xs
xsm
sm
md
lg

อุกฤษ มงคลนาวิน กับลัทธิฯ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

เผยแพร่:   โดย: ดร.ป. เพชรอริยะ

ตามที่ ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) เสนอ

1. เรื่องการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ว่าด้วยความสามัคคี และความสมานฉันท์ของคนในชาติ

2. ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ว่าด้วยกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ในรายละเอียดอ่านดูแล้ว หากคนไม่มีความรู้ก็จะรู้สึกว่าดูดี แต่นี่คือแนวทางเห็นผิดของแนวทางลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ 80 ปี ที่ยังไม่ตายไปจากประเทศ เห็นผิด ทำผิดซ้ำซากอยู่นั่นแหละ

ลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ เป็นลัทธิที่เข้าใจว่า ร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย ก็จะได้ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งลัทธินี้ ความเชื่อนี้ ได้ทำลายความหายนะของชาติมาแล้วร่วม 80 ปี ซึ่งคนมีปัญญาไม่เอาแล้ววิธีนี้

ลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ เป็นลัทธิที่ได้สร้างความแตกแยกทางการเมืองมานับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรก ขัดแย้งกันนับแต่รัฐบาลชุดแรก (พระยามโนปกรณ์นิติธาดา) และเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีการรัฐประหาร และเป็นการรัฐประหารซ้ำสอง (20 มิถุนายน 2476 ของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา อันเนื่องมาจากความขัดแย้งในเค้าโครงเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ของนายปรีดี พนมยงค์)

นับแต่นั้นมาความขัดแย้งทางการเมืองก็มีเรื่อยมา ภายใต้วงจรอุบาทว์ รัฐประหาร ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ รัฐบาลพลเรือน ...รัฐประหาร-กบฏ และการจลาจลของนักศึกษา 14 ตุลา ปี 16, 6 ตุลา ปี 19 เป็นต้น และรัฐประหารครั้งล่าสุด 19 กันยา 49 จลาจลคนเสื้อแดง/สมาชิกพรรคเพื่อไทย 19-20 พ.ค. 53

กล่าวได้ว่า ขบวนการทางการเมืองทั้งหมดทั้งฝ่ายรัฐประหารและฝ่ายพลเรือน ฝ่ายนักศึกษา มีเจตนาดีอยากได้ระบอบประชาธิปไตยใจแทบขาดกันทั้งสิ้น แต่พวกเขากลับเห็นผิด เห็นตามคณะราษฎรกันทั้งนั้น “คืออยากได้ประชาธิปไตย แต่ดันไปร่างรัฐธรรมนูญ” คณะรัฐประหารอยากได้ประชาธิปไตยแต่ดันไปร่างรัฐธรรมนูญ นักศึกษาอยากได้ประชาธิปไตยแต่ดันไปเรียกร้องรัฐธรรมนูญ รัฐบาลเพื่อไทย นิติแดง เสื้อแดง อุกฤษ มงคลนาวิน เหล่านี้อยากได้ประชาธิปไตย แต่ดันไปแก้ไขหรือร่างรัฐธรรมนูญมันโง่สิ้นดี

มันน่าจะฉุกคิดกันบ้างนะ ไม่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับไหนๆ มันก็จะมีแต่ความขัดแย้ง ขัดแย้งทุกฉบับ ทำลายชาติและปวงชนไทยทุกฉบับ “พวกเอ็งไม่เบื่อกันบ้างหรือไง จะโง่ดักดานกันไปถึงไหน”

ประเทศไทยนับแต่รัฐประหาร รัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำของลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ คือ รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ และได้แตกออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ ดังนี้

มันเป็นลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญเพราะความเข้าใจผิด คิดว่ารัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย

สมมติว่า รัฐประหารเมื่อปี 2475 ได้อำนาจแล้วประกาศสถาปนาหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีหลักการสำคัญเป็นแม่บท ดังนี้ (1) หลักธรรมาธิปไตย (2) หลักพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ (3) หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (4) หลักเสรีภาพบริบูรณ์ (5) หลักความเสมอภาคทางโอกาส

(6) หลักภราดรภาพ (7) หลักดุลยภาพ (8) หลักเอกภาพ (9) หลักนิติธรรม ในความเป็นสยามประเทศ รัฐบาลใหม่ในนามปวงชนชาวสยามทุกหมู่เหล่า ขอให้ร่วมกันยึดถือหลักการปกครองดังกล่าวนี้ เป็นแม่บทในการออกกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ ทั้งหมด พิสูจน์แล้วว่ากฎหมายใดๆ ที่ขัดต่อหลักการปกครองโดยธรรมนี้หรือขัดต่อระบอบประชาธิปไตย เป็นอันว่าตกไปบังคับใช้ไม่ได้ (แบบอย่างตรงกับพระราชปณิธานของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 7) ความถูกต้อง ชอบธรรม คืออำนาจ ซึ่งต่างจากอำนาจคือกู กูคืออำนาจ

หลังจากจัดการความเรียบร้อยของบ้านเมืองภายใต้หลักการปกครองฯ ดังกล่าวแล้วจึงค่อยๆ ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญออกมาให้ครอบคลุมทุกสถาบันหลักของชาติ (ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์) สถาบันการเมืองและการปกครองแห่งชาติ สถาบันกำลังและความมั่นคงแห่งชาติ สถาบันตรวจสอบแห่งชาติ สถาบันสาขาอาชีพแห่งชาติ เป็นต้น ทุกสถาบัน ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกสาขาอาชีพ ทุกศาสนา เสมอกันภายใต้หลักการปกครองฯ ดังกล่าว

รัฐธรรมนูญจึงมีไม่กี่มาตรา (คนทั่วไปเข้าใจง่ายและจำได้หมด) ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละสถาบันอันแตกต่างหลากหลาย มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละสถาบัน ก็ให้ออกเป็นพระราชกำหนด และมีองค์กรของแต่ละสถาบันร่วมกันบริหารพิทักษ์รักษาสถาบันอาชีพ เช่น สภากรรมกรแห่งชาติ สภาชาวนาแห่งชาติ เป็นต้น ครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ มองภาพรวม 360 องศา จึงมีลักษณะพระธรรมจักรและถูกต้องตรงเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ คือ หลักการปกครองแผ่กระจายความยุติธรรมทั่วถึงทุกคน

ขณะเดียวกัน คนทุกคนต่างขึ้นต่อหลักการปกครองฯ หลักการปกครองจึงเป็นศูนย์กลางของปวงชนในแผ่นดิน หลักการปกครองเป็นศูนย์กลางของกฎหมายทุกระดับ นับแต่กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติทุกชนิด ระเบียบ คำสั่งทุกชนิด หากทำได้ดังนี้ ป่านนี้ประเทศไปไกลกว่าญี่ปุ่น เหนือจีน มาเลเซีย มากมายแล้วครับ นี่แหละสิ่งที่ชาวโหวตโนต้องการ

น่าเสียดายที่เรายังติดโคลนทางความคิดของลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ มิน่าเขมรหัวเราะและเหยียดหยามไทยในวันนี้ เพราะมีคนแบบ ศ.ดร. อุกฤษ นี่เอง ขอให้คิดใหม่กันเถอะครับ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ “เอาหลักการปกครองฯ ก่อน ไม่เอารัฐธรรมนูญใหม่และไม่แก้รัฐธรรมนูญในตอนนี้”
กำลังโหลดความคิดเห็น