**ปีเก่าผ่านพ้นไป ปีใหม่ผ่านเข้ามา แต่ประเด็นการเมืองบางเรื่องทอดยาวต่อเนื่องข้ามปีมาด้วยความร้อนระอุ โดยเฉพาะเรื่องการ “แก้ไขรัฐธรรมนูญ”
ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ยืนกรานแก้แหลก ไม่สนอะไรทั้งสิ้น อ้างว่าเพราะเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลชุดนี้ที่หาเสียงไว้กับประชาชน!
ดังนั้น จับยามสามตาแล้ว ปี 2555 ได้ออกสตาร์ทนับหนึ่งแก้ไขแน่ๆ แต่จะเสร็จเมื่อไหร่ ดูปฏิทินคร่าวๆ แล้วน่าจะกลางปี หรือปลายปี 2556
อย่างไรก็ดี เกิดประเด็นอีกอันหนึ่งตีคู่ขนาบร้อนแรงไม่แพ้กัน นั่นก็คือ การเสนอ “แก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112” ซึ่งที่ผ่านมามีความพยายามจะเปลี่ยนแปลงจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะเครือข่ายคนเสื้อแดง ที่มองว่าตัวเองได้รับผลกระทบในด้านลบกับกฎหมายมาตรานี้ ถูกคนอีกฝ่ายหนึ่งใช้เป็นเครื่องมือเล่นงานตลอดมา โดยไม่เคยกลับมาพิจารณาการกระทำของตน พร้อมนำตัวอย่างคดีของ “อากง” เอสเอ็มเอส และ กรณีของ “ดาตอร์ปิโด” มาแจกแจง เน้นย้ำเรื่องสองมาตรฐาน
แต่หัวหอกในการเดินเกมเรื่องนี้อย่างจริงจัง คือ “คณะนิติราษฎร์” เพราะลำพังเสื้อแดง ไม่มีพลังมากพอ ทั้งยังไม่ได้รับการยอมรับเชื่อถือจากสังคม มีแต่เสียงก่นด่า ถากถาง คณะนิติราษฎร์ หรือ นิติเรด ที่ประกอบไปด้วยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงดูมีความน่าเชื่อถือ หนักแน่นกว่า โดยมีการโยนข้อเสนอออกมาเป็นระยะ
**แต่ยิ่งนานวัน ยิ่งโดนโจมตีว่า เหิมเกริมบังอาจ รับจ๊อบจากคนเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทย!!
ล่าสุดออกมายื่นข้อเสนอแบบ “สุดโต่ง” ยืนยันว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีปัญหา ทั้งในแง่ตัวบทกฎหมาย การบังคับใช้ และอุดมการณ์ ทั้งยังอาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จำเป็นต้องแก้ไข โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความสมดุลระหว่างความร้ายแรงของการกระทำอันเป็นความผิด กับโทษที่ผู้กระทำความผิดนั้นควรได้รับ ไม่เป็นไปตามหลักความพอสมควรแก่เหตุ ซึ่งได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ !!
วันที่ 15 มกราคม กลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในนาม กลุ่มนิติราษฎร์ จะจัดงานรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหายอาญา มาตรา 112 โดยบอกว่า ทำข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติม เผยแพร่ต่อสาธารณะไปแล้ว แต่ยังไม่มีการถกเถียงมากนัก ซ้ำยังคงมีคนที่เป็นเหยื่อเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น จะล่ารายชื่อเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติม !!
“คณะนิติราษฎร์” เน้นย้ำว่า อำนาจของพระมหากษัตริย์ จำเป็นต้องแยกออกจากฝ่ายการเมืองโดยเด็ดขาด ไทยเราจะต้องทำให้เหมือนแบบต่างประเทศ ?
