ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.เอาอยู่! ไฟเขียว พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟู 1.14 ล้านล้านบาทให้ธปท.สำเร็จ ยอมแก้ไขมาตรา 7 (3) จากให้ครม.สั่ง เป็นให้ธปท.จัดการหนี้ ยันเก็บเงินนำส่งเพิ่ม ไม่เป็นภาระแบงก์ "กิตติรัตน์" แย้มมีลุ้นน้อยกว่า 0.4% พร้อมแจง กมธ.การเงิน จำเป็นต้องทำเพราะน้ำท่วม ยันไม่แตะคลังหลวง "ประสาร" ขอเลื่อนเวลาบังคับใช้ออกไปก่อน "ยิ่งลักษณ์" ห่วงถูกวุฒิฯ ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ
วานนี้ (10 ม.ค.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ... เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นของกองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท 2.ร่าง พ.ร.ก.เงินกู้เพื่อการบูรณะและฟื้นฟูประเทศที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาอุทกภัย พ.ศ. ... จำนวน 3.5 แสนล้านบาท 3.ร่าง พ.ร.ก.จัดตั้งกองทุนประกันภัย จำนวน 5 หมื่นล้านบาท และ 4.ร่าง พ.ร.ก.แก้ไข พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ ธปท.สามารถปล่อยสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนให้แก่สถาบันการเงิน จำนวน 3 แสนล้านบาท
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ใน พ.ร.ก.แก้หนี้กองทุนฟื้นฟู จากเดิมกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบภาระดอกเบี้ยเป็นภาระงบประมาณกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท/ปี และที่ผ่านมา ใช้งบประมาณชำระหนี้ให้กองทุนฟื้นฟูฯ กว่า 6.7 แสนล้านบาท ทำให้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการแก้ปัญหาใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาณ โดยจะโอนให้ ธปท.รับผิดชอบทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย
ที่มาของรายได้ของ ธปท. ในการหาเงินมาชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯมาจาก 3 แหล่ง คือ 1.กำไรของ ธปท.ในสัดส่วน 90% 2.กำไรจากการบริหารเงินทุนสำรองฯ และ 3.ให้ ธปท.เก็บค่าธรรมเนียมจากสถาบันการเงินเพิ่ม แต่เมื่อรวมจากการรจัดเก็บของสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะต้องไม่เกิน 1% ของเงินฝาก
"การเปิดโอกาสให้ ธปท.เรียกเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเพิ่มเติม เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาหนี้ จะไม่เป็นภาระกับสถาบันการเงินมากเกินไป"นายธีระชัยกล่าวในการแถลงข่าวร่วมกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เมื่อวานนี้ (10 ม.ค.)
นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ยังได้แก้ไขในส่วนของมาตรา 7 (3) ที่ระบุว่าให้ ธปท.และกองทุนฟื้นฟูฯ นำทรัพย์สินและรายได้เข้าบัญชีชำระหนี้ ตามมติของครม. โดยปรับใหม่ และให้อำนาจ ธปท.ในการบริหารจัดการหนี้เอง โดยได้มอบหมายให้ผู้ว่าการธปท. ไปกำหนดกรอบระยะเวลาในการชำระหนี้มายังกระทรวงการคลังว่าจะใช้เวลาในการแก้ปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ จำนวน 1.14 ล้านล้านบาท ในเวลานานแค่ไหน แต่เชื่อว่าคงจะไม่สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
