“สภาทนายความ” ยื่นฟ้องนายกฯ-หน่วยงานรัฐเพิ่ม ช่วย 64 เหยื่อน้ำท่วม เรียกค่าเสียหาย 47 ล้าน ระบุมีผู้เสียหายขอคำปรึกษารวมแล้วกว่า 500 ราย พร้อมเปิดช่องยื่นฟ้องเพิ่ม ชี้มีอายุความ 1 ปี
วันนี้ (30 ธ.ค.) นายเกรียงศักดิ์ วรมงคลชัย อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการสภาทนายความ และประธานคณะกรรมการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย (คชภ.) สภาทนายความ รับมอบอำนาจจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทุกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, นครปฐม และปทุมธานี รวม 64 ราย ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี, ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยแห่งชาติ หรือ ศปภ., การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ กฟผ., กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์, กรมชลประทาน, กระทรวงมหาดไทย, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี, ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม, ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถูกฟ้อง ต่อแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลปกครองกลาง เรื่องเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำละเมิดจากการใช้ดุลพินิจไม่ชอบหรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ และการสั่งการที่ล่าช้าเกินสมควรในการจัดการปัญหาน้ำท่วม ระหว่างเดือน ก.ค.-พ.ย.54
โดยผู้ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษา สั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 10 ราย ชดใช้ค่าเสียหายทั้งในทรัพย์สิน ในชีวิตร่างกาย สุขภาพอนามัย จิตใจ ให้กับผู้ฟ้องคดีตามความเสียหายจริงที่ขั้นต่ำอยู่ที่ 20,000 บาท และสูงสุด คือ 4 ล้านบาท นับแต่วันฟ้องคดีพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินต้น และขอให้ศาลสั่งให้ผู้ถูกฟ้องจัดทำแผน หรือมาตรการบรรเทาสาธารณะภัย แผนฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาโดยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบมีส่วนร่วม รวมทั้งสั่งให้มีการกำหนดมาตรการในการจัดเก็บและพร่องน้ำของเขื่อน การเปิด-ปิดระบายน้ำ การจัดทำแนวกั้นน้ำ การระบายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ ป้องกันและไม่เกิดความเสียหายแก่ประชาชน รวมถึงสั่งให้มีการปฏิบัติตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ปี 2553-2557 หรือแก้ไขเพิ่มเติมปรับปรุงแผนเพื่อรองรับการป้องกันอุทกภัยอันเกิดภายภาคหน้าอย่างถาวรโดยให้ประกาศแผนให้ประชาชนทราบ เพื่อให้มีส่วนร่วมกับภาครัฐและป้องกันอุทกภัย และให้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบภัยในเขตประกาศอุทกภัยให้มีสภาพเหมือนเดิม โดยศาลรับคดีไว้เพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไปว่าจะรับฟ้องหรือไม่ต่อไป
ทั้งนี้ นายเกรียงศักดิ์ ประธานคณะกรรมการช่วยเหลือทางกฎหมาย กล่าวว่า การยื่นฟ้องครั้งนี้ เป็นชุดที่ 2 หลังจากที่ฟ้องครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมาแล้ว จำนวน 29 ราย ซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่ กทม.โดยคำฟ้องเป็นลักษณะเดียวกัน จะแตกต่างกันเพียงรายละเอียดความเสียหายของประชาชนแต่ละรายในแต่ละพื้นที่ สำหรับค่าเสียหายในชุดที่ 2 ที่ฟ้องวันนี้จะอยู่ที่ 47.3 ล้านบาท ซึ่งการฟ้องครั้งนี้แยกเป็น 7 สำนวนมีผู้เสียหาย 64 รายในพื้นที่ กทม. 22 ราย, ใน จ.นนทบุรี 20 ราย, ใน จ.ปทุมธานี 20 ราย และ จ.นครปฐม 2 ราย ซึ่งศาลปกครองกลางรับไว้เป็นคดีดำหมายเลย ส.434-440/2554 ทั้งนี้ หลังปีใหม่สภาทนายความ เตรียมจะทยอยยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง โดยการรับให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับประชาชนจากเหตุการณ์น้ำท่วมนั้น ขณะนี้มีมากถึง 500 รายที่ขอคำปรึกษา สภาทนายความก็จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อ ส่วนการฟ้องคดีเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายนี้จะมีเวลายื่นฟ้องได้ภายใน 1 ปี ดังนั้นหากประชาชนจะแจ้งขอความช่วยเหลือก็สามารถทำได้ก่อนที่คดีจะหมดอายุความซึ่งสภาทนายความยังคงรอรับทราบข้อมูลต่อไป สำหรับคดีอาญาว่าจะมีการฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ สภาทนายความยังรวบรวมข้อมูลพิจารณาอีกครั้ง
