ASTVผู้จัดการรายวัน - เครือข่ายขนส่ง ยื่นข้อเสนอรัฐ เลื่อนขึ้นราคาเอ็นจีวีไปอีก 1 ปี หากไม่สำเร็จ ขู่เตรียมรวมพล แท็กซี่ ขสมก. รถบัส ประท้วง จัดม็อบบุกหน้าทำเนียบ และปตท. วันที่ 9 นี้ “พิชัย” ดักคอ นัดเจรจาวันที่ 12 นี้ ท้าถ้าข้อมูลต้นทุนพุ่งชัดยอมตาม ด้านปตท.ยันขึ้นราคา NGV เหมาะสมช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
เมื่อเวลา 14.30 น. นายขวัญชัย ติยะวานิช นายกสมาคมขนส่งสินค้าภาคอีสานและบรรดาตัวแทนผู้ประกอบการขนส่งด้านต่างๆทั่วประเทศ เช่น สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เข้าพบนายสุชน ชาลีเครือ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีออกไปอีกหนึ่งปีและทบทวนเรื่องดังกล่าว
***ชี้ขึ้นเอ็นจีวีกระทบทุกด้าน
โดยนายขวัญชัยเปิดเผยหลังการประชุมว่า ปตท.จะปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีในช่วงวันที่ 16 ม.ค.โดยจะทยอยขึ้นราคาไปถึงหกบาทในช่วงปลายปีนี้ตามที่ออกเป็นมติครม.ไปแล้วนั้น ทำให้กระทบกับผู้ประกอบการขนส่งทุกด้าน เพราะเอ็นจีวีราคาเดิมนั้น 8.50 บาทต่อหนึ่งกิโลกรัม เมื่อจะปรับขึ้นหกบาท เป็น 14.50 บาทต่อหนึ่งกิโลกรัม เท่ากับว่าขึ้นราคาใหม่ร้อยละเจ็ดสิบ ส่วนแก๊สแอลพีจีนั้นเดิมราคา 11.50 บาทต่อหนึ่งกิโลกรัม เมื่อปรับขึ้น 4.80 บาทเป็น 16.30 บาทต่อหนึ่งกิโลกรัม เท่ากับแก๊สแอลพีจีปรับขึ้นร้อยละสี่สิบสอง
ก่อนหน้านี้พวกตนไปพบนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงานแล้วและหารือตลอดเวลา แต่ช่วงปรับขึ้นราคาก็ไม่มีการพูดคุยกับพวกตนและมีมติครม.ออกมาแบบนี้ พวกตนได้รับผลกระทบอย่างยิ่งและเคยเสนอให้ทบทวนมติครม.ดังกล่าวไปแล้วและไม่ได้รับการสนองตอบ หากว่ารัฐบาลยังไม่พิจารณาเรื่องนี้ วันที่ 9 ก.พ.พวกตนจะชุมนุมประท้วงที่ด้านหน้าทำเนียบรัฐบาลและปตท.สำนักงานใหญ่ โดยจะระดมรถพ่วง ขสมก. รถบัส แท็กซี่
นายขวัญชัยกล่าวว่า อยู่ดีๆรัฐบาลก็ขึ้นราคาโดยอ้างเหตุผลต่างๆโดยที่ไม่ฟังพวกตนเลย แม้แต่รัฐบาลชุดที่แล้วยังไม่กล้าขึ้นราคา ตัวอย่างในอดีตคือรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ขึ้นราคาน้ำมันลิตรละหนึ่งบาทก็ยังอยู่ไม่ได้ และพลเอกเกรียงศักดิ์ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ พวกตนเป็นเอกชนและไม่อยากทำสิ่งรุนแรง เมื่อรัฐบาลนี้เข้ามาก็ปรับราคาขึ้นแบบไม่ฟังเหตุผลพวกตน ทั้งๆที่พวกตนโดนปตท.หลอกมาโดยตลอดว่าให้เปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้เอ็นจีวีและต้องกู้เงินจากปตท.ไม่อย่างนั้นจะไม่มีก๊าซเติม สามปีที่ผ่านมาพวกตนลำบาก ก๊าซมีบ้างไม่มีบ้างก็ไม่เคยบ่น เข้าแถวต่อคิวยาวมาก ทราบว่าขสมก.อยากกลับไปใช้น้ำมันก็กลับไปไม่ได้ และตัวอย่างล่าสุดช่วงน้ำท่วมนั้น ปตท.ไม่ส่งก๊าซมาให้ พวกตนก็ออกวิ่งไม่ได้ ทั้งๆที่อยากออกมาวิ่งแล้วจู่ๆก็ขึ้นราคาแบบนี้ มันรับไม่ได้
*** “พิชัย” นัดเจาจา 12 นี้
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงกรณี 7 ผู้ประกอบการขนส่งนัดชุมนุมปิดถนนหน้า ปตท. และกระทรวงพลังงานในวันที่ 9 ม.ค. นี้ว่า ได้นัดผู้ประกอบการเข้ามาเจรจาที่กระทรวงในวันที่ 12 ม.ค. นี้ ซึ่งหากผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจริงก็ควรแสดงรายละเอียด ของผลกระทบที่เกิดแล้วนำมาเสนอ หากพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าการปรับขึ้นราคาเอ็นจีวี ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นจริง กระทรวงก็ยินดีที่จะพิจารณาว่าจะดำเนินการแก้ไขอย่างไร แต่หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ ก็ไม่สามารถแจ้งประชาชนได้ ว่าจะปรับขึ้นราคาค่าขนส่งได้อย่างไร
"ค่าขนส่งจะอิงกับราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งพอราคาน้ำมันปรับขึ้นผู้ประกอบการ ก็จะมาขอขึ้นค่าขนส่ง ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็เปลี่ยนจากการใช้น้ำมันดีเซล ไปเป็นการใช้ก๊าซเอ็นจีวีแทน ซึ่งมีต้นทุนเพียง 8 บาทต่อกิโลกรัม แต่ไม่ยอมลดราคาขนส่งให้กับประชาชน พอราคาเอ็นจีวีจะปรับขึ้นเป็น 14 บาท ซึ่งยังถูกว่าราคาดีเซลอีกครึ่งหนึ่ง จึงมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ที่จะมาขอขึ้น เพราะค่าขนส่งได้ถูกคำนวณจากราคาน้ำมันดีเซล"
นายพิชัย กล่าวต่อว่า สถานการณ์ขณะนี้ ต้องเอาความจริงมาคุยกัน ไม่ใช่จะมากดดันให้ ปตท. ขายขาดทุนตลอด หรือจะให้ผู้บริโภคที่ใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซล ที่จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่อนำเงงินดังกล่าวมาสนับสนุนคนใช้ก๊าซเอ็นจีวี ถามว่ากลุ่มคนที่ใช้น้ำมันจะยอมหรือไม่ ซึ่งหากกลุ่มคนเหล่านี้ยอม ตนก็ยินดีที่จะให้เงินมาสนับสนุน แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ควรที่จะถามคนกลุ่มดังกล่าวก่อน เพราะก่อนหน้านี้เงินกองทุนน้ำมันฯ ก็ช่วยรับภาระก๊าซเอ็นจีวี กิโลกรัมละ 2 บาทมาตลอด ซึ่งการปรับขึ้นราคามาอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 14 บาท ยังถือว่าขาดทุนอยู่ เพราะขณะนี้ต้นทุนก๊าซเอ็นจีวี จะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 16 บาท แต่ถือเป็นการขาดทุนที่ลดลง
"ตั้งแต่เริ่มขายก๊าซเอ็นจีวี ปตท.ขาดทุนไปกว่า 40,000 ล้านบาท โดยปี 54 ขาดทุนไป 24,000 ล้านบาท ทำให้ ปตท.ไม่ยอมขยายสถานีให้บริการเอ็นจีวี เพราะขยายไปแล้วขาดทุน ทำให้ธุรกิจเอ็นจีวีเดินหน้าไม่ได้"
*** โยน คค. ขึ้นค่ามิเตอร์
ส่วนกรณีที่นายบุญเสริม สมพงษ์ คนขับรถแท็กซี่ กล่าวหาว่า บัตรเครดิตพลังงานเป็นเพียงหลุมพราง ให้แท็กซี่ไปติดกับเพราะบัตรเครดิตพลังงานจะอุดหนุนราคาก๊าซเอ็นจีวี ในกรณีที่ปรับขึ้นอีกกิโลกรัมละ 2 บาท ซึ่งหากปรับขึ้นมากกว่านั้น ผู้ประกอบการแท็กซี่จะต้องแบกรับภาระเอง นายพิชัย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวได้พิจารณากันแล้วว่า หากปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี จะต้องขึ้นราคามิเตอร์ให้กับรถแท็กซี่ เนื่องจากราคามิเตอร์ไม่ได้ขึ้นตั้งแต่ปี 51 แต่จะขึ้นในสัดส่วนเท่าใดนั้นต้องให้ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้พิจารณา
**** ปตท.ชี้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการของบริษัท ปตท.ยืนยันว่า การปรับขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติ หรือ NGV เป็นไปตามกรอบการดูแลของคณะกรรมการพลังงานเชื้อเพลิง เพื่อให้การบริหารงบประมาณการใช้เชื้อเพลิงและกิจกรรมทางเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปอย่างเหมาะสม ทำให้การปรับขึ้นราคาเชื้อเพลิงดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ไม่เฉพาะเจาะจงเพียงผลกำไรของบริษัท ปตท. แม้จะถูกตั้งข้อสังเกตว่า ปตท.เป็นกิจการผูกขาดและอาจได้รับประโยชน์จากการลอยตัวของราคาก๊าซชนิดดังกล่าว
ผู้บริหารบริษัท ปตท.กล่าวอีกว่า ประชาชนและผู้ใช้รถยนต์ประเภทนี้ ควรปรับตัวหลังจากที่บริษัทได้ตรึงราคาก๊าซ NGV ที่กิโลกรัมละ 8 .50 บาท ทั้งที่ต้นทุนก๊าซและค่าบริการจัดการมากกว่ากิโลกรัมละ 15 บาท
เมื่อเวลา 14.30 น. นายขวัญชัย ติยะวานิช นายกสมาคมขนส่งสินค้าภาคอีสานและบรรดาตัวแทนผู้ประกอบการขนส่งด้านต่างๆทั่วประเทศ เช่น สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เข้าพบนายสุชน ชาลีเครือ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีออกไปอีกหนึ่งปีและทบทวนเรื่องดังกล่าว
***ชี้ขึ้นเอ็นจีวีกระทบทุกด้าน
โดยนายขวัญชัยเปิดเผยหลังการประชุมว่า ปตท.จะปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีในช่วงวันที่ 16 ม.ค.โดยจะทยอยขึ้นราคาไปถึงหกบาทในช่วงปลายปีนี้ตามที่ออกเป็นมติครม.ไปแล้วนั้น ทำให้กระทบกับผู้ประกอบการขนส่งทุกด้าน เพราะเอ็นจีวีราคาเดิมนั้น 8.50 บาทต่อหนึ่งกิโลกรัม เมื่อจะปรับขึ้นหกบาท เป็น 14.50 บาทต่อหนึ่งกิโลกรัม เท่ากับว่าขึ้นราคาใหม่ร้อยละเจ็ดสิบ ส่วนแก๊สแอลพีจีนั้นเดิมราคา 11.50 บาทต่อหนึ่งกิโลกรัม เมื่อปรับขึ้น 4.80 บาทเป็น 16.30 บาทต่อหนึ่งกิโลกรัม เท่ากับแก๊สแอลพีจีปรับขึ้นร้อยละสี่สิบสอง
ก่อนหน้านี้พวกตนไปพบนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงานแล้วและหารือตลอดเวลา แต่ช่วงปรับขึ้นราคาก็ไม่มีการพูดคุยกับพวกตนและมีมติครม.ออกมาแบบนี้ พวกตนได้รับผลกระทบอย่างยิ่งและเคยเสนอให้ทบทวนมติครม.ดังกล่าวไปแล้วและไม่ได้รับการสนองตอบ หากว่ารัฐบาลยังไม่พิจารณาเรื่องนี้ วันที่ 9 ก.พ.พวกตนจะชุมนุมประท้วงที่ด้านหน้าทำเนียบรัฐบาลและปตท.สำนักงานใหญ่ โดยจะระดมรถพ่วง ขสมก. รถบัส แท็กซี่
นายขวัญชัยกล่าวว่า อยู่ดีๆรัฐบาลก็ขึ้นราคาโดยอ้างเหตุผลต่างๆโดยที่ไม่ฟังพวกตนเลย แม้แต่รัฐบาลชุดที่แล้วยังไม่กล้าขึ้นราคา ตัวอย่างในอดีตคือรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ขึ้นราคาน้ำมันลิตรละหนึ่งบาทก็ยังอยู่ไม่ได้ และพลเอกเกรียงศักดิ์ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ พวกตนเป็นเอกชนและไม่อยากทำสิ่งรุนแรง เมื่อรัฐบาลนี้เข้ามาก็ปรับราคาขึ้นแบบไม่ฟังเหตุผลพวกตน ทั้งๆที่พวกตนโดนปตท.หลอกมาโดยตลอดว่าให้เปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้เอ็นจีวีและต้องกู้เงินจากปตท.ไม่อย่างนั้นจะไม่มีก๊าซเติม สามปีที่ผ่านมาพวกตนลำบาก ก๊าซมีบ้างไม่มีบ้างก็ไม่เคยบ่น เข้าแถวต่อคิวยาวมาก ทราบว่าขสมก.อยากกลับไปใช้น้ำมันก็กลับไปไม่ได้ และตัวอย่างล่าสุดช่วงน้ำท่วมนั้น ปตท.ไม่ส่งก๊าซมาให้ พวกตนก็ออกวิ่งไม่ได้ ทั้งๆที่อยากออกมาวิ่งแล้วจู่ๆก็ขึ้นราคาแบบนี้ มันรับไม่ได้
*** “พิชัย” นัดเจาจา 12 นี้
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงกรณี 7 ผู้ประกอบการขนส่งนัดชุมนุมปิดถนนหน้า ปตท. และกระทรวงพลังงานในวันที่ 9 ม.ค. นี้ว่า ได้นัดผู้ประกอบการเข้ามาเจรจาที่กระทรวงในวันที่ 12 ม.ค. นี้ ซึ่งหากผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจริงก็ควรแสดงรายละเอียด ของผลกระทบที่เกิดแล้วนำมาเสนอ หากพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าการปรับขึ้นราคาเอ็นจีวี ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นจริง กระทรวงก็ยินดีที่จะพิจารณาว่าจะดำเนินการแก้ไขอย่างไร แต่หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ ก็ไม่สามารถแจ้งประชาชนได้ ว่าจะปรับขึ้นราคาค่าขนส่งได้อย่างไร
"ค่าขนส่งจะอิงกับราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งพอราคาน้ำมันปรับขึ้นผู้ประกอบการ ก็จะมาขอขึ้นค่าขนส่ง ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็เปลี่ยนจากการใช้น้ำมันดีเซล ไปเป็นการใช้ก๊าซเอ็นจีวีแทน ซึ่งมีต้นทุนเพียง 8 บาทต่อกิโลกรัม แต่ไม่ยอมลดราคาขนส่งให้กับประชาชน พอราคาเอ็นจีวีจะปรับขึ้นเป็น 14 บาท ซึ่งยังถูกว่าราคาดีเซลอีกครึ่งหนึ่ง จึงมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ที่จะมาขอขึ้น เพราะค่าขนส่งได้ถูกคำนวณจากราคาน้ำมันดีเซล"
นายพิชัย กล่าวต่อว่า สถานการณ์ขณะนี้ ต้องเอาความจริงมาคุยกัน ไม่ใช่จะมากดดันให้ ปตท. ขายขาดทุนตลอด หรือจะให้ผู้บริโภคที่ใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซล ที่จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่อนำเงงินดังกล่าวมาสนับสนุนคนใช้ก๊าซเอ็นจีวี ถามว่ากลุ่มคนที่ใช้น้ำมันจะยอมหรือไม่ ซึ่งหากกลุ่มคนเหล่านี้ยอม ตนก็ยินดีที่จะให้เงินมาสนับสนุน แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ควรที่จะถามคนกลุ่มดังกล่าวก่อน เพราะก่อนหน้านี้เงินกองทุนน้ำมันฯ ก็ช่วยรับภาระก๊าซเอ็นจีวี กิโลกรัมละ 2 บาทมาตลอด ซึ่งการปรับขึ้นราคามาอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 14 บาท ยังถือว่าขาดทุนอยู่ เพราะขณะนี้ต้นทุนก๊าซเอ็นจีวี จะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 16 บาท แต่ถือเป็นการขาดทุนที่ลดลง
"ตั้งแต่เริ่มขายก๊าซเอ็นจีวี ปตท.ขาดทุนไปกว่า 40,000 ล้านบาท โดยปี 54 ขาดทุนไป 24,000 ล้านบาท ทำให้ ปตท.ไม่ยอมขยายสถานีให้บริการเอ็นจีวี เพราะขยายไปแล้วขาดทุน ทำให้ธุรกิจเอ็นจีวีเดินหน้าไม่ได้"
*** โยน คค. ขึ้นค่ามิเตอร์
ส่วนกรณีที่นายบุญเสริม สมพงษ์ คนขับรถแท็กซี่ กล่าวหาว่า บัตรเครดิตพลังงานเป็นเพียงหลุมพราง ให้แท็กซี่ไปติดกับเพราะบัตรเครดิตพลังงานจะอุดหนุนราคาก๊าซเอ็นจีวี ในกรณีที่ปรับขึ้นอีกกิโลกรัมละ 2 บาท ซึ่งหากปรับขึ้นมากกว่านั้น ผู้ประกอบการแท็กซี่จะต้องแบกรับภาระเอง นายพิชัย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวได้พิจารณากันแล้วว่า หากปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี จะต้องขึ้นราคามิเตอร์ให้กับรถแท็กซี่ เนื่องจากราคามิเตอร์ไม่ได้ขึ้นตั้งแต่ปี 51 แต่จะขึ้นในสัดส่วนเท่าใดนั้นต้องให้ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้พิจารณา
**** ปตท.ชี้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการของบริษัท ปตท.ยืนยันว่า การปรับขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติ หรือ NGV เป็นไปตามกรอบการดูแลของคณะกรรมการพลังงานเชื้อเพลิง เพื่อให้การบริหารงบประมาณการใช้เชื้อเพลิงและกิจกรรมทางเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปอย่างเหมาะสม ทำให้การปรับขึ้นราคาเชื้อเพลิงดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ไม่เฉพาะเจาะจงเพียงผลกำไรของบริษัท ปตท. แม้จะถูกตั้งข้อสังเกตว่า ปตท.เป็นกิจการผูกขาดและอาจได้รับประโยชน์จากการลอยตัวของราคาก๊าซชนิดดังกล่าว
ผู้บริหารบริษัท ปตท.กล่าวอีกว่า ประชาชนและผู้ใช้รถยนต์ประเภทนี้ ควรปรับตัวหลังจากที่บริษัทได้ตรึงราคาก๊าซ NGV ที่กิโลกรัมละ 8 .50 บาท ทั้งที่ต้นทุนก๊าซและค่าบริการจัดการมากกว่ากิโลกรัมละ 15 บาท