ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555 ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบตามที่คณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีแลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน เสนอแนะมาตรการ กลไก และวิธีการในการเยียวยาผู้เสียหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ถึงเมษา-พฤษภาปี 2553 ดังนี้
1. กรณีเสียชีวิต อัตรา 4.5 ล้านบาทต่อราย โดยคำนวณตามฐานข้อมูลรายได้เฉลี่ยประจำต่อคนต่อเดือนตามสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทย (GDP per Capita) ของปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 1.5 แสนบาท ชดเชยค่าเสียโอกาสเป็นเวลา 30 ปี โดยประมาณว่าผู้เสียชีวิตมีอายุเฉลี่ยที่ 35 ปี จะมีโอกาสทำงานไปจนถึงอายุ 65 ปี
2. เงินช่วยเหลือค่าปลงศพ อัตรา 2.5 แสนบาทต่อราย
3. เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ อัตราเท่ากับเงินชดเชยกรณีเสียชีวิต
4. เงินชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะ สูญเสียอวัยวะสำคัญ อัตราร้อยละ 80 ของกรณีเสียชีวิต (3.6 ล้านบาทต่อราย) สูญเสียอวัยวะไม่สำคัญ อัตราร้อยละ 40 ของกรณีเสียชีวิต (1.8 ล้านบาทต่อราย)
5. กรณีได้รับบาดเจ็บไม่สูญเสียอวัยวะ ได้รับบาดเจ็บสาหัส อัตราร้อยละ 25 ของกรณีเสียชีวิต (1.1 ล้านบาทต่อราย) ได้รับบาดเจ็บไม่สาหัส อัตราร้อยละ 15 ของกรณีเสียชีวิต (6.7 แสนบาทต่อราย) ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย อัตราร้อยละ 5 ของกรณีเสียชีวิต (2.2 แสนบาทต่อราย)
6. เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล กรณีเสียชีวิตจ่ายไม่เกิน 2 แสนบาทต่อราย กรณีทุพพลภาพและสูญเสียอวัยวะสำคัญจ่ายไม่เกิน 2 แสนบาทต่อราย กรณีรักษาต่อเนื่องไม่เกิน 2 แสนบาทต่อรายต่อปี กรณีได้รับบาดเจ็บสาหัสจ่ายไม่เกิน 5 หมื่นบาท กรณีได้รับบาดเจ็บไม่สาหัสจ่ายไม่เกิน 2 หมื่นบาท กรณีได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจ่ายไม่เกิน 1 หมื่นบาทต่อราย
7. การชดเชยเยียวยาผู้ที่ถูกดำเนินคดีจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง กรณีที่ศาลยกฟ้อง ให้ได้รับเงินชดเชยในอัตราเท่ากับจำนวนระยะเวลาที่ถูกควบคุมตัว โดยคำนวณจากรายได้ 1.5 แสนบาทต่อปี กรณีถูกศาลตัดสินให้จำคุก แต่ถูกควบคุมหรือคุมขังเกินระยะเวลาที่กำหนด ให้ได้รับเงินชดเชยเท่ากับจำนวนระยะเวลาที่ถูกควบคุมตัวเกินกว่าระยะเวลาให้จำคุก
และ 8. การชดเชยเยียวยาความสูญเสียทางด้านจิตใจ อาทิ กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ อัตรา 3 ล้านบาทต่อราย กรณีศาลยกฟ้อง แต่ถูกควบคุมหรือคุมขัง เกินกว่า 180 วัน อัตรา 1.5 ล้านบาทต่อราย เกินกว่า 90 วันแต่ไม่ถึง 180 วัน อัตรา 7.5 แสนบาทต่อราย กรณีศาลตัดสินให้จำคุก แต่ถูกควบคุมหรือคุมขังเกินระยะเวลาให้จำคุก เกินกว่า 180 วัน อัตรา 1 ล้านบาทต่อราย และเกินกว่า 90 วันแต่ไม่เกิน 180 วัน อัตรา 5 แสนบาทต่อราย
