วานนี้ (4 ม.ค.)นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 (พ.ร.บ.งบฯ) จำนวน 2,380,000 ล้านบาท ในวาระ 2 หลังจากที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2555 พิจารณาแล้วเสร็จ
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะ ประธานกรรมาธิการ ก็เสนอรายงานต่อที่ประชุมว่า สาระสำคัญในการพิจารณาของกรรมาธิการ ได้พิจารณาปรับลดงบประมาณลง จำนวน 43,429 ล้านบาท โดยในการปรับลดได้พิจารณาจากเป้าหมายการใช้งบประมาณและผลการดำเนินการจริง ทั้งนี้ สำหรับการเพิ่มงบประมาณ กรรมาธิการ ได้มีการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรี มีความเห็นชอบและหน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานศาล หน่วยงานอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ ขอแปรญัตติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 168 วรรค 9 ในวงเงินเท่ากับวงเงินที่มีการปรับลด รวมวงเงินที่มีปรับเพิ่ม 43,429 ล้านบาท
จากนั้นเป็นการพิจารณาเรียงรายมาตรา ทั้ ง 31 มตรา โดยมีส.ส.ขอแปรญัตติ และสงวนคำแปรญัตติ 219 คน ดังนี้ พรรคเพื่อไทย 79 คน พรรคประชาธิปัตย์ 121 คน พรรคภูมิใจไทย 10 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 7 คน พรรคพลังชล 1 คน และพรรคชาติพัฒนา 1 คน
นางผ่องศรี ธาราภูมิ ส.ส.ลพบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกมธ.เสียงข้างน้อย ได้นำเสนอข้อสังเกตของกมธ.เสียงข้างน้อยว่า งบประมาณที่นำเสนอต่อที่ประชุมขณะนี้ ยังมีส่วนที่สามารถปรับลดลงได้ อาทิ งบประมาณที่ซ้ำซ้อน งบประมาณที่ไม่ได้พิจารณาผลกระทบในวงกว้าง เช่น โครงการแจกแท็บเล็ต ให้กับบนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ประชาชนสับสนวันสุดท้ายแล้ว ว่าทำไมรัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทย ที่แสดงท่าทีชัดเจนต่อต้านการกู้เงินทุกรูปแบบ ที่จะมีหนี้สาธารณะ แต่กลับสนับสนุน พ.ร.บ.งบประมาณปี 2555 ที่ทำให้รัฐบาลระดับประเทศ มีหนี้สาธารณะถึง 400,000 ล้านบาท ร่าง พ.ร.บ. นี้ เคยผ่านพิจารณาของคณะรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ขาดดุลแค่ 350,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลนี้กลับให้มีเพิ่มเป็น 400,000 ล้านบาท
นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำให้เกิดดอกเบี้ยจำนวนมหาศาล กล่าวคือ เมื่อปี 2554 รัฐบาลต้องนำเงินไปใช้หนี้ในส่วนของดอกเบี้ยจำนวน 100,000 ล้านบาท หากในปี 2555 หนี้สาธารณะเพิ่ม คาดว่า รัฐบาลต้องนำเงินไปใช้ดอกเบี้ยอีก 160,000 ล้านบาท เมื่อรวม 2 ปี ทำให้รัฐบาลต้องนำเงินไปชำระในส่วนของดอกเบี้ยแต่ละปีกว่า 300,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปีที่ผ่านมา รัฐบาลมีขีดความสามารถที่นำเงินไปลดเงินต้นได้ปีละ 2-4 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
นายสรรเสริญ สมะลาภา ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า รัฐบาลทำงานมา 5 เดือน มีแผนเงินกู้ไปแล้ว 1.1 ล้านบาท ซึ่งยังไม่นับการผลักภาระหนี้ไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือให้กองทุนฟื้นฟูรับผิดชอบหนี้ รวมถึงเตรียมให้ ธปท. พิมพ์ธนบัตรให้รัฐบาลใช้นั้น เชื่อว่าจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศแน่และจะส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น
"รัฐบาลสามารถทำประชานิยม จะบลัฟเรื่องตัวเลขได้ แต่ต้องรับผิดชอบด้วย อย่าได้สร้างความเสียหายในด้านเศรษฐกิจและบังคับแบงค์ชาติพิมพ์ธนบัตรรัฐบาลใช้ เพราะทำเช่นนั้นถือว่ารัฐบาลกำลังปล้นเงินแบงค์" นายสรรเสริญ กล่าว
