ASTVผู้จัดการรายวัน - "โต้ง" มุดรั้วแบงก์ชาติพบผู้ว่าฯ ถก พ.ร.ก.โอนหนี้ ก่อนหลบสื่อ ขณะที่ศิษย์หลวงตาเดินสายค้านร่าง พ.ร.ก. เรียกร้อง "ธีระชัย-กิตติรัตน์" และกฤษฎีกา "ยกเลิก-ทบทวน" ส่วน “กรณ์” ห่วงรัฐบาลบีบแบงก์ชาติให้พิมพ์ธนบัตรเพิ่ม กระทบระบบเศรษฐกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช้าวานนี้ (5 ม.ค.) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ได้เดินทางเข้าพบนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. โดยไม่มีกำหนดการล่วงหน้า ใช้เวลาพูดคุยกันประมาณ 1 ชั่วโมง เกี่ยวกับร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. .....
อย่างไรก็ตาม นายกิตติรัตน์ได้หลบผู้สื่อข่าวทั้งขาเข้าและขาออก ขณะที่นายประสารเตรียมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่่ยวกับเรื่องดังกล่าวแต่ได้เปลี่ยนใจในภายหลัง โดยอ้างว่าติดภาระกิจสำคัญ
***ศิษย์หลวงตาค้าน พ.ร.กโอนหนี้
วานนี้ (5 ม.ค.) เวลา 13.30 น. ที่กระทรวงการคลัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มคณะสงฆ์ คณะศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนกว่า 50 คนได้เดินทางมาขอเข้าพบนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เพื่อขอให้ยกเลิกมาตราที่มีเนื้อหากระทบกระเทือนทุนสำรองเงินตรา ในพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. เนื่องจากเห็นว่าร่างพ.ร.ก.ดังกล่าวเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะล่อแหลม ควรจะดำรงทุนสำรองให้แน่นหนามั่นคง รวมถึงระงับการออกกฎหมายใด ๆ ที่จะกระทบกระเทือนคลังหลวง เพื่อรักษาไว้เป็นทุนสำรองตามเจตนารมณ์ขององค์หลวงตามหาบัว
ทั้งนี้ พระอาจารย์วิทยา กิจจาวิชโช ได้ยื่นหนังสือผ่านนายนรวัฒน์ โชติกุล ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง สำนักปลัดกระทรวงการคลังแทน โดยพระอาจารย์วิทยา กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวจะกระทบโดยตรงต่อทุนสำรองของประเทศ นับว่าเป็นการอาศัยช่วงคนมีปัญหาน้ำท่วมไม่ค่อยสนใจออกกฎหมายดังกล่าว เพราะเห็นว่าสถานการณ์ขณะนี้ต้องอาศัยทุนสำรองจำนวนมากในการค้ำประกันการค้า การลงทุนกับต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคง ในสภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา หลายรัฐบาลผ่านมาแล้วก็ผ่านมาไป แต่หากแก้ไขกฎหมายแล้ว ทุนสำรองจะถูกนำเงินออกมาใช้ต่อเนื่องจนหมดไปได้ จึงขอให้ยกเลิกแนวทางดังกล่าวเสีย
“เห็นว่าการออกกฎหมายดังกล่าวนั้น เพื่อเพื่อโอนทรัพย์สินคงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีเข้าตามมาตรา 5 โดยไม่เข้าบัญชีสำรอง หรือการโอนเงิน ทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หรือเงินกองทุนฯ เข้าบัญชี 5 ตาม ครม.กำหนดนั้น จะทำให้ทุนสำรองลดลงไปเรื่อย อนาคตยามจำเป็นจริง ๆ จะเดือดร้อน” หลังจากนั้น คณะศิษย์ฯ เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นเรื่องต่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ผู้ที่ยืนยันถึงความจำเป็นในการออกกฎหมายดังกล่าว ก่อนจะเดินทางต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอให้ทบทวนร่างกฎหมายฉบับนี้
