงานของสถาบันการเงิน 56 แห่ง เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 ทำให้เกิดหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 1.392 ล้านล้านบาท (http://yfrog.com/j2t3p3j) ถึงปี 2553 ยังมีหนี้คงค้างอยู่ 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งจะต้องใช้เวลา 45 ปี จึงจะใช้หนี้ก้อนนี้ได้หมด กองทุนยังมีสินทรัพย์รอการจำหน่ายเหลืออยู่ประมาณ 2 แสนล้านบาท ทางการกำลังจะยุติบทบาทของกองทุนฟื้นฟู แต่ก็ตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นมาเมื่อปี 2551 ที่มีลักษณะคล้ายกองทุนเพื่อการฟื้นฟู โดยไม่มีการช่วยเหลือสภาพคล่องของสถาบันการเงิน แต่จะรอช่วยเหลือเงินฝากของระบบเมื่อเกิดปัญหาเป็นสำคัญ
3) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ปรับปรุงตัวหุ้นในการคำนวณดัชนี Nasdaq Index ในปี 1999 (2542) โดยได้เพิ่มหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูง 3-4 ตัวเข้าไปในการคำนวณดัชนี เช่นหุ้นไมโครซอฟท์ Nasdaq Index เป็น Capitalization Weighted Index ส่งผลให้ Nasdaq Index มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงขึ้นทันที ทำให้ดัชนีอ่อนแอลง ทำให้มีการลากดัชนีจากระดับ 2,500 จุด ในต้นปี 2000 ที่ 5,000 จุด จากนั้นก็ถล่มทุบลงมารุนแรง ลงไปต่ำสุดในปี 2002 ตกลง 78 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาก็ตามมา (http://yfrog.com/h7a0oyqj) ก็เป็นแบบเดียวกันกับที่เคยเกิดกับประเทศไทย หรือเป็นไปตามกลไกการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ 6 ข้อ ที่กล่าวไว้ในช่วงต้น เช่น การเสียหายของค่าเงินเหรียญสหรัฐ การล้มละลายของเอกชน เกิดหนี้เสีย คนตกงาน (http://yfrog.com/h20t2bj) เงินเฟ้อสูงขึ้น คนอเมริกันเดือดร้อนกันทั่วหน้า เห็นได้จากการออกมาชุมนุมตามเมืองใหญ่ทั่วประเทศ (Occupy Wall Street) เรียกร้องตำแหน่งงาน และสมดุลทางรายได้ เงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถือเสมือนว่าเป็นสกุลเงินของโลกได้ ส่งผลให้เงินเฟ้อ และค่าครองชีพทั่วโลกสูงขึ้นด้วย เดือดร้อนกันไปทั่วทั้งโลก
ประเทศสหรัฐอเมริกาเปิดตลาดหุ้นมาได้กว่า 100 ปีแล้ว หากตลาดหุ้นดีจริง ประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่ยากจนลงเช่นทุกวันนี้ หนี้ท่วมประเทศ คนตกงานมาก ตลาดหุ้นเป็นต้นเหตุให้เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาเสื่อม
ประเทศไทยตั้งตลาดหุ้นมาได้ 36 ปีแล้ว นำพาเศรษฐกิจประเทศสู่วิกฤต กระทั่งต้องเข้าไอเอ็มเอฟมาแล้วถึง 2 ครั้ง แล้วยังคิดจะแปรรูปตลาดหุ้นอีก ใจร้ายกับประเทศไทยมาก จะมีใครช่วยยับยั้งตลาดหุ้นไทยได้บ้าง back to basic เหลือตลาดเงินอย่างเดียว ก็จะทำให้ประเทศไทยดีขึ้น
ความมั่นคงของระบบต่างหากคือสิ่งที่มีคุณค่าต่อระบบ ไม่ใช่ความมั่งคั่ง ซึ่งเอารัดเอาเปรียบระบบ ทุกวันนี้ก็เป็นเพียงความมั่งคั่งจอมปลอม ไม่พบว่าประเทศใดมั่งคั่งจากการเปิดตลาดหุ้น
indexthai2@yahoo.com
http://twitter.com/indexthai2