เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในภาคใต้ได้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ และมีการปิดถนนทำให้การจราจรติดขัดหลายชั่วโมง และจำนวนรถที่ติดเป็นแถวยาวนับสิบกิโลเมตร เป็นเหตุให้ผู้ขับขี่รถยนต์รายหนึ่งใจร้อนควักปืนออกมายิงกราดถูกผู้ชุมนุมบาดเจ็บไป 4 ราย
แต่อย่างไรก็ตาม ในที่สุดการชุมนุมก็ยุติลงเมื่อตัวแทนจากภาครัฐได้มาพบ และรับปากว่าจะดำเนินการให้ตามที่ผู้ชุมนุมเรียกร้อง โดยจะช่วยให้ราคายางขายได้ในราคากิโลกรัมละ 13 บาท จึงทำให้ผู้ชุมนุมพอใจและสลายตัวกลับไป และก่อนกลับผู้ชุมนุมได้บอกแกมขู่ว่า ถ้ารัฐไม่แก้ปัญหาตามที่รับปากไว้ จะกลับมาชุมนุมกันใหม่
อะไรเป็นเหตุให้ราคายางตกต่ำ และรัฐบาลจะแก้ปัญหานี้อย่างไร แก้แล้วเป็นที่พอใจของเกษตรกรหรือไม่
ก่อนที่จะตอบปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูการแก้ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด เป็นต้น รัฐบาลเกือบทุกรัฐบาลจะใช้นโยบายแทรกแซงราคาโดยการประกันราคาด้วยการให้หน่วยงานรัฐเข้าไปรับซื้อ หรือเข้าไปรับจำนำเพื่อพยุงราคามิให้เกษตรกรถูกกดราคารับซื้อจากพ่อค้าคนกลาง
วิธีการช่วยเหลือด้วยการแทรกแซงราคา ถ้ามองในแง่ของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็นับได้ว่าเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรได้ในระดับหนึ่งในปีหนึ่ง แต่เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวในปีถัดไป ปัญหาเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นอีก และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
แต่ที่สำคัญและน่าจะหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาพิจารณาก็คือ การแก้ปัญหาด้วยการแทรกแซงราคาใช้เงินจำนวนมาก และเป็นภาระทางด้านการเงินแก่รัฐ เมื่อผลผลิตที่รับซื้อหรือรับจำนำไว้ขายได้ราคาต่ำกว่าที่จ่ายไปก็จะทำให้รัฐขาดทุน และที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านี้ก็คือ หลายต่อหลายครั้งการประกันราคาเป็นการเปิดช่องให้มีการทุจริต คอร์รัปชัน เมื่อเวลาล่วงเลยไประยะหนึ่งพบว่าสินค้าที่อยู่ในโกดังสูญเสียจากการจัดเก็บไม่ถูกวิธีหรือมีจำนวนน้อยกว่าเงินที่จ่ายไป และวงจรแห่งปัญหาที่ว่านี้แม้แต่ยางพาราก็คงอยู่ในข่ายนี้ ถ้ารัฐแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ที่เคยใช้มากับผลผลิตทางการเกษตรอื่น
ดังนั้น ควรอย่างยิ่งที่หน่วยงานและบุคลากรที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ เช่น กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมไปถึงหน่วยงานอื่นใดที่รัฐมอบหมายให้แก้ปัญหาจะต้องทบทวนนโยบาย และลงลึกไปถึงรากเหง้าของปัญหา ซึ่งพอจะอนุมานได้ในเชิงตรรกะในส่วนที่เกี่ยวกับยางพาราดังต่อไปนี้
1. ยางพาราเป็นผลิตผลที่ได้จากต้นยางพาราซึ่งในยุคแรกมีการปลูกในพื้นที่ภาคใต้ และการปลูกในยุคต้นๆ เป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน คือมีการจับจองพื้นที่ป่าแล้วแผ้วถางโดยใช้แรงงานในครอบครัวทำกันแบบไม่มีต้นทุน ทั้งด้านแรงงาน ทั้งการใช้ปุ๋ยก็น้อย หรือแทบไม่ต้องใช้ปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ดังนั้นราคาขาย 10 กว่าบาทต่อกิโลกรัมผู้ปลูกก็อยู่ได้
แต่ต่อเมื่อโลกเจริญทางด้านอุตสาหกรรม ได้มีการใช้ผลิตผลที่ได้จากการทำเกษตรที่ว่านี้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ ราคายางพาราก็แพงขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันดิบแพงขึ้น ยางเทียมซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นวัตถุดิบก็แพงขึ้นตาม
จากปัจจัยราคานี้เองเป็นเหตุจูงใจให้มีการปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นที่มีดินฟ้าอากาศเหมาะสมแก่การปลูกยางพารา ประกอบกับในช่วงปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะเป็นทำนองเดียวกันอีกหลายปี คือเศรษฐกิจโลกถดถอย จึงทำให้ปริมาณการใช้ยางพาราลดลง และนี่เองคือจุดที่ทำให้ราคายางตกต่ำ
2. ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่ผลิตและส่งออกในรูปของสินค้าเกษตรโดยไม่มีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ดังนั้นเมื่ออุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าจากยางพาราในต่างประเทศลดการผลิต และสั่งซื้อยางน้อยลง ในขณะที่การผลิตเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของประเทศไทย และประเทศอื่นก็ทำให้ราคายางพาราตกต่ำหนักขึ้นไปอีก และเชื่อว่าภาวะเช่นนี้จะยังคงเป็นไปอีกหลายปี
ดังนั้น ถ้ารัฐบาลจะแก้ปัญหานี้ด้วยการเข้าไปแทรกแซง ไม่ว่าจะด้วยการประกันราคาหรือการจำนำจะต้องคิดให้รอบคอบว่าจะพบกับปัญหาขาดทุน และปัญหารั่วไหลเหมือนที่เกิดขึ้นกับลำไยอบแห้งอีกหรือไม่
ส่วนว่าถ้าไม่แก้ด้วยวิธีแทรกแซงจะทำอย่างไรนั้น น่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ในระยะยาวได้ดังต่อไปนี้
1. ชะลอการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราลง และส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น เช่น ปาล์มน้ำมันแทน เป็นต้น
2. ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปยางพาราเป็นสินค้าที่ประเทศไทยต้องนำเข้า และมีแนวทางจะส่งออกไปขายต่างประเทศได้ ในพื้นที่ปลูกยางในทุกภาค
3. แทรกแซงราคาเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงเกษตรกรรายย่อยที่ต้องอาศัยรายได้จากการขายยางพาราเพื่อเลี้ยงครอบครัวเป็นหลัก แต่ปล่อยให้ผู้ปลูกรายใหญ่ซึ่งมีทุน และชะลอการขายออกไปได้ช่วยตนเองด้วยการแบกรับดอกเบี้ยอันเกิดจากการทำสวนยางในเชิงพาณิชย์ไปก่อน และค่อยๆ หารือร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาระยะยาว โดยการให้ความช่วยเหลือในด้านเงินทุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปขึ้นมา และผลิตสินค้าส่งออกแทนการส่งยางดิบไปขาย
จากแนวทางที่ว่านี้ เชื่อว่าพอจะทำให้ประเทศพึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม ในที่สุดการชุมนุมก็ยุติลงเมื่อตัวแทนจากภาครัฐได้มาพบ และรับปากว่าจะดำเนินการให้ตามที่ผู้ชุมนุมเรียกร้อง โดยจะช่วยให้ราคายางขายได้ในราคากิโลกรัมละ 13 บาท จึงทำให้ผู้ชุมนุมพอใจและสลายตัวกลับไป และก่อนกลับผู้ชุมนุมได้บอกแกมขู่ว่า ถ้ารัฐไม่แก้ปัญหาตามที่รับปากไว้ จะกลับมาชุมนุมกันใหม่
อะไรเป็นเหตุให้ราคายางตกต่ำ และรัฐบาลจะแก้ปัญหานี้อย่างไร แก้แล้วเป็นที่พอใจของเกษตรกรหรือไม่
ก่อนที่จะตอบปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูการแก้ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด เป็นต้น รัฐบาลเกือบทุกรัฐบาลจะใช้นโยบายแทรกแซงราคาโดยการประกันราคาด้วยการให้หน่วยงานรัฐเข้าไปรับซื้อ หรือเข้าไปรับจำนำเพื่อพยุงราคามิให้เกษตรกรถูกกดราคารับซื้อจากพ่อค้าคนกลาง
วิธีการช่วยเหลือด้วยการแทรกแซงราคา ถ้ามองในแง่ของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็นับได้ว่าเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรได้ในระดับหนึ่งในปีหนึ่ง แต่เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวในปีถัดไป ปัญหาเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นอีก และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
แต่ที่สำคัญและน่าจะหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาพิจารณาก็คือ การแก้ปัญหาด้วยการแทรกแซงราคาใช้เงินจำนวนมาก และเป็นภาระทางด้านการเงินแก่รัฐ เมื่อผลผลิตที่รับซื้อหรือรับจำนำไว้ขายได้ราคาต่ำกว่าที่จ่ายไปก็จะทำให้รัฐขาดทุน และที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านี้ก็คือ หลายต่อหลายครั้งการประกันราคาเป็นการเปิดช่องให้มีการทุจริต คอร์รัปชัน เมื่อเวลาล่วงเลยไประยะหนึ่งพบว่าสินค้าที่อยู่ในโกดังสูญเสียจากการจัดเก็บไม่ถูกวิธีหรือมีจำนวนน้อยกว่าเงินที่จ่ายไป และวงจรแห่งปัญหาที่ว่านี้แม้แต่ยางพาราก็คงอยู่ในข่ายนี้ ถ้ารัฐแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ที่เคยใช้มากับผลผลิตทางการเกษตรอื่น
