ASTVผู้จัดการรายวัน-ปปง.อายัด 75 บัญชี แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังอ้างเป็นเจ้าหน้าที่แบงก์ และ ปปง. หลอกเหยื่อโอนเงิน 269 ครั้ง สูญกว่า 26 ล้านบาท อ้างเป็นหนี้บัตรเครดิตและพัวพันค้ายาเสพติด เหยื่อยกเป็นอุทาหรณ์เตือนคนอื่น เร่งหาหลักฐานออกหมายจับเจ้าของบัญชีทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (10 ม.ค.) ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) นางกัลยา นามสมมุติ อายุ 68 ปี ข้าราชการบำนาญ เข้าพบ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาการเลขาธิการ ปปง. ให้ปากคำ หลังถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ ปปง.โทรศัพท์หลอกให้โอนเงินผ่านตู้ฝากเงินสดเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ 75 บัญชี จำนวน 269 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 26,750,185 บาท เหตุเกิดระหว่างวันที่ 21 ธ.ค.2554-4 ม.ค.2555 โดยหลอกว่า มีชื่ออยู่ในบัญชีเครือข่ายฟอกเงินของแก๊งยาเสพติด ต้องโอนเงินนำไปตรวจสอบกับธนาคารแห่งประเทศไทย
นางกัลยา นามสมมุติ ผู้เสียหาย อายุ 68 ปี ที่ใส่หมวกปกปิดใบหน้า กล่าวลำดับเหตุการณ์ว่า ก่อนเกิดเหตุเมื่อวันพุธที่ 21 ธ.ค.2554 เวลาประมาณ 09.00 น. ตนได้รับโทรศัพท์จากบุคคลที่แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกสิกรไทยว่า ตนเป็นหนี้บัตรเครดิตจำนวนหนึ่ง แต่ตนเอะใจว่า ปกติบัตรเครดิตของตนจะตัดรอบบัญชีทุกวันที่ 19 ของเดือน และตนได้จ่ายเงินค่าบัตรเครดิตเงินเข้าบัญชีแล้วตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. โดยคนร้ายคนแรกได้พูดทิ้งท้ายไว้ว่า หากมีปัญหาให้โทรไปสอบถามตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ไว้ ตนจึงโทรศัพท์ไปซักถามพร้อมชี้แจงว่า ปกติธนาคารกสิกร จะส่งสเตทเม้นท์การใช้บัตรเครดิตมาที่บ้าน อีกทั้งตนได้จ่ายเงินค่าบัตรเครดิตไปแล้วตั้งวันที่ 19 ธ.ค. ทำไมวันที่ 21ธ.ค. จึงมีการทวงถามจากธนาคารอีก และยอดเงินต่างกันด้วย คนร้ายจึงโอนสายไปให้อีกคนคุย โดยอ้างว่าเป็นตำรวจยศ ร.ต.อ.บอกว่า มีคนเอาชื่อตนมาเปิดบัตรเครดิตของธนาคารกสิกรไทย สาขาพระราม 3 ตนจึงแย้งว่าบ้านตนอยู่คนละโซน ไม่ได้ไปทำบัตร
ผู้เสียหายเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กล่าวอีกว่า คนร้ายยังบอกว่า มีการใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าไปแล้ว 2 รายการ รวม 3 หมื่นกว่าบาท ซึ่งคนร้ายยังถามต่อว่า รู้จักคนที่ชื่อสุจิตราหรือไม่ โดยตนบอกว่าไม่รู้จัก ทำไมเหรอ คนร้ายจึงบอกว่าผู้หญิงที่ชื่อสุจิตรา ถูกจับที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเมื่อปี 2553 เดิมเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกสิกรไทย แต่ถูกไล่ออก เพราะเอาความลับของธนาคารไปขาย ก่อนผันมาเป็นผู้ค้ายาเสพติดจนถูกจับได้ และบังเอิญมีชื่อตนอยู่ในบัญชีฟอกเงิน ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ตกใจกลัวมาก และบอกว่าจะมีคนมาช่วยให้คุยกับอีกสาย โดยเป็นหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงาน ปปง. โดยคนในสายแอบอ้างว่าเป็นพ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาการเลขาฯ ปปง. บอกว่า จะช่วยตน ขอให้ความร่วมมือและเก็บไว้เป็นความลับ ซึ่งก่อนซักถามว่า มีสมุดบัญชีธนาคารที่ไหนบ้าง โดยตนบอกว่า จะฝากเงินที่สหกรณ์ ซึ่งคนร้ายที่พยายามถามว่ามีสมุดเงินฝากกี่เล่ม ยอดเงินจำนวนเท่าไร โดยพยายามให้ตนไปถอนเงินจากสหกรณ์ เพื่อนำไปฝากแบงก์ เพื่อเคลียร์บัญชีฟอกเงินให้