"เบื้องต้นมีแนวคิดว่า อาจจะชำระคืนเงินต้นทั้งหมดภายใน 25 ปี เพื่อไม่ให้ต้องเร่งเรียกเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินในอัตราที่สูงเกินไป ดังนั้น คงต้องให้เวลา ธปท.ในการศึกษาเรื่องดังกล่าวก่อน และในอนาคต เป็นไปได้ที่กองทุนฟื้นฟูฯ จะสามารถออกพันธบัตรได้ด้วยตัวเอง หากตลาดการเงินมีความเชื่อมั่นต่อแหล่งที่มาของเงินรายได้ที่เข้ามา"นายธีระชัยกล่าวและว่า กฎหมายทั้ง 4 ฉบับเป็นกฎหมายที่สำคัญอันดับต้น โดยเฉพาะฉบับที่เกี่ยวกับหนี้ของกองทุนฟื้นฟู หากปล่อยทิ้งไว้รังแต่จะเป็นปัญหาต่อความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ
ด้านนายกิตติรัตน์กล่าวว่า ในที่ประชุม ครม.มีความเห็นตรงกันว่าควรลดสัดส่วนการส่งเงินสมทบเข้าสถาบันคุ้มครองเงินฝาก อาจเป็นไปได้ที่จะเรียกเก็บต่ำกว่าเดิมที่เรียกเก็บ 0.4% ของเงินฝาก เพื่อให้สถาบันการเงินส่งเงินสมทบให้กับ ธปท.โดยไม่เป็นภาระกับสถาบันการเงินมากนัก
การออก พ.ร.ก.แก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ จะช่วยลดข้อจำกัดด้านภาระงบประมาณของภาครัฐ เพราะตามกรอบกฎหมายระบุว่า ภาระหนี้ของรัฐจะต้องไม่เกิน 15% ของงบประมาณ ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนหนี้ต่องบประมาณอยู่ที่ 12% และถ้าลดหนี้ที่ต้องจ่ายให้กับกองทุนฟื้นฟูฯเฉลี่ย 6.5 หมื่นล้านบาท/ปี จะช่วยลดข้อจำกัดด้านงบประมาณของรัฐบาลได้เป็นจำนวนมาก
ส่วนสาเหตุที่ ครม.ผ่าน พ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับ ถือเป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่ให้เหตุผลถึงความจำเป็นใน 3 ประเด็น คือ 1.การฟื้นฟูความเสียหายและบูรณะประเทศจากปัญหาน้ำท่วม 2.เรียกความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยและการดำเนินชีวิตของประชาชน และ 3.ป้องกันปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว ทำให้จำเป็นต้องผ่านร่าง พ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับ โดยกระบวนการต่างๆ จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนม.ค. 2555 เป็นต้นไป
***"โต้ง" แจงกมธ.การเงินอ้างจำเป็น
บ่ายวันเดียวกัน คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา ซึ่งมีนายถาวร ลีนุตพงษ์ เป็นประธาน ได้เชิญนายกิตติรัตน์และนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. เข้าชี้แจงกรณี รัฐบาลเตรียมออก พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
นายกิตติรัตน์ยืนยันว่า มีความจำเป็นในการออก พ.ร.ก. เนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องนำเงินมาฟื้นฟูประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน โดยเฉพาะแผนบริหารจัดการน้ำ ที่ขณะนี้ทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเจ้าพระยาเสร็จแล้ว เชื่อว่าการกู้เงินดังกล่าวไม่เสียวินัยการคลังหรือเป็นภาระงบประมาณ เพราะขณะนี้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี อยู่ในระดับร้อยละ 40 ยังไม่เกินเพดานที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 60 และยืนยันไม่แตะต้องทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ หรือคลังหลวงตามที่หลายฝ่ายกังวล
ขณะที่นายประสารกล่าวว่า ภาระเงินต้นคงต้องมีการพิจารณาและบริหารจัดการแหล่งหาเงินมาชำระอีกครั้ง แต่ในส่วนของภาระดอกเบี้ย สามารถนำรายได้สนับสนุนการดำเนินงานของธปท.และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสถาบันการเงินเพิ่มเติม แต่เมื่อรวมกับเงินที่เก็บจากกองทุนคุ้มครองเงินฝากต้องไม่เกินร้อยละ 1 ของเงินฝาก
