วันนี้การต่อสู้กันระหว่างกระทรวงการคลัง กับ ธนาคารแห่งประเทศไทย กำลังเกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งกรณีหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมูลค่า 1.14 ล้านล้านบาทนั้น กำลังอยู่ในภาวะที่ไม่มีใครอยากได้เป็นภาระที่มีอยู่ในมือ
ฝ่ายกระทรวงการคลังมองว่าหนี้จำนวนมหาศาลเหล่านี้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันในการออกพันธบัตรเพื่อมาชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จึงถูกนับเป็นหนี้สาธารณะ
ด้านหนึ่งรัฐบาลมีหน้าที่ชำระดอกเบี้ยทุกปีงบประมาณปีละ 50,000 ล้านบาท
ในอีกด้านหนึ่งทำให้รัฐบาลมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 1.14 ล้านล้านบาท ตรงนี้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับรัฐบาลที่ต้องการใช้เงินจำนวนมากทั้งการปรนเปรอประชานิยม และใช้สำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของประเทศไทยในอนาคต
ณ สิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 หนี้สาธารณะของประเทศไทยอยู่ที่ 3.15 ล้านล้านบาท แสดงให้เห็นว่า เป็นหนี้สาธารณะอันเกิดจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินสูงถึง 36.19%
หนี้สาธารณะ ก็คือหนี้ที่รัฐบาลกู้ตรง+หนี้จากรัฐวิสาหกิจ+หนี้ที่รัฐบาลไปค้ำประกันเอาไว้ และรวมถึงหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินด้วย
หนี้สาธารณะเหล่านี้จะต้องถูกชดใช้จากรายได้ของรัฐบาล ซึ่งได้มาจากการจัดเก็บภาษีจากประชาชน และรายได้นำส่งจากรัฐวิสาหกิจและองค์กรต่างๆ ที่รัฐไปลงทุนเอาไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อีกทั้งหนี้สาธารณะจะมีผลโดยตรงต่อการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ถูกกำหนดโดยกรอบวินัยการคลังว่าหนี้สาธารณะจะต้องมีไม่เกิน 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ภาระการชำระหนี้ไม่เกิน 15% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปี อีกทั้งตามพระราชบัญญัติหนี้สาธารณะ ได้กำหนดการกู้เงินเอาไว้อย่างชัดเจนว่า การกู้เงินชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ 20% ของงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปี และจะต้องไม่เกิน 80% ของงบประมาณเพื่อการชำระหนี้อีกด้วย
ด้วยเหตุผลนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลจึงเกิดความคิดมาก่อนหน้านี้ที่จะพยายามตรากฎหมายเพื่อ “เสก” หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่มีจำนวน 1.14 ล้านล้านบาท โยกให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้แบกรับแทน หรือไม่ก็ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้แบกรับแทน เป็นแนวทางหัวใสโยกบัญชีไม่ให้หนี้ก้อนนี้ถูกนับเป็นหนี้สาธารณะ เพื่อให้รัฐบาลนอกจากจะไม่ต้องชำระดอกเบี้ยทุกปีแล้ว ยังสามารถเพิ่มเพดานเงินกู้ได้มากขึ้นจำนวนมหาศาลอีกด้วย
สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะไปแบกรับทั้งดอกเบี้ยปีละ 50,000 ล้านบาท และเงินต้น 1.14 ล้านล้านบาท เพราะด้านหนึ่งทุนสำรองทั่วไปของธนาคารแห่งประเทศไทยก็เต็มไปด้วยหนี้สินอันมหาศาลและยังอยู่ในฐานะที่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน
ดังนั้นการยัดเยียดเงินต้นและดอกเบี้ยอันมหาศาลให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยก็เปรียบเสมือนบีบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องพิมพ์แบงก์ออกมาเพิ่ม หรือไม่ก็บีบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อล้วงเงินเอามาจากทุนสำรองเงินตรา (คลังหลวง) ซึ่งมีหน้าที่ในการค้ำจุนหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรเงินบาทออกมาใช้ ซึ่งแน่นอนว่าหากทำเช่นนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะถูกกฎหมายบีบให้เผชิญหน้ากับคณะผู้บริจาคทองคำซึ่งเป็นคณะลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ทั่วประเทศ แต่สิ่งที่เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือจะกระทบต่อฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างแน่นอน
และต่อให้โยกหนี้ก้อนนี้กลับไปให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ก็ยังต้องมีคำถามต่อไปว่า หากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินออกพันธบัตรระดมทุนเพื่อคืนหนี้ให้พันธบัตรรัฐบาลโดยที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน หรือธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ค้ำประกันแล้ว จะมีใครจะกล้าซื้อพันธบัตรจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือไม่?