**เหยื่อครวญไม่คิดว่าจะโดน
เหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กล่าวต่อว่า ตนไม่ทราบว่าโทรศัพท์มือถือของตนในช่วงนั้น ทำไมไม่สามารถโทรศัพท์ออกไปไหนได้ ซึ่งทำให้ติดต่อญาติเพื่อปรึกษาไม่ได้
ที่ผ่านมา ไม่เคยได้ยินข่าวแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จึงขอให้เป็นอุทาหรณ์และไม่คิดว่าตัวเองจะโดน ซึ่งคนร้ายใช้เทคโนโลยีและจิตวิทยาสูงมาก พูดจาเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ทุกอย่าง โดยสิ่งที่เชื่อกระบวนการของคนร้ายเหมือนอยู่ในออฟฟิศ อ้างผู้ใหญ่ อ้างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทุกครั้งหลังโอนเงินและได้สลิปคนร้ายบอกว่า เป็นรหัสของแบงก์ชาติ ให้ฉีกทิ้ง แต่ตนเก็บไว้จนนำมาเป็นหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ ปปง.
**ปปง.อายัด 75 บัญชีตรวจสอบ
พ.ต.อ.สีหนาท กล่าวว่า หลังจากผู้เสียหายมาพบตนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อขอเงินคืน จากการสอบปากคำจนมั่นใจว่า ผู้เสียหายถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง จึงรีบประสานธนาคารกรุงเทพ เพื่ออายัดเงินในบัญชีเครือข่ายของคนร้ายที่ให้ผู้เสียหายโอนเงินเข้า 75 บัญชี จำนวน 269 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 26,750,185 บาท ทันที โดยตู้ฝากเงินอัตโนมัติสามารถรับฝากเงินได้ครั้งละ 1 แสนบาท ทำให้ผู้เสียหายต้องฝากกว่าสองร้อยครั้ง ซึ่งวันแรกพบว่า ผู้เสียหายโอนเงินให้คนร้ายวันเดียว 3 ล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้ธนาคารต้องตรวจสอบผู้ที่มาเปิดบัญชี โดยต้องรายงานการทำธุรกรรมต้องสงสัย ซึ่งตนจะให้ชี้แจงว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะตรวจสอบกับธนาคารว่า ทำไมคนร้ายถึงรู้ข้อมูลของผู้เสียหาย
นอกจากนี้ จะประสานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า เหตุใดโทรศัพท์ผู้เสียหายโทรออกไปหาคนอื่นไม่ได้ และทำไมคนร้ายสวมหมายเลขโทรศัพท์ของ ปปง.โทรไปหาผู้เสียหายได้
**แจ้งกองปราบขยายผลจับกุม
ส่วนแนวทางการสอบสวนได้นำผู้เสียหายเข้าแจ้งความกับ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป.เพื่อร่วมกันสืบสวนสอบสวนติดตามจับตัวแก๊งคนร้าย ส่วนการติดตามเงินของผู้เสียหายคืน ตนได้สั่งอายัดบัญชีธนาคารของคนร้ายทั้ง 75 บัญชี ซึ่งเป็นต่างบุคคลกระจายอยู่ทั่วประเทศ เบื้องต้นพบว่า บางบัญชีมีเงินเหลือศูนย์บาท บางบัญชีเหลือ 6 หมื่นบาท หรือ 9 หมื่นบาท โดยมียอดเงินเหลือในบัญชีรวมทั้งหมดประมาณ 9 แสนบาท หลังผู้เสียหายโอนเงินคนร้ายก็กดเงินออกไปกระจายทั้งประเทศ ซึ่งถือเป็นแก๊งคนร้ายที่กว้างขวางมาก โดยจะพยายามติดตามยึดอายัดทรัพย์กลับมาคืนให้ผู้เสียหาย และยังได้รวบรวมพยานหลักฐานออกหมายจับเจ้าของบัญชีธนาคารทั้ง 75 คน ที่ให้ความร่วมมือกับคนร้ายในการเปิดบัญชี ส่วนข้อหาจะหารือกับตำรวจกองปราบปรามอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (10 ม.