เมื่อประมาณการผู้ที่เสียชีวิต 1 ราย จะได้รับการเยียวยาสูงสุดรวมรายละ 7.75 ล้านบาท และงบประมาณในการใช้ครั้งนี้อยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยจำกัดอยู่เฉพาะผู้ที่ได้ผลกระทบประมาณจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ช่วงปี 2549 – 2553 หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเน้นการชุมนุมของกลุ่ม นปช. หรือ คนเสื้อแดงเป็นส่วนใหญ่ โดยเพื่อไม่ให้น่าเกลียดจึงรวมการสูญเสียของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้าร่วมไปด้วย
และแน่นอนว่าหากจำกัดเฉพาะเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้ที่จะได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้ที่เข้าร่วมชุมนุมกับ นปช. หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง
ความคิดของรัฐบาลซึ่งได้มาจากการศึกษาของ “ปคอป.” นั้น หวังผลที่แจ้งไปยังสาธารณะคือ “ความปรองดองของคนในชาติ”
คำถามก็คือการเยียวยาในครั้งนี้ จะทำให้เกิดความปรองดองจริงหรือเปล่า? หรือว่าจะสร้างความเจ็บแค้นในสังคมมากขึ้นเพราะกลายเป็นว่า “คนเสื้อแดง” คือ “อภิสิทธิ์ชน”ที่ได้รับการเยียวยาสูงสุดมากกว่ามนุษย์คนอื่นๆในแผ่นดินไทย
เพราะในมุมการชุมนุมของ นปช. นั้นไม่ได้ มีแค่คนเสื้อแดง ที่เสียชีวิต และบาดเจ็บล้มตายเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายมุมให้คิดถึงความอยุติธรรมในมิติต่างๆถึง 5 ประการ ดังนี้
ประการแรก “ในมิติวิธีการชุมนุม” ของคนเสื้อแดงนั้น ไม่ได้อยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการชุมนุมที่มีอาวุธสงคราม มีการใช้ความรุนแรง และสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินผู้อื่นด้วย ซึ่งแตกต่างจากการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง
และหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดก็คือ การสูญเสียในปี 2553 การเสียชีวิตและบาดเจ็บของทหารจำนวนมากที่ปราศจากอาวุธ “เกิดขึ้นก่อน” การสูญเสียของผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง!!!
ดังนั้นความรับผิดชอบในการสูญเสียของคนเสื้อแดงนั้น แกนนำที่ปราศรับบนเวทีที่เน้นการใช้ความรุนแรงโดยการปลุกระดมด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือ แม้แต่ผู้ที่เข้าตระเตรียมการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่บงการอยู่เบื้องหลัง (โดยเฉพาะนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร) จำเป็นต้องรับผิดชอบการสูญเสียของคนเสื้อแดงเป็นหลัก ไม่ใช่ปัดภาระความรับผิดชอบมาให้เฉพาะภาษีของประชาชนแต่เพียงอย่างเดียวเช่นนี้ จริงหรือไม่?
ตรงกันข้ามกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งได้ชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ แต่กลับมีผู้เสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บ อันสืบเนื่องมาจากการถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และถูกยิงด้วยระเบิด M79 มากกว่า 10 ครั้ง แต่ก็ยังต้องช่วยเหลือตัวเอง โดยมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บของผู้ชุมนุมร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยได้รับเงินจากการบริจาคและช่วยเหลือจากประชาชนที่เต็มใจ อีกทั้งยังมีการเปิดเผยและแสดงความโปร่งใสในการช่วยเหลือผู้ชุมนุม โดยมีเงินบริจาคและได้จ่ายให้ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้วมาจนถึงปลายปี 2554 เป็นจำนวนเงิน 47,253,986 บาท โดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้จัดทนายความไปดำเนินการฟ้องร้องต่อเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองเพื่อให้รับผิดชอบทั้งในทางแพ่งและอาญาต่อไป
แม้ในปี 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จะได้เคยเตรียมจัดงบประมาณแผ่นดินเพื่อเยียวยาให้กับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นจำนวนเงิน 56 ล้านบาท จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้กำลังเข้าทำร้ายร่างกายและทรัพย์สินผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551 และเหตุการณ์ที่กลุ่มคนเสื้อแดงได้ใช้กำลังพร้อมอาวุธเคลื่อนจากสนามหลวงมาบุกโจมตีการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 ตลอดจนเหตุการณ์ที่รัฐบาลนายสมชายได้ใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ระเบิดแก๊สน้ำตายิงตรงใส่ผู้ชุมนุมจนมีประชาชนบาดเจ็บล้มตาย รวมทั้ง 3 เหตุการณ์นี้ มีผู้เสียชีวิต 3 ศพ และบาดเจ็บ 612 คน แต่ความจริงเม็ดเงินเหล่านี้ก็มาจากภาษีของประชาชน ไม่ใช่มาจากเงินของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แต่ประการใด และเนื่องจากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นคู่กรณีโดยตรง จึงทำให้มีผู้ชุมนุมหลายคนปฏิเสธในการรับการเยียวยาดังกล่าว
น่าสังเกตว่าหลังจากที่มีเหตุการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดงแล้ว ปรากฏว่างบประมาณการเยียวยาต่อหัวโดยเฉลี่ยได้สูงเพิ่มขึ้นจากปี 2551 อย่างมาก จึงควรตั้งข้อสังเกตว่าพอมีการสูญเสียมวลชนของกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลชุดนี้จึงคิดเรื่องการเยียวยาด้วยงบประมาณสูงกว่าในช่วงเวลาก่อน
ประการที่สอง “ในมิติความเสียหายเฉพาะการชุมนุมของคนเสื้อแดง” ที่มีการใช้อาวุธสงครามและความรุนแรง ก็จะต้องตระหนักด้วยว่ามีประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ไม่ใช่ผู้ชุมนุมได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการชุมนุมของคนเสื้อแดงจำนวนมากด้วย เช่น ผู้ที่ถูกผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงเผาอาคารจนวอดวายสิ้นเนื้อประดาตัว ทหารผู้ที่เสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บ จากการใช้อาวุธสงครามของชายชุดดำ และการที่ผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงบางส่วนได้เข้ารุมทำร้ายร่างกายทหารที่ได้รับบาดเจ็บ มีประชาชนผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายและทุบรถยนต์เพราะความกร่างของการ์ดคนเสื้อแดงในด่านต่างๆและผู้ชุมนุมใจกลางเมือง มีผู้ที่ถูกกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงคุกคามด้วยการใช้อาวุธบุกตีทำร้ายผู้ที่มีความคิดเห็นต่างกับคนเสื้อแดงหลายครั้งหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มีการบุกทุบปล้นเงินจากตู้เอทีเอ็มและร้านสะดวกซื้อ ตลอดจนลักทรัพย์ในห้างสรรพสินค้า ความเสียหายเหล่านี้มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและได้รับความเสียหายทางทรัพย์สินจำนวนมาก เหตุใดจึงมีเฉพาะผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงได้รับการเยียวยาจำนวนเงินที่มากกว่ากลุ่มคนอื่นๆ ทั้งๆที่เป็นเงินจากภาษีของคนไทยทั้งประเทศ?
ประการที่สาม “ในมิติการที่ผู้ชุมนุมถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ” โดยที่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นฝ่ายใช้ความรุนแรงเกินเหตุจนมีผู้บริสุทธิ์นั้นยังมีอีกหลายกรณี เช่น กรณีเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516, เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535, กรณีการเสียชีวิตจำนวนมากของชุมนุมของกลุ่มประชาชนที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547, แม้กระทั่งเหตุการณ์การสลายผู้ชุมนุมประท้วงท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซียซึ่งชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2545 คำถามมีอยู่ว่าเหตุใดผู้ผู้ชุมนุมที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐโดยเหตุการณ์อื่นๆจึงไม่ได้รับการเยียวยาด้วยงบประมาณมากเท่ากับช่วงเหตุการณ์เวลาการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง?
