นายกสมาคมขนส่งสินค้าอีสาน โผล่ทำเนียบ ขอชะลอขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี ไปอีก 1 ปี ขู่ยังเฉยลากรถเมล์ แท็กซี่ ประท้วงแน่ 9 ก.พ.นี้ โวยโดน ปตท.หลอกมาตลอด เตือน “ยิ่งลักษณ์” ถ้าหยุดกิจการจะเกิดอะไรขึ้น แนะปลด “พิชัย” พ้นพลังงาน
เวลา14.30 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายขวัญชัย ติยะวานิช นายกสมาคมขนส่งสินค้าภาคอีสานและบรรดาตัวแทนผู้ประกอบการขนส่งด้านต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เข้าพบ นายสุชน ชาลีเครือ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีออกไปอีกหนึ่งปี และทบทวนเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายขวัญชัย เปิดเผยหลังการประชุมว่า ปตท.จะปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีในช่วงวันที่ 16 ม.ค.โดยจะทยอยขึ้นราคาไปถึง 6 บาท ในช่วงปลายปีนี้ โดยเป็นมติ ครม.ไปแล้วนั้น มันกระทบกับผู้ประกอบการขนส่งทุกด้าน เพราะเอ็นจีวีราคาเดิมนั้น 8.50 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อจะปรับขึ้น 6 บาท เป็น 14.50 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เท่ากับว่า ขึ้นราคาใหม่ร้อยละ 70 ส่วนแก๊สแอลพีจีนั้น เดิมราคา 11.50 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อปรับขึ้น 4.80 บาท เป็น 16.30 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เท่ากับแก๊สแอลพีจีปรับขึ้นร้อยละ 42 ก่อนหน้านี้ พวกตนไปพบนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน แล้ว และหารือตลอดเวลา แต่ช่วงปรับขึ้นราคาก็ไม่มีการพูดคุยกับพวกตนและมีมติ ครม.ออกมาแบบนี้ พวกตนได้รับผลกระทบอย่างยิ่ง และเคยเสนอให้ทบทวนมติ ครม.ดังกล่าวไปแล้ว และไม่ได้รับการสนองตอบ หากว่ารัฐบาลยังไม่พิจารณาเรื่องนี้ วันที่ 9 ก.พ.พวกตนจะชุมนุมประท้วงที่ด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล และ ปตท.สำนักงานใหญ่ โดยจะระดมรถพ่วง ขสมก.รถบัส แท็กซี่
นายขวัญชัย กล่าวต่อว่า อยู่ดีๆ รัฐบาลก็ขึ้นราคาโดยอ้างเหตุผลต่างๆ และไม่ฟังพวกตนเลย แม้แต่รัฐบาลชุดที่แล้ว ยังไม่กล้าขึ้นราคา ตัวอย่างในอดีต คือ รัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ขึ้นราคาน้ำมันลิตรละ 1 บาท ก็ยังอยู่ไม่ได้ และพลเอก เกรียงศักดิ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ พวกตนเป็นเอกชน และไม่อยากทำสิ่งรุนแรง เมื่อรัฐบาลนี้เข้ามาก็ปรับราคาขึ้นแบบไม่ฟังเหตุผลพวกตน ทั้งๆ ที่พวกตนโดน ปตท.หลอกมาโดยตลอด ว่า ให้เปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้เอ็นจีวี และต้องกู้เงินจาก ปตท.ไม่อย่างนั้นจะไม่มีก๊าซเติม 3 ปีที่ผ่านมา พวกตนลำบาก ก๊าซมีบ้างไม่มีบ้าง ก็ไม่เคยบ่น เข้าแถวต่อคิวยาวมาก ทราบว่า ขสมก.อยากกลับไปใช้น้ำมันก็กลับไปไม่ได้ และตัวอย่างล่าสุดช่วงน้ำท่วมนั้น ปตท.ไม่ส่งก๊าซมาให้ พวกตนก็ออกวิ่งไม่ได้ ทั้งๆ ที่อยากออกมาวิ่งแล้ว จู่ๆ ก็ขึ้นราคาแบบนี้ มันรับไม่ได้