***ห่วงบีบ ธปท.พิมพ์ธนบัตรฉุด ศก.
นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า การเอาหนี้ไปซุกไว้ที่ ธปท.เพื่อทำให้รัฐบาลรู้สึกว่าตัวเองปลอดหนี้ ทำให้หนี้สาธารณะลดลง ทำให้รัฐบาลสามารถกู้ได้เพิ่ม ถามว่ารัฐบาลตั้งหน้าตั้งตากู้มากขนาดนั้นเพื่ออะไร การที่รัฐบาลสร้างภาพลวงตาลดหนี้สาธารณะไปอยู่กับ ธปท. จึงผิดหลักธรรมาภิบาล เพราะ ธปท.ไม่มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเหมือนรัฐบาล ดังนั้น จึงมีวิธีเดียวคือการบังคับ ธปท.ให้พิมพ์ธนบัตรให้ เพื่อชำระหนี้ซึ่งอาจกระทบระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ การส่งสัญญาณว่าจะไปเอาเม็ดเงินจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ที่มีเงินสะสม 8 หมื่นล้านบาท มาชำระดอกเบี้ยแทน ถ้ามีสถาบันการเงินประสบปัญหาสภาพคล่อง ผู้ฝากจะเอาเงินจากใคร ถ้าจะมาเอาจากรัฐบาล ก็แสดงว่าต่อไปรัฐบาลมีแนวที่จะเข้าไปอุ้มเงินฝากเสียเอง
"กว่าร้อยละ 95 ของเงินฝากทั้งประเทศ มีวงเงินไม่เกินบัญชีละ 1 ล้านบาท ดังนั้น ถ้าจะมีการค้ำประกันเงินฝากวงเงินเกิน 1 ล้านบาท คือการหวังอุ้มคนรวย" นายกรณ์กล่าว
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรว่า ต้องตรวจสอบมติ ครม.อีกครั้ง โดยต้องดูว่าจะเข้าเงื่อนไขที่จะออก พ.ร.ก.หรือไม่ ตนยังยืนยันว่าในขณะที่รัฐบาลยังไม่มีการทบทวนแผนการใช้จ่าย แต่กลับมีความพยายามระดมเงิน โดยกำหนดแนวทางที่กระทบธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารอื่นๆ ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทย อีกทั้งจะทำให้รัฐบาลไม่ตระหนักถึงภาระที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ตัวเองก่อไว้
“ผมคิดว่าต้องประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นในแง่ปริมาณเงินที่จะเข้าสู่ระบบ และผลที่จะตามมา เพราะไม่มีอะไรที่ได้มาโดยไม่มีภาระในภายหลัง จึงต้องจับตาเรื่องเงินเฟ้อ และภาระที่สถาบันการเงินต้องแบกรับมากขึ้นว่าจะส่งผลทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นด้วยหรือไม่ แต่ผมยังเชื่อมั่นการทำหน้าที่ของผู้ว่าแบงก์ชาติ”
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า รัฐบาลต้องตอบด้วยว่าเหตุใดจึงต้องเร่งรีบกู้เงินจำนวนมาก ทั้งๆ ที่หลายโครงการยังไม่จำเป็นต้องใช้จ่ายเวลานี้ ทำไมจึงไม่ผลักเข้าสู่ระบบงบประมาณปกติ ขณะเดียวกันโครงการที่รัฐบาลทำก็ต้องเชื่อมโยงรับฟังความเห็นจากประชาชนในพื้นที่ด้วย ไม่เช่นนั้นการดำเนินโครงการก็ไม่ราบรื่น
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ตนได้คัดค้านร่าง พ.ร.ก.ใน ครม.เพราะต้องการให้นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง กับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ นำเรื่องนี้กลับไปพิจารณาให้ รอบคอบ สุดท้ายในที่ประชุม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวตัร นายกรัฐมนตรี มีมติมอบหมายให้กฤษฎีกา กลับไปตีความเพื่อหากฎหมายรองรับ ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องมาตรการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม ไม่มีวาระเป็นอย่างอื่น
"ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้ คือกระทรวงการคลังและสำนักงานกฤษฎีกา ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเสร็จ ก็ต้องนำกลับเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง" นายวิทยากล่าว.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช้าวานนี้ (5 ม.ค.) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ได้เดินทางเข้าพบนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. โดยไม่มีกำหนดการล่วงหน้า ใช้เวลาพูดคุยกันประมาณ 1 ชั่วโมง เกี่ยวกับร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. .....