ประการที่สี่ “ในมิติการสูญเสียของผู้ที่ไม่ได้ชุมนุมแต่เกิดความเสียหายจากกรกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและนโยบายทางการเมือง” การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์ยังเกิดขึ้นจากความผิดพลาดจากนโยบายรัฐบาลซึ่งต้องรับผิดชอบ เช่น กรณียุทธการใบไม้ร่วงที่มีการอุ้มฆ่าประชาชนภาคใต้ซึ่งมีผู้บริสุทธิ์ปะปนอยู่จำนวนมาก, การวิสามัญฆาตกรรมหรือฆ่าตัดตอนคดียาเสพติด 2,500 ศพในสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ระบุว่ามีผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก นโยบายการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากปัญหาอุทกภัยซึ่งสืบเนื่องมาจากการบริหารผิดพลาดของรัฐบาล การที่ประชาชนชาวไทยถูกยิงด้วยอาวุธสงครามจากประเทศกัมพูชา โดยที่รัฐบาลไม่ผลักดันให้ทหารกัมพูชาอยู่นอกพื้นที่ความเสี่ยง เหตุใดประชาชนเหล่านี้แม้ไม่ได้ชุมนุมเสียด้วยซ้ำแต่กลับถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐและนโนบายของนักการเมือง โดยที่ไม่ได้รับการเยียวยาเหมือนกับมาตรฐานที่จะพยายามช่วยเหลือการชุมนุมคนเสื้อแดง?
ประการที่ห้า “ในมิติการสูญเสียชีวิตของคนไทยที่ทำเพื่ออุดมการณ์” ไม่ได้เกิดขึ้นในฝ่ายของประชาชนผู้บริสุทธิ์เท่านั้น แต่ยังมีประชาชนที่ทำหน้าที่เป็นข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการทหาร ครู และตำรวจที่ทำงานเสี่ยงภัยจนเสียชีวิต เช่น การปกป้องดินแดนและอธิปไตยของชาติของทหาร การที่ครู ทหาร ตำรวจ ถูกทำร้ายจนเสียชีวิตและพิการด้วยขบวนการโจรก่อการร้ายภาคใต้ การเข้าจับกุมคนร้ายแต่ถูกระทำด้วยความรุนแรงจนเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เหตุใดการสูญเสียของบุคคลเหล่านี้ที่ทำงานด้วยอุดมการณ์เพื่อชาติด้วยความเสียสละ จึงไม่ได้รับการเยียยาเฉกเช่นเดียวกับมาตรการการเยียวยาผู้ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง
ดังนั้นการช่วยเหลือโดยเลือกปฏิบัติเฉพาะ “บางเหตุการณ์” และไม่สามารถตอบคำถามในมิติทั้งห้าประการข้างต้นแล้ว ก็จะทำให้เห็นถึงความอยุติธรรมในการเยียวยาที่ไม่ครอบคลุมครบถ้วน และยังทำให้เกิดข้อครหาได้ว่ารัฐบาลกำลังมองข้ามความอยุติธรรมเพื่อให้เกิดการเยียวยาซึ่งนำเงินงบประมาณจากภาษีประชาชนส่วนใหญ่ให้ตกอยู่กับผู้ชุมนุมทางการเมืองที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย จริงหรือไม่?
จึงย่อมเกิดคำถามว่า เมื่อเกิดการเยียวยาที่อยุติธรรมและเลือกปฏิบัติต่อบางเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว สังคมจะเกิดความปรองดองไปได้อย่างไร!?