**สุดโต่ง - สุดขั้ว เหิมเกริม โยนข้อเสนอเหมือนทุ่มหินใส่หน้า แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่เป็นเสมือนเกราะป้องกันสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ให้ใครละเมิด เพราะพระมหากษัตริย์ไม่สามารถฟ้องร้องบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้ โดยมีแนวร่วมสีแดง ที่มีพฤติกรรม “ล้มเจ้า” และอ้างว่าถูกกลั่นแกล้งโดยตรงจากมาตรานี้ คอยสนับสนุน
คนเสื้อแดงสันดานเอาแต่ได้ โดยไม่เคยย้อนมองเหลียวหลังไปทบทวนสิ่งที่ทำไว้มันถูกควรหรือไม่ หลับหูหลับตาท่องอย่างเดียว “ชั่วโมงนี้กูถูกหมด อำนาจอยู่กับฝ่ายกูแล้ว”
เรื่องนี้ถือเป็นระเบิดเวลาที่น่ากลัว สุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการเข่นฆ่า นองเลือดอีกครั้ง
เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางความคิดและความเชื่อทางการเมืองแบบแบ่งขั้วยังคุกรุ่นมาก ฝ่ายเสนอถึงขั้นมีการรณรงค์ให้ "ยกเลิก-ไม่แก้ไข" คือ วิจารณ์พระมหากษัตริย์ได้ กับอีกฝ่ายรณรงค์ "ไม่ยกเลิก-ไม่แก้ไข" มาตรานี้
คดีอากง หรือนายอำพล ตั้งนพกุล อายุ 61 ปี ซึ่งศาลได้ตัดสินจำคุก 20 ปี ในความผิดตาม มาตรา 112 จากกรณีส่งเอสเอ็มเอส ใช้ข้อความเข้าข่ายจาบจ้วงและหมิ่นสถาบันฯ ได้กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และกลายเป็น"เครื่องมือ" และ "เชื้อไฟ" ของกลุ่มนักวิชาการแดง และนักเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างนิติราษฎร์ นำไปใช้รณรงค์ให้ "ยกเลิก" มาตรา 112 แสดงออกทุกเวที และบนโลกออนไลน์
พยายามขยายประเด็นบทลงโทษที่รุนแรงเกินไป ไกลถึงขั้นการคงอยู่ของมาตรา 112 เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นขั้นพื้นฐานของประชาชน หนักไปกว่านั้นยังมีการส่งข้อความไปบอกกล่าว จนทำให้สำนักข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (UN High Commissioner for Human Rights) ออกแถลงการณ์ให้ "แก้ไข" กฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วยเหตุผลว่า ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน
**แม้เรื่องนี้จะได้รับการยืนยันอย่างหนักแน่นจาก “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลจะไม่แตะต้องมาตรานี้เด็ดขาด แต่ลึกๆแล้วใครจะรู้ ว่านี่อาจเป็นการแบ่งงานกันทำหรือแบ่งเกมกันเดินก็ได้ เพราะอย่าลืมว่าหากมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จริง คนที่ได้ประโยชน์ล้วนแล้วแต่เป็นคนในสายของพรรคเพื่อไทย และมวลชนคนเสื้อแดง ที่คอยให้การสนับสนุนอยู่
แต่สาเหตุที่พรรคเพื่อไทย หรือรัฐบาลไม่ยอมเดินเกมเอง นั่นเป็นเพราะรู้ดีอยู่แล้วว่า นี่คือ “เผือกร้อน” หากรับมาทำเองย่อมเป็นการบั่นทอนอายุรัฐบาลให้สั้นลงไป พร้อมตอกย้ำภาพความไม่จงรักภักดีเพิ่มขึ้น สู้ให้ลิ่วล้อที่ชัดเจนว่าเป็นพวกเดียวกัน ออกหน้าทำไปดีกว่า สุดท้ายหากสำเร็จก็แฮปปี้ แต่หากไม่สำเร็จ ก็ไม่มีผลกระทบอะไร
แต่การแก้ไข มาตรา 112 ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากจะมีกลุ่มคนที่ต่อต้าน เช่นคนเสื้อเหลือง กลุ่มสยามสามัคคี นักการเมืองซีกตรงข้ามแล้ว ยังมีกองทัพ โดยการนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ที่ติดยี่ห้อความจงรักภักดี ได้เคยประกาศไว้หลายครั้งว่า ไม่ยอมใหัใครแตะต้องสถาบันฯ ยอมแลกได้ด้วยชีวิตเพื่อรักษาให้คงอยู่เพราะทหารอยู่คู่สถาบันฯ มาโดยตลอด
ยิ่งคนเสนอถูกจับไต๋ได้ว่า แนบชิดอิงแอบกับเครือข่ายพลพรรครักทักษิณแล้ว แรงต่อต้านยิ่งเพิ่มร้อยเท่าทวีคูณ แค่กระแอมออกมาก็โดนเตะตัดขาจนหัวหกก้นขวิด บางคนรู้ว่าเป็นการเดิมเกมของกลุ่มคนเหล่านี้แล้ว ก็ออกมาค้านทันทีแบบไม่ต้องคิดมาก
**ดูไปแล้วการแก้ไขมาตรา 112 ดังกล่าว อาจเป็นชนวนความขัดแย้งรอบใหม่ ร้ายแรงถึงขั้นก่อการปฏิวัติรัฐประหารอีกครั้ง
ที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ยืนกรานแก้แหลก ไม่สนอะไรทั้งสิ้น อ้างว่าเพราะเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลชุดนี้ที่หาเสียงไว้กับประชาชน!
