"สุขุมพันธุ์" ลั่น 22 ธ.ค. กทม.น้ำแห้งทั้งเมือง ประสาน ศปภ.หรี่ ปตร.คลองฝั่งตะวันตก สั่งติดตั้งกล้องเพิ่มในพื้นที่เสี่ยง เตรียมพร้อมเทศกาลปีใหม่ ด้านสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ฟ้องศาลปกครอง "ปู-หน่วยงานรัฐ" แก้น้ำท่วมเหลว
วานนี้ (16 ธ.ค.) เมื่อเวลา 14.00น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ได้ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมขังในชุมชนหมู่บ้านธารแก้ว ซอยสุขาภิบาลบางระมาด 1 เขตทวีวัฒนา ซึ่งถนนภายในหมู่บ้านยังมีน้ำท่วมขังช่วงท้ายซอยที่ระดับ 5-10 ซม. พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า ถนนที่ยังถูกน้ำท่วมขังนั้นเป็นหมู่บ้านเก่าแก่และพื้นที่ต่ำมาก กทม.จะเร่งระบายให้แล้วเสร็จภายใน 2 วันโดยจะระบายลงคลองบางพรหมและคลองบางน้อย และในขณะนี้เหลือเพียง 20 กว่าชุมชนที่ยังมีน้ำท่วมขังโดยทางสำนักงานเขตรายงานมาว่าจะระบายน้ำออกจากชุมชนต่างๆได้หมดภายในวันที่ 20 ธ.ค. หรือช้าที่สุดภายในวันที่ 22ธ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ตนกำชับให้ 50 เขต ตรวจสอบพื้นที่ที่ยังมีท่วมขัง เพราะไม่อยากให้มีหมู่บ้านหรือชุมชนไหนตกค้าง
ทั้งนี้ มีบางชุมชนจะต้องปล่อยให้น้ำแห้งเองตามธรรมชาติ เช่น จินดาบำรุงพัฒนาและชุมชนผู้ใหญ่ชม เขตคันนายาวที่ระบายน้ำออกไม่ได้เนื่องจากพื้นต่ำกว่าคลอง ส่วนเขตทวีวัฒนาสามารถระบายได้เกือบหมดแล้ว ส่วนน้ำทุ่งจะปล่อยให้แห้งเองตามธรรมชาติเช่นกัน จึงอาจกล่าวได้ว่า กทม.น้ำแห้ง 90เปอร์เซ็นต์แล้ว ตนยังได้สั่งการให้ทุกเขตเร่งลอกท่อ
ระบายน้ำในพื้นที่ที่เคยถูกน้ำท่วมเพื่อป้องกันการอุดตันของท่อระบายน้ำโดยให้ดำเนินการทันที และหากเป็นพื้นที่ของเอกชน ส่วนบุคคลก็ให้ประสานเพื่อเข้าไปดำเนินการ
"ขณะนี้กทม.ได้หรี่ประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์มาอยู่ที่ 50 ซม.จากเดิม 1.50 เมตร รวมถึงการหรี่ปตร.ที่คลองซอย คลองควาย คลองขุนศรีบุรีรักษ์ ขณะเดียวกันก็จะทำหนังสือถึง ศปภ.เพื่อประสานในการหรี่ปตร.ในคลองมหาสวัสดิ์และคลองทวีวัฒนาโดยเบื้องต้นได้มีการประสานกับดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยาแล้ว"
จากนั้น ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ได้เดินทางไปยังหมู่บ้านร่วมเกื้อ ซอยทวีวัฒนา 25 พร้อมระบุว่าสาเหตุที่ยัง
ไม่แห้งเนื่องจากพื้นที่รอยต่อเป็นพื้นที่แก้มลิง กทม.จึงแก้ปัญหาด้วยการนำกระสอบทรายมาบล็อกแล้วจึงดูดน้ำออกลงคลองเนินทราย
นอกจากนี้ยังได้มีการเฝ้าระวังภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่นั้น กทม.ยังคงเฝ้าระวังอัคคีภัย ส่วนบริเวณพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรง กทม. ได้ดำเนินการให้ตรวจสอบกล้องวงปิดว่าสามารถทำงานได้ดีหรือไม่ ผมได้สั่งการให้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มในพื้นที่เสี่ยง
***"โลกร้อน" ฟ้องศาลปกครองฟัน "ปู"
วานนี้ (16 ธ.ค.) นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีที่สมาคมฯและชาวบ้านจะดำเนินการยื่นฟ้องรัฐบาลต่อศาลปกครองกลาง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ว่า วันที่ 21 ธ.ค. เวลา 10.00 น. ตนพร้อมด้วยประชาชนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามหาอุทกภัยในกทม.และปริมณฑล อาทิ จ.พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม เป็นต้น จะเดินทางไปยื่นฟ้อง หน่วยงานภาครัฐ 24 หน่วยงาน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) รมว.