ASTVผู้จัดการรายวัน – “ที่นอนดาร์ลิ่ง” ปรับกลยุทธ์ปี 55 รับเออีซี-ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และสินค้าจีนดาห้นาตีตลาด เพิ่มฐานผลิตที่ขอนแก่นหนีค่าแรงกรุงเทพฯ 300 บาท รุกตลาดเอเซียและตะวันออกกลางมากขึ้น หวังปีนหน้าโต 20% ทะลุ 400 ล้านบาท หลังปีนี้ น้ำท่วมซัดยอดขายสูญ 30%
นางสาวเพ็ญศรี แช่มปรีดา ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ที่นอนดาร์ลิ่ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายที่นอนดาร์ลิ่งของไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ปรับกลยุทธ์การทำธุรกิจปี 2555 เพื่อรับมือกับการใกล้เปิดเออีซีหรือประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน และปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น และจะให้ความสำคัญกับแบรนด์ ดาร์ลิ่งสลีพการ์ดมากขึ้น
โดยจะหันมาให้คยามสำคัญและเพิ่มกำลังผลิตที่นอนที่โรงงานขอนแก่นอีก 3,000 หลังต่อเดือน รวมเป็น 15,000 หลังต่อเดือนจากเดิมมีกำลังผลิต 2 แห่งที่โรงงานมีนบุรีกับที่ขอนแก่น (ซึ่งผลิตไม่เต็มกำลังผลิต ) กำลังผลิตรวมกันเป็น 12,000 หลังต่อเดือน เพื่อรองรับการขยายตลาดต่างประเทศทั้งเอเซียโดยเน้นหนักที่ เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ส่วนตะวันอออกกลางเนที่ ซาอุดิอาระเบียและคูเวต
นอกจานนั้นยังเป็นการแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วย จากปัญหาค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทในกรุงเทพฯที่จะปรับขึ้นในอนาคต เพราะโรงงานที่มีนบุรีมีพนักงานรวมกันมากกว่า 300 คน ขณะที่โรงงานที่ขอนแก่นมีพนักงานเพียง 100 กว่าคนเท่านั้น ซึ่งสามารถควบคุมต้นทุนให้ต่ำลงได้
รวมทั้งปีหน้าประมาณไตรมาสแรกคาดว่าบริษัทฯอาจจะต้องปรับราคาสินค้าขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากต้นทุนการผลิตได้ปรับสูงขึ้นเพราะวัตถุดิบเช่น เหล็กที่ใช้ทำสปริง ปรับราคาขึ้น จากเดิมที่ก่อนหน้านี้บริษัทฯได้ปรับราคาไปแล้ว 10% เมื่อเดือนกรกฎาคมปีนี้ เพราะต้นทุนวัตถุดิบขึ้นราคาเช่นกัน
นางสาวเพ็ญศรี กล่าวว่า สภาพตลาดที่นอนปัจจุบันมีมูลค่า 7,000 ล้านบาท ในปีหน้าคาดว่า ตลาดระดับพรีเมียมจะเล็กลงหรือเติบโตน้อยลง ส่วนตลาดระดับกลางลงล่างจะมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นจากผู้ประกอบการในประเทศและอินเตอร์แบรนด์ที่ทำตลาดในไทยอยู่แล้ว เพราะปัญหาจาน้ำท่วมที่ผ่ามาที่ตผู้บริโภครระดับกลางลงล่างไม่สามารถขนย้ายข้าวของรวมทั้งที่นอนได้ทันโดยเฉพาะบ้านชั้นเดียว ทำให้ความต้องการที่นอนระดับกลางและล่างในปีหน้าจะมีเพิ่มขึ้นกว่าปรกติ
อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ตลาดระดับกลางลงล่างแข่งขันรุนแรงมากขึ้น คือ สินค้าที่นอนจากประเทศจีนจะรุกเข้ามาทำตลาดในไทยมากขึ้นด้วยจากผลของเออีซี ส่งผลต่อการแข่งขันด้านราคาที่น่ากลัว ซึ่งที่นอนจากจีนมีการพัฒนาไปมากทั้งด้านดีไซน์และลูกเล่นต่างๆ แต่เรื่องคุณภาพยังสู้ของแบรนด์ที่ทำตลาดอยู่แล้วในไทยไม่ได้ ซึ่งผู้ประกอบการมีความเกรงกลัวประเด็นเรื่องการตัดราคาของจีนอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าบริษัทฯได้เพิ่มงบการตลาดเป็น 5% จากเป้าหมายยอดขายที่ตั้งไว้ที่ 440 ล้านบาท จากเดิมใช้เพียง 2-3% ของยอดขายเท่านั้น โดยจะมุ่งเน้นการใช้งบไปที่การโฆษณา
สำหรับยอดขายในปีนี้ บริษัทฯตั้งเป้าเมื่อต้นปีไว้ที่ 400 ล้านบาท ซึ่ง 9 เดือนแรกสามารถทำยอดขายได้เกือบถึงเป้าหมายแล้ว แต่พอเกิดเหตุน้ำท่วมหนักช่วงเดือน ตุลาคมมเป็นต้นมา บริษัทฯก็ได้รับผลกระทบทันที โดยโรงงานที่มีนบุรีผลิตได้ไม่เต็มกำลัง คนงานกว่า 30% ได้รับผลกระทบ อีกทั้งช่วง 3 เดือนท้ายนี้ที่เป็นหน้าขายสินค้าที่นอนด้วย โดยยอดขายตกลงกว่า 30% แต่ก็ถือว่าทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่ 400 ล้านบาท ซึ่งสวัดส่วนรายได้มาจาก ห้างสรรพสินค้า 30% ที่เหลือช่องทางดีลเลอร์กว่า 300 ราย ช่องทางโครงการ และส่งออก สัดส่วนอย่างละ 20% เท่ากัน จากเดิมที่ก่อนนี้สัดส่วนยอดขายทั้ง 4 ส่วนจะเท่ากันที่ 25%
นางสาวเพ็ญศรี แช่มปรีดา ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ที่นอนดาร์ลิ่ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายที่นอนดาร์ลิ่งของไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ปรับกลยุทธ์การทำธุรกิจปี 2555 เพื่อรับมือกับการใกล้เปิดเออีซีหรือประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน และปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น และจะให้ความสำคัญกับแบรนด์ ดาร์ลิ่งสลีพการ์ดมากขึ้น
โดยจะหันมาให้คยามสำคัญและเพิ่มกำลังผลิตที่นอนที่โรงงานขอนแก่นอีก 3,000 หลังต่อเดือน รวมเป็น 15,000 หลังต่อเดือนจากเดิมมีกำลังผลิต 2 แห่งที่โรงงานมีนบุรีกับที่ขอนแก่น (ซึ่งผลิตไม่เต็มกำลังผลิต ) กำลังผลิตรวมกันเป็น 12,000 หลังต่อเดือน เพื่อรองรับการขยายตลาดต่างประเทศทั้งเอเซียโดยเน้นหนักที่ เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ส่วนตะวันอออกกลางเนที่ ซาอุดิอาระเบียและคูเวต
นอกจานนั้นยังเป็นการแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วย จากปัญหาค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทในกรุงเทพฯที่จะปรับขึ้นในอนาคต เพราะโรงงานที่มีนบุรีมีพนักงานรวมกันมากกว่า 300 คน ขณะที่โรงงานที่ขอนแก่นมีพนักงานเพียง 100 กว่าคนเท่านั้น ซึ่งสามารถควบคุมต้นทุนให้ต่ำลงได้
รวมทั้งปีหน้าประมาณไตรมาสแรกคาดว่าบริษัทฯอาจจะต้องปรับราคาสินค้าขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากต้นทุนการผลิตได้ปรับสูงขึ้นเพราะวัตถุดิบเช่น เหล็กที่ใช้ทำสปริง ปรับราคาขึ้น จากเดิมที่ก่อนหน้านี้บริษัทฯได้ปรับราคาไปแล้ว 10% เมื่อเดือนกรกฎาคมปีนี้ เพราะต้นทุนวัตถุดิบขึ้นราคาเช่นกัน
นางสาวเพ็ญศรี กล่าวว่า สภาพตลาดที่นอนปัจจุบันมีมูลค่า 7,000 ล้านบาท ในปีหน้าคาดว่า ตลาดระดับพรีเมียมจะเล็กลงหรือเติบโตน้อยลง ส่วนตลาดระดับกลางลงล่างจะมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นจากผู้ประกอบการในประเทศและอินเตอร์แบรนด์ที่ทำตลาดในไทยอยู่แล้ว เพราะปัญหาจาน้ำท่วมที่ผ่ามาที่ตผู้บริโภครระดับกลางลงล่างไม่สามารถขนย้ายข้าวของรวมทั้งที่นอนได้ทันโดยเฉพาะบ้านชั้นเดียว ทำให้ความต้องการที่นอนระดับกลางและล่างในปีหน้าจะมีเพิ่มขึ้นกว่าปรกติ
อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ตลาดระดับกลางลงล่างแข่งขันรุนแรงมากขึ้น คือ สินค้าที่นอนจากประเทศจีนจะรุกเข้ามาทำตลาดในไทยมากขึ้นด้วยจากผลของเออีซี ส่งผลต่อการแข่งขันด้านราคาที่น่ากลัว ซึ่งที่นอนจากจีนมีการพัฒนาไปมากทั้งด้านดีไซน์และลูกเล่นต่างๆ แต่เรื่องคุณภาพยังสู้ของแบรนด์ที่ทำตลาดอยู่แล้วในไทยไม่ได้ ซึ่งผู้ประกอบการมีความเกรงกลัวประเด็นเรื่องการตัดราคาของจีนอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าบริษัทฯได้เพิ่มงบการตลาดเป็น 5% จากเป้าหมายยอดขายที่ตั้งไว้ที่ 440 ล้านบาท จากเดิมใช้เพียง 2-3% ของยอดขายเท่านั้น โดยจะมุ่งเน้นการใช้งบไปที่การโฆษณา
สำหรับยอดขายในปีนี้ บริษัทฯตั้งเป้าเมื่อต้นปีไว้ที่ 400 ล้านบาท ซึ่ง 9 เดือนแรกสามารถทำยอดขายได้เกือบถึงเป้าหมายแล้ว แต่พอเกิดเหตุน้ำท่วมหนักช่วงเดือน ตุลาคมมเป็นต้นมา บริษัทฯก็ได้รับผลกระทบทันที โดยโรงงานที่มีนบุรีผลิตได้ไม่เต็มกำลัง คนงานกว่า 30% ได้รับผลกระทบ อีกทั้งช่วง 3 เดือนท้ายนี้ที่เป็นหน้าขายสินค้าที่นอนด้วย โดยยอดขายตกลงกว่า 30% แต่ก็ถือว่าทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่ 400 ล้านบาท ซึ่งสวัดส่วนรายได้มาจาก ห้างสรรพสินค้า 30% ที่เหลือช่องทางดีลเลอร์กว่า 300 ราย ช่องทางโครงการ และส่งออก สัดส่วนอย่างละ 20% เท่ากัน จากเดิมที่ก่อนนี้สัดส่วนยอดขายทั้ง 4 ส่วนจะเท่ากันที่ 25%