อย่างไรก็ตาม นายกิตติรัตน์ได้หลบผู้สื่อข่าวทั้งขาเข้าและขาออก ขณะที่นายประสารเตรียมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่่ยวกับเรื่องดังกล่าวแต่ได้เปลี่ยนใจในภายหลัง โดยอ้างว่าติดภาระกิจสำคัญ
***ศิษย์หลวงตาค้าน พ.ร.กโอนหนี้
วานนี้ (5 ม.ค.) เวลา 13.30 น. ที่กระทรวงการคลัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มคณะสงฆ์ คณะศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนกว่า 50 คนได้เดินทางมาขอเข้าพบนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เพื่อขอให้ยกเลิกมาตราที่มีเนื้อหากระทบกระเทือนทุนสำรองเงินตรา ในพ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. เนื่องจากเห็นว่าร่างพ.ร.ก.ดังกล่าวเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะล่อแหลม ควรจะดำรงทุนสำรองให้แน่นหนามั่นคง รวมถึงระงับการออกกฎหมายใด ๆ ที่จะกระทบกระเทือนคลังหลวง เพื่อรักษาไว้เป็นทุนสำรองตามเจตนารมณ์ขององค์หลวงตามหาบัว
ทั้งนี้ พระอาจารย์วิทยา กิจจาวิชโช ได้ยื่นหนังสือผ่านนายนรวัฒน์ โชติกุล ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง สำนักปลัดกระทรวงการคลังแทน โดยพระอาจารย์วิทยา กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวจะกระทบโดยตรงต่อทุนสำรองของประเทศ นับว่าเป็นการอาศัยช่วงคนมีปัญหาน้ำท่วมไม่ค่อยสนใจออกกฎหมายดังกล่าว เพราะเห็นว่าสถานการณ์ขณะนี้ต้องอาศัยทุนสำรองจำนวนมากในการค้ำประกันการค้า การลงทุนกับต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคง ในสภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา หลายรัฐบาลผ่านมาแล้วก็ผ่านมาไป แต่หากแก้ไขกฎหมายแล้ว ทุนสำรองจะถูกนำเงินออกมาใช้ต่อเนื่องจนหมดไปได้ จึงขอให้ยกเลิกแนวทางดังกล่าวเสีย
“เห็นว่าการออกกฎหมายดังกล่าวนั้น เพื่อเพื่อโอนทรัพย์สินคงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีเข้าตามมาตรา 5 โดยไม่เข้าบัญชีสำรอง หรือการโอนเงิน ทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หรือเงินกองทุนฯ เข้าบัญชี 5 ตาม ครม.กำหนดนั้น จะทำให้ทุนสำรองลดลงไปเรื่อย อนาคตยามจำเป็นจริง ๆ จะเดือดร้อน” หลังจากนั้น คณะศิษย์ฯ เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นเรื่องต่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ผู้ที่ยืนยันถึงความจำเป็นในการออกกฎหมายดังกล่าว ก่อนจะเดินทางต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอให้ทบทวนร่างกฎหมายฉบับนี้