ดังนั้น ควรอย่างยิ่งที่หน่วยงานและบุคลากรที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ เช่น กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมไปถึงหน่วยงานอื่นใดที่รัฐมอบหมายให้แก้ปัญหาจะต้องทบทวนนโยบาย และลงลึกไปถึงรากเหง้าของปัญหา ซึ่งพอจะอนุมานได้ในเชิงตรรกะในส่วนที่เกี่ยวกับยางพาราดังต่อไปนี้
1. ยางพาราเป็นผลิตผลที่ได้จากต้นยางพาราซึ่งในยุคแรกมีการปลูกในพื้นที่ภาคใต้ และการปลูกในยุคต้นๆ เป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน คือมีการจับจองพื้นที่ป่าแล้วแผ้วถางโดยใช้แรงงานในครอบครัวทำกันแบบไม่มีต้นทุน ทั้งด้านแรงงาน ทั้งการใช้ปุ๋ยก็น้อย หรือแทบไม่ต้องใช้ปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ดังนั้นราคาขาย 10 กว่าบาทต่อกิโลกรัมผู้ปลูกก็อยู่ได้
แต่ต่อเมื่อโลกเจริญทางด้านอุตสาหกรรม ได้มีการใช้ผลิตผลที่ได้จากการทำเกษตรที่ว่านี้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ ราคายางพาราก็แพงขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันดิบแพงขึ้น ยางเทียมซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นวัตถุดิบก็แพงขึ้นตาม
จากปัจจัยราคานี้เองเป็นเหตุจูงใจให้มีการปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นที่มีดินฟ้าอากาศเหมาะสมแก่การปลูกยางพารา ประกอบกับในช่วงปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะเป็นทำนองเดียวกันอีกหลายปี คือเศรษฐกิจโลกถดถอย จึงทำให้ปริมาณการใช้ยางพาราลดลง และนี่เองคือจุดที่ทำให้ราคายางตกต่ำ
2. ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่ผลิตและส่งออกในรูปของสินค้าเกษตรโดยไม่มีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ดังนั้นเมื่ออุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าจากยางพาราในต่างประเทศลดการผลิต และสั่งซื้อยางน้อยลง ในขณะที่การผลิตเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของประเทศไทย และประเทศอื่นก็ทำให้ราคายางพาราตกต่ำหนักขึ้นไปอีก และเชื่อว่าภาวะเช่นนี้จะยังคงเป็นไปอีกหลายปี
ดังนั้น ถ้ารัฐบาลจะแก้ปัญหานี้ด้วยการเข้าไปแทรกแซง ไม่ว่าจะด้วยการประกันราคาหรือการจำนำจะต้องคิดให้รอบคอบว่าจะพบกับปัญหาขาดทุน และปัญหารั่วไหลเหมือนที่เกิดขึ้นกับลำไยอบแห้งอีกหรือไม่
ส่วนว่าถ้าไม่แก้ด้วยวิธีแทรกแซงจะทำอย่างไรนั้น น่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ในระยะยาวได้ดังต่อไปนี้
1. ชะลอการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราลง และส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น เช่น ปาล์มน้ำมันแทน เป็นต้น
2. ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปยางพาราเป็นสินค้าที่ประเทศไทยต้องนำเข้า และมีแนวทางจะส่งออกไปขายต่างประเทศได้ ในพื้นที่ปลูกยางในทุกภาค
3. แทรกแซงราคาเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงเกษตรกรรายย่อยที่ต้องอาศัยรายได้จากการขายยางพาราเพื่อเลี้ยงครอบครัวเป็นหลัก แต่ปล่อยให้ผู้ปลูกรายใหญ่ซึ่งมีทุน และชะลอการขายออกไปได้ช่วยตนเองด้วยการแบกรับดอกเบี้ยอันเกิดจากการทำสวนยางในเชิงพาณิชย์ไปก่อน และค่อยๆ หารือร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาระยะยาว โดยการให้ความช่วยเหลือในด้านเงินทุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปขึ้นมา และผลิตสินค้าส่งออกแทนการส่งยางดิบไปขาย
จากแนวทางที่ว่านี้ เชื่อว่าพอจะทำให้ประเทศพึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง