ASTVผู้จัดการรายวัน - ทีดีอาร์ไอรอจนผ่าน ครม. ลั่นไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลในการออก พ.ร.ก.แก้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ กระทบความเป็นอิสระการทำงานของแบงก์ชาติ ขัด พ.ร.บ.ธปท. "มาร์ค" เตรียมยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ ชี้ พ.ร.ก.จำเป็นแต่ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ด้านโฆษกรัฐบาลชักแม่น้ำทั้งห้า อ้างเพื่อสร้างอนาคตประเทศ
นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานสัมมนาทางเศรษฐกิจปี 2555 ในหัวข้อ "ฤๅประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำรอย" โดยระบุว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลเตรียมออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขปัญหาหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยโอนหนี้ทั้งหมดให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบ หากเป็นไปได้อยากให้เปลี่ยนแปลงมาเป็นการออกพระราชบัญญัติแทน เพื่อเปิดโอกาสให้สังคมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล
"การออกเป็น พ.ร.ก.ถือว่ากระทบต่อความเป็นอิสระในการทำงานของแบงก์ชาติ และอาจส่งผลกระทบต่อภาคการเงินของประเทศอย่างรุนแรง" ประธานทีดีอาร์ไอกล่าวและว่า แนวทางการแก้ปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ น่าจะมีวิธีอื่นที่ไม่ใช่การออก พ.ร.ก. และการที่รัฐออกเป็น พ.ร.ก. อาจขัดกับ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย
นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า พ.ร.ก.แก้หนี้กองทุนฟื้นฟูไม่ได้ตอบโจทย์การลดภาระกองทุนฟื้นฟูอย่างแท้จริง เพราะแนวทางการดำเนินการโดยให้ ธปท.เรียกเก็บเงินจากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ซึ่งเม็ดเงินคงไม่มากเพียงพอชำระเงินต้นแต่เป็นเพียงสามารถชำระดอกเบี้ยบางส่วนเท่านั้น
ดังนั้น การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงไม่ทำให้ภาระหนี้สาธารณะลดลงและท้ายที่สุดธนาคารพาณิชย์คงต้องผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นให้กับลูกค้านอกจากนี้เห็นว่าในกฎหมายมาตรา 7 (3) ที่ให้มีการโอนทรัพย์สินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลเพื่อชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูถือเป็นวิธีการที่อันตรายเนื่องจากเป็นการให้อำนาจ ครม.มากเกินไป
ทางที่ดีควรมีการจัดสรรเงินจากทุนสำรองระหว่างประเทศส่วนหนึ่งที่สามารถนำมาชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้ ซึ่งปัจจุบันทุนสำรอง 1.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หากจัดสรร 20% มาดำเนินการชำระหนี้สามารถทำได้แต่ต้องออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เนื่องจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นของทุกคน โดยต้องผ่านการพิจารณาและให้ประชาชนรับรู้ ซึ่งในอดีตมีการใช้เงินทุนสำรองแต่ต้องมีการกำหนดวงเงินที่จะใช้ชัดเจนและกำหนดเวลาไว้ด้วย ซึ่งหากใช้แนวทางดังกล่าวการชำระหนี้เงินกู้คงไม่ถึง 25 ปี
"เงินสำรองระหว่างประเทศเราแยกออกส่วนหนึ่งโดยไม่แตะเงินบริจาคของหลวงตาก็สามารถทำได้ ซึ่งวิธีการกำหนดเงินที่จำกัดที่จะนำมาใช้ชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ และควรออกเป็น พ.ร.บ. และให้ทุกคนมีส่วนร่วมมีการถกเถียงกันในสภาเพื่อให้ประชาชนรับรู้และเป็นไปในกรอบหลักการ"
ทั้งนี้ ปัจจุบันเงินทุนสำรองระหว่างประเทศใช้ในการหนุนหลังการออกพันธบัตร 10% สำรองไว้ในหนี้ต่างประเทศระยะสั้น รองรับการนำเข้าเป็นเวลา 6 เดือน รองรับเงินทุนไหลออกกรณีฉุกเฉิน ส่วนที่เหลือสามารถนำมาใช้ในการชำระหนี้ได้
ปชป.ยันส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงการออก พ.ร.ก. 4 ฉบับ ที่ ครม.อนุมัติในหลักการโดยไม่แจกแจงรายละเอียดเนื้อหาว่า การไม่เปิดเผยรายละเอียดถือเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะว่าเป็นกฎหมายที่จะมีการประกาศใช้แล้ว และไม่ได้อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา ทำให้เกิดความกังวลในหลายส่วน โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโอนหนี้ไปให้ ธปท.เริ่มมีความไม่ชัดเจนว่าสิ่งที่ ธปท.พูดคุยกับกระทรวงการคลังนั้น กฎหมายดังกล่าวออกมาตามความเข้าใจของทั้ง 2 ฝ่ายหรือไม่ ถ้าไม่มีอะไรพลิกแพลงไปมากกว่านี้ ก็ต้องมีการส่งตีความว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
"เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เข้าข่ายการเป็น พ.ร.ก. เนื่องจากการกระทำทั้งหมดไม่ใช่การกระทำที่เร่งด่วน เพราะหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่เป็นพันธบัตรจะหมดอายุปลายปี ดังนั้นไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ตามหนี้ส่วนนี้ก็ยังเหมือนเดิม วิธีการทั้งหมดไม่มีผลต่อหนี้ของประเทศหรือหนี้สาธารณะอย่างแท้จริง รัฐบาลจะอ้างว่าหากไม่ทำเรื่องนี้แล้วจะไม่สามารถบริหารเศรษฐกิจหรือกู้เงินต่างๆ ได้ก็ไม่เป็นความจริง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
โฆษกรัฐบาลอ้างเพื่อสร้างอนาคตประเทศ
"พ.ร.ก. 4 ฉบับนี้ เป็นมาตรการที่สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน คือ รัฐบาลได้เตรียมความพร้อมด้านการคลัง เพื่อลงทุนวางแผนป้องกันน้ำท่วมทั้งระยะสั้น และระยะยาวรวมไปถึงการยกระดับขีดความสามรถในการแข่งขันของประเทศในระดับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนและนักลงทุนว่ารัฐบาลจะสามารถฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศไทยให้กลับมามีเศรษฐกิจที่มั่นคงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง" นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงเหตุผล การออก พ.ร.ก.4 ฉบับเมื่อวานนี้ (11 ม.ค.)
พร้อมระบุว่าการที่รัฐบาลต้องออก พ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับในคราวเดียวกันคือ เกิดจากการมองภาพรวมการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ อันเกิดจากมหาอุทกภัยครั้งที่ผ่านมา รัฐบาลเล็งเห็นว่า มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยกัน 3 ด้าน คือ ด้านการฟื้นฟูเยียวยาความเสียหายที่ได้รับจากน้ำท่วม ด้านการสร้างความเชื่อมั่น และพัฒนาศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และด้านการป้องกันปัญหามิให้เกิดความเสียหายจากภัยน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในปีนี้ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เชื่อมโยง เป็นมาตรการเดียวกัน และควรปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน ทั้ง 3 ด้าน
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นการดำเนินการเพื่อมิให้มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม และต้องเริ่มดำเนินการทันทีในขณะนี้ จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.ก.รวม 4 ฉบับ ฉบับแรกคือ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ..... เป็นการดำเนินการเพื่อลดภาระทางการคลังของรัฐบาล โดยให้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้จัดการหนี้ 1.14 ล้านล้านบาท ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย ทั้งนี้กฎหมายได้เพิ่มช่องทางการหาเงินโดยให้ ธปท.เรียกเงินนำส่งจากสถาบันการเงิน ไม่เกินร้อยละ 1 เพื่อให้กองทุนฟื้นฟูฯ และธปท. มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถจัดการหนี้ก้อนนี้ได้อย่างมีกำหนดเป้าหมายชัดเจน
ฉบับที่ 2 คือร่าง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. ...... วงเงินกู้มูลค่ารวมกันไม่เกิน 3.5 แสนล้านบาท เมื่อปรับปรุงการบริหารหนี้แล้ว กระทรวงการคลัง ก็มีภาระน้อยลง จึงสามารถกู้เงินเพื่อมาลงทุนวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศได้มากขึ้น เพราะผู้ให้กู้จะเชื่อมั่นสถานะ
ของกระทรวงการคลังยิ่งขึ้น ซึ่งเกิดจากการลดภาระงบประมาณของชาติได้มาก ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนที่จะมาร่วมลงทุนกับรัฐบาล (PPP) ก็จะกล้าลงทุนมากขึ้น เนื่องจากมั่นใจในฐานะของรัฐบาล จากตัวเลขประมาณการ รัฐบาลคาดว่าเงินลงทุนร่วมจากภาคเอกชนจะได้อีกไม่ต่ำกว่า 4.13 แสนล้านบาท ส่วนเรื่องการให้ความเชื่อมั่นกับนักลงทุนนั้น การออก พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ วงเงินไม่เกิน 50,000 ล้านบาท ฉบับที่ 3 นี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องทำให้นักธุรกิจประกันภัยมั่นใจในการรับประกันวินาศภัย ในอัตราเบี้ยประกันที่ไม่สูงนัก ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนสามารถดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยไม่ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาคประชาชนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้น หลังจากเกิดภัยพิบัติ รัฐบาลก็ต้องจัดมาตรการให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ประชาชนมีเงินทุนก้อนใหม่ฟื้นฟูธุรกิจ ให้กลับมาดำเนินการได้ดังเดิม จึงออก พ.ร.ก.ฉบับที่ 4 เรื่องการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. ....วงเงิน 300,000 ล้านบาท ในสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ.
นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานสัมมนาทางเศรษฐกิจปี 2555 ในหัวข้อ "ฤๅประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำรอย" โดยระบุว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลเตรียมออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขปัญหาหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยโอนหนี้ทั้งหมดให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบ หากเป็นไปได้อยากให้เปลี่ยนแปลงมาเป็นการออกพระราชบัญญัติแทน เพื่อเปิดโอกาสให้สังคมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล
"การออกเป็น พ.ร.ก.ถือว่ากระทบต่อความเป็นอิสระในการทำงานของแบงก์ชาติ และอาจส่งผลกระทบต่อภาคการเงินของประเทศอย่างรุนแรง" ประธานทีดีอาร์ไอกล่าวและว่า แนวทางการแก้ปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ น่าจะมีวิธีอื่นที่ไม่ใช่การออก พ.ร.ก. และการที่รัฐออกเป็น พ.ร.ก. อาจขัดกับ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย
นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า พ.ร.ก.แก้หนี้กองทุนฟื้นฟูไม่ได้ตอบโจทย์การลดภาระกองทุนฟื้นฟูอย่างแท้จริง เพราะแนวทางการดำเนินการโดยให้ ธปท.เรียกเก็บเงินจากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ซึ่งเม็ดเงินคงไม่มากเพียงพอชำระเงินต้นแต่เป็นเพียงสามารถชำระดอกเบี้ยบางส่วนเท่านั้น
ดังนั้น การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงไม่ทำให้ภาระหนี้สาธารณะลดลงและท้ายที่สุดธนาคารพาณิชย์คงต้องผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นให้กับลูกค้านอกจากนี้เห็นว่าในกฎหมายมาตรา 7 (3) ที่ให้มีการโอนทรัพย์สินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลเพื่อชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูถือเป็นวิธีการที่อันตรายเนื่องจากเป็นการให้อำนาจ ครม.มากเกินไป
ทางที่ดีควรมีการจัดสรรเงินจากทุนสำรองระหว่างประเทศส่วนหนึ่งที่สามารถนำมาชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้ ซึ่งปัจจุบันทุนสำรอง 1.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หากจัดสรร 20% มาดำเนินการชำระหนี้สามารถทำได้แต่ต้องออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เนื่องจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นของทุกคน โดยต้องผ่านการพิจารณาและให้ประชาชนรับรู้ ซึ่งในอดีตมีการใช้เงินทุนสำรองแต่ต้องมีการกำหนดวงเงินที่จะใช้ชัดเจนและกำหนดเวลาไว้ด้วย ซึ่งหากใช้แนวทางดังกล่าวการชำระหนี้เงินกู้คงไม่ถึง 25 ปี
"เงินสำรองระหว่างประเทศเราแยกออกส่วนหนึ่งโดยไม่แตะเงินบริจาคของหลวงตาก็สามารถทำได้ ซึ่งวิธีการกำหนดเงินที่จำกัดที่จะนำมาใช้ชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ และควรออกเป็น พ.ร.บ. และให้ทุกคนมีส่วนร่วมมีการถกเถียงกันในสภาเพื่อให้ประชาชนรับรู้และเป็นไปในกรอบหลักการ"
ทั้งนี้ ปัจจุบันเงินทุนสำรองระหว่างประเทศใช้ในการหนุนหลังการออกพันธบัตร 10% สำรองไว้ในหนี้ต่างประเทศระยะสั้น รองรับการนำเข้าเป็นเวลา 6 เดือน รองรับเงินทุนไหลออกกรณีฉุกเฉิน ส่วนที่เหลือสามารถนำมาใช้ในการชำระหนี้ได้
ปชป.ยันส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงการออก พ.ร.ก. 4 ฉบับ ที่ ครม.อนุมัติในหลักการโดยไม่แจกแจงรายละเอียดเนื้อหาว่า การไม่เปิดเผยรายละเอียดถือเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะว่าเป็นกฎหมายที่จะมีการประกาศใช้แล้ว และไม่ได้อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา ทำให้เกิดความกังวลในหลายส่วน โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโอนหนี้ไปให้ ธปท.เริ่มมีความไม่ชัดเจนว่าสิ่งที่ ธปท.พูดคุยกับกระทรวงการคลังนั้น กฎหมายดังกล่าวออกมาตามความเข้าใจของทั้ง 2 ฝ่ายหรือไม่ ถ้าไม่มีอะไรพลิกแพลงไปมากกว่านี้ ก็ต้องมีการส่งตีความว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
"เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เข้าข่ายการเป็น พ.ร.ก. เนื่องจากการกระทำทั้งหมดไม่ใช่การกระทำที่เร่งด่วน เพราะหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่เป็นพันธบัตรจะหมดอายุปลายปี ดังนั้นไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ตามหนี้ส่วนนี้ก็ยังเหมือนเดิม วิธีการทั้งหมดไม่มีผลต่อหนี้ของประเทศหรือหนี้สาธารณะอย่างแท้จริง รัฐบาลจะอ้างว่าหากไม่ทำเรื่องนี้แล้วจะไม่สามารถบริหารเศรษฐกิจหรือกู้เงินต่างๆ ได้ก็ไม่เป็นความจริง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
