วานนี้ ( 6 ม.ค. ) ได้มีการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำ ( กยน. ) โดยนายวิเชียร ชวลิต เลขาธิการ กยน. เผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้รับทราบ 8 แผนงาน ที่ครม.ได้อนุมัติงบประมาณ และมีการพิจารณาวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว แก้ปัญหาอุทกภัย โดยใน 8 แผนงานนั้น มี 6 แผน ที่อยู่ในระยะเร่งด่วน และ 2 แผน อยู่ในแผนระยะยาว คือเรื่องพื้นที่อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และการทำความเข้าใจกับ ประชาชน เรื่องการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจะครอบคลุมการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ทั้งนี้การทำความเข้าใจกับประชาชนว่า พื้นที่ใดจะเป็นแก้มลิงแล้วจะต้องมีการให้ความช่วยเหลือหรือการชดเชยให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเป็นพื้นที่แก้มลิง
สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงนั้น กำหนดไว้ 2-3 กรม เช่น เรื่องการกำหนดพื้นที่รับน้ำนอง จะมีกระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบการทำความเข้าใจกับประชาชน หากมีปัญหาการต่อต้าน
**ชี้เยียวยาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนไม่ได้
นายปราโมทย์ ไม้กลัด กรรมการกยน. กล่าวว่า การหารือครั้งนี้ ยังไม่มีการพิจารณาอะไรที่ทำให้มองเห็นว่ามีความชัดเจน มีเพียงการอนุมัติแผนงานต่างๆ โดยมีการพิจารณาแผนแม่บทในภาพกว้าง ของแผนงานกลุ่มต่างๆ หลังจากนี้จะจัดทำรายละเอียดเป็นมาตรการ หรือวิธีการ มีทั้งหมด 8 แผนงาน ก่อนเสนอให้ครม.รับทราบ
สำหรับรายละเอียดที่จะขับเคลื่อนต่อไป จะเป็นยุทธศาสตร์ย่อย ในแต่ละแผน ซึ่งขณะนี้ จะทำให้เห็นความแน่นอนยังไม่ได้ โดยทั้ง 8 แผนงาน จะครอบคลุมทั้งการบริหารจัดการน้ำในระยะสั้น และระยะยาว โดยมีการนำฟลัดเวย์ มารวมอยู่ในแผนงานแล้ว แต่ยังไม่ได้เจาะจงว่าจะเลือกที่ใด
ขณะเดียวกันก็ยังไม่มีการพูดคุยถึงเรื่องการตั้งองค์กรขึ้นมารับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งมีการจัดทำแผนงานออกมาแล้วนั้น ก็ยังไม่สามารถพูดได้ว่าในปี 55 น้ำจะไม่ท่วม แต่ก็มีแผนงานระยะ 10 เดือนว่าจะทำอะไรบ้าง โดยหากน้ำมาจำนวนมาก เหมือนปี 54 เชื่อว่าจะทำการเยียวยาได้ แต่ตนไม่รู้จะเป็นอย่างไรบ้าง
สำหรับมาตรการป้องกันน้ำท่วมในปี 55 นั้นนายปราโมทย์ กล่าวว่า หากน้ำมามาก จะทำอย่างไร ตนก็ยังไม่สามารถบอกได้ แต่มีมาตรการที่จะใช้งบประมาณ 17,000 ล้านบาทที่ใช้ในระยะเร่งด่วน ทั้งนี้ต้องยอมรับกันก่อนว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถเยียวยาอย่างยั่งยืนได้
**มีแต่งบวิศวกรรม ไม่มีงบเยียวยา
ขณะที่นายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา กรรมการ กยน. กล่าวว่า งบประมาณกว่า 17,000 ล้านบาท ที่มีการอนุมัติให้ดำเนินการตามแผนแร่งด่วนนั้น เป็นการดำเนินการตามงานด้านวิศวกรรมเพียงอย่าเดียว ไม่มีการพูดถึงเรื่องการช่วยเหลือประชาชน ด้านการเกษตร การเยียวยาประชาชนในพื้นที่รับน้ำ แผนการอพยพประชาชน การรับมือน้ำ หรือการสำรวจพื้นที่ และการดำเนินการด้านข้อมูล ซึ่งแผนงานดังกล่าว ต้องมีงบประมาณอยู่ในกระเป๋า และจะใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งเรื่องนี้ก็ควรดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนมี.ค.นี้
