“แท็กซี่”ขู่ไม่เข้าร่วมโครงการบัตรเครดิตเอ็นจีวี หากไม่ปรับเงื่อนไขบัตรเครดิตพลังงาน ทั้งเงื่อนไขที่ใช้ 2 บัตรร่วมกันและเพิ่มวงเงินช่วยเหลือเป็น 9,000 บาทต่อเดือน เตรียมถกสมาชิก พร้อมกำหนดท่าทียื่น”พิชัย”ค้านนโยบายทยอยปรับราคาเอ็นจีวีนำร่อง 16 ม.ค. 2555 นี้ 50สต./กก.
นายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานกรรมการสหกรณ์แท็กซี่สยาม เปิดเผยว่า กรณีที่กระทรวงพลังงานร่วมกับบมจ.ปตท.และบมจ.ธนาคารกรุงไทย เปิดตัวบัตรเครดิตพลังงานเอ็นจีวีเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับรถยนต์สาธารณะทั้งแท็กซี่ สามล้อ รถตู้ร่วมขสมก.โดยให้วงเงินบัตรเครดิตเพื่อชำระค่าก๊าซฯแทนเงินสด 3,000 บาทต่อใบนั้น วงเงินบัตรเครดิตรัฐกำหนดให้ใช้ได้ไม่เกิน 6,000 บาทต่อเดือนถือว่าน้อยเกินไปควรกำหนดเป็น 9,000บาทต่อเดือน เพราะการใช้ส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ 300-400 บาทต่อกะหรือราว 10,000 บาทต่อเดือน ดังนั้นหากไม่ปรับเงื่อนไขเชื่อว่า จะมีผู้เข้าร่วมในกลุ่มผู้ขับแท็กซี่ไม่ถึง 10,000 คน จากจำนวนผู้ขับแท็กซี่ทั้งหมด 130,000 คน
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรายละเอียดของการใช้บัตรจะพบว่า กระทรวงพลังงานกำหนดการใช้บัตรเครดิตพลังงานจะต้องใช้บัตร 2 ใบควบคู่กันทุกครั้ง ใบแรกเป็นบัตรเติมก๊าซถือเป็นบัตรประจำรถ เพื่อใช้แสดงสิทธิของรถที่เข้าร่วมโครงการ และใบที่สองบัตรเครดิตพลังงานซึ่งเป็นประจำตัวบุคคล แสดงเพื่อใช้ชำระค่าก๊าซแบบเครดิตแทนเงินสดซึ่งกรณีนี้ต้องทำความเข้าใจว่ากระทรวงกำหนดให้รถแท็กซี่กับผู้ขับจับคู่กันเพื่อเติมก๊าซ ดังนั้นหากผู้
ขับขี่แท็กซี่จะขับรถตามที่เจ้าของอู่กำหนด คือ เวียนผู้ขับไปตามรถที่ว่าง แต่ไม่เจอรถที่จับคู่ไว้ก็จะไม่สามารถใช้สิทธิส่วนลดดังกล่าวได้
"ปัจจุบันจำนวนผู้ขับขี่แท็กซี่ที่มีใบขับขี่รถสาธารณะมีไม่ถึง 40% จากผู้ขับขี่ทั้งหมดประมาณ 130,000 คน ดังนั้นผู้ขับที่เหลือก็เข้าร่วมโครงการไม่ได้ เพราะการทำใบขับขี่สาธารณะต้องใช้เวลา 2-3 เดือน โดยผู้ขอต้องกลับบ้านที่แจ้งในทะเบียนบ้านเพื่อทำตามขั้นตอนที่กำหนดของการทำบัตร เมื่อขั้นตอนยุ่งยากผู้ขับขี่จึงใช้ใบขับขี่รถส่วนบุคคล หรือ ใบขับขี่ขนส่งแทนซึ่งการใช้ใบขับขี่ดังกล่าวได้รับการอนุโลมจากตำรวจ"นายวิฑูรย์กล่าว
นอกจากนี้กระทรวงพลังงานไม่สามารถตอบคำถามผู้ขับแท็กซี่ได้ว่าปี 2556 จะปรับราคาก๊าซเอ็นจีวีอีกหรือไม่และเท่าไร เพราะปี 2555 กระทรวงพลังงานจะทะยอยปรับราคาเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม รวม1ปี คือ 6 บาท ผู้ขับแท็กซี่จึงกลัวว่าปี 2556 อาจปรับมากกว่านี้ซึ่งถือเป็นภาระที่ไม่สามารถรับได้
นายวิฑูรย์กล่าวว่า ใร็วๆ นี้ ตัวแทนผู้ขับขี่แท็กซี่ทั้งหมดจะหารือร่วมกันเพื่อกำหนดท่าทีต่อรัฐบาลที่กำหนดนโยบายในการปรับขึ้นราคาเอ็นจีวีวันที่ 16 มกราคม 2555 เนื่องจากไม่เห็นด้วยในการปรับขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันเพราะภาคธุรกิจยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาน้ำท่วม ส่งผลต่อการใช้จ่ายของประชาชนและจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศที่ลดลง รวมทั้งจะเสนอให้ปรับเงื่อนไขบัตรเครดิตพลังงาน และนำเรื่องยื่นต่อนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานให้ทบทวน
นายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานกรรมการสหกรณ์แท็กซี่สยาม เปิดเผยว่า กรณีที่กระทรวงพลังงานร่วมกับบมจ.ปตท.และบมจ.ธนาคารกรุงไทย เปิดตัวบัตรเครดิตพลังงานเอ็นจีวีเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับรถยนต์สาธารณะทั้งแท็กซี่ สามล้อ รถตู้ร่วมขสมก.โดยให้วงเงินบัตรเครดิตเพื่อชำระค่าก๊าซฯแทนเงินสด 3,000 บาทต่อใบนั้น วงเงินบัตรเครดิตรัฐกำหนดให้ใช้ได้ไม่เกิน 6,000 บาทต่อเดือนถือว่าน้อยเกินไปควรกำหนดเป็น 9,000บาทต่อเดือน เพราะการใช้ส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ 300-400 บาทต่อกะหรือราว 10,000 บาทต่อเดือน ดังนั้นหากไม่ปรับเงื่อนไขเชื่อว่า จะมีผู้เข้าร่วมในกลุ่มผู้ขับแท็กซี่ไม่ถึง 10,000 คน จากจำนวนผู้ขับแท็กซี่ทั้งหมด 130,000 คน
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรายละเอียดของการใช้บัตรจะพบว่า กระทรวงพลังงานกำหนดการใช้บัตรเครดิตพลังงานจะต้องใช้บัตร 2 ใบควบคู่กันทุกครั้ง ใบแรกเป็นบัตรเติมก๊าซถือเป็นบัตรประจำรถ เพื่อใช้แสดงสิทธิของรถที่เข้าร่วมโครงการ และใบที่สองบัตรเครดิตพลังงานซึ่งเป็นประจำตัวบุคคล แสดงเพื่อใช้ชำระค่าก๊าซแบบเครดิตแทนเงินสดซึ่งกรณีนี้ต้องทำความเข้าใจว่ากระทรวงกำหนดให้รถแท็กซี่กับผู้ขับจับคู่กันเพื่อเติมก๊าซ ดังนั้นหากผู้
ขับขี่แท็กซี่จะขับรถตามที่เจ้าของอู่กำหนด คือ เวียนผู้ขับไปตามรถที่ว่าง แต่ไม่เจอรถที่จับคู่ไว้ก็จะไม่สามารถใช้สิทธิส่วนลดดังกล่าวได้
"ปัจจุบันจำนวนผู้ขับขี่แท็กซี่ที่มีใบขับขี่รถสาธารณะมีไม่ถึง 40% จากผู้ขับขี่ทั้งหมดประมาณ 130,000 คน ดังนั้นผู้ขับที่เหลือก็เข้าร่วมโครงการไม่ได้ เพราะการทำใบขับขี่สาธารณะต้องใช้เวลา 2-3 เดือน โดยผู้ขอต้องกลับบ้านที่แจ้งในทะเบียนบ้านเพื่อทำตามขั้นตอนที่กำหนดของการทำบัตร เมื่อขั้นตอนยุ่งยากผู้ขับขี่จึงใช้ใบขับขี่รถส่วนบุคคล หรือ ใบขับขี่ขนส่งแทนซึ่งการใช้ใบขับขี่ดังกล่าวได้รับการอนุโลมจากตำรวจ"นายวิฑูรย์กล่าว
นอกจากนี้กระทรวงพลังงานไม่สามารถตอบคำถามผู้ขับแท็กซี่ได้ว่าปี 2556 จะปรับราคาก๊าซเอ็นจีวีอีกหรือไม่และเท่าไร เพราะปี 2555 กระทรวงพลังงานจะทะยอยปรับราคาเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม รวม1ปี คือ 6 บาท ผู้ขับแท็กซี่จึงกลัวว่าปี 2556 อาจปรับมากกว่านี้ซึ่งถือเป็นภาระที่ไม่สามารถรับได้
นายวิฑูรย์กล่าวว่า ใร็วๆ นี้ ตัวแทนผู้ขับขี่แท็กซี่ทั้งหมดจะหารือร่วมกันเพื่อกำหนดท่าทีต่อรัฐบาลที่กำหนดนโยบายในการปรับขึ้นราคาเอ็นจีวีวันที่ 16 มกราคม 2555 เนื่องจากไม่เห็นด้วยในการปรับขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันเพราะภาคธุรกิจยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาน้ำท่วม ส่งผลต่อการใช้จ่ายของประชาชนและจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศที่ลดลง รวมทั้งจะเสนอให้ปรับเงื่อนไขบัตรเครดิตพลังงาน และนำเรื่องยื่นต่อนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานให้ทบทวน