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555 ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบตามที่คณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีแลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน เสนอแนะมาตรการ กลไก และวิธีการในการเยียวยาผู้เสียหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ถึงเมษา-พฤษภาปี 2553 ดังนี้
1. กรณีเสียชีวิต อัตรา 4.5 ล้านบาทต่อราย โดยคำนวณตามฐานข้อมูลรายได้เฉลี่ยประจำต่อคนต่อเดือนตามสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทย (GDP per Capita) ของปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 1.5 แสนบาท ชดเชยค่าเสียโอกาสเป็นเวลา 30 ปี โดยประมาณว่าผู้เสียชีวิตมีอายุเฉลี่ยที่ 35 ปี จะมีโอกาสทำงานไปจนถึงอายุ 65 ปี
2. เงินช่วยเหลือค่าปลงศพ อัตรา 2.5 แสนบาทต่อราย
3. เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ อัตราเท่ากับเงินชดเชยกรณีเสียชีวิต
4. เงินชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะ สูญเสียอวัยวะสำคัญ อัตราร้อยละ 80 ของกรณีเสียชีวิต (3.6 ล้านบาทต่อราย) สูญเสียอวัยวะไม่สำคัญ อัตราร้อยละ 40 ของกรณีเสียชีวิต (1.8 ล้านบาทต่อราย)
5. กรณีได้รับบาดเจ็บไม่สูญเสียอวัยวะ ได้รับบาดเจ็บสาหัส อัตราร้อยละ 25 ของกรณีเสียชีวิต (1.1 ล้านบาทต่อราย) ได้รับบาดเจ็บไม่สาหัส อัตราร้อยละ 15 ของกรณีเสียชีวิต (6.7 แสนบาทต่อราย) ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย อัตราร้อยละ 5 ของกรณีเสียชีวิต (2.2 แสนบาทต่อราย)
6. เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล กรณีเสียชีวิตจ่ายไม่เกิน 2 แสนบาทต่อราย กรณีทุพพลภาพและสูญเสียอวัยวะสำคัญจ่ายไม่เกิน 2 แสนบาทต่อราย กรณีรักษาต่อเนื่องไม่เกิน 2 แสนบาทต่อรายต่อปี กรณีได้รับบาดเจ็บสาหัสจ่ายไม่เกิน 5 หมื่นบาท กรณีได้รับบาดเจ็บไม่สาหัสจ่ายไม่เกิน 2 หมื่นบาท กรณีได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจ่ายไม่เกิน 1 หมื่นบาทต่อราย
7. การชดเชยเยียวยาผู้ที่ถูกดำเนินคดีจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง กรณีที่ศาลยกฟ้อง ให้ได้รับเงินชดเชยในอัตราเท่ากับจำนวนระยะเวลาที่ถูกควบคุมตัว โดยคำนวณจากรายได้ 1.5 แสนบาทต่อปี กรณีถูกศาลตัดสินให้จำคุก แต่ถูกควบคุมหรือคุมขังเกินระยะเวลาที่กำหนด ให้ได้รับเงินชดเชยเท่ากับจำนวนระยะเวลาที่ถูกควบคุมตัวเกินกว่าระยะเวลาให้จำคุก
และ 8. การชดเชยเยียวยาความสูญเสียทางด้านจิตใจ อาทิ กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ อัตรา 3 ล้านบาทต่อราย กรณีศาลยกฟ้อง แต่ถูกควบคุมหรือคุมขัง เกินกว่า 180 วัน อัตรา 1.5 ล้านบาทต่อราย เกินกว่า 90 วันแต่ไม่ถึง 180 วัน อัตรา 7.5 แสนบาทต่อราย กรณีศาลตัดสินให้จำคุก แต่ถูกควบคุมหรือคุมขังเกินระยะเวลาให้จำคุก เกินกว่า 180 วัน อัตรา 1 ล้านบาทต่อราย และเกินกว่า 90 วันแต่ไม่เกิน 180 วัน อัตรา 5 แสนบาทต่อราย