ดังนั้น จับยามสามตาแล้ว ปี 2555 ได้ออกสตาร์ทนับหนึ่งแก้ไขแน่ๆ แต่จะเสร็จเมื่อไหร่ ดูปฏิทินคร่าวๆ แล้วน่าจะกลางปี หรือปลายปี 2556
อย่างไรก็ดี เกิดประเด็นอีกอันหนึ่งตีคู่ขนาบร้อนแรงไม่แพ้กัน นั่นก็คือ การเสนอ “แก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112” ซึ่งที่ผ่านมามีความพยายามจะเปลี่ยนแปลงจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะเครือข่ายคนเสื้อแดง ที่มองว่าตัวเองได้รับผลกระทบในด้านลบกับกฎหมายมาตรานี้ ถูกคนอีกฝ่ายหนึ่งใช้เป็นเครื่องมือเล่นงานตลอดมา โดยไม่เคยกลับมาพิจารณาการกระทำของตน พร้อมนำตัวอย่างคดีของ “อากง” เอสเอ็มเอส และ กรณีของ “ดาตอร์ปิโด” มาแจกแจง เน้นย้ำเรื่องสองมาตรฐาน
แต่หัวหอกในการเดินเกมเรื่องนี้อย่างจริงจัง คือ “คณะนิติราษฎร์” เพราะลำพังเสื้อแดง ไม่มีพลังมากพอ ทั้งยังไม่ได้รับการยอมรับเชื่อถือจากสังคม มีแต่เสียงก่นด่า ถากถาง คณะนิติราษฎร์ หรือ นิติเรด ที่ประกอบไปด้วยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงดูมีความน่าเชื่อถือ หนักแน่นกว่า โดยมีการโยนข้อเสนอออกมาเป็นระยะ
**แต่ยิ่งนานวัน ยิ่งโดนโจมตีว่า เหิมเกริมบังอาจ รับจ๊อบจากคนเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทย!!
ล่าสุดออกมายื่นข้อเสนอแบบ “สุดโต่ง” ยืนยันว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีปัญหา ทั้งในแง่ตัวบทกฎหมาย การบังคับใช้ และอุดมการณ์ ทั้งยังอาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จำเป็นต้องแก้ไข โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความสมดุลระหว่างความร้ายแรงของการกระทำอันเป็นความผิด กับโทษที่ผู้กระทำความผิดนั้นควรได้รับ ไม่เป็นไปตามหลักความพอสมควรแก่เหตุ ซึ่งได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ !!
วันที่ 15 มกราคม กลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในนาม กลุ่มนิติราษฎร์ จะจัดงานรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหายอาญา มาตรา 112 โดยบอกว่า ทำข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติม เผยแพร่ต่อสาธารณะไปแล้ว แต่ยังไม่มีการถกเถียงมากนัก ซ้ำยังคงมีคนที่เป็นเหยื่อเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น จะล่ารายชื่อเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติม !!
“คณะนิติราษฎร์” เน้นย้ำว่า อำนาจของพระมหากษัตริย์ จำเป็นต้องแยกออกจากฝ่ายการเมืองโดยเด็ดขาด ไทยเราจะต้องทำให้เหมือนแบบต่างประเทศ ?