นายขวัญชัย กล่าวต่ออีกว่า ส่วน ปตท.ที่ผูกขาดเรื่องนี้นั้น ขอถามว่า มีการฉ้อฉลกันจริงหรือไม่ ขอให้ไปตรวจสอบกันด้วย เพราะทราบมาว่า ปตท.ระบุว่า ปีนี้ขาดทุนจากก๊าซเอ็นจีวี แต่ความจริง ปตท.ได้กำไรเพิ่มจากสินค้าตัวนี้ หาก นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นิ่งเฉยกับข้อเรียกร้องของพวกตนต่อไปนั้น หากพวกตนหยุดกิจการลองคิดดูว่าประเทศจะเป็นเช่นใด
ส่วน นายสุพล สายเชื้อ เลขาธิการสหพันธ์การขนส่งแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเตรียมชุมนุมในวันดังกล่าว พวกตนจะนำรถมาจอดในบางพื้นที่ จึงขอแจ้งให้สังคมทราบล่วงหน้า เหตุผล คือ พวกตนประสบปัญหาการขาดแคลนก๊าซเอ็นจีวีมา 3 ปีแล้ว และต้องเข้าคิวยาวบนถนน จนประชาชนเดือดร้อน และ ปตท.นำสารซีโอทูเติมลงในก๊าซเอ็นจีวี โดยมาตรฐานทั่วโลกให้ใส่ได้ไม่เกินร้อยละ 3 แต่ ปตท.กลับใส่ไปร้อยละ 18 จนทำให้ถึงก๊าซขึ้นสนิม และจะระเบิดได้ง่าย 2 ปัญหาเหล่านี้มันหนักหนามาก เมื่อประกาศขึ้นราคากันแบบนี้ พวกตนรับไม่ได้ ปตท.อ้างว่า การขึ้นราคาครั้งนี้ได้รับข้อมูลจากสถาบันปิโตรเลียมที่ยืนยันกับรัฐบาลในการปรับขึ้นราคาครั้งนี้ มันไม่ใช่ความจริง ตนทราบมาว่า สถาบันนี้รับข้อมูลดังกล่าวมาจาก ปตท.มันไม่สะท้อนความเป็นจริง และช่วงการปรับขึ้นราคาก็ไม่เคยหารือกับพวกตน รมว.พลังงาน ก็เสนอขึ้นราคาโดยไม่คุยกับพวกตนแม้แต่ครั้งเดียว
นายสุพล กล่าวว่า หากมองลึกๆ ถึงโครงสร้างก๊าซเอ็นจีวีที่ใช้ในตอนนี้ ร้อยละ 70 ใช้กับการผลิตไฟฟ้า ร้อยละ 10 ใช้ในอุตสาหกรรม ร้อยละ 4 ใช้กับกิจการของพวกตน ทำไมรัฐบาลไม่ช่วยพวกตน เพราะพวกตนให้บริการประชาชน หากจะชดเชยก็ไม่กี่พันล้านบาท แต่มันคุ้มค่า หากจำเป็นจ้องขึ้นราคาตามต้นทุนที่สมเหตุผล พวกตนรับได้แต่การขึ้นราคาครั้งนี้มันไม่ใช่เลย พวกตนอดทนแล้วหากไม่มีถึงจุดจริงๆ ก็จะไม่ออกมาเรียกร้องแบบนี้ เหตุที่ต้องมาเพราะรับไม่ได้จริง
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมบางคนเสนอให้นายกฯ ปลด นายพิชัย ออกจากตำแหน่ง รมว.พลังงานด้วย เพราะพิจารณาแล้ว นายพิชัย ทำงานไม่รู้เรื่อง และน่าจะเตรียมการขึ้นราคามาล่วงหน้าแล้ว และไม่ฟังความเห็นของฝ่ายต่างๆ เลย
ด้าน นายสุชน กล่าวว่า รัฐบาลรับข้อเสนอในวันนี้ทั้งหมด และเย็นวันนี้ หรือช้าที่สุด คือ เช้าวันพรุ่งนี้ ตนจะนำเรื่องนี้แจ้งกับนายกฯรับทราบ โดยนายกฯน่าจะหารือกับ รมว.พาณิชย์ และฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยจะนัดหมายกับพวกตนให้มาพบกันก่อนวันที่ 9 ก.พ.ตนขอร้องว่า อย่าเพิ่งชุมนุมเดี๋ยวจะโกลาหล และหากไม่ทบทวนเรื่องนี้ก็อาจเกิดปัญหาตามมามากมาย
