ASTVผู้จัดการรายวัน -สภาทนายความ ยื่นฟ้องนายก-หน่วยงานรัฐเพิ่ม ช่วย 64 เหยื่อน้ำท่วม เรียกค่าเสียหาย 47 ล้าน ระบุมีผู้เสียหายขอคำปรึกษารวมแล้วกว่า 500 ราย พร้อมเปิดช่องยื่นฟ้องเพิ่ม ชี้มีอายุความ 1 ปี
นายเกรียงศักดิ์ วรมงคลชัย อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการสภาทนายความ และประธานคณะกรรมการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ( คชภ.) สภาทนายความ รับมอบอำนาจจาก ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทุกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร , นนทบุรี , นครปฐม และ ปทุมธานี รวม 64 ราย ยื่นฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ,ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยแห่งชาติ หรือ ศปภ. ,การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ กฟผ. , กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ , กรมชลประทาน , กระทรวงมหาดไทย , กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย , ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร , ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี , ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม , ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถูกฟ้อง ต่อแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลปกครองกลาง เรื่องเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำละเมิดจากการใช้ดุลพินิจไม่ชอบหรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ และการสั่งการที่ล่าช้าเกินสมควรในการจัดการปัญหาน้ำท่วม ระหว่างเดือน ก.ค.-พ.ย.54
โดยผู้ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษา สั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 10 รายชดใช้ค่าเสียหายทั้งในทรัพย์สิน ในชีวิตร่างกาย สุขภาพอนามัย จิตใจ ให้กับผู้ฟ้องคดีตามความเสียหายจริงที่ขั้นต่ำอยู่ที่ 20,000 บาทและสูงสุดคือ 4 ล้านบาท นับแต่วันฟ้องคดีพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินต้น และขอให้ศาลสั่งให้ผู้ถูกฟ้องจัดทำแผนหรือมาตรการบรรเทาสาธารณะภัย แผนฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาโดยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบมีส่วนร่วม รวมทั้งสั่งให้มีการกำหนดมาตรการในการจัดเก็บและพร่องน้ำของเขื่อน การเปิดปิดระบายน้ำ การจัดทำแนวกั้นน้ำ การระบายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ ป้องกันและไม่เกิดความเสียหายแก่ประชาชน รวมถึงสั่งให้มีการปฏิบัติตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ปี 2553-2557หรือแก้ไขเพิ่มเติมปรับปรุงแผนเพื่อรองรับการป้องกันอุทกภัยอันเกิดภายภาคหน้าอย่างถาวรโดยให้ประกาศแผนให้ประชาชนทราบเพื่อให้มีส่วนร่วมกับภาครัฐและป้องกันอุทกภัย และให้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบภัยในเขตประกาศอุทกภัยให้มีสภาพเหมือนเดิม โดยศาลรับคดีไว้เพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไปว่าจะรับฟ้องหรือไม่ต่อไป
ทั้งนี้นายเกรียงศักดิ์ ประธานคณะกรรมการช่วยเหลือทางกฎหมาย กล่าวว่า การยื่นฟ้องครั้งนี้ เป็นชุดที่ 2 หลังจากที่ฟ้องครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมาแล้ว จำนวน 29 รายซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่ กทม. โดยคำฟ้องเป็นลักษณะเดียวกัน จะแตกต่างกันเพียงรายละเอียดความเสียหายของประชาชนแต่ละรายในแต่ละพื้นที่ สำหรับค่าเสียหายในชุดที่ 2 ที่ฟ้องวันนี้จะอยู่ที่ 47.3 ล้านบาท ซึ่งการฟ้องครั้งนี้แยกเป็น 7 สำนวนมีผู้เสียหาย 64 รายในพื้นที่ กทม. 22 ราย , ใน จ.นนทบุรี 20 ราย , ใน จ.ปทุมธานี 20 ราย และ จ.นครปฐม 2 ราย ซึ่งศาลปกครองกลางรับไว้เป็นคดีดำหมายเลย ส.434 - 440/2554 ทั้งนี้หลังปีใหม่สภาทนายความ เตรียมจะทยอยยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง โดยการรับให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับประชาชนจากเหตุการณ์น้ำท่วมนั้น ขณะนี้มีมากถึง 500 รายที่ขอคำปรึกษา สภาทนายความก็จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อ ส่วนการฟ้องคดีเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายนี้จะมีเวลายื่นฟ้องได้ภายใน 1 ปี ดังนั้นหากประชาชนจะแจ้งขอความช่วยเหลือก็สามารถทำได้ก่อนที่คดีจะหมดอายุความซึ่งสภาทนายความยังคงรอรับทราบข้อมูลต่อไป สำหรับคดีอาญาว่าจะมีการฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ สภาทนายความยังรวบรวมข้อมูลพิจารณาอีกครั้ง.
