ASTVผู้จัดการรายวัน-หอการค้าไทยระดมสมองป้องกันวิกฤตน้ำเกิดซ้ำสอง หลังน้ำท่วมล่าสุดทำเศรษฐกิจไทยเสียหายกว่า 1.3 ล้านล้านบาท เชิญ "สุเมธ"แจงแนวทางแก้ปัญหาน้ำตามแนวทางพระราชดำริ พร้อมเชิญ"เสรี"ให้ข้อมูลน้ำ เหตุปีนี้มาอีก หากไม่ป้องกันให้ดี เศรษฐกิจเสียหายหนัก จับตางบแก้น้ำท่วมถาวร 3.5 แสนล้าน ต้องชัดและแจงรายละเอียดได้ หวั่นการเมืองสบช่องใช้วิกฤตเป็นโอกาส
นายวิชัย อัศรัสกร กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยจะจัดเวทีระดมสมองในหัวข้อเรื่อง "น้ำ! มิตรหรือศัตรู กับหนทางสู่ความผาสุกอย่างยั่งยืน" ในวันที่ 13 ม.ค.2555 นี้ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เพื่อหาแนวทางป้องกันผลกระทบจากน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งในปีนี้ เพราะปัญหาน้ำท่วมยังไม่จบ มีการคาดกันว่าอีก 4-5 เดือนข้างหน้านี้ ฝนจะมา น้ำจะมาอีก หากไม่มีแนวทางการป้องกันที่ชัดเจน และมีระบบเตือนภัยล่วงหน้า ปัญหาก็อาจจะเกิดขึ้นอีก และกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย
ทั้งนี้ ปัญหาน้ำท่วมในรอบที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศแล้ว 1.3 ล้านล้านบาท เป็นความเสียหายต่อทรัพย์สินประมาณ 7 แสนล้านบาท ผลกระทบต่อจีดีพีประมาณ 3.4 แสนล้านบาท และกระทบต่อรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกประมาณ 3 แสนล้านบาท
"เรามีบทเรียนที่เกิดขึ้นแล้ว ถ้าปล่อยไปก็อาจจะเกิดขึ้นอีก ความเสียหายก็จะมีอีก ถ้าเราใช้อดีตแล้วนำมาเป็นบทเรียน เพื่อให้รู้ว่าที่ผ่านมา เราพลาดตรงไหน แล้วหาทางแก้ไข ปัญหาน้ำท่วมซ้ำก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะอีกไม่กี่เดือนฝนก็จะมาแล้ว น้ำท่วมจะเริ่มมาใหม่ สต็อกน้ำที่มีอยู่เดิม ก็ค้างอยู่ในทุ่ง ถ้ามารอบนี้มาไว ไม่อยากพูดให้กลัว แต่หลายๆ คนก็มีการประเมินแล้วว่าปีนี้น้ำจะมาอีก และมาเร็ว เพราะปีนี้มันเกิดวิกฤตไปหมด วิกฤตจากภัยธรรมชาติมาเร็ว และจะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ"นายวิชัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการประเมินแนวโน้มน้ำในปีนี้ หอการค้าไทยจะเชิญดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาและที่ปรึกษาคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารทรัพยากรน้ำ (กยน.) มาให้ความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำตามแนวทางพระราชดำริ มาถ่ายทอดให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงสอนอะไรในเรื่องน้ำ และมีแนวทางในการบริหารจัดการน้ำอย่างไร และจะเชิญดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ มาให้ข้อมูลน้ำในปีนี้ว่าจะมาจะไปอย่างไร เพื่อที่จะได้วางแผนป้องกันได้ถูกต้อง
นายวิชัยกล่าวว่า หอการค้าไทยเห็นด้วยกับแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ที่รัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) เพราะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับสิ่งที่ภาคเอกชนต้องการ โดยจากนี้ไป เอกชนต้องการให้รัฐสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้น และทำความเข้าใจกับแผนงานต่างๆ ที่จะดำเนินการให้ชัดเจน
ทั้งนี้ ความคืบหน้าล่าสุด รัฐบาลได้มีการวางยุทธศาสตร์การทำงาน โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1.การฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำ ทั้งในการปลูกป่าและการทำฝายชะลอน้ำ ในพื้นที่สูงและภูเขา 2.การจัดทำแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ โดยการขุดลอก หนองบึงธรรมชาติ ในลักษณะแก้มลิงเพื่อชะลอและกักเก็บน้ำ 3.ทบทวนและฟื้นฟูโครงการตามแนวพระราชดำริต่างๆ เช่น การซ่อมแซมคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริ และเร่งรัดโครงการระบายน้ำตามคลองชายทะเล รวมทั้งการสร้างทางระบายน้ำ (Flood way) และ 4.ทบทวนระบบการจัดเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูลด้านน้ำ ให้มีความเป็นเอกภาพ
"หอการค้าไทยเห็นว่า การตั้งงบประมาณในการบริหารจัดการน้ำสูงถึง 3.5 แสนล้านบาท มีความน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง รัฐบาลจะต้องชี้แจงและแจกแจงรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเงินใช้ทำอะไรบ้าง ไม่ใช่ตั้งแค่ตัวเลขไว้สูงๆ เพื่อหางบประมาณมาใช้ เพราะในวิกฤตก็มีบางคนที่มองเห็นโอกาส อย่าให้เงินของประชาชนต้องสูญเปล่า แต่ถ้าเงิน 3.5 แสนล้านบาท สามารถนำไปใช้แก้น้ำท่วมได้จริง ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะปีที่แล้วประเทศเสียหายจากน้ำท่วม 1.3 ล้านล้านบาท แลกกับเงินลงทุน 3.5 แสนล้านบาท ถือว่าคุ้มค่าที่จะทำ"นายวิชัยกล่าว