ในที่สุดดูเหมือนว่ากระทรวงการคลังจะยอมถอยออกมาเพื่อลดกระแสแรงต้านจากประชาชน โดยยังคงยอมรับเป็นหนี้สาธารณะที่รัฐบาลจะยังคงเป็นผู้ออกพันธบัตรใหม่ไปคืนหนี้พันธบัตรเก่าต่อไป (Refinance) โดยด้านหนึ่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ย และอีกด้านหนึ่งก็ให้เงินที่สถาบันการเงินส่งให้กับสถาบันคุ้มครองเงินฝากนำเงินเหล่านี้มาชำระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
หลักการก็คือ ด้านหนึ่งให้นำดอกผลจากทุนสำรองระหว่างประเทศ (รวมถึงดอกผลจากคลังหลวง) ออกมาชดใช้หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และอีกด้านหนึ่งให้นำเงินจากสถาบันการเงินจ่ายให้สถาบันประกันเงินฝากมาชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินอีกด้วย
วิธีการดังกล่าวรัฐบาลแม้ยังคงจะต้องรับหนี้ก้อนนี้ในฐานะเป็นหนี้สาธารณะต่อไป แต่ความเป็นจริงรัฐบาลไม่ต้องจัดงบประมาณในการชำระดอกเบี้ยปีละ 50,000 ล้านบาทต่อปี และทำให้รัฐบาลมีช่องในการใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นปีละ 50,000 ล้านบาทต่อปีทันที
เดินทางมาถึงตรงนี้ก็ทำให้ต้องย้อนรำลึกถึงว่าแล้วจริงๆ ใครควรจะรับผิดชอบหนี้สาธารณะ 1.14 ล้านล้านบาท อันเกิดจากความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่เป็นผลต่อเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 - 2544 นี้
ต้นเหตุวิกฤตที่สำคัญของประเทศมีจุดเริ่มต้นจากความเพลี่ยงพล้ำในการดำเนินนโยบายทางการเงินของรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2533 ถึงครึ่งแรกของ พ.ศ. 2539 ที่รัฐบาลเปิดให้มีสินเชื่อวิเทศธนกิจกรุงเทพ (BIBF) ให้แยกบัญชีออกมาเพื่อนำเงินกู้จากต่างประเทศที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่าในประเทศผ่านเข้ามาผ่านสถาบันการเงินต่างๆ โดยรัฐบาลยังคงใช้อัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างคงที่ จึงทำให้เงินกู้จากต่างประเทศไหลเข้ามาอย่างไร้ขีดจำกัด ประกอบกับประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ต่อมาจึงถูกโจมตีค่าเงินจนเกือบหมดทุนสำรองระหว่างประเทศ เมื่อลอยตัวค่าเงินแล้วจึงทำให้หนี้ภาคเอกชนเพิ่มขึ้นมาอีกจำนวนมหาศาลจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง จนเกิดการล้มละลายไปทั่วทุกแห่งหน
ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้ดำเนินการแก้ไขธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด อย่างเด็ดขาด เป็นผลทำให้เกิดความเสียหายและการทุจริตเกิดขึ้นอย่างมหาศาล
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินใส่เงินเข้าไปในสถาบันการเงินที่ร้องขอ แต่รัฐบาลกลับสั่งระงับกิจการของสถาบันการเงิน 58 แห่งเป็นการชั่วคราว และต่อมามีการปิดเป็นการถาวร 56 แห่ง โดยมีการค้ำประกันเจ้าหนี้ทั้งหมดรวมผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ต่างประเทศ โดยไม่มีการเรียกร้องสิ่งใดเป็นผลตอบแทนจากเจ้าหนี้ที่ได้รับการค้ำประกัน
มีการให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินสละหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน
มีการทุจริตและกระทำผิดกฎหมายในการนำสินทรัพย์จากสถาบันการเงิน 56 แห่งที่ถูกปิดเป็นการถาวร ไปประมูลสินทรัพย์ผ่านองค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) ทำให้กองทุนต่างชาติได้ประมูลสินทรัพย์ไปในราคาถูกเกินความเป็นจริง ทำให้ต้องส่งผลการขายสินทรัพย์ขาดทุนไปไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท และเป็นสาเหตุอันสำคัญทำให้เกิดหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาจนถึงวันนี้
จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าคนไทยที่สมรู้ร่วมคิดกับขบวนการทุจริตฉ้อฉลปล้นชาติที่ผ่านมานั้น ยังไม่มีใครได้ถูกลงโทษตามกฎหมาย ส่วนกองทุนอีแร้งต่างชาติที่กระทำผิดกฎหมายในการปล้นชาติก็กลับหนีลอยนวลไป ไม่มีใครไปทวงความร่ำรวยและความมั่งคั่งของไทยที่ถูกปล้นไป ทิ้งปัญหาหนี้สินให้กับคนไทยทั้งชาติต้องแบกรับต่อไปอย่างอยุติธรรม
เพราะความจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาษี หรือจะเป็นค่าธรรมเนียม หรือดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่นำมาใช้หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินก็ตาม ต่างก็เป็นภาระของประชาชนทั้งสิ้นในการแบกรับความล้มเหลวในระบบการเงินในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม
จริงอยู่ที่ว่ารัฐบาลมีข้ออ้างในความจำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน เพื่อนำเงินไปแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำท่วม แต่ความจริงแล้วรัฐบาลก็มีสิทธิ์ที่จะชะลอรายจ่ายโครงการที่ยังไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายออกไปก่อน
ในเวลาวิกฤตเช่นนี้ต้องรู้จักลำดับความสำคัญในทรัพยากรที่จำกัด มิใช่หาหนทางให้ใช้จ่ายเงินได้ตามอำเภอใจทั้งแก้วิกฤต ทั้งปรนเปรอประชานิยมที่ยังไม่ใช่เรื่องวิกฤตในเวลานี้ เพียงแต่รัฐบาลต้องใจแข็งในการทำความเข้าใจและอธิบายให้กับประชาชนได้เข้าใจ ดีกว่าเดินหน้าโดยที่ประเทศกำลังจะเกิดวิกฤตทางการคลังต่อไปในอนาคตในเวลาอีกไม่นาน
เพราะต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยได้เสมือนคุ้นเคยในการทำงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องเป็นเวลา 15 ปีติดต่อกันแล้ว เสมือนหนึ่งว่าใครเข้ามาเป็นรัฐบาลในยุคใดก็อยากใช้จ่ายก่อหนี้ ทำงบประมาณขาดดุลให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะได้มีโครงการไปทุจริตคอร์รัปชันกันให้ได้มากที่สุดเช่นกัน จนในที่สุดเรามีหนี้สาธารณะที่กำลังจะเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ แม้ว่าหลายคนอาจจะอ้างว่าไม่เป็นไรเพราะเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วหนี้สาธารณะของประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) แต่ในความเป็นจริงจะต้องพิจารณาไปควบคู่กันด้วยว่าฐานเก็บภาษีของประเทศไทยแคบกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งย่อมส่งผลต่อการคลังของประเทศต่อไปอย่างแน่นอน
เราขาดดุลงบประมาณและต้องกู้หนี้ยืมสินมาเป็นเวลา 15 ปี ราวกับว่าไม่มีรัฐบาลชุดไหนมีความคิดว่าจะหยุดการขาดดุลงบประมาณ และจะชดใช้หนี้ที่ทยอยสูงเพิ่มขึ้นได้อย่างไร?