***ห่วงบีบ ธปท.พิมพ์ธนบัตรฉุด ศก.
นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า การเอาหนี้ไปซุกไว้ที่ ธปท.เพื่อทำให้รัฐบาลรู้สึกว่าตัวเองปลอดหนี้ ทำให้หนี้สาธารณะลดลง ทำให้รัฐบาลสามารถกู้ได้เพิ่ม ถามว่ารัฐบาลตั้งหน้าตั้งตากู้มากขนาดนั้นเพื่ออะไร การที่รัฐบาลสร้างภาพลวงตาลดหนี้สาธารณะไปอยู่กับ ธปท. จึงผิดหลักธรรมาภิบาล เพราะ ธปท.ไม่มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเหมือนรัฐบาล ดังนั้น จึงมีวิธีเดียวคือการบังคับ ธปท.ให้พิมพ์ธนบัตรให้ เพื่อชำระหนี้ซึ่งอาจกระทบระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ การส่งสัญญาณว่าจะไปเอาเม็ดเงินจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ที่มีเงินสะสม 8 หมื่นล้านบาท มาชำระดอกเบี้ยแทน ถ้ามีสถาบันการเงินประสบปัญหาสภาพคล่อง ผู้ฝากจะเอาเงินจากใคร ถ้าจะมาเอาจากรัฐบาล ก็แสดงว่าต่อไปรัฐบาลมีแนวที่จะเข้าไปอุ้มเงินฝากเสียเอง
"กว่าร้อยละ 95 ของเงินฝากทั้งประเทศ มีวงเงินไม่เกินบัญชีละ 1 ล้านบาท ดังนั้น ถ้าจะมีการค้ำประกันเงินฝากวงเงินเกิน 1 ล้านบาท คือการหวังอุ้มคนรวย" นายกรณ์กล่าว
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรว่า ต้องตรวจสอบมติ ครม.อีกครั้ง โดยต้องดูว่าจะเข้าเงื่อนไขที่จะออก พ.ร.ก.หรือไม่ ตนยังยืนยันว่าในขณะที่รัฐบาลยังไม่มีการทบทวนแผนการใช้จ่าย แต่กลับมีความพยายามระดมเงิน โดยกำหนดแนวทางที่กระทบธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารอื่นๆ ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทย อีกทั้งจะทำให้รัฐบาลไม่ตระหนักถึงภาระที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ตัวเองก่อไว้
“ผมคิดว่าต้องประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นในแง่ปริมาณเงินที่จะเข้าสู่ระบบ และผลที่จะตามมา เพราะไม่มีอะไรที่ได้มาโดยไม่มีภาระในภายหลัง จึงต้องจับตาเรื่องเงินเฟ้อ และภาระที่สถาบันการเงินต้องแบกรับมากขึ้นว่าจะส่งผลทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นด้วยหรือไม่ แต่ผมยังเชื่อมั่นการทำหน้าที่ของผู้ว่าแบงก์ชาติ”
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า รัฐบาลต้องตอบด้วยว่าเหตุใดจึงต้องเร่งรีบกู้เงินจำนวนมาก ทั้งๆ ที่หลายโครงการยังไม่จำเป็นต้องใช้จ่ายเวลานี้ ทำไมจึงไม่ผลักเข้าสู่ระบบงบประมาณปกติ ขณะเดียวกันโครงการที่รัฐบาลทำก็ต้องเชื่อมโยงรับฟังความเห็นจากประชาชนในพื้นที่ด้วย ไม่เช่นนั้นการดำเนินโครงการก็ไม่ราบรื่น
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ตนได้คัดค้านร่าง พ.ร.ก.ใน ครม.เพราะต้องการให้นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง กับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ นำเรื่องนี้กลับไปพิจารณาให้ รอบคอบ สุดท้ายในที่ประชุม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวตัร นายกรัฐมนตรี มีมติมอบหมายให้กฤษฎีกา กลับไปตีความเพื่อหากฎหมายรองรับ ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องมาตรการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม ไม่มีวาระเป็นอย่างอื่น
"ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้ คือกระทรวงการคลังและสำนักงานกฤษฎีกา ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเสร็จ ก็ต้องนำกลับเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง" นายวิทยากล่าว.