เมื่อประมาณการผู้ที่เสียชีวิต 1 ราย จะได้รับการเยียวยาสูงสุดรวมรายละ 7.75 ล้านบาท และงบประมาณในการใช้ครั้งนี้อยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยจำกัดอยู่เฉพาะผู้ที่ได้ผลกระทบประมาณจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ช่วงปี 2549 – 2553 หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเน้นการชุมนุมของกลุ่ม นปช. หรือ คนเสื้อแดงเป็นส่วนใหญ่ โดยเพื่อไม่ให้น่าเกลียดจึงรวมการสูญเสียของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้าร่วมไปด้วย
และแน่นอนว่าหากจำกัดเฉพาะเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้ที่จะได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้ที่เข้าร่วมชุมนุมกับ นปช. หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง
ความคิดของรัฐบาลซึ่งได้มาจากการศึกษาของ “ปคอป.” นั้น หวังผลที่แจ้งไปยังสาธารณะคือ “ความปรองดองของคนในชาติ”
คำถามก็คือการเยียวยาในครั้งนี้ จะทำให้เกิดความปรองดองจริงหรือเปล่า? หรือว่าจะสร้างความเจ็บแค้นในสังคมมากขึ้นเพราะกลายเป็นว่า “คนเสื้อแดง” คือ “อภิสิทธิ์ชน”ที่ได้รับการเยียวยาสูงสุดมากกว่ามนุษย์คนอื่นๆในแผ่นดินไทย
เพราะในมุมการชุมนุมของ นปช. นั้นไม่ได้ มีแค่คนเสื้อแดง ที่เสียชีวิต และบาดเจ็บล้มตายเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายมุมให้คิดถึงความอยุติธรรมในมิติต่างๆถึง 5 ประการ ดังนี้
ประการแรก “ในมิติวิธีการชุมนุม” ของคนเสื้อแดงนั้น ไม่ได้อยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการชุมนุมที่มีอาวุธสงคราม มีการใช้ความรุนแรง และสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินผู้อื่นด้วย ซึ่งแตกต่างจากการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง
และหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดก็คือ การสูญเสียในปี 2553 การเสียชีวิตและบาดเจ็บของทหารจำนวนมากที่ปราศจากอาวุธ “เกิดขึ้นก่อน” การสูญเสียของผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง!!!
ดังนั้นความรับผิดชอบในการสูญเสียของคนเสื้อแดงนั้น แกนนำที่ปราศรับบนเวทีที่เน้นการใช้ความรุนแรงโดยการปลุกระดมด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือ แม้แต่ผู้ที่เข้าตระเตรียมการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่บงการอยู่เบื้องหลัง (โดยเฉพาะนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร) จำเป็นต้องรับผิดชอบการสูญเสียของคนเสื้อแดงเป็นหลัก ไม่ใช่ปัดภาระความรับผิดชอบมาให้เฉพาะภาษีของประชาชนแต่เพียงอย่างเดียวเช่นนี้ จริงหรือไม่?