นายวิชัย อัศรัสกร กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยจะจัดเวทีระดมสมองในหัวข้อเรื่อง "น้ำ! มิตรหรือศัตรู กับหนทางสู่ความผาสุกอย่างยั่งยืน" ในวันที่ 13 ม.ค.2555 นี้ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เพื่อหาแนวทางป้องกันผลกระทบจากน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งในปีนี้ เพราะปัญหาน้ำท่วมยังไม่จบ มีการคาดกันว่าอีก 4-5 เดือนข้างหน้านี้ ฝนจะมา น้ำจะมาอีก หากไม่มีแนวทางการป้องกันที่ชัดเจน และมีระบบเตือนภัยล่วงหน้า ปัญหาก็อาจจะเกิดขึ้นอีก และกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย
ทั้งนี้ ปัญหาน้ำท่วมในรอบที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศแล้ว 1.3 ล้านล้านบาท เป็นความเสียหายต่อทรัพย์สินประมาณ 7 แสนล้านบาท ผลกระทบต่อจีดีพีประมาณ 3.4 แสนล้านบาท และกระทบต่อรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกประมาณ 3 แสนล้านบาท
"เรามีบทเรียนที่เกิดขึ้นแล้ว ถ้าปล่อยไปก็อาจจะเกิดขึ้นอีก ความเสียหายก็จะมีอีก ถ้าเราใช้อดีตแล้วนำมาเป็นบทเรียน เพื่อให้รู้ว่าที่ผ่านมา เราพลาดตรงไหน แล้วหาทางแก้ไข ปัญหาน้ำท่วมซ้ำก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะอีกไม่กี่เดือนฝนก็จะมาแล้ว น้ำท่วมจะเริ่มมาใหม่ สต็อกน้ำที่มีอยู่เดิม ก็ค้างอยู่ในทุ่ง ถ้ามารอบนี้มาไว ไม่อยากพูดให้กลัว แต่หลายๆ คนก็มีการประเมินแล้วว่าปีนี้น้ำจะมาอีก และมาเร็ว เพราะปีนี้มันเกิดวิกฤตไปหมด วิกฤตจากภัยธรรมชาติมาเร็ว และจะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ"นายวิชัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการประเมินแนวโน้มน้ำในปีนี้ หอการค้าไทยจะเชิญดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาและที่ปรึกษาคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารทรัพยากรน้ำ (กยน.) มาให้ความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำตามแนวทางพระราชดำริ มาถ่ายทอดให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงสอนอะไรในเรื่องน้ำ และมีแนวทางในการบริหารจัดการน้ำอย่างไร และจะเชิญดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ มาให้ข้อมูลน้ำในปีนี้ว่าจะมาจะไปอย่างไร เพื่อที่จะได้วางแผนป้องกันได้ถูกต้อง
นายวิชัยกล่าวว่า หอการค้าไทยเห็นด้วยกับแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ที่รัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) เพราะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับสิ่งที่ภาคเอกชนต้องการ โดยจากนี้ไป เอกชนต้องการให้รัฐสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้น และทำความเข้าใจกับแผนงานต่างๆ ที่จะดำเนินการให้ชัดเจน
ทั้งนี้ ความคืบหน้าล่าสุด รัฐบาลได้มีการวางยุทธศาสตร์การทำงาน โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1.การฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำ ทั้งในการปลูกป่าและการทำฝายชะลอน้ำ ในพื้นที่สูงและภูเขา 2.การจัดทำแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ โดยการขุดลอก หนองบึงธรรมชาติ ในลักษณะแก้มลิงเพื่อชะลอและกักเก็บน้ำ 3.ทบทวนและฟื้นฟูโครงการตามแนวพระราชดำริต่างๆ เช่น การซ่อมแซมคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริ และเร่งรัดโครงการระบายน้ำตามคลองชายทะเล รวมทั้งการสร้างทางระบายน้ำ (Flood way) และ 4.ทบทวนระบบการจัดเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูลด้านน้ำ ให้มีความเป็นเอกภาพ
"หอการค้าไทยเห็นว่า การตั้งงบประมาณในการบริหารจัดการน้ำสูงถึง 3.5 แสนล้านบาท มีความน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง รัฐบาลจะต้องชี้แจงและแจกแจงรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเงินใช้ทำอะไรบ้าง ไม่ใช่ตั้งแค่ตัวเลขไว้สูงๆ เพื่อหางบประมาณมาใช้ เพราะในวิกฤตก็มีบางคนที่มองเห็นโอกาส อย่าให้เงินของประชาชนต้องสูญเปล่า แต่ถ้าเงิน 3.5 แสนล้านบาท สามารถนำไปใช้แก้น้ำท่วมได้จริง ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะปีที่แล้วประเทศเสียหายจากน้ำท่วม 1.3 ล้านล้านบาท แลกกับเงินลงทุน 3.5 แสนล้านบาท ถือว่าคุ้มค่าที่จะทำ"นายวิชัยกล่าว