ดูเอาเถิด แม้กระทั่งเกิดวิกฤตน้ำท่วมมากขนาดนี้แล้ว และอ้างว่าประเทศไทยจำเป็นต้องการใช้เงินอย่างเร่งด่วน แต่เหล่านักการเมืองยุคนี้ยังหน้าด้านจัดงบประมาณเพิ่มเติมให้ คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ได้ไปดูงานต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีก 50 ล้านบาท เป็นเงิน 175 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่มงบประมาณดูงานต่างประเทศสูงขึ้น 40% ทั้งๆ ที่นักการเมืองเหล่านี้ดูงานทุกปีแต่การเมืองไทยก็ยังน้ำเน่า ทุจริตโกงชาติอยู่เหมือนเดิม
โดยเฉพาะงบลงทุนที่รัฐบาลเตรียมเอาไว้สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ที่เตรียมเอาไว้เกือบ 4 แสนล้านบาทนั้น หากพิจารณาตัวเลขการวิจัยและผลสำรวจว่างบประมาณแผ่นดินมีการรั่วไหลไปกับการทุจริตทุกปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 นั่นหมายถึงว่าตัวเลขงบลงทุน 4 แสนล้านบาทในปี 2555 ก็มีโอกาสรั่วไหลไปกับการทุจริตไม่ต่ำกว่า 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งความจริงตัวเลขขนาดนี้นอกจากจะใช้ดอกเบี้ยปีละ 5 หมื่นล้านบาทต่อปีแล้ว ยังมีเงินเหลือไปทยอยลดเงินต้นของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้อีกด้วย โดยที่ไม่ต้องไปรบกวนประชาชนทั่วไปอย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้
ความจริงแล้ว ก่อนหน้านี้หากรัฐบาลมีความจริงจังในการตามล่าความฉ้อฉลจากการกองทุนต่างชาติที่เข้ามาสูบเลือดเนื้อปล้นทรัพย์สินไทยไปในราคาถูกๆ ผ่าน ปรส. ก็ดี หรือดำเนินการประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นก็ดี หรือแม้กระทั่งทำการปราบปรามและหยุดคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติก็ดี หากทำได้ตามนี้ประเทศไทยมีเงินมากพอแน่นอนที่จะใช้ดอกเบี้ยและหนี้เงินต้นได้หมดในวันข้างหน้าแน่นอน
น่าเสียดาย “ประหยัด หยุดทุจริต” ไม่อยู่ในพจนานุกรมของนักการเมืองไทย!!!
ฝ่ายกระทรวงการคลังมองว่าหนี้จำนวนมหาศาลเหล่านี้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันในการออกพันธบัตรเพื่อมาชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จึงถูกนับเป็นหนี้สาธารณะ
ด้านหนึ่งรัฐบาลมีหน้าที่ชำระดอกเบี้ยทุกปีงบประมาณปีละ 50,000 ล้านบาท
ในอีกด้านหนึ่งทำให้รัฐบาลมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 1.14 ล้านล้านบาท ตรงนี้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับรัฐบาลที่ต้องการใช้เงินจำนวนมากทั้งการปรนเปรอประชานิยม และใช้สำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของประเทศไทยในอนาคต
ณ สิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 หนี้สาธารณะของประเทศไทยอยู่ที่ 3.15 ล้านล้านบาท แสดงให้เห็นว่า เป็นหนี้สาธารณะอันเกิดจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินสูงถึง 36.19%
หนี้สาธารณะ ก็คือหนี้ที่รัฐบาลกู้ตรง+หนี้จากรัฐวิสาหกิจ+หนี้ที่รัฐบาลไปค้ำประกันเอาไว้ และรวมถึงหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินด้วย
หนี้สาธารณะเหล่านี้จะต้องถูกชดใช้จากรายได้ของรัฐบาล ซึ่งได้มาจากการจัดเก็บภาษีจากประชาชน และรายได้นำส่งจากรัฐวิสาหกิจและองค์กรต่างๆ ที่รัฐไปลงทุนเอาไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อีกทั้งหนี้สาธารณะจะมีผลโดยตรงต่อการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ถูกกำหนดโดยกรอบวินัยการคลังว่าหนี้สาธารณะจะต้องมีไม่เกิน 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ภาระการชำระหนี้ไม่เกิน 15% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปี อีกทั้งตามพระราชบัญญัติหนี้สาธารณะ ได้กำหนดการกู้เงินเอาไว้อย่างชัดเจนว่า การกู้เงินชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ 20% ของงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปี และจะต้องไม่เกิน 80% ของงบประมาณเพื่อการชำระหนี้อีกด้วย