ค.) ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) นางกัลยา นามสมมุติ อายุ 68 ปี ข้าราชการบำนาญ เข้าพบ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาการเลขาธิการ ปปง. ให้ปากคำ หลังถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ ปปง.โทรศัพท์หลอกให้โอนเงินผ่านตู้ฝากเงินสดเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ 75 บัญชี จำนวน 269 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 26,750,185 บาท เหตุเกิดระหว่างวันที่ 21 ธ.ค.2554-4 ม.ค.2555 โดยหลอกว่า มีชื่ออยู่ในบัญชีเครือข่ายฟอกเงินของแก๊งยาเสพติด ต้องโอนเงินนำไปตรวจสอบกับธนาคารแห่งประเทศไทย
นางกัลยา นามสมมุติ ผู้เสียหาย อายุ 68 ปี ที่ใส่หมวกปกปิดใบหน้า กล่าวลำดับเหตุการณ์ว่า ก่อนเกิดเหตุเมื่อวันพุธที่ 21 ธ.ค.2554 เวลาประมาณ 09.00 น. ตนได้รับโทรศัพท์จากบุคคลที่แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกสิกรไทยว่า ตนเป็นหนี้บัตรเครดิตจำนวนหนึ่ง แต่ตนเอะใจว่า ปกติบัตรเครดิตของตนจะตัดรอบบัญชีทุกวันที่ 19 ของเดือน และตนได้จ่ายเงินค่าบัตรเครดิตเงินเข้าบัญชีแล้วตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. โดยคนร้ายคนแรกได้พูดทิ้งท้ายไว้ว่า หากมีปัญหาให้โทรไปสอบถามตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ไว้ ตนจึงโทรศัพท์ไปซักถามพร้อมชี้แจงว่า ปกติธนาคารกสิกร จะส่งสเตทเม้นท์การใช้บัตรเครดิตมาที่บ้าน อีกทั้งตนได้จ่ายเงินค่าบัตรเครดิตไปแล้วตั้งวันที่ 19 ธ.ค. ทำไมวันที่ 21ธ.ค. จึงมีการทวงถามจากธนาคารอีก และยอดเงินต่างกันด้วย คนร้ายจึงโอนสายไปให้อีกคนคุย โดยอ้างว่าเป็นตำรวจยศ ร.ต.อ.บอกว่า มีคนเอาชื่อตนมาเปิดบัตรเครดิตของธนาคารกสิกรไทย สาขาพระราม 3 ตนจึงแย้งว่าบ้านตนอยู่คนละโซน ไม่ได้ไปทำบัตร
ผู้เสียหายเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กล่าวอีกว่า คนร้ายยังบอกว่า มีการใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าไปแล้ว 2 รายการ รวม 3 หมื่นกว่าบาท ซึ่งคนร้ายยังถามต่อว่า รู้จักคนที่ชื่อสุจิตราหรือไม่ โดยตนบอกว่าไม่รู้จัก ทำไมเหรอ คนร้ายจึงบอกว่าผู้หญิงที่ชื่อสุจิตรา ถูกจับที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเมื่อปี 2553 เดิมเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกสิกรไทย แต่ถูกไล่ออก เพราะเอาความลับของธนาคารไปขาย ก่อนผันมาเป็นผู้ค้ายาเสพติดจนถูกจับได้ และบังเอิญมีชื่อตนอยู่ในบัญชีฟอกเงิน ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ตกใจกลัวมาก และบอกว่าจะมีคนมาช่วยให้คุยกับอีกสาย โดยเป็นหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงาน ปปง. โดยคนในสายแอบอ้างว่าเป็นพ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาการเลขาฯ ปปง. บอกว่า จะช่วยตน ขอให้ความร่วมมือและเก็บไว้เป็นความลับ ซึ่งก่อนซักถามว่า มีสมุดบัญชีธนาคารที่ไหนบ้าง โดยตนบอกว่า จะฝากเงินที่สหกรณ์ ซึ่งคนร้ายที่พยายามถามว่ามีสมุดเงินฝากกี่เล่ม ยอดเงินจำนวนเท่าไร โดยพยายามให้ตนไปถอนเงินจากสหกรณ์ เพื่อนำไปฝากแบงก์ เพื่อเคลียร์บัญชีฟอกเงินให้