"ตอนนี้อยู่ระหว่างศึกษาอัตราเรียกเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินให้กับสถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยอัตราใหม่จะระมัดระวังไม่ให้กระทบต่อสถาบันการเงินและผู้บริโภค รัฐบาลต้องการให้รับภาระหนี้ตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นไป แต่แบงก์ชาติขอเวลาตั้งหลัก ศึกษาข้อมูลและคำนวณการเก็บเงินสมทบเพื่อไม่ให้กระทบกับทุกฝ่าย"นายประสารกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การชี้แจงในครั้งนี้มีคณะศิษยานุศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เข้ารับฟังด้วย
***"ปู" กลัววุฒิฯ ส่งศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ ในการประชุมครม.ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สอบถาม นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ถึงกรณีที่มีกระแสข่าว สมาชิกวุฒิสภาบางกลุ่ม ขู่จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความว่า รัฐบาลไม่มีอำนาจออก พ.ร.ก. กู้เงิน 4 ฉบับนั้น เขาจะทำอะไร เราได้หรือไม่ เรื่องนี้ผู้เกี่ยวข้องต้องไปอธิบายสื่อสารให้กับสังคม และประชาชนเข้าใจถึงความจำเป็นของรัฐบาลในการใช้เงิน ซึ่งนายอัชพร ได้ชี้แจงว่า เขาทำอะไรรัฐบาลไม่ได้ เพราะเรื่องนี้ ได้มีการศึกษาในข้อกฎหมายไว้ครบถ้วน เรียบร้อยหมดแล้ว การเลือกช่องทางออกเป็น พ.ร.ก.ถูกต้องแล้ว เว้นเสียแต่ว่าถ้า ส.ว.ไปยื่นตีความจริง ก็จะทำให้ส่งผลกระทบต่อ เมกกะโปรเจกต์ต่างๆ ล่าช้าออกไป ซึ่งถ้าตีความว่า เป็นการออกกฎหมายโดยมิชอบ เขาก็ดำเนินการยื่นถอดถอนนายกฯ รองนายกฯ และรมว.คลัง
*** "มาร์ก"เอาแน่ชงตีความพ.ร.ก.โอนหนี้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เตรียมส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความร่าง พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟู เพราะเห็นว่าไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขรัฐธรรมูญที่กำหนดว่าจะต้องเป็นเรื่องเร่งด่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่กรณีหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ยังมีเวลาในการดำเนินการ เพราะพันธบัตรจะครบกำหนดในเดือนก.ย.
ส่วนกรณีที่นายกิตติรัตน์ระบุว่า ไม่มีการนำเงินคลังหลวงมาใช้ ก็ต้องถามกลับไปว่า เงินของ ธปท.มาจากที่ใด และแม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวจะถูกจำกัดในกรอบของกฎหมาย การวางกรอบให้ ธปท.ใช้หนี้เป็นระยะเวลา 25 ปีนั้น ถือว่าเป็นการบังคับให้เร่งหารายได้ทางอ้อม ส่วนการออก พ.ร.ก. อีก 2 ฉบับในเรื่องการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท และให้ ธปท.ออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 3 แสนล้านบาท จะมีการพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เงา ในวันนี้ (11 ม.ค.) ว่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
***"กรณ์” อัดครม.ลับๆ ล่อๆ
นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรมว.คลัง กล่าวว่า การออกพรก.ฉบับนี้ มีพฤติดรรมลับๆล่อๆ ไม่ต่างจากพ.ร.ก.พระราชทานอภัยโทษ เพราะหากสังคมไม่ลุกขึ้นมาต่อต้าน ก็ยังไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น มาถึงพ.ร.ก.โอนหนี้ให้ธปท. เป็นไปได้อย่างไรที่ผู้ว่าธปท.ไม่เคยเห็นเนื้อหานี้ ยิ่งตอกย้ำความเป็นเผด็จการเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ใช้อำนาจฝ่ายบริหารไปบังคับธนาคารกลางของประเทศ เพราะแม้จะรู้ว่าจะไม่มีการให้ธปท.พิมพ์ธนบัตรเพิ่ม หรือใช้เงินจากกองทุนสำรองระหว่างประเทศ แต่ไม่มีการพูดให้ชัดเจนว่าแล้วธปท. จะเอารายได้จากไหนมาชำระหนี้เหล่านี้ ทางพรรคจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอย่างแน่นอนเพราะไม่ใช่เป็นเรื่องเร่งด่วน