ตรงกันข้ามกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งได้ชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ แต่กลับมีผู้เสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บ อันสืบเนื่องมาจากการถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และถูกยิงด้วยระเบิด M79 มากกว่า 10 ครั้ง แต่ก็ยังต้องช่วยเหลือตัวเอง โดยมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บของผู้ชุมนุมร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยได้รับเงินจากการบริจาคและช่วยเหลือจากประชาชนที่เต็มใจ อีกทั้งยังมีการเปิดเผยและแสดงความโปร่งใสในการช่วยเหลือผู้ชุมนุม โดยมีเงินบริจาคและได้จ่ายให้ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้วมาจนถึงปลายปี 2554 เป็นจำนวนเงิน 47,253,986 บาท โดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้จัดทนายความไปดำเนินการฟ้องร้องต่อเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองเพื่อให้รับผิดชอบทั้งในทางแพ่งและอาญาต่อไป
แม้ในปี 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จะได้เคยเตรียมจัดงบประมาณแผ่นดินเพื่อเยียวยาให้กับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นจำนวนเงิน 56 ล้านบาท จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้กำลังเข้าทำร้ายร่างกายและทรัพย์สินผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551 และเหตุการณ์ที่กลุ่มคนเสื้อแดงได้ใช้กำลังพร้อมอาวุธเคลื่อนจากสนามหลวงมาบุกโจมตีการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 ตลอดจนเหตุการณ์ที่รัฐบาลนายสมชายได้ใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ระเบิดแก๊สน้ำตายิงตรงใส่ผู้ชุมนุมจนมีประชาชนบาดเจ็บล้มตาย รวมทั้ง 3 เหตุการณ์นี้ มีผู้เสียชีวิต 3 ศพ และบาดเจ็บ 612 คน แต่ความจริงเม็ดเงินเหล่านี้ก็มาจากภาษีของประชาชน ไม่ใช่มาจากเงินของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แต่ประการใด และเนื่องจากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นคู่กรณีโดยตรง จึงทำให้มีผู้ชุมนุมหลายคนปฏิเสธในการรับการเยียวยาดังกล่าว
น่าสังเกตว่าหลังจากที่มีเหตุการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดงแล้ว ปรากฏว่างบประมาณการเยียวยาต่อหัวโดยเฉลี่ยได้สูงเพิ่มขึ้นจากปี 2551 อย่างมาก จึงควรตั้งข้อสังเกตว่าพอมีการสูญเสียมวลชนของกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลชุดนี้จึงคิดเรื่องการเยียวยาด้วยงบประมาณสูงกว่าในช่วงเวลาก่อน
ประการที่สอง “ในมิติความเสียหายเฉพาะการชุมนุมของคนเสื้อแดง” ที่มีการใช้อาวุธสงครามและความรุนแรง ก็จะต้องตระหนักด้วยว่ามีประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ไม่ใช่ผู้ชุมนุมได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการชุมนุมของคนเสื้อแดงจำนวนมากด้วย เช่น ผู้ที่ถูกผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงเผาอาคารจนวอดวายสิ้นเนื้อประดาตัว ทหารผู้ที่เสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บ จากการใช้อาวุธสงครามของชายชุดดำ และการที่ผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงบางส่วนได้เข้ารุมทำร้ายร่างกายทหารที่ได้รับบาดเจ็บ มีประชาชนผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายและทุบรถยนต์เพราะความกร่างของการ์ดคนเสื้อแดงในด่านต่างๆและผู้ชุมนุมใจกลางเมือง มีผู้ที่ถูกกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงคุกคามด้วยการใช้อาวุธบุกตีทำร้ายผู้ที่มีความคิดเห็นต่างกับคนเสื้อแดงหลายครั้งหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มีการบุกทุบปล้นเงินจากตู้เอทีเอ็มและร้านสะดวกซื้อ ตลอดจนลักทรัพย์ในห้างสรรพสินค้า ความเสียหายเหล่านี้มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและได้รับความเสียหายทางทรัพย์สินจำนวนมาก เหตุใดจึงมีเฉพาะผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงได้รับการเยียวยาจำนวนเงินที่มากกว่ากลุ่มคนอื่นๆ ทั้งๆที่เป็นเงินจากภาษีของคนไทยทั้งประเทศ?