เวลา14.30 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายขวัญชัย ติยะวานิช นายกสมาคมขนส่งสินค้าภาคอีสานและบรรดาตัวแทนผู้ประกอบการขนส่งด้านต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เข้าพบ นายสุชน ชาลีเครือ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีออกไปอีกหนึ่งปี และทบทวนเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายขวัญชัย เปิดเผยหลังการประชุมว่า ปตท.จะปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีในช่วงวันที่ 16 ม.ค.โดยจะทยอยขึ้นราคาไปถึง 6 บาท ในช่วงปลายปีนี้ โดยเป็นมติ ครม.ไปแล้วนั้น มันกระทบกับผู้ประกอบการขนส่งทุกด้าน เพราะเอ็นจีวีราคาเดิมนั้น 8.50 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อจะปรับขึ้น 6 บาท เป็น 14.50 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เท่ากับว่า ขึ้นราคาใหม่ร้อยละ 70 ส่วนแก๊สแอลพีจีนั้น เดิมราคา 11.50 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อปรับขึ้น 4.80 บาท เป็น 16.30 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เท่ากับแก๊สแอลพีจีปรับขึ้นร้อยละ 42 ก่อนหน้านี้ พวกตนไปพบนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน แล้ว และหารือตลอดเวลา แต่ช่วงปรับขึ้นราคาก็ไม่มีการพูดคุยกับพวกตนและมีมติ ครม.ออกมาแบบนี้ พวกตนได้รับผลกระทบอย่างยิ่ง และเคยเสนอให้ทบทวนมติ ครม.ดังกล่าวไปแล้ว และไม่ได้รับการสนองตอบ หากว่ารัฐบาลยังไม่พิจารณาเรื่องนี้ วันที่ 9 ก.พ.พวกตนจะชุมนุมประท้วงที่ด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล และ ปตท.สำนักงานใหญ่ โดยจะระดมรถพ่วง ขสมก.รถบัส แท็กซี่
นายขวัญชัย กล่าวต่อว่า อยู่ดีๆ รัฐบาลก็ขึ้นราคาโดยอ้างเหตุผลต่างๆ และไม่ฟังพวกตนเลย แม้แต่รัฐบาลชุดที่แล้ว ยังไม่กล้าขึ้นราคา ตัวอย่างในอดีต คือ รัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ขึ้นราคาน้ำมันลิตรละ 1 บาท ก็ยังอยู่ไม่ได้ และพลเอก เกรียงศักดิ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ พวกตนเป็นเอกชน และไม่อยากทำสิ่งรุนแรง เมื่อรัฐบาลนี้เข้ามาก็ปรับราคาขึ้นแบบไม่ฟังเหตุผลพวกตน ทั้งๆ ที่พวกตนโดน ปตท.หลอกมาโดยตลอด ว่า ให้เปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้เอ็นจีวี และต้องกู้เงินจาก ปตท.ไม่อย่างนั้นจะไม่มีก๊าซเติม 3 ปีที่ผ่านมา พวกตนลำบาก ก๊าซมีบ้างไม่มีบ้าง ก็ไม่เคยบ่น เข้าแถวต่อคิวยาวมาก ทราบว่า ขสมก.อยากกลับไปใช้น้ำมันก็กลับไปไม่ได้ และตัวอย่างล่าสุดช่วงน้ำท่วมนั้น ปตท.ไม่ส่งก๊าซมาให้ พวกตนก็ออกวิ่งไม่ได้ ทั้งๆ ที่อยากออกมาวิ่งแล้ว จู่ๆ ก็ขึ้นราคาแบบนี้ มันรับไม่ได้