เกษตรและสหกรณ์ รมว.เทคโนโลยีและสารสนเทศ รมว.พลังงาน รมว.พาณิชย์ อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมการค้าภายใน ผู้อำนวยการสารสนเทศน้ำและการเกษตร ผอ.สถาบันเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สนเทศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และกทม. เป็นต้น ต่อศาลปกครองกลาง แผนกคดีสิ่งแวดล้อม ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง ปีพ.ศ. 2540 มาตรา 9 (1) (2)และ (3) ประกอบพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปีพ.ศ. 2550 มาตรา 43 เนื่องจากละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินกว่าสมควร และปฏิบัติหน้าที่ในทางละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน
สำหรับประเด็นที่จะยื่นฟ้องนั้นมี 2 ประเด็นได้แก่ 1.ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่เป็นหน่วยงานภาครัฐทั้งหมดรวมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ประชาชนในแต่ละรายตามความเป็นจริง 2.ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ภาครัฐมีมาตรการชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในอนาคต เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ซึ่งในขณะนี้ก็มีประชาชนที่ยื่นความประสงค์ที่จะร่วมฟ้องศาลแล้วประมาณ 600 ราย ซึ่งประชาชนที่ร่วมฟ้องร้องส่วนใหญ่ได้รับค่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท และบางรายได้รับความเสียหายหนักถึง 2-3 ล้านบาท อย่างไรก็ตามการที่ศาลปกครองได้เปิดแผนกคดีสิ่งแวดล้อม เพราะต้องการเร่งรัดคดีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในปัญหาสิ่งแวดล้อมให้เสร็จสิ้นได้โดยเร็ว และคดีดังกล่าวนี้ก็อยู่ในความสนใจของประชาชน ตนเชื่อว่าศาลน่าจะใช้เวลาพิจารณาคดีนี้ไม่เกิน 6 เดือน.
วานนี้ (16 ธ.ค.) เมื่อเวลา 14.00น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ได้ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมขังในชุมชนหมู่บ้านธารแก้ว ซอยสุขาภิบาลบางระมาด 1 เขตทวีวัฒนา ซึ่งถนนภายในหมู่บ้านยังมีน้ำท่วมขังช่วงท้ายซอยที่ระดับ 5-10 ซม. พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า ถนนที่ยังถูกน้ำท่วมขังนั้นเป็นหมู่บ้านเก่าแก่และพื้นที่ต่ำมาก กทม.จะเร่งระบายให้แล้วเสร็จภายใน 2 วันโดยจะระบายลงคลองบางพรหมและคลองบางน้อย และในขณะนี้เหลือเพียง 20 กว่าชุมชนที่ยังมีน้ำท่วมขังโดยทางสำนักงานเขตรายงานมาว่าจะระบายน้ำออกจากชุมชนต่างๆได้หมดภายในวันที่ 20 ธ.ค. หรือช้าที่สุดภายในวันที่ 22ธ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ตนกำชับให้ 50 เขต ตรวจสอบพื้นที่ที่ยังมีท่วมขัง เพราะไม่อยากให้มีหมู่บ้านหรือชุมชนไหนตกค้าง
ทั้งนี้ มีบางชุมชนจะต้องปล่อยให้น้ำแห้งเองตามธรรมชาติ เช่น จินดาบำรุงพัฒนาและชุมชนผู้ใหญ่ชม เขตคันนายาวที่ระบายน้ำออกไม่ได้เนื่องจากพื้นต่ำกว่าคลอง ส่วนเขตทวีวัฒนาสามารถระบายได้เกือบหมดแล้ว ส่วนน้ำทุ่งจะปล่อยให้แห้งเองตามธรรมชาติเช่นกัน จึงอาจกล่าวได้ว่า กทม.น้ำแห้ง 90เปอร์เซ็นต์แล้ว ตนยังได้สั่งการให้ทุกเขตเร่งลอกท่อ
ระบายน้ำในพื้นที่ที่เคยถูกน้ำท่วมเพื่อป้องกันการอุดตันของท่อระบายน้ำโดยให้ดำเนินการทันที และหากเป็นพื้นที่ของเอกชน ส่วนบุคคลก็ให้ประสานเพื่อเข้าไปดำเนินการ