ประการที่สาม “ในมิติการที่ผู้ชุมนุมถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ” โดยที่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นฝ่ายใช้ความรุนแรงเกินเหตุจนมีผู้บริสุทธิ์นั้นยังมีอีกหลายกรณี เช่น กรณีเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516, เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535, กรณีการเสียชีวิตจำนวนมากของชุมนุมของกลุ่มประชาชนที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547, แม้กระทั่งเหตุการณ์การสลายผู้ชุมนุมประท้วงท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซียซึ่งชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2545 คำถามมีอยู่ว่าเหตุใดผู้ผู้ชุมนุมที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐโดยเหตุการณ์อื่นๆจึงไม่ได้รับการเยียวยาด้วยงบประมาณมากเท่ากับช่วงเหตุการณ์เวลาการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง?
ประการที่สี่ “ในมิติการสูญเสียของผู้ที่ไม่ได้ชุมนุมแต่เกิดความเสียหายจากกรกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและนโยบายทางการเมือง” การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์ยังเกิดขึ้นจากความผิดพลาดจากนโยบายรัฐบาลซึ่งต้องรับผิดชอบ เช่น กรณียุทธการใบไม้ร่วงที่มีการอุ้มฆ่าประชาชนภาคใต้ซึ่งมีผู้บริสุทธิ์ปะปนอยู่จำนวนมาก, การวิสามัญฆาตกรรมหรือฆ่าตัดตอนคดียาเสพติด 2,500 ศพในสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ระบุว่ามีผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก นโยบายการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากปัญหาอุทกภัยซึ่งสืบเนื่องมาจากการบริหารผิดพลาดของรัฐบาล การที่ประชาชนชาวไทยถูกยิงด้วยอาวุธสงครามจากประเทศกัมพูชา โดยที่รัฐบาลไม่ผลักดันให้ทหารกัมพูชาอยู่นอกพื้นที่ความเสี่ยง เหตุใดประชาชนเหล่านี้แม้ไม่ได้ชุมนุมเสียด้วยซ้ำแต่กลับถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐและนโนบายของนักการเมือง โดยที่ไม่ได้รับการเยียวยาเหมือนกับมาตรฐานที่จะพยายามช่วยเหลือการชุมนุมคนเสื้อแดง?
ประการที่ห้า “ในมิติการสูญเสียชีวิตของคนไทยที่ทำเพื่ออุดมการณ์” ไม่ได้เกิดขึ้นในฝ่ายของประชาชนผู้บริสุทธิ์เท่านั้น แต่ยังมีประชาชนที่ทำหน้าที่เป็นข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการทหาร ครู และตำรวจที่ทำงานเสี่ยงภัยจนเสียชีวิต เช่น การปกป้องดินแดนและอธิปไตยของชาติของทหาร การที่ครู ทหาร ตำรวจ ถูกทำร้ายจนเสียชีวิตและพิการด้วยขบวนการโจรก่อการร้ายภาคใต้ การเข้าจับกุมคนร้ายแต่ถูกระทำด้วยความรุนแรงจนเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เหตุใดการสูญเสียของบุคคลเหล่านี้ที่ทำงานด้วยอุดมการณ์เพื่อชาติด้วยความเสียสละ จึงไม่ได้รับการเยียยาเฉกเช่นเดียวกับมาตรการการเยียวยาผู้ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง
ดังนั้นการช่วยเหลือโดยเลือกปฏิบัติเฉพาะ “บางเหตุการณ์” และไม่สามารถตอบคำถามในมิติทั้งห้าประการข้างต้นแล้ว ก็จะทำให้เห็นถึงความอยุติธรรมในการเยียวยาที่ไม่ครอบคลุมครบถ้วน และยังทำให้เกิดข้อครหาได้ว่ารัฐบาลกำลังมองข้ามความอยุติธรรมเพื่อให้เกิดการเยียวยาซึ่งนำเงินงบประมาณจากภาษีประชาชนส่วนใหญ่ให้ตกอยู่กับผู้ชุมนุมทางการเมืองที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย จริงหรือไม่?
จึงย่อมเกิดคำถามว่า เมื่อเกิดการเยียวยาที่อยุติธรรมและเลือกปฏิบัติต่อบางเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว สังคมจะเกิดความปรองดองไปได้อย่างไร!?