**สุดโต่ง - สุดขั้ว เหิมเกริม โยนข้อเสนอเหมือนทุ่มหินใส่หน้า แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่เป็นเสมือนเกราะป้องกันสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ให้ใครละเมิด เพราะพระมหากษัตริย์ไม่สามารถฟ้องร้องบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้ โดยมีแนวร่วมสีแดง ที่มีพฤติกรรม “ล้มเจ้า” และอ้างว่าถูกกลั่นแกล้งโดยตรงจากมาตรานี้ คอยสนับสนุน
คนเสื้อแดงสันดานเอาแต่ได้ โดยไม่เคยย้อนมองเหลียวหลังไปทบทวนสิ่งที่ทำไว้มันถูกควรหรือไม่ หลับหูหลับตาท่องอย่างเดียว “ชั่วโมงนี้กูถูกหมด อำนาจอยู่กับฝ่ายกูแล้ว”
เรื่องนี้ถือเป็นระเบิดเวลาที่น่ากลัว สุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการเข่นฆ่า นองเลือดอีกครั้ง
เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางความคิดและความเชื่อทางการเมืองแบบแบ่งขั้วยังคุกรุ่นมาก ฝ่ายเสนอถึงขั้นมีการรณรงค์ให้ "ยกเลิก-ไม่แก้ไข" คือ วิจารณ์พระมหากษัตริย์ได้ กับอีกฝ่ายรณรงค์ "ไม่ยกเลิก-ไม่แก้ไข" มาตรานี้
คดีอากง หรือนายอำพล ตั้งนพกุล อายุ 61 ปี ซึ่งศาลได้ตัดสินจำคุก 20 ปี ในความผิดตาม มาตรา 112 จากกรณีส่งเอสเอ็มเอส ใช้ข้อความเข้าข่ายจาบจ้วงและหมิ่นสถาบันฯ ได้กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และกลายเป็น"เครื่องมือ" และ "เชื้อไฟ" ของกลุ่มนักวิชาการแดง และนักเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างนิติราษฎร์ นำไปใช้รณรงค์ให้ "ยกเลิก" มาตรา 112 แสดงออกทุกเวที และบนโลกออนไลน์
พยายามขยายประเด็นบทลงโทษที่รุนแรงเกินไป ไกลถึงขั้นการคงอยู่ของมาตรา 112 เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นขั้นพื้นฐานของประชาชน หนักไปกว่านั้นยังมีการส่งข้อความไปบอกกล่าว จนทำให้สำนักข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (UN High Commissioner for Human Rights) ออกแถลงการณ์ให้ "แก้ไข" กฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วยเหตุผลว่า ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน
**แม้เรื่องนี้จะได้รับการยืนยันอย่างหนักแน่นจาก “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลจะไม่แตะต้องมาตรานี้เด็ดขาด แต่ลึกๆแล้วใครจะรู้ ว่านี่อาจเป็นการแบ่งงานกันทำหรือแบ่งเกมกันเดินก็ได้ เพราะอย่าลืมว่าหากมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จริง คนที่ได้ประโยชน์ล้วนแล้วแต่เป็นคนในสายของพรรคเพื่อไทย และมวลชนคนเสื้อแดง ที่คอยให้การสนับสนุนอยู่
แต่สาเหตุที่พรรคเพื่อไทย หรือรัฐบาลไม่ยอมเดินเกมเอง นั่นเป็นเพราะรู้ดีอยู่แล้วว่า นี่คือ “เผือกร้อน” หากรับมาทำเองย่อมเป็นการบั่นทอนอายุรัฐบาลให้สั้นลงไป พร้อมตอกย้ำภาพความไม่จงรักภักดีเพิ่มขึ้น สู้ให้ลิ่วล้อที่ชัดเจนว่าเป็นพวกเดียวกัน ออกหน้าทำไปดีกว่า สุดท้ายหากสำเร็จก็แฮปปี้ แต่หากไม่สำเร็จ ก็ไม่มีผลกระทบอะไร
แต่การแก้ไข มาตรา 112 ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากจะมีกลุ่มคนที่ต่อต้าน เช่นคนเสื้อเหลือง กลุ่มสยามสามัคคี นักการเมืองซีกตรงข้ามแล้ว ยังมีกองทัพ โดยการนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ที่ติดยี่ห้อความจงรักภักดี ได้เคยประกาศไว้หลายครั้งว่า ไม่ยอมใหัใครแตะต้องสถาบันฯ ยอมแลกได้ด้วยชีวิตเพื่อรักษาให้คงอยู่เพราะทหารอยู่คู่สถาบันฯ มาโดยตลอด
ยิ่งคนเสนอถูกจับไต๋ได้ว่า แนบชิดอิงแอบกับเครือข่ายพลพรรครักทักษิณแล้ว แรงต่อต้านยิ่งเพิ่มร้อยเท่าทวีคูณ แค่กระแอมออกมาก็โดนเตะตัดขาจนหัวหกก้นขวิด บางคนรู้ว่าเป็นการเดิมเกมของกลุ่มคนเหล่านี้แล้ว ก็ออกมาค้านทันทีแบบไม่ต้องคิดมาก
**ดูไปแล้วการแก้ไขมาตรา 112 ดังกล่าว อาจเป็นชนวนความขัดแย้งรอบใหม่ ร้ายแรงถึงขั้นก่อการปฏิวัติรัฐประหารอีกครั้ง