ด้วยเหตุผลนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลจึงเกิดความคิดมาก่อนหน้านี้ที่จะพยายามตรากฎหมายเพื่อ “เสก” หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่มีจำนวน 1.14 ล้านล้านบาท โยกให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้แบกรับแทน หรือไม่ก็ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้แบกรับแทน เป็นแนวทางหัวใสโยกบัญชีไม่ให้หนี้ก้อนนี้ถูกนับเป็นหนี้สาธารณะ เพื่อให้รัฐบาลนอกจากจะไม่ต้องชำระดอกเบี้ยทุกปีแล้ว ยังสามารถเพิ่มเพดานเงินกู้ได้มากขึ้นจำนวนมหาศาลอีกด้วย
สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะไปแบกรับทั้งดอกเบี้ยปีละ 50,000 ล้านบาท และเงินต้น 1.14 ล้านล้านบาท เพราะด้านหนึ่งทุนสำรองทั่วไปของธนาคารแห่งประเทศไทยก็เต็มไปด้วยหนี้สินอันมหาศาลและยังอยู่ในฐานะที่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน
ดังนั้นการยัดเยียดเงินต้นและดอกเบี้ยอันมหาศาลให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยก็เปรียบเสมือนบีบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องพิมพ์แบงก์ออกมาเพิ่ม หรือไม่ก็บีบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อล้วงเงินเอามาจากทุนสำรองเงินตรา (คลังหลวง) ซึ่งมีหน้าที่ในการค้ำจุนหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรเงินบาทออกมาใช้ ซึ่งแน่นอนว่าหากทำเช่นนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะถูกกฎหมายบีบให้เผชิญหน้ากับคณะผู้บริจาคทองคำซึ่งเป็นคณะลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ทั่วประเทศ แต่สิ่งที่เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือจะกระทบต่อฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างแน่นอน
และต่อให้โยกหนี้ก้อนนี้กลับไปให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ก็ยังต้องมีคำถามต่อไปว่า หากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินออกพันธบัตรระดมทุนเพื่อคืนหนี้ให้พันธบัตรรัฐบาลโดยที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน หรือธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ค้ำประกันแล้ว จะมีใครจะกล้าซื้อพันธบัตรจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือไม่?
ในที่สุดดูเหมือนว่ากระทรวงการคลังจะยอมถอยออกมาเพื่อลดกระแสแรงต้านจากประชาชน โดยยังคงยอมรับเป็นหนี้สาธารณะที่รัฐบาลจะยังคงเป็นผู้ออกพันธบัตรใหม่ไปคืนหนี้พันธบัตรเก่าต่อไป (Refinance) โดยด้านหนึ่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ย และอีกด้านหนึ่งก็ให้เงินที่สถาบันการเงินส่งให้กับสถาบันคุ้มครองเงินฝากนำเงินเหล่านี้มาชำระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
หลักการก็คือ ด้านหนึ่งให้นำดอกผลจากทุนสำรองระหว่างประเทศ (รวมถึงดอกผลจากคลังหลวง) ออกมาชดใช้หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และอีกด้านหนึ่งให้นำเงินจากสถาบันการเงินจ่ายให้สถาบันประกันเงินฝากมาชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินอีกด้วย
วิธีการดังกล่าวรัฐบาลแม้ยังคงจะต้องรับหนี้ก้อนนี้ในฐานะเป็นหนี้สาธารณะต่อไป แต่ความเป็นจริงรัฐบาลไม่ต้องจัดงบประมาณในการชำระดอกเบี้ยปีละ 50,000 ล้านบาทต่อปี และทำให้รัฐบาลมีช่องในการใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นปีละ 50,000 ล้านบาทต่อปีทันที