อีกด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการพรรคร่วมฝ่ายค้าน ( วิปฝ่ายค้าน) แถลงว่า วิปฝ่ายค้านและวิปรัฐบาล เห็นตรงกันว่า จะมีการประชุมพิจารณา ร่างพ.ร.บ.งบประมาณวาระ 2 และ 3 รวม 3 วัน คือ 4-6 ม.ค.โดยเริ่มในเวลา 09.30 ของทุกวัน แต่วันนี้จะสิ้นสุดในเวลา 24.00 น. ส่วนวันที่ 5 และ6 ม.ค.ระยะเวลาสิ้นสุด จะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่จะพิจารณาร่วมกันอีกครั้ง โดยมีการถ่ายทอดสดทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ โดยการอภิปรายเรียงตามลำดับมาตราซึ่งฝ่ายค้านมีผู้ขอแปรญัตติ 131 คน เป็นพรรคประชาธิปัตย์ 121 คนและพรรคภูมิใจไทย 10 คน
กรอบการอภิปรายได้เตรียมไว้ 5 ประเด็น คือ 1.การจัดงบประมาณที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นของประเทศ 2. ยังปรากฏงบกลางที่ไม่มีรายละเอียดอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะงบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลตั้งไว้ใช้เยียวยาปัญหาน้ำท่วม ซึ่งฝ่ายค้านก็เคยให้ข้อเสนอแนะไปว่า เพื่อความโปร่งใสควรปรับเปลี่ยนไปเป็นงบปกติตามกระทรวงต่าง ๆ และตามจริง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยา เพราะในช่วงที่รัฐบาลตั้งงบประมาณ ระยะเวลานั้นอาจจะยังไม่ทราบว่าต้องใช้อะไรบ้าง แต่ปัจจุบันได้เข้าสู่การพิจารณาของกรรมาธิการ จนปัจจุบันฐบาลทราบแล้วว่าต้องใช้ทำอะไรบ้าง ฉะนั้นควรนำไปใช้ปรับเปลี่ยนเป็นงบปกติ จนในที่สุดเมื่อผ่านกรรมาธิการเสียงข้างมากซึ่งเป็นรัฐบาล กลับเข้าสู่สภาแต่เงิน 1.2 แสนล้านบาทก็ยังเป็นตัวเลขกลม ๆ อยู่เหมือนเดิม
3.ประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณซึ่งจะมีการพูดกัน 4. ความไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรือทุจริตงบประมาณ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการใช้งบประมาณไปล่วงหน้าในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม คือ ทุจริตจัดซื้อถุงยังชีพ ข้าวกล่องและอื่น ๆ 5. การจัดงบฯไม่สอดคล้องกับนโยบายและกฎหมาย
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะ ประธานกรรมาธิการ ก็เสนอรายงานต่อที่ประชุมว่า สาระสำคัญในการพิจารณาของกรรมาธิการ ได้พิจารณาปรับลดงบประมาณลง จำนวน 43,429 ล้านบาท โดยในการปรับลดได้พิจารณาจากเป้าหมายการใช้งบประมาณและผลการดำเนินการจริง ทั้งนี้ สำหรับการเพิ่มงบประมาณ กรรมาธิการ ได้มีการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรี มีความเห็นชอบและหน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานศาล หน่วยงานอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ ขอแปรญัตติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 168 วรรค 9 ในวงเงินเท่ากับวงเงินที่มีการปรับลด รวมวงเงินที่มีปรับเพิ่ม 43,429 ล้านบาท
จากนั้นเป็นการพิจารณาเรียงรายมาตรา ทั้ ง 31 มตรา โดยมีส.ส.ขอแปรญัตติ และสงวนคำแปรญัตติ 219 คน ดังนี้ พรรคเพื่อไทย 79 คน พรรคประชาธิปัตย์ 121 คน พรรคภูมิใจไทย 10 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 7 คน พรรคพลังชล 1 คน และพรรคชาติพัฒนา 1 คน
นางผ่องศรี ธาราภูมิ ส.ส.ลพบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกมธ.เสียงข้างน้อย ได้นำเสนอข้อสังเกตของกมธ.เสียงข้างน้อยว่า งบประมาณที่นำเสนอต่อที่ประชุมขณะนี้ ยังมีส่วนที่สามารถปรับลดลงได้ อาทิ งบประมาณที่ซ้ำซ้อน งบประมาณที่ไม่ได้พิจารณาผลกระทบในวงกว้าง เช่น โครงการแจกแท็บเล็ต ให้กับบนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ประชาชนสับสนวันสุดท้ายแล้ว ว่าทำไมรัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทย ที่แสดงท่าทีชัดเจนต่อต้านการกู้เงินทุกรูปแบบ ที่จะมีหนี้สาธารณะ แต่กลับสนับสนุน พ.ร.บ.งบประมาณปี 2555 ที่ทำให้รัฐบาลระดับประเทศ มีหนี้สาธารณะถึง 400,000 ล้านบาท ร่าง พ.ร.บ. นี้ เคยผ่านพิจารณาของคณะรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ขาดดุลแค่ 350,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลนี้กลับให้มีเพิ่มเป็น 400,000 ล้านบาท
นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำให้เกิดดอกเบี้ยจำนวนมหาศาล กล่าวคือ เมื่อปี 2554 รัฐบาลต้องนำเงินไปใช้หนี้ในส่วนของดอกเบี้ยจำนวน 100,000 ล้านบาท หากในปี 2555 หนี้สาธารณะเพิ่ม คาดว่า รัฐบาลต้องนำเงินไปใช้ดอกเบี้ยอีก 160,000 ล้านบาท เมื่อรวม 2 ปี ทำให้รัฐบาลต้องนำเงินไปชำระในส่วนของดอกเบี้ยแต่ละปีกว่า 300,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปีที่ผ่านมา รัฐบาลมีขีดความสามารถที่นำเงินไปลดเงินต้นได้ปีละ 2-4 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
นายสรรเสริญ สมะลาภา ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า รัฐบาลทำงานมา 5 เดือน มีแผนเงินกู้ไปแล้ว 1.1 ล้านบาท ซึ่งยังไม่นับการผลักภาระหนี้ไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือให้กองทุนฟื้นฟูรับผิดชอบหนี้ รวมถึงเตรียมให้ ธปท. พิมพ์ธนบัตรให้รัฐบาลใช้นั้น เชื่อว่าจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศแน่และจะส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น
"รัฐบาลสามารถทำประชานิยม จะบลัฟเรื่องตัวเลขได้ แต่ต้องรับผิดชอบด้วย อย่าได้สร้างความเสียหายในด้านเศรษฐกิจและบังคับแบงค์ชาติพิมพ์ธนบัตรรัฐบาลใช้ เพราะทำเช่นนั้นถือว่ารัฐบาลกำลังปล้นเงินแบงค์" นายสรรเสริญ กล่าว
อีกด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการพรรคร่วมฝ่ายค้าน ( วิปฝ่ายค้าน) แถลงว่า วิปฝ่ายค้านและวิปรัฐบาล เห็นตรงกันว่า จะมีการประชุมพิจารณา ร่างพ.ร.บ.งบประมาณวาระ 2 และ 3 รวม 3 วัน คือ 4-6 ม.ค.โดยเริ่มในเวลา 09.30 ของทุกวัน แต่วันนี้จะสิ้นสุดในเวลา 24.00 น. ส่วนวันที่ 5 และ6 ม.ค.ระยะเวลาสิ้นสุด จะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่จะพิจารณาร่วมกันอีกครั้ง โดยมีการถ่ายทอดสดทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ โดยการอภิปรายเรียงตามลำดับมาตราซึ่งฝ่ายค้านมีผู้ขอแปรญัตติ 131 คน เป็นพรรคประชาธิปัตย์ 121 คนและพรรคภูมิใจไทย 10 คน
กรอบการอภิปรายได้เตรียมไว้ 5 ประเด็น คือ 1.การจัดงบประมาณที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นของประเทศ 2. ยังปรากฏงบกลางที่ไม่มีรายละเอียดอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะงบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลตั้งไว้ใช้เยียวยาปัญหาน้ำท่วม ซึ่งฝ่ายค้านก็เคยให้ข้อเสนอแนะไปว่า เพื่อความโปร่งใสควรปรับเปลี่ยนไปเป็นงบปกติตามกระทรวงต่าง ๆ และตามจริง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยา เพราะในช่วงที่รัฐบาลตั้งงบประมาณ ระยะเวลานั้นอาจจะยังไม่ทราบว่าต้องใช้อะไรบ้าง แต่ปัจจุบันได้เข้าสู่การพิจารณาของกรรมาธิการ จนปัจจุบันฐบาลทราบแล้วว่าต้องใช้ทำอะไรบ้าง ฉะนั้นควรนำไปใช้ปรับเปลี่ยนเป็นงบปกติ จนในที่สุดเมื่อผ่านกรรมาธิการเสียงข้างมากซึ่งเป็นรัฐบาล กลับเข้าสู่สภาแต่เงิน 1.2 แสนล้านบาทก็ยังเป็นตัวเลขกลม ๆ อยู่เหมือนเดิม
3.ประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณซึ่งจะมีการพูดกัน 4. ความไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรือทุจริตงบประมาณ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการใช้งบประมาณไปล่วงหน้าในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม คือ ทุจริตจัดซื้อถุงยังชีพ ข้าวกล่องและอื่น ๆ 5. การจัดงบฯไม่สอดคล้องกับนโยบายและกฎหมาย