**เหยื่อครวญไม่คิดว่าจะโดน
เหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กล่าวต่อว่า ตนไม่ทราบว่าโทรศัพท์มือถือของตนในช่วงนั้น ทำไมไม่สามารถโทรศัพท์ออกไปไหนได้ ซึ่งทำให้ติดต่อญาติเพื่อปรึกษาไม่ได้
ที่ผ่านมา ไม่เคยได้ยินข่าวแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จึงขอให้เป็นอุทาหรณ์และไม่คิดว่าตัวเองจะโดน ซึ่งคนร้ายใช้เทคโนโลยีและจิตวิทยาสูงมาก พูดจาเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ทุกอย่าง โดยสิ่งที่เชื่อกระบวนการของคนร้ายเหมือนอยู่ในออฟฟิศ อ้างผู้ใหญ่ อ้างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทุกครั้งหลังโอนเงินและได้สลิปคนร้ายบอกว่า เป็นรหัสของแบงก์ชาติ ให้ฉีกทิ้ง แต่ตนเก็บไว้จนนำมาเป็นหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ ปปง.
**ปปง.อายัด 75 บัญชีตรวจสอบ
พ.ต.อ.สีหนาท กล่าวว่า หลังจากผู้เสียหายมาพบตนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อขอเงินคืน จากการสอบปากคำจนมั่นใจว่า ผู้เสียหายถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง จึงรีบประสานธนาคารกรุงเทพ เพื่ออายัดเงินในบัญชีเครือข่ายของคนร้ายที่ให้ผู้เสียหายโอนเงินเข้า 75 บัญชี จำนวน 269 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 26,750,185 บาท ทันที โดยตู้ฝากเงินอัตโนมัติสามารถรับฝากเงินได้ครั้งละ 1 แสนบาท ทำให้ผู้เสียหายต้องฝากกว่าสองร้อยครั้ง ซึ่งวันแรกพบว่า ผู้เสียหายโอนเงินให้คนร้ายวันเดียว 3 ล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้ธนาคารต้องตรวจสอบผู้ที่มาเปิดบัญชี โดยต้องรายงานการทำธุรกรรมต้องสงสัย ซึ่งตนจะให้ชี้แจงว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะตรวจสอบกับธนาคารว่า ทำไมคนร้ายถึงรู้ข้อมูลของผู้เสียหาย
นอกจากนี้ จะประสานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า เหตุใดโทรศัพท์ผู้เสียหายโทรออกไปหาคนอื่นไม่ได้ และทำไมคนร้ายสวมหมายเลขโทรศัพท์ของ ปปง.โทรไปหาผู้เสียหายได้
**แจ้งกองปราบขยายผลจับกุม
ส่วนแนวทางการสอบสวนได้นำผู้เสียหายเข้าแจ้งความกับ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป.เพื่อร่วมกันสืบสวนสอบสวนติดตามจับตัวแก๊งคนร้าย ส่วนการติดตามเงินของผู้เสียหายคืน ตนได้สั่งอายัดบัญชีธนาคารของคนร้ายทั้ง 75 บัญชี ซึ่งเป็นต่างบุคคลกระจายอยู่ทั่วประเทศ เบื้องต้นพบว่า บางบัญชีมีเงินเหลือศูนย์บาท บางบัญชีเหลือ 6 หมื่นบาท หรือ 9 หมื่นบาท โดยมียอดเงินเหลือในบัญชีรวมทั้งหมดประมาณ 9 แสนบาท หลังผู้เสียหายโอนเงินคนร้ายก็กดเงินออกไปกระจายทั้งประเทศ ซึ่งถือเป็นแก๊งคนร้ายที่กว้างขวางมาก โดยจะพยายามติดตามยึดอายัดทรัพย์กลับมาคืนให้ผู้เสียหาย และยังได้รวบรวมพยานหลักฐานออกหมายจับเจ้าของบัญชีธนาคารทั้ง 75 คน ที่ให้ความร่วมมือกับคนร้ายในการเปิดบัญชี ส่วนข้อหาจะหารือกับตำรวจกองปราบปรามอีกครั้ง