**"ปู"โอเคแผนบริหารจัดการน้ำ3.5แสนล.
นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการ กยน. กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี เห็นชอบในแผนการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ที่เสนอโดย กยน. วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นแผนที่ใช้ในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำภาคเหนือ ลุ่มน้ำภาคกลาง และแหล่งน้ำในพื้นที่ กทม. วงเงินประมาณ 3 แสนล้านบาท และวงเงินในการบริหารจัดการลุ่มน้ำอื่นๆ อีก 17 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ วงเงิน 3 แสนล้านบาท ที่ กยน.เสนอต่อที่ประชุมในการบริหารจัดการลุ่มน้ำภาคเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศ ที่เกิดปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ครอบคลุมการสร้างฟลัดเวย์ การสร้างแก้มลิง และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ รวมพื้นที่ที่จะเป็นพื้นที่ในการกักเก็บน้ำแห่งใหม่ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านไร่
สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงนั้น กำหนดไว้ 2-3 กรม เช่น เรื่องการกำหนดพื้นที่รับน้ำนอง จะมีกระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบการทำความเข้าใจกับประชาชน หากมีปัญหาการต่อต้าน
**ชี้เยียวยาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนไม่ได้
นายปราโมทย์ ไม้กลัด กรรมการกยน. กล่าวว่า การหารือครั้งนี้ ยังไม่มีการพิจารณาอะไรที่ทำให้มองเห็นว่ามีความชัดเจน มีเพียงการอนุมัติแผนงานต่างๆ โดยมีการพิจารณาแผนแม่บทในภาพกว้าง ของแผนงานกลุ่มต่างๆ หลังจากนี้จะจัดทำรายละเอียดเป็นมาตรการ หรือวิธีการ มีทั้งหมด 8 แผนงาน ก่อนเสนอให้ครม.รับทราบ
สำหรับรายละเอียดที่จะขับเคลื่อนต่อไป จะเป็นยุทธศาสตร์ย่อย ในแต่ละแผน ซึ่งขณะนี้ จะทำให้เห็นความแน่นอนยังไม่ได้ โดยทั้ง 8 แผนงาน จะครอบคลุมทั้งการบริหารจัดการน้ำในระยะสั้น และระยะยาว โดยมีการนำฟลัดเวย์ มารวมอยู่ในแผนงานแล้ว แต่ยังไม่ได้เจาะจงว่าจะเลือกที่ใด
ขณะเดียวกันก็ยังไม่มีการพูดคุยถึงเรื่องการตั้งองค์กรขึ้นมารับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งมีการจัดทำแผนงานออกมาแล้วนั้น ก็ยังไม่สามารถพูดได้ว่าในปี 55 น้ำจะไม่ท่วม แต่ก็มีแผนงานระยะ 10 เดือนว่าจะทำอะไรบ้าง โดยหากน้ำมาจำนวนมาก เหมือนปี 54 เชื่อว่าจะทำการเยียวยาได้ แต่ตนไม่รู้จะเป็นอย่างไรบ้าง
สำหรับมาตรการป้องกันน้ำท่วมในปี 55 นั้นนายปราโมทย์ กล่าวว่า หากน้ำมามาก จะทำอย่างไร ตนก็ยังไม่สามารถบอกได้ แต่มีมาตรการที่จะใช้งบประมาณ 17,000 ล้านบาทที่ใช้ในระยะเร่งด่วน ทั้งนี้ต้องยอมรับกันก่อนว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถเยียวยาอย่างยั่งยืนได้
**มีแต่งบวิศวกรรม ไม่มีงบเยียวยา
ขณะที่นายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา กรรมการ กยน. กล่าวว่า งบประมาณกว่า 17,000 ล้านบาท ที่มีการอนุมัติให้ดำเนินการตามแผนแร่งด่วนนั้น เป็นการดำเนินการตามงานด้านวิศวกรรมเพียงอย่าเดียว ไม่มีการพูดถึงเรื่องการช่วยเหลือประชาชน ด้านการเกษตร การเยียวยาประชาชนในพื้นที่รับน้ำ แผนการอพยพประชาชน การรับมือน้ำ หรือการสำรวจพื้นที่ และการดำเนินการด้านข้อมูล ซึ่งแผนงานดังกล่าว ต้องมีงบประมาณอยู่ในกระเป๋า และจะใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งเรื่องนี้ก็ควรดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนมี.ค.นี้
**"ปู"โอเคแผนบริหารจัดการน้ำ3.5แสนล.
นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการ กยน. กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี เห็นชอบในแผนการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ที่เสนอโดย กยน. วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นแผนที่ใช้ในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำภาคเหนือ ลุ่มน้ำภาคกลาง และแหล่งน้ำในพื้นที่ กทม. วงเงินประมาณ 3 แสนล้านบาท และวงเงินในการบริหารจัดการลุ่มน้ำอื่นๆ อีก 17 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ วงเงิน 3 แสนล้านบาท ที่ กยน.เสนอต่อที่ประชุมในการบริหารจัดการลุ่มน้ำภาคเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศ ที่เกิดปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ครอบคลุมการสร้างฟลัดเวย์ การสร้างแก้มลิง และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ รวมพื้นที่ที่จะเป็นพื้นที่ในการกักเก็บน้ำแห่งใหม่ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านไร่