วันนี้ (30 ธ.ค.) นายเกรียงศักดิ์ วรมงคลชัย อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการสภาทนายความ และประธานคณะกรรมการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย (คชภ.) สภาทนายความ รับมอบอำนาจจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทุกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, นครปฐม และปทุมธานี รวม 64 ราย ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี, ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยแห่งชาติ หรือ ศปภ., การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ กฟผ., กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์, กรมชลประทาน, กระทรวงมหาดไทย, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี, ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม, ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถูกฟ้อง ต่อแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลปกครองกลาง เรื่องเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำละเมิดจากการใช้ดุลพินิจไม่ชอบหรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ และการสั่งการที่ล่าช้าเกินสมควรในการจัดการปัญหาน้ำท่วม ระหว่างเดือน ก.ค.-พ.ย.54
โดยผู้ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษา สั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 10 ราย ชดใช้ค่าเสียหายทั้งในทรัพย์สิน ในชีวิตร่างกาย สุขภาพอนามัย จิตใจ ให้กับผู้ฟ้องคดีตามความเสียหายจริงที่ขั้นต่ำอยู่ที่ 20,000 บาท และสูงสุด คือ 4 ล้านบาท นับแต่วันฟ้องคดีพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินต้น และขอให้ศาลสั่งให้ผู้ถูกฟ้องจัดทำแผน หรือมาตรการบรรเทาสาธารณะภัย แผนฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาโดยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบมีส่วนร่วม รวมทั้งสั่งให้มีการกำหนดมาตรการในการจัดเก็บและพร่องน้ำของเขื่อน การเปิด-ปิดระบายน้ำ การจัดทำแนวกั้นน้ำ การระบายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ ป้องกันและไม่เกิดความเสียหายแก่ประชาชน รวมถึงสั่งให้มีการปฏิบัติตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ปี 2553-2557 หรือแก้ไขเพิ่มเติมปรับปรุงแผนเพื่อรองรับการป้องกันอุทกภัยอันเกิดภายภาคหน้าอย่างถาวรโดยให้ประกาศแผนให้ประชาชนทราบ เพื่อให้มีส่วนร่วมกับภาครัฐและป้องกันอุทกภัย และให้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบภัยในเขตประกาศอุทกภัยให้มีสภาพเหมือนเดิม โดยศาลรับคดีไว้เพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไปว่าจะรับฟ้องหรือไม่ต่อไป
ทั้งนี้ นายเกรียงศักดิ์ ประธานคณะกรรมการช่วยเหลือทางกฎหมาย กล่าวว่า การยื่นฟ้องครั้งนี้ เป็นชุดที่ 2 หลังจากที่ฟ้องครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมาแล้ว จำนวน 29 ราย ซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่ กทม.โดยคำฟ้องเป็นลักษณะเดียวกัน จะแตกต่างกันเพียงรายละเอียดความเสียหายของประชาชนแต่ละรายในแต่ละพื้นที่ สำหรับค่าเสียหายในชุดที่ 2 ที่ฟ้องวันนี้จะอยู่ที่ 47.3 ล้านบาท ซึ่งการฟ้องครั้งนี้แยกเป็น 7 สำนวนมีผู้เสียหาย 64 รายในพื้นที่ กทม. 22 ราย, ใน จ.นนทบุรี 20 ราย, ใน จ.ปทุมธานี 20 ราย และ จ.นครปฐม 2 ราย ซึ่งศาลปกครองกลางรับไว้เป็นคดีดำหมายเลย ส.434-440/2554 ทั้งนี้ หลังปีใหม่สภาทนายความ เตรียมจะทยอยยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง โดยการรับให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับประชาชนจากเหตุการณ์น้ำท่วมนั้น ขณะนี้มีมากถึง 500 รายที่ขอคำปรึกษา สภาทนายความก็จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อ ส่วนการฟ้องคดีเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายนี้จะมีเวลายื่นฟ้องได้ภายใน 1 ปี ดังนั้นหากประชาชนจะแจ้งขอความช่วยเหลือก็สามารถทำได้ก่อนที่คดีจะหมดอายุความซึ่งสภาทนายความยังคงรอรับทราบข้อมูลต่อไป สำหรับคดีอาญาว่าจะมีการฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ สภาทนายความยังรวบรวมข้อมูลพิจารณาอีกครั้ง