วานนี้ (10 ม.ค.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ... เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นของกองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท 2.ร่าง พ.ร.ก.เงินกู้เพื่อการบูรณะและฟื้นฟูประเทศที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาอุทกภัย พ.ศ. ... จำนวน 3.5 แสนล้านบาท 3.ร่าง พ.ร.ก.จัดตั้งกองทุนประกันภัย จำนวน 5 หมื่นล้านบาท และ 4.ร่าง พ.ร.ก.แก้ไข พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ ธปท.สามารถปล่อยสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนให้แก่สถาบันการเงิน จำนวน 3 แสนล้านบาท
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ใน พ.ร.ก.แก้หนี้กองทุนฟื้นฟู จากเดิมกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบภาระดอกเบี้ยเป็นภาระงบประมาณกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท/ปี และที่ผ่านมา ใช้งบประมาณชำระหนี้ให้กองทุนฟื้นฟูฯ กว่า 6.7 แสนล้านบาท ทำให้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการแก้ปัญหาใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาณ โดยจะโอนให้ ธปท.รับผิดชอบทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย
ที่มาของรายได้ของ ธปท. ในการหาเงินมาชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯมาจาก 3 แหล่ง คือ 1.กำไรของ ธปท.ในสัดส่วน 90% 2.กำไรจากการบริหารเงินทุนสำรองฯ และ 3.ให้ ธปท.เก็บค่าธรรมเนียมจากสถาบันการเงินเพิ่ม แต่เมื่อรวมจากการรจัดเก็บของสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะต้องไม่เกิน 1% ของเงินฝาก
"การเปิดโอกาสให้ ธปท.เรียกเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเพิ่มเติม เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาหนี้ จะไม่เป็นภาระกับสถาบันการเงินมากเกินไป"นายธีระชัยกล่าวในการแถลงข่าวร่วมกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เมื่อวานนี้ (10 ม.ค.)
นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ยังได้แก้ไขในส่วนของมาตรา 7 (3) ที่ระบุว่าให้ ธปท.และกองทุนฟื้นฟูฯ นำทรัพย์สินและรายได้เข้าบัญชีชำระหนี้ ตามมติของครม. โดยปรับใหม่ และให้อำนาจ ธปท.ในการบริหารจัดการหนี้เอง โดยได้มอบหมายให้ผู้ว่าการธปท. ไปกำหนดกรอบระยะเวลาในการชำระหนี้มายังกระทรวงการคลังว่าจะใช้เวลาในการแก้ปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ จำนวน 1.14 ล้านล้านบาท ในเวลานานแค่ไหน แต่เชื่อว่าคงจะไม่สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
"เบื้องต้นมีแนวคิดว่า อาจจะชำระคืนเงินต้นทั้งหมดภายใน 25 ปี เพื่อไม่ให้ต้องเร่งเรียกเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินในอัตราที่สูงเกินไป ดังนั้น คงต้องให้เวลา ธปท.ในการศึกษาเรื่องดังกล่าวก่อน และในอนาคต เป็นไปได้ที่กองทุนฟื้นฟูฯ จะสามารถออกพันธบัตรได้ด้วยตัวเอง หากตลาดการเงินมีความเชื่อมั่นต่อแหล่งที่มาของเงินรายได้ที่เข้ามา"นายธีระชัยกล่าวและว่า กฎหมายทั้ง 4 ฉบับเป็นกฎหมายที่สำคัญอันดับต้น โดยเฉพาะฉบับที่เกี่ยวกับหนี้ของกองทุนฟื้นฟู หากปล่อยทิ้งไว้รังแต่จะเป็นปัญหาต่อความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ
ด้านนายกิตติรัตน์กล่าวว่า ในที่ประชุม ครม.มีความเห็นตรงกันว่าควรลดสัดส่วนการส่งเงินสมทบเข้าสถาบันคุ้มครองเงินฝาก อาจเป็นไปได้ที่จะเรียกเก็บต่ำกว่าเดิมที่เรียกเก็บ 0.4% ของเงินฝาก เพื่อให้สถาบันการเงินส่งเงินสมทบให้กับ ธปท.โดยไม่เป็นภาระกับสถาบันการเงินมากนัก
การออก พ.ร.ก.แก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ จะช่วยลดข้อจำกัดด้านภาระงบประมาณของภาครัฐ เพราะตามกรอบกฎหมายระบุว่า ภาระหนี้ของรัฐจะต้องไม่เกิน 15% ของงบประมาณ ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนหนี้ต่องบประมาณอยู่ที่ 12% และถ้าลดหนี้ที่ต้องจ่ายให้กับกองทุนฟื้นฟูฯเฉลี่ย 6.5 หมื่นล้านบาท/ปี จะช่วยลดข้อจำกัดด้านงบประมาณของรัฐบาลได้เป็นจำนวนมาก
ส่วนสาเหตุที่ ครม.ผ่าน พ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับ ถือเป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่ให้เหตุผลถึงความจำเป็นใน 3 ประเด็น คือ 1.การฟื้นฟูความเสียหายและบูรณะประเทศจากปัญหาน้ำท่วม 2.เรียกความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยและการดำเนินชีวิตของประชาชน และ 3.ป้องกันปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว ทำให้จำเป็นต้องผ่านร่าง พ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับ โดยกระบวนการต่างๆ จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนม.ค. 2555 เป็นต้นไป
***"โต้ง" แจงกมธ.การเงินอ้างจำเป็น
บ่ายวันเดียวกัน คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา ซึ่งมีนายถาวร ลีนุตพงษ์ เป็นประธาน ได้เชิญนายกิตติรัตน์และนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. เข้าชี้แจงกรณี รัฐบาลเตรียมออก พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
นายกิตติรัตน์ยืนยันว่า มีความจำเป็นในการออก พ.ร.ก. เนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องนำเงินมาฟื้นฟูประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน โดยเฉพาะแผนบริหารจัดการน้ำ ที่ขณะนี้ทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเจ้าพระยาเสร็จแล้ว เชื่อว่าการกู้เงินดังกล่าวไม่เสียวินัยการคลังหรือเป็นภาระงบประมาณ เพราะขณะนี้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี อยู่ในระดับร้อยละ 40 ยังไม่เกินเพดานที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 60 และยืนยันไม่แตะต้องทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ หรือคลังหลวงตามที่หลายฝ่ายกังวล
ขณะที่นายประสารกล่าวว่า ภาระเงินต้นคงต้องมีการพิจารณาและบริหารจัดการแหล่งหาเงินมาชำระอีกครั้ง แต่ในส่วนของภาระดอกเบี้ย สามารถนำรายได้สนับสนุนการดำเนินงานของธปท.และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสถาบันการเงินเพิ่มเติม แต่เมื่อรวมกับเงินที่เก็บจากกองทุนคุ้มครองเงินฝากต้องไม่เกินร้อยละ 1 ของเงินฝาก
"ตอนนี้อยู่ระหว่างศึกษาอัตราเรียกเก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินให้กับสถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยอัตราใหม่จะระมัดระวังไม่ให้กระทบต่อสถาบันการเงินและผู้บริโภค รัฐบาลต้องการให้รับภาระหนี้ตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นไป แต่แบงก์ชาติขอเวลาตั้งหลัก ศึกษาข้อมูลและคำนวณการเก็บเงินสมทบเพื่อไม่ให้กระทบกับทุกฝ่าย"นายประสารกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การชี้แจงในครั้งนี้มีคณะศิษยานุศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เข้ารับฟังด้วย