โฆษกรัฐบาลอ้างเพื่อสร้างอนาคตประเทศ
"พ.ร.ก. 4 ฉบับนี้ เป็นมาตรการที่สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน คือ รัฐบาลได้เตรียมความพร้อมด้านการคลัง เพื่อลงทุนวางแผนป้องกันน้ำท่วมทั้งระยะสั้น และระยะยาวรวมไปถึงการยกระดับขีดความสามรถในการแข่งขันของประเทศในระดับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนและนักลงทุนว่ารัฐบาลจะสามารถฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศไทยให้กลับมามีเศรษฐกิจที่มั่นคงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง" นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงเหตุผล การออก พ.ร.ก.4 ฉบับเมื่อวานนี้ (11 ม.ค.)
พร้อมระบุว่าการที่รัฐบาลต้องออก พ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับในคราวเดียวกันคือ เกิดจากการมองภาพรวมการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ อันเกิดจากมหาอุทกภัยครั้งที่ผ่านมา รัฐบาลเล็งเห็นว่า มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยกัน 3 ด้าน คือ ด้านการฟื้นฟูเยียวยาความเสียหายที่ได้รับจากน้ำท่วม ด้านการสร้างความเชื่อมั่น และพัฒนาศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และด้านการป้องกันปัญหามิให้เกิดความเสียหายจากภัยน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในปีนี้ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เชื่อมโยง เป็นมาตรการเดียวกัน และควรปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน ทั้ง 3 ด้าน
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นการดำเนินการเพื่อมิให้มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม และต้องเริ่มดำเนินการทันทีในขณะนี้ จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.ก.รวม 4 ฉบับ ฉบับแรกคือ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ..... เป็นการดำเนินการเพื่อลดภาระทางการคลังของรัฐบาล โดยให้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้จัดการหนี้ 1.14 ล้านล้านบาท ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย ทั้งนี้กฎหมายได้เพิ่มช่องทางการหาเงินโดยให้ ธปท.เรียกเงินนำส่งจากสถาบันการเงิน ไม่เกินร้อยละ 1 เพื่อให้กองทุนฟื้นฟูฯ และธปท. มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถจัดการหนี้ก้อนนี้ได้อย่างมีกำหนดเป้าหมายชัดเจน
ฉบับที่ 2 คือร่าง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. ...... วงเงินกู้มูลค่ารวมกันไม่เกิน 3.5 แสนล้านบาท เมื่อปรับปรุงการบริหารหนี้แล้ว กระทรวงการคลัง ก็มีภาระน้อยลง จึงสามารถกู้เงินเพื่อมาลงทุนวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศได้มากขึ้น เพราะผู้ให้กู้จะเชื่อมั่นสถานะ
ของกระทรวงการคลังยิ่งขึ้น ซึ่งเกิดจากการลดภาระงบประมาณของชาติได้มาก ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนที่จะมาร่วมลงทุนกับรัฐบาล (PPP) ก็จะกล้าลงทุนมากขึ้น เนื่องจากมั่นใจในฐานะของรัฐบาล จากตัวเลขประมาณการ รัฐบาลคาดว่าเงินลงทุนร่วมจากภาคเอกชนจะได้อีกไม่ต่ำกว่า 4.13 แสนล้านบาท ส่วนเรื่องการให้ความเชื่อมั่นกับนักลงทุนนั้น การออก พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ วงเงินไม่เกิน 50,000 ล้านบาท ฉบับที่ 3 นี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องทำให้นักธุรกิจประกันภัยมั่นใจในการรับประกันวินาศภัย ในอัตราเบี้ยประกันที่ไม่สูงนัก ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนสามารถดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยไม่ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาคประชาชนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้น หลังจากเกิดภัยพิบัติ รัฐบาลก็ต้องจัดมาตรการให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ประชาชนมีเงินทุนก้อนใหม่ฟื้นฟูธุรกิจ ให้กลับมาดำเนินการได้ดังเดิม จึงออก พ.ร.ก.ฉบับที่ 4 เรื่องการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. ....วงเงิน 300,000 ล้านบาท ในสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ.