น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเดินทางไปร่วมประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง GMS ครั้งที่ 4 ที่นครเนปิดอร์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ รวมทั้งการไปพบปะกับนางออง ซาน ซูจี หัวหน้าพรรคเอ็นแอลดี ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 19-20 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า การหารือเกี่ยวกับด้านพลังงาน ถือว่ามีความคืบหน้ามากโดยรายละเอียด รมว.พลังงาน จะตั้งคณะทำงานมาศึกษารายละเอียด โดยเบื้องต้นจะศึกษาความร่วมมือพลังงานทางด้านก๊าซธรรมชาติ ซึ่งทางพม่าได้ให้สัมปทานด้านพลังงานเพิ่มอีก 2 แห่ง
ส่วนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่องประชาธิปไตย กับนางอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรคเอ็นแอลดี นั้น ต้องถือว่านางอองซาน เป็นผู้มีอุดมการณ์ต่อสู้ทางด้านประชาธิปไตย ซึ่งเราได้พูดจาแลกเปลี่ยนกัน โดยหลักของนางอองซาน ที่ตัดสินใจลงเลือกตั้งครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความปรองดอง ซึ่งตรงนี้นโยบายหรืออุดมการณ์ของ พรรคเอ็นแอลดี คือ ประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ดังนั้นจึงอยากเห็นความสัมพันธ์ระหว่างไทย และพม่า เป็นไปในทางที่ดี ทั้งระดับรัฐบาล และประชาชน เพราะเราต่างเป็นประชาธิปไตย ที่ดูแลห่วงใยความทุกข์สุขของประชาชน เป็นเรื่องใหญ่
เมื่อถามว่าการที่รัฐบาลพม่าเปิดกว้างให้พบกับ นางอองซาน ซูจี คิดว่าเขามีวัตถุประสงค์อะไร นายกฯ กล่าวว่า จริงๆ แล้วทางพม่ามีการพัฒนาไปเยอะ ในการเปิดประตูสู่ความเป็นประชาธิปไตย และจะเปิดให้มีการเลือกตั้งเร็วๆนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดีสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน ที่มาพูดคุยกันเรื่องประชาธิปไตย และผลประโยชน์ความทุกข์สุขของประชาชนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า ไทยยังยึดหลักการเดิม ที่จะสนับสนุนให้เกิดการปรองดองในพม่าใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ใช่ จริงๆ แล้วนางอองซาน คงอยากเห็นอย่างนั้น และในส่วนของรัฐบาลเอง ก็เช่นกัน วันนี้การยอมรับประชาธิปไตยที่เป็นการยอมรับเสียงประชาชนเป็นสิ่งที่นานาประเทศให้การยอมรับในหลักสากล ซึ่งเชื่อว่าทุกประเทศในเอเชีย คงจะหันเดินหน้าไปในรูปแบบนี้
เมื่อถามว่า คิดว่าพม่า จะเปิดกว้างเต็มที่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของทางรัฐบาล แต่โดยเจตนารมณ์เห็นว่า มีเจตนารมณ์ที่ดี ซึ่งเราต้องดูกันต่อไป
**ยันไม่ใช่ตรายางของ"ทักษิณ"
เมื่อถามว่า รู้สึกอย่างไรที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า การที่นายกฯได้พบกับนางอองซาน เป็นเพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ได้คุยปูทางไว้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวปฏิเสธว่า จริงๆ เป็นเรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางไปของท่าน และเราไม่ได้พูดคุยกันในเรื่องนี้ ทุกอย่างที่ตนดำเนินการไป ผ่านภายใต้ของรัฐบาลเอง โดยกระทรวงการต่างประเทศ การทำงานทุกอย่างอยู่ในขั้นตอนของรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีคำถามเกิดขึ้นว่า เวลานายกฯ จะเดินทางไปประเทศไหน พ.ต.ท.ทักษิณ มักจะเดินทางไปก่อน ตรงนี้ตั้งข้อสังเกตว่า มีการเจรจาอะไรเอาไว้ล่วงหน้าหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวปฏิเสธว่า ไม่มี และไม่มีประเด็นอะไรที่เกี่ยวกัน
เมื่อถามว่า การที่ฝ่ายค้านออกมาวิจารณ์ จะส่งผลกระทบอะไรต่อรัฐบาลหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า จริงๆ แล้วข้อเท็จจริงทุกท่านก็เห็น ที่เราดำเนินการเจรจาต่างๆ ต้องมีขั้นตอน ในการทำงานของทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และต้องได้รับความเห็นชอบจากครม. ก่อนที่จะไปเจรจา ดังนั้นไม่มี ทุกอย่างทำอยู่ภายใต้เมืองไทย และภายใต้รัฐบาลนี้
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาให้สัมภาษณ์อย่างนี้ คิดว่าจะส่งผลกระทบอะไรกับรัฐบาลหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่มี ต้องบอกว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดี เราไม่ควรปิดกั้น แต่การตัดสินใจการทำงานทุกอย่าง เป็นไปตามขั้นตอนของรัฐบาล ที่ดำเนินการเองทั้งหมด
เมื่อถามว่า ยืนยันหรือไม่ว่าไม่มีผลประโยชน์ทางด้านพลังงานให้กับพวกพ้องตัวเอง นายกฯ รีบกล่าวว่า ไม่มี ยืนยันได้ ตนไปในนามของรัฐบาล ไม่เคยไปเจรจาในเรื่องส่วนตัวเลย เมื่อถามว่า บทบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับรัฐบาล บอกได้หรือไม่ เป็นอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ท่านก็ไปของท่าน รัฐบาลก็ทำงานของรัฐบาลไป ไม่เกี่ยวกัน
**มีแผนร่วมลงทุนโรงแยกก๊าซ
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน กล่าวถึงการเดินทางเยือนประเทศพม่ากับคณะของนายกรัฐมนตรี ว่า ตนพร้อมด้วยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ได้หารือกับ รัฐมนตรีต่างประเทศ และนาย ยู ทัน เต รัฐมนตรีพลังงาน ของประเทศพม่า ซึ่งการเจรจาในครั้งนี้ เราได้แหล่งพลังงานบนภาคพื้นดิน จากประเทศพม่าเพิ่มอีก 2 แหล่ง ใกล้กรุงเนปิดอว์ ซึ่งจะมีทั้งน้ำมัน และก๊าซ โดยจะมีแหล่ง M 9 ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2013 ส่วนแหล่ง M 3 อยู่ติดกับอ่าวเมาะตะมะ จะเกิดขึ้นในปี 2016 ซึ่งแหล่ง M 3 นี้ จะเป็นแหล่งพลังงานก๊าซเปียก ที่มีส่วนผสมของปิโตรเคมี เป็นแหล่งแรก ซึ่งเราจะร่วมกับพม่า ทำโรงแยกก๊าซ โดยจะมีความสัมพันธ์ระยะยาวกันด้วย โดยเราได้เชิญรัฐมนตรีพลังงานของพม่า มาร่วมงานอินเตอร์เนชั่นแนลปิโตรเลียม ในวันที่ 7-9 ก.พ. 55 จากนั้นเราจะพาไปดูโรงแยกก๊าซ ที่จะนำไปทำที่ประเทศพม่าในลักษณะเดียวกันกับประเทศไทยด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าโรงแยกก๊าซที่จะเกิดขึ้นนี้ ประเทศใดเป็นผู้ลงทุน นายพิชัย กล่าวว่า คงต้องรอดูว่าการตัดสินใจของทางประเทศพม่า ซึ่งการลงทุนนั้น เราคงต้องเจรจาร่วมกัน ว่าทางพม่าจะร่วมลงทุนกับทางบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือไม่ หรือจะนำแหล่งก๊าซอื่นเพื่อมาร่วมลงทุนเราก็ยินดี
** ยันขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีแน่
นายพิชัย ยังกล่าวถึงกรณีกลุ่มธุรกิจขนส่ง มีการขัดค้านไม่ให้ขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีในวันที่ 16 ม.ค.55 ว่า เรื่องนี้ครม.ได้อนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเราก็ให้ข้อมูลกับประชาชนมาโดยตลอด ดังนั้นเราต้องมาดูว่าประเทศไทยจะเดินไปอย่างไร จะให้มาอุ้มราคาพลังงานตลอดไปนั้น คงไม่ได้ เพราะตั้งแต่ต้นปี 54 ต้นทุนของราคาก๊าซอยู่ที่ 16 บาทกว่า ซึ่งราคา 14 บาทกว่านั้น ก็ยังขาดทุนอยู่ ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเราก็ขาดทุนอยู่แล้ว ทั้งนี้ การใช้เอ็นจีวีก็มีราคาถูกว่าน้ำมันดีเซลอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ตนพร้อมที่จะพูดคุยกับทุกฝ่าย ซึ่งปัญหามันอยู่ที่ว่าผู้ประกอบการขนส่งต้องการที่จะได้กำไรมาก แต่ให้ปตท.ขาดทุน คงเป็นไปไม่ได้แน่นอน ยืนยันว่าหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ก็จะขึ้นราคาเอ็นจีวีแน่นอน
"เราอยากตามใจประชาชนอยู่แล้ว เข้ามาก็ลดราคามันน้ำเลย ในภาวะที่ต้องช่วยเหลือกัน เราก็ช่วยเหลือมาโดยตลอด แต่เวลานี้เราต้องปรับโครงสร้างของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเรื่องนี้เราได้หารือกันมาโดยตลอด และคิดว่าท่านทั้งหลายไม่ได้ลำบาก หากเอาต้นทุนมาดูแล้วอยู่ไม่ได้ ผมก็พร้อมที่จะคุยกับกระทรวงคมนาคม เพื่อให้ขึ้นราคาแน่นอน" นายพิชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางผู้ประกอบการขนส่งขอความชัดเจนก่อนสิ้นปี 54 ได้นัดหารือกันหรือไม่ นายพิชัย กล่าวว่า หากผู้ประกอบการท่านใดมีการนัดหารือ ตนก็พร้อม ยินดีที่จะพูดคุย สำหรับผู้ขับขี่รถแท็กซี่ หากมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคาโดยสาร ก็คงต้องหารือกับทางกระทรวงคมนาคม แต่ต้องหาแนวทางในราคาที่เหมาะสมกับประชาชนด้วย เพราะราคาโดยสารแท็กซี่นั้น ไม่ได้มีการปรับขึ้นตั้งแต่ปี 2551
**ระวังประโยชน์ทับซ้อนเหมือน"แม้ว"
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว ถึงกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่า เป็นผู้ประสานงานให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้พบกับนางอองซาน ซูจี ว่าใครจะพูดอะไรก็ได้ แต่ตนมีข้อสังเกตว่า นายกฯไปประชุมประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีการจัดเกือบทุกปี เพื่อให้ผู้นำไปพบปะกันปกติ และในระยะหลัง เมื่อบรรยากาศการเมืองในประเทศพม่าเริ่มคลี่คลาย การพบปะกับนางอองซาน ก็ทำกันมากขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีที่นายกฯไปพบ และสนับสนุนให้เดินหน้าในเรื่องโครงการทวาย ที่รัฐบาชุดที่แล้วได้เริ่มต้นไว้ ในการสร้างความสัมพันธ์เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยง ในช่วงต้นของรัฐบาลชุดนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนหรือไม่ เมื่อประกาศว่าจะสนับสนุนก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะตนอยากให้เดินหน้าโครงการนี้ต่อ แต่อยากให้ระมัดระวัง เพราะในอดีต มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ระหว่างไทย กับ พม่า ซึ่งสร้างปัญหาภายในของทั้งสองประเทศตามมา อย่าให้เกิดปัญหาซ้ำรอยอีก
เมื่อถามว่า การที่พ.ต.ท.ทักษิณ วางสถานะเสมือนเป็นตัวแทนรัฐบาล จะส่งผลกระทบต่อการเจรจาในนามรัฐบาลหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าไม่แน่ใจว่า พ.ต.ท.ทักษิณ พูดไปเองหรือเปล่า อย่าไปสนใจมาก นายกฯ ไปปฏิบัติภาระกิจพบกับนางอองซาน สนับสนุนโครงการทวาย ตนก็สนับสนุนทั้งหมด แต่อย่าให้มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งนายกฯ ก็ยืนยันว่า สามารถดำเนินการทุกอย่างด้วยตัวเอง โดยการที่สื่อพม่ามีการเขียนบทบาท แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน ก็แสดงให้เห้นว่าปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ในใจของประเทศเพื่อนบ้าน หลายประเทศ ซึ่งรัฐบาลต้องระมัดระวังในเรื่องนี้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ในวันนี้จะมีการตั้งกระทู้สด กรณีการปรับราคาก๊าซแอลพีจี และเอ็นจีวี ที่จะเริ่มในเดือนมกราคม ซึ่งพรรคเห็นว่าไม่เหมาะสมเพราะ เป็นการซ้ำเติมและเพิ่มภาระให้ประชาชน
ส่วนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่องประชาธิปไตย กับนางอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรคเอ็นแอลดี นั้น ต้องถือว่านางอองซาน เป็นผู้มีอุดมการณ์ต่อสู้ทางด้านประชาธิปไตย ซึ่งเราได้พูดจาแลกเปลี่ยนกัน โดยหลักของนางอองซาน ที่ตัดสินใจลงเลือกตั้งครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความปรองดอง ซึ่งตรงนี้นโยบายหรืออุดมการณ์ของ พรรคเอ็นแอลดี คือ ประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ดังนั้นจึงอยากเห็นความสัมพันธ์ระหว่างไทย และพม่า เป็นไปในทางที่ดี ทั้งระดับรัฐบาล และประชาชน เพราะเราต่างเป็นประชาธิปไตย ที่ดูแลห่วงใยความทุกข์สุขของประชาชน เป็นเรื่องใหญ่
เมื่อถามว่าการที่รัฐบาลพม่าเปิดกว้างให้พบกับ นางอองซาน ซูจี คิดว่าเขามีวัตถุประสงค์อะไร นายกฯ กล่าวว่า จริงๆ แล้วทางพม่ามีการพัฒนาไปเยอะ ในการเปิดประตูสู่ความเป็นประชาธิปไตย และจะเปิดให้มีการเลือกตั้งเร็วๆนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดีสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน ที่มาพูดคุยกันเรื่องประชาธิปไตย และผลประโยชน์ความทุกข์สุขของประชาชนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า ไทยยังยึดหลักการเดิม ที่จะสนับสนุนให้เกิดการปรองดองในพม่าใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ใช่ จริงๆ แล้วนางอองซาน คงอยากเห็นอย่างนั้น และในส่วนของรัฐบาลเอง ก็เช่นกัน วันนี้การยอมรับประชาธิปไตยที่เป็นการยอมรับเสียงประชาชนเป็นสิ่งที่นานาประเทศให้การยอมรับในหลักสากล ซึ่งเชื่อว่าทุกประเทศในเอเชีย คงจะหันเดินหน้าไปในรูปแบบนี้
เมื่อถามว่า คิดว่าพม่า จะเปิดกว้างเต็มที่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของทางรัฐบาล แต่โดยเจตนารมณ์เห็นว่า มีเจตนารมณ์ที่ดี ซึ่งเราต้องดูกันต่อไป
**ยันไม่ใช่ตรายางของ"ทักษิณ"
เมื่อถามว่า รู้สึกอย่างไรที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า การที่นายกฯได้พบกับนางอองซาน เป็นเพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ได้คุยปูทางไว้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวปฏิเสธว่า จริงๆ เป็นเรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางไปของท่าน และเราไม่ได้พูดคุยกันในเรื่องนี้ ทุกอย่างที่ตนดำเนินการไป ผ่านภายใต้ของรัฐบาลเอง โดยกระทรวงการต่างประเทศ การทำงานทุกอย่างอยู่ในขั้นตอนของรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีคำถามเกิดขึ้นว่า เวลานายกฯ จะเดินทางไปประเทศไหน พ.ต.ท.ทักษิณ มักจะเดินทางไปก่อน ตรงนี้ตั้งข้อสังเกตว่า มีการเจรจาอะไรเอาไว้ล่วงหน้าหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวปฏิเสธว่า ไม่มี และไม่มีประเด็นอะไรที่เกี่ยวกัน
เมื่อถามว่า การที่ฝ่ายค้านออกมาวิจารณ์ จะส่งผลกระทบอะไรต่อรัฐบาลหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า จริงๆ แล้วข้อเท็จจริงทุกท่านก็เห็น ที่เราดำเนินการเจรจาต่างๆ ต้องมีขั้นตอน ในการทำงานของทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และต้องได้รับความเห็นชอบจากครม. ก่อนที่จะไปเจรจา ดังนั้นไม่มี ทุกอย่างทำอยู่ภายใต้เมืองไทย และภายใต้รัฐบาลนี้
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาให้สัมภาษณ์อย่างนี้ คิดว่าจะส่งผลกระทบอะไรกับรัฐบาลหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่มี ต้องบอกว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดี เราไม่ควรปิดกั้น แต่การตัดสินใจการทำงานทุกอย่าง เป็นไปตามขั้นตอนของรัฐบาล ที่ดำเนินการเองทั้งหมด
เมื่อถามว่า ยืนยันหรือไม่ว่าไม่มีผลประโยชน์ทางด้านพลังงานให้กับพวกพ้องตัวเอง นายกฯ รีบกล่าวว่า ไม่มี ยืนยันได้ ตนไปในนามของรัฐบาล ไม่เคยไปเจรจาในเรื่องส่วนตัวเลย เมื่อถามว่า บทบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับรัฐบาล บอกได้หรือไม่ เป็นอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ท่านก็ไปของท่าน รัฐบาลก็ทำงานของรัฐบาลไป ไม่เกี่ยวกัน
**มีแผนร่วมลงทุนโรงแยกก๊าซ
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน กล่าวถึงการเดินทางเยือนประเทศพม่ากับคณะของนายกรัฐมนตรี ว่า ตนพร้อมด้วยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ได้หารือกับ รัฐมนตรีต่างประเทศ และนาย ยู ทัน เต รัฐมนตรีพลังงาน ของประเทศพม่า ซึ่งการเจรจาในครั้งนี้ เราได้แหล่งพลังงานบนภาคพื้นดิน จากประเทศพม่าเพิ่มอีก 2 แหล่ง ใกล้กรุงเนปิดอว์ ซึ่งจะมีทั้งน้ำมัน และก๊าซ โดยจะมีแหล่ง M 9 ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2013 ส่วนแหล่ง M 3 อยู่ติดกับอ่าวเมาะตะมะ จะเกิดขึ้นในปี 2016 ซึ่งแหล่ง M 3 นี้ จะเป็นแหล่งพลังงานก๊าซเปียก ที่มีส่วนผสมของปิโตรเคมี เป็นแหล่งแรก ซึ่งเราจะร่วมกับพม่า ทำโรงแยกก๊าซ โดยจะมีความสัมพันธ์ระยะยาวกันด้วย โดยเราได้เชิญรัฐมนตรีพลังงานของพม่า มาร่วมงานอินเตอร์เนชั่นแนลปิโตรเลียม ในวันที่ 7-9 ก.พ. 55 จากนั้นเราจะพาไปดูโรงแยกก๊าซ ที่จะนำไปทำที่ประเทศพม่าในลักษณะเดียวกันกับประเทศไทยด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าโรงแยกก๊าซที่จะเกิดขึ้นนี้ ประเทศใดเป็นผู้ลงทุน นายพิชัย กล่าวว่า คงต้องรอดูว่าการตัดสินใจของทางประเทศพม่า ซึ่งการลงทุนนั้น เราคงต้องเจรจาร่วมกัน ว่าทางพม่าจะร่วมลงทุนกับทางบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือไม่ หรือจะนำแหล่งก๊าซอื่นเพื่อมาร่วมลงทุนเราก็ยินดี
** ยันขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีแน่
นายพิชัย ยังกล่าวถึงกรณีกลุ่มธุรกิจขนส่ง มีการขัดค้านไม่ให้ขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีในวันที่ 16 ม.ค.55 ว่า เรื่องนี้ครม.ได้อนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเราก็ให้ข้อมูลกับประชาชนมาโดยตลอด ดังนั้นเราต้องมาดูว่าประเทศไทยจะเดินไปอย่างไร จะให้มาอุ้มราคาพลังงานตลอดไปนั้น คงไม่ได้ เพราะตั้งแต่ต้นปี 54 ต้นทุนของราคาก๊าซอยู่ที่ 16 บาทกว่า ซึ่งราคา 14 บาทกว่านั้น ก็ยังขาดทุนอยู่ ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเราก็ขาดทุนอยู่แล้ว ทั้งนี้ การใช้เอ็นจีวีก็มีราคาถูกว่าน้ำมันดีเซลอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ตนพร้อมที่จะพูดคุยกับทุกฝ่าย ซึ่งปัญหามันอยู่ที่ว่าผู้ประกอบการขนส่งต้องการที่จะได้กำไรมาก แต่ให้ปตท.ขาดทุน คงเป็นไปไม่ได้แน่นอน ยืนยันว่าหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ก็จะขึ้นราคาเอ็นจีวีแน่นอน