***"ปู" กลัววุฒิฯ ส่งศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ ในการประชุมครม.ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สอบถาม นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ถึงกรณีที่มีกระแสข่าว สมาชิกวุฒิสภาบางกลุ่ม ขู่จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความว่า รัฐบาลไม่มีอำนาจออก พ.ร.ก. กู้เงิน 4 ฉบับนั้น เขาจะทำอะไร เราได้หรือไม่ เรื่องนี้ผู้เกี่ยวข้องต้องไปอธิบายสื่อสารให้กับสังคม และประชาชนเข้าใจถึงความจำเป็นของรัฐบาลในการใช้เงิน ซึ่งนายอัชพร ได้ชี้แจงว่า เขาทำอะไรรัฐบาลไม่ได้ เพราะเรื่องนี้ ได้มีการศึกษาในข้อกฎหมายไว้ครบถ้วน เรียบร้อยหมดแล้ว การเลือกช่องทางออกเป็น พ.ร.ก.ถูกต้องแล้ว เว้นเสียแต่ว่าถ้า ส.ว.ไปยื่นตีความจริง ก็จะทำให้ส่งผลกระทบต่อ เมกกะโปรเจกต์ต่างๆ ล่าช้าออกไป ซึ่งถ้าตีความว่า เป็นการออกกฎหมายโดยมิชอบ เขาก็ดำเนินการยื่นถอดถอนนายกฯ รองนายกฯ และรมว.คลัง
*** "มาร์ก"เอาแน่ชงตีความพ.ร.ก.โอนหนี้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เตรียมส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความร่าง พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟู เพราะเห็นว่าไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขรัฐธรรมูญที่กำหนดว่าจะต้องเป็นเรื่องเร่งด่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่กรณีหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ยังมีเวลาในการดำเนินการ เพราะพันธบัตรจะครบกำหนดในเดือนก.ย.
ส่วนกรณีที่นายกิตติรัตน์ระบุว่า ไม่มีการนำเงินคลังหลวงมาใช้ ก็ต้องถามกลับไปว่า เงินของ ธปท.มาจากที่ใด และแม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวจะถูกจำกัดในกรอบของกฎหมาย การวางกรอบให้ ธปท.ใช้หนี้เป็นระยะเวลา 25 ปีนั้น ถือว่าเป็นการบังคับให้เร่งหารายได้ทางอ้อม ส่วนการออก พ.ร.ก. อีก 2 ฉบับในเรื่องการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท และให้ ธปท.ออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 3 แสนล้านบาท จะมีการพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เงา ในวันนี้ (11 ม.ค.) ว่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
***"กรณ์” อัดครม.ลับๆ ล่อๆ
นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรมว.คลัง กล่าวว่า การออกพรก.ฉบับนี้ มีพฤติดรรมลับๆล่อๆ ไม่ต่างจากพ.ร.ก.พระราชทานอภัยโทษ เพราะหากสังคมไม่ลุกขึ้นมาต่อต้าน ก็ยังไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น มาถึงพ.ร.ก.โอนหนี้ให้ธปท. เป็นไปได้อย่างไรที่ผู้ว่าธปท.ไม่เคยเห็นเนื้อหานี้ ยิ่งตอกย้ำความเป็นเผด็จการเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ใช้อำนาจฝ่ายบริหารไปบังคับธนาคารกลางของประเทศ เพราะแม้จะรู้ว่าจะไม่มีการให้ธปท.พิมพ์ธนบัตรเพิ่ม หรือใช้เงินจากกองทุนสำรองระหว่างประเทศ แต่ไม่มีการพูดให้ชัดเจนว่าแล้วธปท. จะเอารายได้จากไหนมาชำระหนี้เหล่านี้ ทางพรรคจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอย่างแน่นอนเพราะไม่ใช่เป็นเรื่องเร่งด่วน