นายขวัญชัย กล่าวต่ออีกว่า ส่วน ปตท.ที่ผูกขาดเรื่องนี้นั้น ขอถามว่า มีการฉ้อฉลกันจริงหรือไม่ ขอให้ไปตรวจสอบกันด้วย เพราะทราบมาว่า ปตท.ระบุว่า ปีนี้ขาดทุนจากก๊าซเอ็นจีวี แต่ความจริง ปตท.ได้กำไรเพิ่มจากสินค้าตัวนี้ หาก นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นิ่งเฉยกับข้อเรียกร้องของพวกตนต่อไปนั้น หากพวกตนหยุดกิจการลองคิดดูว่าประเทศจะเป็นเช่นใด
ส่วน นายสุพล สายเชื้อ เลขาธิการสหพันธ์การขนส่งแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเตรียมชุมนุมในวันดังกล่าว พวกตนจะนำรถมาจอดในบางพื้นที่ จึงขอแจ้งให้สังคมทราบล่วงหน้า เหตุผล คือ พวกตนประสบปัญหาการขาดแคลนก๊าซเอ็นจีวีมา 3 ปีแล้ว และต้องเข้าคิวยาวบนถนน จนประชาชนเดือดร้อน และ ปตท.นำสารซีโอทูเติมลงในก๊าซเอ็นจีวี โดยมาตรฐานทั่วโลกให้ใส่ได้ไม่เกินร้อยละ 3 แต่ ปตท.กลับใส่ไปร้อยละ 18 จนทำให้ถึงก๊าซขึ้นสนิม และจะระเบิดได้ง่าย 2 ปัญหาเหล่านี้มันหนักหนามาก เมื่อประกาศขึ้นราคากันแบบนี้ พวกตนรับไม่ได้ ปตท.อ้างว่า การขึ้นราคาครั้งนี้ได้รับข้อมูลจากสถาบันปิโตรเลียมที่ยืนยันกับรัฐบาลในการปรับขึ้นราคาครั้งนี้ มันไม่ใช่ความจริง ตนทราบมาว่า สถาบันนี้รับข้อมูลดังกล่าวมาจาก ปตท.มันไม่สะท้อนความเป็นจริง และช่วงการปรับขึ้นราคาก็ไม่เคยหารือกับพวกตน รมว.พลังงาน ก็เสนอขึ้นราคาโดยไม่คุยกับพวกตนแม้แต่ครั้งเดียว
นายสุพล กล่าวว่า หากมองลึกๆ ถึงโครงสร้างก๊าซเอ็นจีวีที่ใช้ในตอนนี้ ร้อยละ 70 ใช้กับการผลิตไฟฟ้า ร้อยละ 10 ใช้ในอุตสาหกรรม ร้อยละ 4 ใช้กับกิจการของพวกตน ทำไมรัฐบาลไม่ช่วยพวกตน เพราะพวกตนให้บริการประชาชน หากจะชดเชยก็ไม่กี่พันล้านบาท แต่มันคุ้มค่า หากจำเป็นจ้องขึ้นราคาตามต้นทุนที่สมเหตุผล พวกตนรับได้แต่การขึ้นราคาครั้งนี้มันไม่ใช่เลย พวกตนอดทนแล้วหากไม่มีถึงจุดจริงๆ ก็จะไม่ออกมาเรียกร้องแบบนี้ เหตุที่ต้องมาเพราะรับไม่ได้จริง
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมบางคนเสนอให้นายกฯ ปลด นายพิชัย ออกจากตำแหน่ง รมว.พลังงานด้วย เพราะพิจารณาแล้ว นายพิชัย ทำงานไม่รู้เรื่อง และน่าจะเตรียมการขึ้นราคามาล่วงหน้าแล้ว และไม่ฟังความเห็นของฝ่ายต่างๆ เลย
ด้าน นายสุชน กล่าวว่า รัฐบาลรับข้อเสนอในวันนี้ทั้งหมด และเย็นวันนี้ หรือช้าที่สุด คือ เช้าวันพรุ่งนี้ ตนจะนำเรื่องนี้แจ้งกับนายกฯรับทราบ โดยนายกฯน่าจะหารือกับ รมว.พาณิชย์ และฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยจะนัดหมายกับพวกตนให้มาพบกันก่อนวันที่ 9 ก.พ.ตนขอร้องว่า อย่าเพิ่งชุมนุมเดี๋ยวจะโกลาหล และหากไม่ทบทวนเรื่องนี้ก็อาจเกิดปัญหาตามมามากมาย