นายเกรียงศักดิ์ วรมงคลชัย อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการสภาทนายความ และประธานคณะกรรมการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ( คชภ.) สภาทนายความ รับมอบอำนาจจาก ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทุกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร , นนทบุรี , นครปฐม และ ปทุมธานี รวม 64 ราย ยื่นฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ,ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยแห่งชาติ หรือ ศปภ. ,การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ กฟผ. , กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ , กรมชลประทาน , กระทรวงมหาดไทย , กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย , ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร , ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี , ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม , ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถูกฟ้อง ต่อแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลปกครองกลาง เรื่องเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำละเมิดจากการใช้ดุลพินิจไม่ชอบหรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ และการสั่งการที่ล่าช้าเกินสมควรในการจัดการปัญหาน้ำท่วม ระหว่างเดือน ก.ค.-พ.ย.54
โดยผู้ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษา สั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 10 รายชดใช้ค่าเสียหายทั้งในทรัพย์สิน ในชีวิตร่างกาย สุขภาพอนามัย จิตใจ ให้กับผู้ฟ้องคดีตามความเสียหายจริงที่ขั้นต่ำอยู่ที่ 20,000 บาทและสูงสุดคือ 4 ล้านบาท นับแต่วันฟ้องคดีพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินต้น และขอให้ศาลสั่งให้ผู้ถูกฟ้องจัดทำแผนหรือมาตรการบรรเทาสาธารณะภัย แผนฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาโดยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบมีส่วนร่วม รวมทั้งสั่งให้มีการกำหนดมาตรการในการจัดเก็บและพร่องน้ำของเขื่อน การเปิดปิดระบายน้ำ การจัดทำแนวกั้นน้ำ การระบายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ ป้องกันและไม่เกิดความเสียหายแก่ประชาชน รวมถึงสั่งให้มีการปฏิบัติตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ปี 2553-2557หรือแก้ไขเพิ่มเติมปรับปรุงแผนเพื่อรองรับการป้องกันอุทกภัยอันเกิดภายภาคหน้าอย่างถาวรโดยให้ประกาศแผนให้ประชาชนทราบเพื่อให้มีส่วนร่วมกับภาครัฐและป้องกันอุทกภัย และให้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบภัยในเขตประกาศอุทกภัยให้มีสภาพเหมือนเดิม โดยศาลรับคดีไว้เพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไปว่าจะรับฟ้องหรือไม่ต่อไป
ทั้งนี้นายเกรียงศักดิ์ ประธานคณะกรรมการช่วยเหลือทางกฎหมาย กล่าวว่า การยื่นฟ้องครั้งนี้ เป็นชุดที่ 2 หลังจากที่ฟ้องครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมาแล้ว จำนวน 29 รายซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่ กทม. โดยคำฟ้องเป็นลักษณะเดียวกัน จะแตกต่างกันเพียงรายละเอียดความเสียหายของประชาชนแต่ละรายในแต่ละพื้นที่ สำหรับค่าเสียหายในชุดที่ 2 ที่ฟ้องวันนี้จะอยู่ที่ 47.3 ล้านบาท ซึ่งการฟ้องครั้งนี้แยกเป็น 7 สำนวนมีผู้เสียหาย 64 รายในพื้นที่ กทม. 22 ราย , ใน จ.นนทบุรี 20 ราย , ใน จ.ปทุมธานี 20 ราย และ จ.นครปฐม 2 ราย ซึ่งศาลปกครองกลางรับไว้เป็นคดีดำหมายเลย ส.434 - 440/2554 ทั้งนี้หลังปีใหม่สภาทนายความ เตรียมจะทยอยยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง โดยการรับให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับประชาชนจากเหตุการณ์น้ำท่วมนั้น ขณะนี้มีมากถึง 500 รายที่ขอคำปรึกษา สภาทนายความก็จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อ ส่วนการฟ้องคดีเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายนี้จะมีเวลายื่นฟ้องได้ภายใน 1 ปี ดังนั้นหากประชาชนจะแจ้งขอความช่วยเหลือก็สามารถทำได้ก่อนที่คดีจะหมดอายุความซึ่งสภาทนายความยังคงรอรับทราบข้อมูลต่อไป สำหรับคดีอาญาว่าจะมีการฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ สภาทนายความยังรวบรวมข้อมูลพิจารณาอีกครั้ง.