"ขณะนี้กทม.ได้หรี่ประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์มาอยู่ที่ 50 ซม.จากเดิม 1.50 เมตร รวมถึงการหรี่ปตร.ที่คลองซอย คลองควาย คลองขุนศรีบุรีรักษ์ ขณะเดียวกันก็จะทำหนังสือถึง ศปภ.เพื่อประสานในการหรี่ปตร.ในคลองมหาสวัสดิ์และคลองทวีวัฒนาโดยเบื้องต้นได้มีการประสานกับดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยาแล้ว"
จากนั้น ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ได้เดินทางไปยังหมู่บ้านร่วมเกื้อ ซอยทวีวัฒนา 25 พร้อมระบุว่าสาเหตุที่ยัง
ไม่แห้งเนื่องจากพื้นที่รอยต่อเป็นพื้นที่แก้มลิง กทม.จึงแก้ปัญหาด้วยการนำกระสอบทรายมาบล็อกแล้วจึงดูดน้ำออกลงคลองเนินทราย
นอกจากนี้ยังได้มีการเฝ้าระวังภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่นั้น กทม.ยังคงเฝ้าระวังอัคคีภัย ส่วนบริเวณพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรง กทม. ได้ดำเนินการให้ตรวจสอบกล้องวงปิดว่าสามารถทำงานได้ดีหรือไม่ ผมได้สั่งการให้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มในพื้นที่เสี่ยง
***"โลกร้อน" ฟ้องศาลปกครองฟัน "ปู"
วานนี้ (16 ธ.ค.) นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีที่สมาคมฯและชาวบ้านจะดำเนินการยื่นฟ้องรัฐบาลต่อศาลปกครองกลาง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ว่า วันที่ 21 ธ.ค. เวลา 10.00 น. ตนพร้อมด้วยประชาชนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามหาอุทกภัยในกทม.และปริมณฑล อาทิ จ.พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม เป็นต้น จะเดินทางไปยื่นฟ้อง หน่วยงานภาครัฐ 24 หน่วยงาน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) รมว.เกษตรและสหกรณ์ รมว.เทคโนโลยีและสารสนเทศ รมว.พลังงาน รมว.พาณิชย์ อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมการค้าภายใน ผู้อำนวยการสารสนเทศน้ำและการเกษตร ผอ.สถาบันเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สนเทศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และกทม. เป็นต้น ต่อศาลปกครองกลาง แผนกคดีสิ่งแวดล้อม ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง ปีพ.ศ. 2540 มาตรา 9 (1) (2)และ (3) ประกอบพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปีพ.ศ. 2550 มาตรา 43 เนื่องจากละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินกว่าสมควร และปฏิบัติหน้าที่ในทางละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน
สำหรับประเด็นที่จะยื่นฟ้องนั้นมี 2 ประเด็นได้แก่ 1.ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่เป็นหน่วยงานภาครัฐทั้งหมดรวมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ประชาชนในแต่ละรายตามความเป็นจริง 2.ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ภาครัฐมีมาตรการชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในอนาคต เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ซึ่งในขณะนี้ก็มีประชาชนที่ยื่นความประสงค์ที่จะร่วมฟ้องศาลแล้วประมาณ 600 ราย ซึ่งประชาชนที่ร่วมฟ้องร้องส่วนใหญ่ได้รับค่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท และบางรายได้รับความเสียหายหนักถึง 2-3 ล้านบาท อย่างไรก็ตามการที่ศาลปกครองได้เปิดแผนกคดีสิ่งแวดล้อม เพราะต้องการเร่งรัดคดีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในปัญหาสิ่งแวดล้อมให้เสร็จสิ้นได้โดยเร็ว และคดีดังกล่าวนี้ก็อยู่ในความสนใจของประชาชน ตนเชื่อว่าศาลน่าจะใช้เวลาพิจารณาคดีนี้ไม่เกิน 6 เดือน.