"เราอยากตามใจประชาชนอยู่แล้ว เข้ามาก็ลดราคามันน้ำเลย ในภาวะที่ต้องช่วยเหลือกัน เราก็ช่วยเหลือมาโดยตลอด แต่เวลานี้เราต้องปรับโครงสร้างของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเรื่องนี้เราได้หารือกันมาโดยตลอด และคิดว่าท่านทั้งหลายไม่ได้ลำบาก หากเอาต้นทุนมาดูแล้วอยู่ไม่ได้ ผมก็พร้อมที่จะคุยกับกระทรวงคมนาคม เพื่อให้ขึ้นราคาแน่นอน" นายพิชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางผู้ประกอบการขนส่งขอความชัดเจนก่อนสิ้นปี 54 ได้นัดหารือกันหรือไม่ นายพิชัย กล่าวว่า หากผู้ประกอบการท่านใดมีการนัดหารือ ตนก็พร้อม ยินดีที่จะพูดคุย สำหรับผู้ขับขี่รถแท็กซี่ หากมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคาโดยสาร ก็คงต้องหารือกับทางกระทรวงคมนาคม แต่ต้องหาแนวทางในราคาที่เหมาะสมกับประชาชนด้วย เพราะราคาโดยสารแท็กซี่นั้น ไม่ได้มีการปรับขึ้นตั้งแต่ปี 2551
**ระวังประโยชน์ทับซ้อนเหมือน"แม้ว"
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว ถึงกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่า เป็นผู้ประสานงานให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้พบกับนางอองซาน ซูจี ว่าใครจะพูดอะไรก็ได้ แต่ตนมีข้อสังเกตว่า นายกฯไปประชุมประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีการจัดเกือบทุกปี เพื่อให้ผู้นำไปพบปะกันปกติ และในระยะหลัง เมื่อบรรยากาศการเมืองในประเทศพม่าเริ่มคลี่คลาย การพบปะกับนางอองซาน ก็ทำกันมากขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีที่นายกฯไปพบ และสนับสนุนให้เดินหน้าในเรื่องโครงการทวาย ที่รัฐบาชุดที่แล้วได้เริ่มต้นไว้ ในการสร้างความสัมพันธ์เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยง ในช่วงต้นของรัฐบาลชุดนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนหรือไม่ เมื่อประกาศว่าจะสนับสนุนก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะตนอยากให้เดินหน้าโครงการนี้ต่อ แต่อยากให้ระมัดระวัง เพราะในอดีต มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ระหว่างไทย กับ พม่า ซึ่งสร้างปัญหาภายในของทั้งสองประเทศตามมา อย่าให้เกิดปัญหาซ้ำรอยอีก
เมื่อถามว่า การที่พ.ต.ท.ทักษิณ วางสถานะเสมือนเป็นตัวแทนรัฐบาล จะส่งผลกระทบต่อการเจรจาในนามรัฐบาลหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าไม่แน่ใจว่า พ.ต.ท.ทักษิณ พูดไปเองหรือเปล่า อย่าไปสนใจมาก นายกฯ ไปปฏิบัติภาระกิจพบกับนางอองซาน สนับสนุนโครงการทวาย ตนก็สนับสนุนทั้งหมด แต่อย่าให้มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งนายกฯ ก็ยืนยันว่า สามารถดำเนินการทุกอย่างด้วยตัวเอง โดยการที่สื่อพม่ามีการเขียนบทบาท แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน ก็แสดงให้เห้นว่าปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ในใจของประเทศเพื่อนบ้าน หลายประเทศ ซึ่งรัฐบาลต้องระมัดระวังในเรื่องนี้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ในวันนี้จะมีการตั้งกระทู้สด กรณีการปรับราคาก๊าซแอลพีจี และเอ็นจีวี ที่จะเริ่มในเดือนมกราคม ซึ่งพรรคเห็นว่าไม่เหมาะสมเพราะ เป็นการซ้ำเติมและเพิ่มภาระให้ประชาชน