เดินทางมาถึงตรงนี้ก็ทำให้ต้องย้อนรำลึกถึงว่าแล้วจริงๆ ใครควรจะรับผิดชอบหนี้สาธารณะ 1.14 ล้านล้านบาท อันเกิดจากความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่เป็นผลต่อเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 - 2544 นี้
ต้นเหตุวิกฤตที่สำคัญของประเทศมีจุดเริ่มต้นจากความเพลี่ยงพล้ำในการดำเนินนโยบายทางการเงินของรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2533 ถึงครึ่งแรกของ พ.ศ. 2539 ที่รัฐบาลเปิดให้มีสินเชื่อวิเทศธนกิจกรุงเทพ (BIBF) ให้แยกบัญชีออกมาเพื่อนำเงินกู้จากต่างประเทศที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่าในประเทศผ่านเข้ามาผ่านสถาบันการเงินต่างๆ โดยรัฐบาลยังคงใช้อัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างคงที่ จึงทำให้เงินกู้จากต่างประเทศไหลเข้ามาอย่างไร้ขีดจำกัด ประกอบกับประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ต่อมาจึงถูกโจมตีค่าเงินจนเกือบหมดทุนสำรองระหว่างประเทศ เมื่อลอยตัวค่าเงินแล้วจึงทำให้หนี้ภาคเอกชนเพิ่มขึ้นมาอีกจำนวนมหาศาลจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง จนเกิดการล้มละลายไปทั่วทุกแห่งหน
ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้ดำเนินการแก้ไขธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด อย่างเด็ดขาด เป็นผลทำให้เกิดความเสียหายและการทุจริตเกิดขึ้นอย่างมหาศาล
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินใส่เงินเข้าไปในสถาบันการเงินที่ร้องขอ แต่รัฐบาลกลับสั่งระงับกิจการของสถาบันการเงิน 58 แห่งเป็นการชั่วคราว และต่อมามีการปิดเป็นการถาวร 56 แห่ง โดยมีการค้ำประกันเจ้าหนี้ทั้งหมดรวมผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ต่างประเทศ โดยไม่มีการเรียกร้องสิ่งใดเป็นผลตอบแทนจากเจ้าหนี้ที่ได้รับการค้ำประกัน
มีการให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินสละหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน
มีการทุจริตและกระทำผิดกฎหมายในการนำสินทรัพย์จากสถาบันการเงิน 56 แห่งที่ถูกปิดเป็นการถาวร ไปประมูลสินทรัพย์ผ่านองค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) ทำให้กองทุนต่างชาติได้ประมูลสินทรัพย์ไปในราคาถูกเกินความเป็นจริง ทำให้ต้องส่งผลการขายสินทรัพย์ขาดทุนไปไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท และเป็นสาเหตุอันสำคัญทำให้เกิดหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาจนถึงวันนี้
จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าคนไทยที่สมรู้ร่วมคิดกับขบวนการทุจริตฉ้อฉลปล้นชาติที่ผ่านมานั้น ยังไม่มีใครได้ถูกลงโทษตามกฎหมาย ส่วนกองทุนอีแร้งต่างชาติที่กระทำผิดกฎหมายในการปล้นชาติก็กลับหนีลอยนวลไป ไม่มีใครไปทวงความร่ำรวยและความมั่งคั่งของไทยที่ถูกปล้นไป ทิ้งปัญหาหนี้สินให้กับคนไทยทั้งชาติต้องแบกรับต่อไปอย่างอยุติธรรม
เพราะความจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาษี หรือจะเป็นค่าธรรมเนียม หรือดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่นำมาใช้หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินก็ตาม ต่างก็เป็นภาระของประชาชนทั้งสิ้นในการแบกรับความล้มเหลวในระบบการเงินในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม
จริงอยู่ที่ว่ารัฐบาลมีข้ออ้างในความจำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน เพื่อนำเงินไปแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำท่วม แต่ความจริงแล้วรัฐบาลก็มีสิทธิ์ที่จะชะลอรายจ่ายโครงการที่ยังไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายออกไปก่อน
ในเวลาวิกฤตเช่นนี้ต้องรู้จักลำดับความสำคัญในทรัพยากรที่จำกัด มิใช่หาหนทางให้ใช้จ่ายเงินได้ตามอำเภอใจทั้งแก้วิกฤต ทั้งปรนเปรอประชานิยมที่ยังไม่ใช่เรื่องวิกฤตในเวลานี้ เพียงแต่รัฐบาลต้องใจแข็งในการทำความเข้าใจและอธิบายให้กับประชาชนได้เข้าใจ ดีกว่าเดินหน้าโดยที่ประเทศกำลังจะเกิดวิกฤตทางการคลังต่อไปในอนาคตในเวลาอีกไม่นาน
เพราะต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยได้เสมือนคุ้นเคยในการทำงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องเป็นเวลา 15 ปีติดต่อกันแล้ว เสมือนหนึ่งว่าใครเข้ามาเป็นรัฐบาลในยุคใดก็อยากใช้จ่ายก่อหนี้ ทำงบประมาณขาดดุลให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะได้มีโครงการไปทุจริตคอร์รัปชันกันให้ได้มากที่สุดเช่นกัน จนในที่สุดเรามีหนี้สาธารณะที่กำลังจะเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ แม้ว่าหลายคนอาจจะอ้างว่าไม่เป็นไรเพราะเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วหนี้สาธารณะของประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) แต่ในความเป็นจริงจะต้องพิจารณาไปควบคู่กันด้วยว่าฐานเก็บภาษีของประเทศไทยแคบกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งย่อมส่งผลต่อการคลังของประเทศต่อไปอย่างแน่นอน
เราขาดดุลงบประมาณและต้องกู้หนี้ยืมสินมาเป็นเวลา 15 ปี ราวกับว่าไม่มีรัฐบาลชุดไหนมีความคิดว่าจะหยุดการขาดดุลงบประมาณ และจะชดใช้หนี้ที่ทยอยสูงเพิ่มขึ้นได้อย่างไร?
ดูเอาเถิด แม้กระทั่งเกิดวิกฤตน้ำท่วมมากขนาดนี้แล้ว และอ้างว่าประเทศไทยจำเป็นต้องการใช้เงินอย่างเร่งด่วน แต่เหล่านักการเมืองยุคนี้ยังหน้าด้านจัดงบประมาณเพิ่มเติมให้ คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ได้ไปดูงานต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีก 50 ล้านบาท เป็นเงิน 175 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่มงบประมาณดูงานต่างประเทศสูงขึ้น 40% ทั้งๆ ที่นักการเมืองเหล่านี้ดูงานทุกปีแต่การเมืองไทยก็ยังน้ำเน่า ทุจริตโกงชาติอยู่เหมือนเดิม
โดยเฉพาะงบลงทุนที่รัฐบาลเตรียมเอาไว้สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ที่เตรียมเอาไว้เกือบ 4 แสนล้านบาทนั้น หากพิจารณาตัวเลขการวิจัยและผลสำรวจว่างบประมาณแผ่นดินมีการรั่วไหลไปกับการทุจริตทุกปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 นั่นหมายถึงว่าตัวเลขงบลงทุน 4 แสนล้านบาทในปี 2555 ก็มีโอกาสรั่วไหลไปกับการทุจริตไม่ต่ำกว่า 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งความจริงตัวเลขขนาดนี้นอกจากจะใช้ดอกเบี้ยปีละ 5 หมื่นล้านบาทต่อปีแล้ว ยังมีเงินเหลือไปทยอยลดเงินต้นของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้อีกด้วย โดยที่ไม่ต้องไปรบกวนประชาชนทั่วไปอย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้
ความจริงแล้ว ก่อนหน้านี้หากรัฐบาลมีความจริงจังในการตามล่าความฉ้อฉลจากการกองทุนต่างชาติที่เข้ามาสูบเลือดเนื้อปล้นทรัพย์สินไทยไปในราคาถูกๆ ผ่าน ปรส. ก็ดี หรือดำเนินการประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นก็ดี หรือแม้กระทั่งทำการปราบปรามและหยุดคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติก็ดี หากทำได้ตามนี้ประเทศไทยมีเงินมากพอแน่นอนที่จะใช้ดอกเบี้ยและหนี้เงินต้นได้หมดในวันข้างหน้าแน่นอน
น่าเสียดาย “ประหยัด หยุดทุจริต” ไม่อยู่ในพจนานุกรมของนักการเมืองไทย!!!